พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1033/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลความกรมธรรม์ประกันภัย: ศาลอุทธรณ์ไม่ได้เพิ่มเติมแก้ไขข้อความ แต่แปลความตามเจตนาที่แท้จริง
ตามกรมธรรม์ประกันภัยที่พิพาท ช่องผู้เอาประกันภัยนั้นได้ระบุชื่อบริษัท ค. และชื่อบุคคลอยู่ภายในวงเล็บต่อมา เป็นเหตุให้เกิดความสงสัย การที่ศาลอุทธรณ์แปลความถึงความมุ่งหมายที่เกิดขึ้นจริงแห่งข้อความที่ปรากฏว่าบุคคลที่อยู่ภายในวงเล็บเป็นผู้เอาประกันภัย จึงเป็นเพียงเหตุผลในการแปลความตามอักษรที่ปรากฏนั้นหาได้มีการเพิ่มเติมแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความใด ๆ ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 751/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สำคัญผิดในราคาที่ดินทำให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ และสิทธิในการนำสืบพยาน
จำเลยได้ทำหนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพราะสำคัญผิดในราคาที่ดินพิพาทที่ตกลงซื้อขายกัน ซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม หนังสือสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง
เมื่อจำเลยอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยสำคัญผิดในราคาที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในเอกสารไม่
เมื่อจำเลยอ้างว่าสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ เพราะจำเลยสำคัญผิดในราคาที่ดินซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทไม่สมบูรณ์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคสอง หาใช่เป็นการสืบพยานบุคคลแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในเอกสารไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8640/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องร้อง, ตั๋วแลกเงิน,เลตเตอร์ออฟเครดิต,หน้าที่ตัวแทน,การปฏิบัติหน้าที่
++ เรื่อง การค้าระหว่างประเทศ เลตเตอร์ออฟเครดิต ++
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
++ ซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศ
ข้ออุทธรณ์ของจำเลยเป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง เมื่อจำเลยมิได้หยิบยกข้อเท็จจริงที่ว่าการกระทำของโจทก์เป็นการกระทำการเป็นตัวแทนของธนาคาร ซ. โจทก์จึงต้องฟ้องเรียกเงินที่จ่ายทดรองไปคืนจากธนาคารนั้นตามหลักเรื่องตัวการตัวแทนขึ้นต่อสู้ในคำให้การไว้ ดังนี้ข้อเท็จจริงที่จำเลยอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 225 วรรคหนึ่ง
จำเลยนำเลตเตอร์ออฟเครดิตและเอกสารต่าง ๆ ตามที่เลตเตอร์ออฟเครดิตกำหนดไว้พร้อมทั้งตั๋วแลกเงินมามอบให้โจทก์เรียกเก็บค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตแทนจำเลยและขอรับเงินค่าสินค้าไปจากโจทก์ก่อน โดยโจทก์ไม่ได้คิดค่าธรรมเนียมการเรียกเก็บเงินและไม่ได้หักส่วนลดเงินจำนวนที่นำเข้าบัญชีกระแสรายวันให้แก่จำเลยตามสัญญาขายลดตั๋วเงิน โจทก์หักเพียงค่าอากรแสตมป์และค่าไปรษณียากรเท่านั้น ดังนั้น ตั๋วแลกเงินจึงเป็นเพียงเอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตจากธนาคารตัวแทนผู้ซื้อในต่างประเทศ กรณีจึงเป็นเรื่องที่พิพาทกันเกี่ยวกับเงินค่าสินค้าจำนวนตามที่ระบุไว้ในเลตเตอร์ออฟเครดิตซึ่งโจทก์ได้จ่ายทดรองให้แก่จำเลยไปก่อน แม้โจทก์เป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงินและโจทก์เป็นผู้สลักหลังตั๋วแลกเงินดังกล่าวก็ตาม ข้อความและการสลักหลังดังกล่าวเป็นเพียงระเบียบและวิธีการปฏิบัติตามประเพณีการค้าระหว่างประเทศในการเรียกเก็บเงินค่าสินค้าจากธนาคารผู้เปิดเลตเตอร์ออฟเครดิตในต่างประเทศเท่านั้น การกระทำของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นการกระทำในฐานะตัวแทนของจำเลยผู้ส่งสินค้า โจทก์จึงไม่เป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินตามกฎหมาย
การที่โจทก์จ่ายเงินล่วงหน้าตามเลตเตอร์ออฟเครดิตให้แก่จำเลยไปก่อนและกฎหมายมิได้กำหนดอายุความในเรื่องนี้ไว้โดยเฉพาะ อายุความฟ้องร้องจึงมีกำหนด 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม หรือมาตรา 193/30 ใหม่
โจทก์ได้แจ้งเหตุขัดข้องที่รับเงินตามเลตเตอร์ออฟเครดิตไม่ได้เพื่อให้จำเลยดำเนินการแก้ไขความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแล้ว การกระทำของโจทก์จึงมิได้ปฏิบัติผิดหน้าที่อย่างร้ายแรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ-การอุทธรณ์-ข้ออ้างเรื่องหลักฐานสัญญา-ความสงบเรียบร้อย
การที่ พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 23 วรรคสอง บังคับให้ศาลต้องไต่สวนก่อนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการก็เพื่อที่จะให้รับฟังข้ออ้างหรือข้อเถียงของแต่ละฝ่ายเป็นที่ชัดแจ้งก่อน จึงเป็นหน้าที่โดยตรงของทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่จะต้องเสนอข้อเท็จจริงต่อศาล และไม่มีบทบัญญัติใดกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องเรียกตัวผู้เป็นอนุญาโตตุลาการมาไต่สวนด้วยก่อนมีคำพิพากษาแต่อย่างใด เมื่อคู่ความไม่นำอนุญาโตตุลาการเข้าเบิกความ ผู้คัดค้านจะฎีกาว่าศาลชั้นต้นมิได้ไต่สวนตัวอนุญาโตตุลาการหาได้ไม่
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนมีคำพิพากษาตามหรือปฏิเสธคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแล้ว จึงห้ามอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้น โดยไม่ต้องคำนึงว่าทุนทรัพย์ที่พิพาทกันจะมีจำนวนมากน้อยเพียงใด เว้นแต่การอุทธรณ์นั้นจะเป็นไปตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1) (2) (3) (4) (5)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า อนุญาโตตุลาการกับผู้ร้องหลอกลวงให้มีการสืบพยานบุคคลแทนที่จะพิจารณาชี้ขาดตามเอกสารที่มีอยู่เป็นการรับฟังพยานบุคคลมาหักล้างพยานเอกสารอันฝ่าฝืน ป.วิ.พ. มาตรา 94 ที่แสดงว่าอนุญาโตตุลาการมีความประสงค์จะใช้ข้ออ้างในคำเบิกความของพยานที่เป็นเท็จของ พ. มากล่าวอ้างหักล้างพยานเอกสารตามแผนการที่อนุญาโตตุลาการได้สมคบผู้ร้องไว้แล้วตั้งแต่เมื่อเริ่มต้นคดีชั้นอนุญาโตตุลาการ เพื่อประสงค์เพียงอย่างเดียวคือให้ฝ่ายผู้ร้องชนะ เป็นกรณีที่ผู้คัดค้านอ้างว่า อนุญาโตตุลาการกระทำการไม่สุจริตและผู้ร้องใช้กลฉ้อฉลคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการจึงไม่ชอบ ผู้คัดค้านย่อมมีสิทธิที่จะอุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ. อนุญาโตตุลาการ ฯ มาตรา 26 (1)
ผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาบังคับผู้คัดค้านตามคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการมาจากมูลเหตุข้อพิพาทเกี่ยวกับการผิดสัญญาซื้อขายมีจำนวนเงินเกินกว่า 500 บาท เมื่อไม่มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญแล้ว จะฟ้องร้องบังคับคดีหาได้ไม่ สัญญาซื้อขายที่ผู้ร้องอ้างฟ้องร้องผู้คัดค้านนั้นไม่อาจที่จะนำมาฟ้องร้องได้ เพราะผู้คัดค้านมิได้ลงลายมือชื่อในสัญญา ซึ่งหากไม่มีการตั้งอนุญาโตตุลาการแล้ว ผู้ร้องก็ไม่อาจที่จะนำคดีมาฟ้องร้องบังคับผู้คัดค้านได้ เพราะขัดต่อ ป.พ.พ. มาตรา 456 ซึ่งเป็นบทกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย เป็นการอุทธรณ์ที่ผู้คัดค้านกล่าวอ้างว่า คำพิพากษาของศาลชั้นต้นฝ่าฝืนต่อบทกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน คือฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 456 ไม่อาจที่จะบังคับผู้คัดค้านได้นั่นเอง จึงหาเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้ามไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้แก่ผู้คัดค้าน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
แม้การซื้อขายที่มีราคาเกินกว่า 500 บาท มิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้รับผิดเป็นสำคัญตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 แต่บทบัญญัติดังกล่าวก็หาใช่เป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ เพราะสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ร้องและผู้คัดค้านได้เกิดขึ้นแล้วโดยชอบ เพียงแต่จะฟ้องร้องบังคับกันได้หรือไม่จำต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น นอกจากนี้คำคัดค้านของผู้คัดค้านในชั้นอนุญาโตตุลาการผู้คัดค้านมิได้ยกข้ออ้างที่ว่าการตกลงซื้อขายระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายผู้คัดค้านไว้เป็นสำคัญที่ผู้ร้องไม่อาจยกขึ้นบังคับดังกล่าวแต่อย่างใด การที่อนุญาโตตุลาการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยความผูกพันระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านเฉพาะเรื่องความรับผิดในการที่ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายผิดสัญญาซื้อขายแล้วมีคำชี้ขาดให้ผู้คัดค้านใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ร้อง จึงเป็นการชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7491/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและราคาซื้อขาย ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยประเด็นใหม่ที่ไม่ได้ยกขึ้นในศาลอุทธรณ์
ประเด็นเรื่องสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสามทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์จริง จำเลยที่ 2 และที่ 3 มิได้ยกขึ้นอุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะยกขึ้นวินิจฉัยก็เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 เป็นฎีกา ที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาขายที่ดิน ที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงนำสืบได้
การนำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินอีกส่วนหนึ่งตามสัญญาอีกฉบับหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาขายที่ดิน ที่จดทะเบียนต่อเจ้าพนักงาน ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 โจทก์จึงนำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6657/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทนการโอนที่ดิน: การเลิกสัญญาเช่านาแลกกับการจัดหาที่ดินใหม่
การที่จำเลยยอมเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสามเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการที่โจทก์ทั้งสามยอมเลิกการเช่านาและออกจากนาที่เช่าเป็นสัญญาต่างตอบแทนที่ใช้บังคับได้ กรณีมิใช่เป็นการให้โดยเสน่หาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 521 จึงไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 525 และ 526 บันทึกข้อตกลงที่ให้จำเลยเป็นผู้จัดหาที่ดิน ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง การที่โจทก์ทั้งสามนำสืบพยานบุคคลให้เห็นเจตนาของคู่กรณีว่าตกลงจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใด จึงไม่ต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4996-4997/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขายที่ดินเนื่องจากฉ้อฉลและความไม่สุจริตของผู้ซื้อ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1รวมทั้งขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ด้วยศาลล่างทั้งสองพิพากษาตรงกันว่า นิติกรรมการซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 สมบูรณ์ชอบด้วยกฎหมาย ไม่อาจเพิกถอนได้ คงบังคับให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่พิพาทคืนให้แก่โจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายเท่านั้น ดังนี้ คำขอของโจทก์ที่ 1 ในข้อแรกจึงตกไปในตัว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ตามคำขอข้อ 2 ได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ซื้อที่พิพาทคืน แม้จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้ แต่โจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน ให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้ว ประเด็นข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้บางส่วนแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจนำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารไม่
ระยะเวลานับตั้งแต่โจทก์ฟ้องจนถึงเวลาส่งหมาย การไถ่ถอนจำนอง และการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ติดต่อใกล้ชิดกันเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้ที่บอกขายที่ดินได้ช่วยออกเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในระยะเวลาที่เร่งรีบกะทันหันด้วย ทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 รู้เรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริต เมื่อพฤติการณ์เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
โจทก์ฟ้องและนำสืบว่า เงื่อนไขที่จำเลยที่ 1 ตกลงให้โจทก์ซื้อที่พิพาทคืน แม้จะมิได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือกันไว้ แต่โจทก์ได้ชำระหนี้บางส่วน ให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้แล้ว ประเด็นข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 ได้รับชำระหนี้บางส่วนแล้วหรือไม่โจทก์ย่อมมีอำนาจนำสืบพยานบุคคลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 หาใช่เป็นการนำสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารไม่
ระยะเวลานับตั้งแต่โจทก์ฟ้องจนถึงเวลาส่งหมาย การไถ่ถอนจำนอง และการที่จำเลยที่ 1 โอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 ติดต่อใกล้ชิดกันเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ทั้งตามพฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 รับตกลงซื้อที่ดินพิพาทจากจำเลยที่ 1 รวมทั้งผู้ที่บอกขายที่ดินได้ช่วยออกเงินค่าซื้อที่ดินให้แก่จำเลยที่ 1 ในระยะเวลาที่เร่งรีบกะทันหันด้วย ทำให้มีเหตุผลน่าเชื่อว่าจำเลยที่ 2 รู้เรื่องที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 มีคดีพิพาทเกี่ยวกับที่ดินพิพาท การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำไปโดยไม่สุจริต เมื่อพฤติการณ์เป็นการฉ้อฉล ทำให้โจทก์เสียเปรียบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนนิติกรรมดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4412/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับโอนที่ดินโดยอ้างแทนมารดาและการสิทธิในกองมรดก: การนำสืบพยานและอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิในที่ดินพิพาทบางส่วนโดยอ้างว่าจำเลยจดทะเบียนรับโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทจาก ซ. เป็นการรับโอนแทนมารดาโจทก์บางส่วน ซึ่งกรณีเช่นนี้ไม่มีกฎหมายใดบังคับว่าต้องทำเป็นหนังสือหรือต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ส่วนการที่จำเลยมีชื่อเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินก็เป็นเพียงหลักฐานของทางราชการที่แสดงในเบื้องต้นว่าเป็นผู้มีสิทธิเหนือที่ดินนั้นดีกว่าคนอื่นเท่านั้น มิใช่การทำนิติกรรมแต่อย่างใด โจทก์จึงนำสืบพยานบุคคลตามข้ออ้างของตนได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
การเป็นตัวการตัวแทนไม่ทำให้สิทธิประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการที่จำเลยจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทแทนมารดาโจทก์ดังกล่าวระงับสิ้นไปด้วยความตายของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง เมื่อมารดาโจทก์ตาย โจทก์ซึ่งเป็นทายาทย่อมใช้สิทธิเรียกร้องนั้นได้ในฐานะผู้รับมรดก การนำสืบพยานบุคคลเพื่อแสดงถึงสิทธิเรียกร้องของโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
เมื่อ ย. มารดาโจทก์ตายทรัพย์สินของ ย. ย่อมเป็นกองมรดกตกทอดแก่ทายาท ทายาททุกคนของ ย. จึงเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินของ ย. หากทรัพย์สินอันเป็นมรดกไปอยู่กับผู้ไม่มีสิทธิทายาทคนใดคนหนึ่งย่อมมีสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวจากผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ในนามของตนเองทั้งหมดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1745 ประกอบ มาตรา 1359 แต่ในระหว่างทายาทด้วยกันใครจะได้รับทรัพย์มรดกเท่าใดเป็นเรื่องภายในหมู่ทายาทกันเอง ไม่ใช่เรื่องที่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกจะยกขึ้นอ้างตัดสิทธิเรียกทรัพย์มรดกคืนเพื่อนำไปแบ่งปันทายาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ผลบังคับใช้แม้ทำหลังหนี้เดิมและไม่มีผลย้อนหลัง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัท ก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิมหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142
แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสารหมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 และ 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4146/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือค้ำประกันต่อเนื่อง: ค้ำประกันหนี้เดิมแม้ไม่มีผลย้อนหลัง, การนำสืบพยานไม่เป็นการนอกฟ้อง
หนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ที่จำเลยที่ 2 ทำไว้ต่อโจทก์เขียน พ.ศ. ผิดพลาด และนำแบบพิมพ์ของบริษัทก. มาใช้ จำเลยที่ 2 จึงได้ทำหนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทให้โจทก์ ใหม่แทนหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม แม้หนังสือค้ำประกัน ฉบับพิพาทจะทำขึ้นภายหลังวันที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือรับสภาพหนี้ ให้โจทก์ไว้และมิได้มีข้อความระบุว่าให้มีผลย้อนหลังไปถึงหนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ให้โจทก์ไว้ก็ตาม แต่เมื่อเป็นผลสืบเนื่องต่อจากหนังสือค้ำประกันฉบับเดิม หนังสือค้ำประกันฉบับพิพาทจึงมีผลบังคับ แม้คำฟ้องโจทก์จะบรรยายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 2 ได้ทำหนังสือค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามสำเนาเอกสาร หมาย จ.4 โดยมิได้บรรยายว่า จำเลยที่ 2 ทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ต่อเนื่องกับหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10 ก็ตาม แต่การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลถึงหนังสือค้ำประกันตามสำเนาเอกสารหมาย จ.10ก็เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่ามูลเหตุที่จำเลยที่ 2 ต้องทำหนังสือค้ำประกันตามเอกสารหมาย จ.4 ให้โจทก์มีความเป็นมาอย่างไร จึงไม่เป็นการสืบเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารและไม่เป็นการสืบนอกฟ้องนอกประเด็น การที่ศาลล่างทั้งสองรับฟังพยานบุคคลดังกล่าวจึงมิใช่ เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็นไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และ 142