พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2319/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความสมบูรณ์ของนิติกรรมขายที่ดินและการรับชำระราคา: ศาลฎีกายืนว่าโจทก์ไม่เป็นบุคคลวิกลจริตและรับเงินค่าที่ดินแล้ว
ไม่ปรากฏว่าโจทก์มีอาการป่วยทางสมองอย่างชัดแจ้งถึงขนาดเป็นคนวิปลาส ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบ เนื่องจากโจทก์ยังคงช่วยเหลือตนเองได้ในระดับกิจวัตรประจำวัน มีการตัดสินใจพอใช้ มีสติสัมปชัญญะรู้ได้ในระดับทั่วไป และสามารถพูดจาโต้ตอบได้ อีกทั้งยังปรากฏว่าโจทก์ทำนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทหลังจากโจทก์ไปทำงานตามปกติประมาณ 1 เดือน ซึ่งโจทก์ระบุว่าเหตุที่ไปทำงานเพื่อที่จะได้วันเวลาราชการโดยไม่ต้องลาป่วยหรือขาดราชการ ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดแจ้งว่า โจทก์มีความรำลึก มีความรู้สึก และมีความรับผิดชอบเช่นบุคคลที่มีสติสัมปชัญญะทั่วๆ ไป อาการป่วยของโจทก์จึงไม่ใช่เป็นบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ใน ม. 30 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ การจดทะเบียนขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทระหว่างโจทก์จำเลยทั้งสองจึงไม่ตกเป็นโมฆียะตาม ม. 30 ดังกล่าว ดังนั้นนิติกรรมการขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทสมบูรณ์ โจทก์จึงไม่มีสิทธิบอกล้างนิติกรรมดังกล่าวเพื่อเพิกถอนนิติกรรมและไม่มีสิทธิฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมขายที่ดินพร้อมบ้านพิพาทได้
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
หนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวระบุว่า ผู้ขายยอมขายที่ดินแปลงดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นเงินราคา 400,000 บาท ผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินรายนี้เสร็จแล้ว เมื่อการซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 การที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่า ในวันทำหนังสือสัญญาขายที่ดินดังกล่าวโจทก์ไม่เคยได้รับค่าที่ดินและบ้านพิพาทจำนวน 400,000 บาท จากจำเลยทั้งสอง เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินตามเอกสารหมาย จ.2 ต้องห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้นจึงต้องฟังตามหนังสือสัญญาขายที่ดินว่า โจทก์ได้รับชำระราคาที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ขายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 400,000 บาท ตามที่ปรากฏในหนังสือสัญญาขายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงตามฟ้องและผลของการนำสืบพยานเกี่ยวกับหนังสือมอบอำนาจในคดีจำนอง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์ โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัดต่อป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมรับข้อเท็จจริงโดยการไม่ต่อสู้คดี ทำให้ไม่ต้องนำหลักฐานการมอบอำนาจมาแสดง
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ว่าการมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนองไม่ถูกต้องหรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนองแทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้อง จึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่าการทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้องนำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาล และในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ในการทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์จึงไม่ได้ขัด ต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2006/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบการมอบอำนาจทำสัญญาจำนอง: จำเลยไม่ต่อสู้เรื่องการมอบอำนาจ ถือว่ายอมรับ
จำเลยให้การว่า สัญญาจำนองเป็นโมฆะเพราะมิได้ ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ผู้รับจำนอง จำเลยมิได้ ให้การต่อสู้ว่า การมอบอำนาจของโจทก์ในการทำสัญญาจำนอง ไม่ถูกต้อง หรือผู้รับมอบอำนาจลงลายมือชื่อในสัญญาจำนอง แทนโจทก์โดยมิได้มีการมอบอำนาจตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องจึงมีผลเท่ากับจำเลยยอมรับตามที่โจทก์บรรยายมาในฟ้องว่า การทำสัญญาจำนองโจทก์มอบอำนาจให้ผู้มีชื่อไปจดทะเบียน ในฐานะผู้รับจำนองแทนโจทก์โดยถูกต้องแล้ว โจทก์จึงไม่ต้อง นำหนังสือมอบอำนาจมาแสดงต่อศาลและในการสืบพยานของโจทก์โจทก์ก็นำผู้รับมอบอำนาจให้ไปจดทะเบียนในฐานะผู้รับจำนอง แทนโจทก์มาเบิกความว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ใน การทำสัญญาจำนองกับจำเลยด้วยแล้ว ทางนำสืบของโจทก์ จึงไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารกู้เงินและค้ำประกันปลอม การพิสูจน์ข้อเท็จจริง และสิทธิในการนำสืบพยานบุคคล
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 30,000 บาท มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อใน หนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปเกินกว่าความเป็นจริงว่าจำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ไป 300,000 บาทโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันโดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาทและสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วนหรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้เงินและค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงโดยไม่ได้รับความยินยอม ทำให้สัญญาเป็นโมฆะและไม่มีผลผูกพัน
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้เงินในหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้การที่โจทก์มากรอกข้อความในหนังสือสัญญากู้เงินและค้ำประกันในภายหลังผิดไปจากความเป็นจริงตามที่ตกลงทำสัญญากันไว้ในภายหลัง เกินกว่าความเป็นจริง โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสอง สัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอม ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1กู้เงินโจทก์ และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาท และได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000บาท โดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1599/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารสัญญากู้และค้ำประกันที่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลงภายหลังโดยไม่ได้รับความยินยอม ถือเป็นเอกสารปลอม สัญญาเป็นโมฆะ
จำเลยที่ 1 กู้ยืมเงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2เป็นผู้ค้ำประกัน โดยจำเลยทั้งสองได้ลงลายมือชื่อในหนังสือสัญญากู้และหนังสือสัญญาค้ำประกันให้โจทก์ไว้โดยไม่ได้กรอกข้อความใด ๆ ไว้ การที่ต่อมาโจทก์มากรอกข้อความลงในหนังสือสัญญากู้และค้ำประกันให้เกินกว่าความเป็นจริงว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ไป300,000 บาท โดยไม่ได้รับความยินยอมของจำเลยทั้งสองสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าวจึงเป็นเอกสารปลอมถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันรายนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องร้องบังคับคดีแก่จำเลยทั้งสองได้ จำเลยทั้งสองให้การว่า จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้โจทก์เพียง 30,000 บาทและได้ลงชื่อไว้ในสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยยังไม่ได้กรอกข้อความ โจทก์ปลอมแปลงเอกสารสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันโดยกรอกข้อความและจำนวนเงินเป็น 300,000 บาทโดยจำเลยทั้งสองมิได้ยินยอม แม้ตามสัญญาทั้งสองจะระบุจำนวนเงินไว้ 300,000 บาท และสัญญากู้จะระบุว่าได้รับเงินครบถ้วนแล้ว จำเลยทั้งสองก็มีสิทธินำสืบพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 945/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่อพิสูจน์ความไม่สมบูรณ์ของสัญญากู้เงิน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญา
สัญญากู้มีข้อความชัดเจนว่า จำเลยทั้งสามกู้เงินไปจาก โจทก์รวม 100,000 บาท และรับเงินไปครบถ้วนแล้วในวันที่ 7 พฤษภาคม 2536 จำเลยทั้งสามนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าความจริงทำสัญญากู้กันวันที่ 8 พฤษภาคม 2536 โดยจำเลยที่ 1เป็นคนกู้เงินโจทก์คนเดียวจำนวน 40,000 บาท ส่วนจำเลยที่ 2 ที่ 3 เป็นเพียงผู้ค้ำประกันมิใช่ผู้กู้เป็นการนำสืบถึงความ ไม่บริบูรณ์ของสัญญากู้ว่าจำเลยไม่ได้รับเงินเต็มจำนวน ตามที่ระบุในสัญญากู้ เพราะสัญญากู้เป็นสัญญายืมใช้สิ้นเปลือง จะบริบูรณ์ต่อเมื่อมีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 650 วรรคสองจึงหาใช่การนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญากู้เงินตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) ไม่ แต่เป็นการนำสืบถึงความไม่สมบูรณ์ แห่งหนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 704/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักล้างสัญญาจะซื้อขายด้วยพยานบุคคล และการซื้อที่ดินโดยไม่สุจริตของผู้รับโอน
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจะซื้อขายที่ดินเป็นสัญญาประกันหนี้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ไม่ใช่สัญญาจะซื้อขายนั้น เป็นการนำสืบหักล้างว่าสัญญาจะซื้อขายไม่ถูกต้องและไม่มี ผลใช้บังคับตามกฎหมาย ไม่ใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไข ข้อความในเอกสาร จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคสุดท้าย จำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทมาจากจำเลยหลังจากจำเลยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีนี้แล้วและช.ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ได้ทำหนังสือแจ้งเรื่องการซื้อขายที่ดินพิพาทไปยังจำเลยร่วมก่อนแล้ว การที่จำเลยร่วมรู้ถึงข้อความจริงอันเป็นทาง ให้โจทก์ต้องเสียเปรียบก่อนรับโอนจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำ โดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6949/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตคำให้การและการนำสืบพยาน: การเปลี่ยนแปลงคำให้การไม่ถือเป็นการขัดแย้งหากยังคงอยู่ในประเด็นข้อพิพาทเดิม
จำเลยให้การตอนแรกว่า จำเลยไม่เคยกู้เงินและรับเงินจากโจทก์ตามฟ้อง สัญญากู้เป็นเอกสารปลอม ลายมือชื่อช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย โจทก์ทำขึ้นเอง เป็นคำให้การที่แสดงการปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าจำเลยไม่ได้กู้เงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์ รวมทั้งอ้างเหตุแห่งการนั้นว่าสัญญากู้ที่โจทก์อ้างเป็นเอกสารปลอม ส่วนที่จำเลยให้การตอนหลังว่า หากศาลฟังว่าสัญญากู้เป็นเอกสารที่แท้จริง โจทก์ก็คิดดอกเบี้ยไม่ถูกต้องตามกฎหมายนั้น ก็มิใช่เป็นคำให้การที่ยอมรับหรือถือว่าจำเลยได้กู้เงินจากโจทก์จริง จึงมิได้ขัดแย้งกันเองหรือไม่ชัดแจ้งว่ายอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างในคำฟ้องโจทก์ คำให้การของจำเลยจึงแสดงโดยชัดแจ้งว่าปฏิเสธฟ้องโจทก์ทั้งหมด จำเลยย่อมมีสิทธินำพยานเข้าสืบตามคำให้การได้ และนำพยานบุคคลเข้าสืบหักล้างสัญญากู้ตามฟ้องได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่าทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึงการที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่งกำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไรจำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้องระบุในคำให้การไม่
คดีมีประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยทำสัญญากู้และรับเงินไปจากโจทก์ตามฟ้องหรือไม่ การที่จำเลยนำสืบยอมรับว่าทำสัญญากู้จริงถือว่าสละประเด็นเรื่องสัญญากู้ปลอมแล้ว อันเป็นการเจือสมกับที่โจทก์นำสืบให้ฟังได้ว่ามีการทำสัญญากู้กันจริง แม้จะแตกต่างกับคำให้การแต่ก็เกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวจึงไม่เป็นการนอกเหนือจากคำให้การ ส่วนที่จำเลยนำสืบถึงการที่โจทก์และจำเลยเป็นหุ้นส่วนซื้อที่ดินกันแล้วขายแบ่งกำไรกันเพื่อให้เห็นที่มาของสัญญากู้เงินว่าเป็นมาอย่างไรจำเลยย่อมนำสืบเรื่องดังกล่าวได้ เพราะเป็นรายละเอียดเกี่ยวพันกับประเด็นข้อพิพาทดังกล่าว จำเลยหาจำต้องระบุในคำให้การไม่