คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพราง: การซื้อขายที่ถูกซ่อนไว้ภายใต้การยกให้, การหักล้างพยานเอกสารด้วยพยานบุคคล
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ. ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เท่ากับเป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำนิติกรรมอำพรางต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพราง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 155 วรรคสอง นิติกรรมยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะตามมาตรา 155 วรรคหนึ่ง สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 วรรคท้าย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางซื้อขาย, อายุความมรดก: การฟ้องแบ่งมรดกต้องทำภายใน 1 ปีนับจากทราบการตาย
ตามคำให้การจำเลยที่ให้การต่อสู้ว่า โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ยกที่พิพาทให้ ศ. แต่เป็นการขายที่พิพาทให้ ช. โดยให้ ศ.ถือกรรมสิทธิ์ไว้แทน เป็นการกล่าวอ้างว่าโจทก์ที่ 1 ได้ทำนิติกรรมยกให้อำพรางนิติกรรมการซื้อขายต้องบังคับตามนิติกรรมซื้อขายที่ถูกอำพรางไว้ นิติกรรมการยกให้เป็นการแสดงเจตนาลวงย่อมตกเป็นโมฆะ สัญญาหรือหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์เช่นนี้ จำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสารได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ที่ 1 ได้ขายที่พิพาทให้ ช.สามี ศ.เจ้ามรดก ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรสระหว่าง ช.กับ ศ. เมื่อ ศ.ถึงแก่ความตาย การสมรสสิ้นสุดลงสินสมรสย่อมแยกกันตามกฎหมาย และตกเป็นมรดกของ ศ.กึ่งหนึ่ง ผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกคือ โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาของ ศ. และจำเลยซึ่งเป็นบุตร รวมทั้งช.สามีเจ้ามรดกได้คนละส่วนเท่ากัน โจทก์ทั้งสองต้องฟ้องแบ่งมรดกภายใน 1 ปีนับแต่วันทราบถึงการตายของเจ้ามรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 วรรคหนึ่งโจทก์ทั้งสองฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 23 กันยายน 2536 คดีจึงขาดอายุความแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 252/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ดินและบ้าน: การชำระเงินไม่ตรงเวลา, การสร้างบ้านไม่แล้วเสร็จ, และผลกระทบต่อการเลิกสัญญา
กำหนดเวลาชำระหนี้ที่ตกลงกันไว้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาซึ่งเป็นสาระสำคัญแต่คู่สัญญาจะถือปฏิบัติตามสัญญาหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่งการนำสืบข้อเท็จจริงว่าโจทก์ชำระหนี้ตามงวดไม่ตรงเวลาที่กำหนดไม่ใช่การนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารและที่จำเลยผ่อนผันให้โดยยินยอมรับชำระไว้แสดงว่าในทางปฏิบัติโจทก์จำเลยมิได้มีเจตนาถือเอากำหนดเวลาชำระเงินค่าที่ดินตามงวดเคร่งครัดตามสัญญาดังนั้นเมื่อครบกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ยังไม่ชำระจำเลยมีหน้าที่ต้องบอกกล่าวให้โจทก์ชำระหนี้ภายในเวลาพอสมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา387หากโจทก์ไม่ชำระจำเลยมีสิทธิเลิกสัญญาได้ปรากฏว่าเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดที่10โจทก์ไม่ชำระจำเลยไม่เคยแจ้งโจทก์ให้ชำระในเวลาที่กำหนดและมิได้ปฏิบัติตามมาตรา387ดังกล่าวถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาสัญญาจึงไม่เลิกกัน สัญญาจะซื้อขายที่ดินพร้อมบ้านเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งจำเลยจะต้องสร้างบ้านให้เสร็จและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์ในวันที่โจทก์จะชำระเงินงวดสุดท้ายซึ่งตามปกติจะต้องมีกำหนดเวลาสร้างบ้านให้แล้วเสร็จไว้ในสัญญาด้วยแต่ข้อตกลงในสัญญามีว่าเงินงวดสุดท้ายจะชำระให้ในวันโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมอาคารณสำนักงานที่ดินโดยไม่ได้กำหนดเวลาการปลูกบ้านให้แล้วเสร็จไว้ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องปลูกบ้านในที่ดินให้แล้วเสร็จและพร้อมจะจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ให้โจทก์จึงจะมีสิทธิเรียกให้โจทก์ชำระงวดสุดท้ายได้แม้โจทก์จะขอชำระในงวดที่10ก่อนงวดสุดท้ายซึ่งล่วงเลยกำหนดเวลาชำระตามสัญญามา1ปีแต่ปรากฏว่าในช่วงเวลาดังกล่าวจำเลยยังปลูกบ้านไม่แล้วเสร็จจึงไม่อาจเรียกให้โจทก์ชำระเงินที่เหลือทั้งหมดได้โจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาจึงมีสิทธิฟ้องจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9679/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความสัญญาจะซื้อขายและขอบเขตการนำสืบพยาน การนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติมจากเอกสารสัญญาไม่ขัดต่อกฎหมาย
ตามหนังสือสัญญาจะซื้อขายมีข้อความระบุไว้ในข้อ 4 ว่าในการจะซื้อจะขาย ผู้จะขายจะต้องเป็นผู้ยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดและออกโฉนดใหม่ให้กับผู้จะซื้อ ถ้าหากที่ดินไม่ครบตามจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะขายจะต้องคืนเงินให้แก่ผู้จะซื้อ ถ้าหากจำนวนที่ดินเกินกว่าที่ระบุไว้ในสัญญาผู้จะซื้อจะต้องออกเงินให้ผู้จะขายจนครบจำนวนซึ่งในการจะซื้อจะขายนี้ทั้งสองฝ่ายตกลงจะออกเงินค่าธรรมเนียมค่าภาษีเงินได้ ค่าขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนดออกโฉนดใหม่ ฝ่ายละเท่า ๆ กัน ซึ่งไม่มีข้อความชัดเจนว่า การขอรังวัดแบ่งแยกรวมโฉนดและออกโฉนดใหม่นั้นจะต้องกระทำให้แล้วเสร็จก่อนวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ หรือเมื่อจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ ดังนี้ การที่จำเลยทั้งสองนำสืบพยานบุคคลว่า โจทก์กับจำเลยทั้งสองตกลงกันว่าเมื่อจดทะเบียนโอนกันแล้วจึงจะร่วมกันยื่นเรื่องขอรังวัดแบ่งแยก รวมโฉนด และออกโฉนดใหม่ จึงเป็นการนำสืบประกอบข้ออ้างในการตีความหมายของข้อความในสัญญาจึงนำสืบได้ตามป.วิ.พ.มาตรา 94 วรรคท้าย หาได้เป็นการนำสืบเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารอันต้องห้ามมิให้นำสืบตามมาตรา 94 (ข)ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9262/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาขายฝากและสัญญากู้: การลดหย่อนสินไถ่ก่อนกำหนด และผลผูกพันตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญากู้เงินจำเลยที่ 2 มีข้อสัญญาว่าเพื่อเป็นหลักฐานการกู้ยืมเงิน โจทก์ได้ทำสัญญาขายฝากที่ดินแก่จำเลย หากโจทก์ไถ่ถอนก่อนกำหนดจะมีส่วนลดให้ ข้อสัญญานี้ไม่ได้ขัดหรือลบล้างสัญญาขายฝาก แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ไม่เป็นโมฆะ เมื่อโจทก์ขอไถ่ที่ดินก่อนครบกำหนดโจทก์สามารถวางเงินสินไถ่ตามส่วนลดดังกล่าวได้ การนำสืบพยานของโจทก์เกี่ยวกับจำนวนเงินสินไถ่และส่วนลดหาใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขสัญญาขายฝากไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานหักล้างสัญญากู้เงินและการพิจารณาหนี้สินในคดีล้มละลาย
จำเลยทั้งสองให้การว่า โจทก์มอบเงินให้จำเลยที่ 1 นำไปให้บุคคลภายนอกกู้ โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ 7 ถึง 25 ต่อเดือน แล้วแบ่งผลประโยชน์กัน สัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่ 1 ปล่อยกู้เพียง375,000 บาท แต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 25 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 ปีเป็นเงิน 1,125,000 บาท มารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน 1,500,000บาท แล้วให้จำเลยที่ 1 ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกัน จำเลยที่ 1 ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ ส.ไปแล้วจำนวน 250,000 บาท ส่วนที่เหลือจำเลยที่ 1 ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว คำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่า สัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 วรรคท้าย นอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9237/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีล้มละลาย: การนำสืบพยานเพื่อหักล้างข้อตกลงกู้เงินที่ไม่เป็นธรรม
จำเลยทั้งสองให้การว่าโจทก์มอบเงินให้จำเลยที่1นำไปให้บุคคลภายนอกกู้โดยคิดดอกเบี้ยอัตราระหว่างร้อยละ7ถึง25ต่อเดือนแล้วแบ่งผลประโยชน์กันสัญญากู้เงินตามฟ้องโจทก์นำเงินมาให้จำเลยที่1ปล่อยกู้เพียง375,000บาทแต่โจทก์นำดอกเบี้ยอัตราร้อยละ25ต่อเดือนเป็นเวลา1ปีเป็นเงิน1,125,000บาทมารวมเข้ากับต้นเงินดังกล่าวเป็นเงิน1,500,000บาทแล้วให้จำเลยที่1ทำสัญญากู้เงินโดยมีจำเลยที่2เป็นผู้ค้ำประกันไว้เป็นหลักประกันจำเลยที่1ได้ขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่1ชำระหนี้แทนโจทก์ให้แก่ส.ไปแล้วจำนวน250,000บาทส่วนที่เหลือจำเลยที่1ก็ชำระคืนให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้วคำให้การของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจำเลยทั้งสองย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างได้ว่าสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ถูกต้องสมบูรณ์ทั้งหมดไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้ายนอกจากนี้การที่ห้ามนำสืบพยานบุคคลเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารอันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ.2483อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่จำเลยทั้งสองชอบที่จะนำสืบพยานดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การโอนกรรมสิทธิ์หลังแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่160959เฉพาะส่วนจำนวน20ตารางวาซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้างโดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ณวันที่26สิงหาคม2535ดังนั้นการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเองการที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายและไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6958/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินตามสัญญาจะซื้อจะขาย การแบ่งแยกที่ดินไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสัญญา
ข้อความในสัญญาจะซื้อจะขายได้ระบุไว้ชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยจะขายที่ดินโฉนดเลขที่ 160959 เฉพาะส่วนจำนวน 20 ตารางวา ซึ่งขณะนี้จำเลยได้ดำเนินการแบ่งแยกโฉนดอยู่พร้อมสิ่งปลูกสร้าง โดยจะโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ณ วันที่ 26 สิงหาคม 2535 ดังนั้น การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินก็คือการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินที่แบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยแล้วนั่นเอง การที่โจทก์นำสืบว่าตกลงโอนกรรมสิทธิ์กันเมื่อแบ่งแยกที่ดินแล้วจึงมิใช่เป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาจะซื้อจะขาย และไม่ขัดต่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6749/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ การรับผิดในฐานะลูกหนี้ร่วม และอายุความสัญญาประนีประนอมยอมความ
สัญญาค้ำประกันต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถึงจะฟ้องร้องบังคับคดีได้ จึงต้องห้ามมิให้รับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) การที่ผู้ร้องอ้างและนำสืบด้วยพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงนอกจากสัญญาค้ำประกันเป็นการเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันจึงต้องห้ามมิให้รับฟัง สัญญาค้ำประกันที่ผู้ร้องทำไว้มีข้อความว่า หากลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่เจ้าหนี้หรือลูกหนี้ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย เป็นบุคคลไร้ความสามารถหรือเป็นผู้สาบสูญหรือตาย หรือไปเสียจากถิ่นที่อยู่โดยหาตัวไม่พบ หรือกรณีอื่นใดที่ทำให้เจ้าหนี้ไม่ได้รับชำระหนี้จนครบถ้วนผู้ค้ำประกันยอมเข้ารับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมหมายความว่าผู้ร้องยอมรับผิดร่วมกับลูกหนี้ในฐานะเป็นลูกหนี้ร่วมผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเรียกให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อน สิทธิเรียกร้องตามสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีข้อความว่าลูกหนี้จะผ่อนชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้เป็นรายเดือนก็มีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/32 มิใช่มีอายุความ 5 ปี ตามมาตรา 193/33เพราะมิใช่เงินที่ต้องผ่อนชำระเพื่อผ่อนทุนคืนเป็นงวด ๆ
of 110