พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะขายที่ดินผูกพันสัญญาซื้อขาย และการระงับหนี้เมื่อกรรมสิทธิ์โอนแล้ว
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่า หากผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงที่เช่านี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญาเช่านี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้เช่าในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกัน แต่ราคาที่ดินตามโฉนดทั้งแปลงต้องไม่สูงกว่ายี่สิบห้าล้านบาทถ้วน และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลย ระบุว่า หากผู้ใช้ประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงทำสัญญานี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญานี้ยังมีผลบังคับ ผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้ใช้ในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดิน ข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่จำเลยได้แสดงเจตนาผูกมัดตนเองว่าจะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์การแสดงเจตนาของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะแน่นอนไม่มีเงื่อนไขหรือทางเลือกสำหรับจำเลยที่จะบิดพลิ้วไม่ปฎิบัติตามเจตนาที่แสดงไว้ จึงมีผลเป็นคำมั่นผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคาไม่สูงกว่า 25,000,000 บาทเมื่อโจทก์แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยจึงก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456วรรคสอง เมื่อจำเลยผิดสัญญา โจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว เพราะสัญญาดังกล่าว เป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่
เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วย บุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่ กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไป ตามมาตรา 353 โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และตกเป็นโมฆะ
คำมั่นจะขายที่ดินพิพาท กำหนดราคาซื้อขายกัน 25,000,000บาท โดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนอง จึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท
แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย แต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง และในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่า จำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่า และสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใด การที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่า จำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าว เพราะสัญญาดังกล่าว เป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่
เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้ว โจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วย บุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่ กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไป ตามมาตรา 353 โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่า คำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 569 และตกเป็นโมฆะ
คำมั่นจะขายที่ดินพิพาท กำหนดราคาซื้อขายกัน 25,000,000บาท โดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนอง จึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่ง ถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำมั่นจะซื้อขาย+สัญญาเช่า: การโอนที่ดินติดจำนอง-สิทธิค่าเช่า-เจตนาไม่ติดจำนอง
ตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้เช่าประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงที่เช่านี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญาเช่านี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้เช่าในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินตามโฉนดทั้งแปลงต้องไม่สูงกว่ายี่สิบห้าล้านบาทถ้วนและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยระบุว่าหากผู้ใช้ประสงค์จะซื้อที่ดินแปลงทำสัญญานี้ในช่วงระยะเวลาหนึ่งเวลาใดที่สัญญานี้ยังมีผลบังคับผู้ให้เช่ายินยอมขายที่ดินดังกล่าวให้ผู้ใช้ในราคายุติธรรมซึ่งจะได้เจรจาทำความตกลงกันแต่ราคาที่ดินจะต้องเป็นไปตามสัญญาเช่าที่ดินข้อความดังกล่าวมีลักษณะเป็นนิติกรรมฝ่ายเดียวที่จำเลยได้แสดงเจตนาผูกมัดตนเองว่าจะขายที่พิพาทกันให้แก่โจทก์การแสดงเจตนาของจำเลยดังกล่าวมีลักษณะแน่นอนไม่มีเงื่อนไขหรือทางเลือกสำหรับจำเลยที่จะบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามเจตนาที่แสดงไว้จึงมีผลเป็นคำมั่นผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคาไม่สูงกว่า25,000,000บาทเมื่อโจทก์แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยจึงก่อให้เกิดเป็นสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์จึงมีสิทธิขอให้บังคับจำเลยโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ได้ แม้โจทก์บรรยายฟ้องว่าสัญญาระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อจะขายแต่โจทก์ก็ได้แนบสัญญาดังกล่าวมาท้ายฟ้องซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องและในชั้นชี้สองสถานศาลกำหนดประเด็นข้อพิพาทด้วยว่าจำเลยต้องผูกพันตามสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินในอันที่จะต้องขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่เพียงใดการที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยว่าจำเลยถูกผูกพันที่จะต้องขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามสัญญาดังกล่าวเพราะสัญญาดังกล่าวเป็นคำมั่นของจำเลยที่จะขายที่พิพาทให้แก่โจทก์จึงหาใช่เป็นการพิพากษานอกเหนือคำฟ้องไม่ เมื่อสัญญาเช่าและสัญญาให้ใช้สิทธิเหนือพื้นดินระหว่างโจทก์จำเลยเป็นคำมั่นในการซื้อขายทรัพย์สินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา456วรรคสองและโจทก์ก็ได้แสดงเจตนาจะซื้อที่พิพาทไปถึงจำเลยเป็นผลให้เกิดสัญญาผูกพันจำเลยที่จะต้องโอนขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และเมื่อกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโอนไปเป็นของโจทก์แล้วโจทก์ย่อมรับโอนไปทั้งสิทธิและหน้าที่ซึ่งรวมทั้งสิทธิที่จะเก็บค่าเช่าด้วยบุคคลหาอาจเป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ของตนเองได้ไม่กรณีเช่นนี้กฎหมายให้ถือว่าหนี้เป็นอันระงับด้วยเกลื่อนกลืนกันไปตามมาตรา353โดยโจทก์และจำเลยไม่ต้องมีการตกลงกันหรือแสดงเจตนาต่อกันเมื่อคำมั่นในการซื้อขายเกิดเป็นสัญญาและสิทธิจะเก็บค่าเช่าจากที่พิพาทของจำเลยระงับแล้วจึงไม่มีปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยว่าคำมั่นในการซื้อขายขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา569และตกเป็นโมฆะ คำมั่นจะขายที่ดินพิพาทกำหนดราคาซื้อขายกัน25,000,000บาทโดยไม่มีข้อความระบุว่าการจดทะเบียนการโอนที่พิพาทให้แก่โจทก์จะต้องติดจำนองไปด้วยหรือไม่ดังนั้นการที่โจทก์นำสืบว่าโจทก์จำเลยมีข้อตกลงให้โอนที่พิพาทโดยไม่ติดจำนองจึงเป็นการนำสืบว่ามีข้อตกลงในเรื่องการโอนที่พิพาทต่างหากจากคำมั่นจะขายอีกส่วนหนึ่งถือไม่ได้ว่าเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติมหรือแก้ไขคำมั่นจะซื้อขายที่พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทายาทต้องรับผิดตามเช็คพิพาท แม้รายละเอียดมูลหนี้ต่างจากฟ้อง
โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาโดยมีมูลหนี้ที่ ป.จะต้องชำระให้แก่โจทก์จริง โจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบ จำเลยในฐานะทายาท ป.ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์ แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบว่า ป.สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ระบุว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าที่ดินไปบ้าง ก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดของมูลหนี้ที่นำมาสู่การสั่งจ่ายเช็คพิพาทเท่านั้น แต่ก็เป็นเหตุที่ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบเช่นเดียวกัน ทั้งโจทก์ก็ฟ้องโดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่ ป.เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญ มิได้มุ่งให้รับผิดในมูลหนี้ซื้อขายที่ดินโดยตรง จึงไม่ถึงกับทำให้คดีของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4795/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้ทรงเช็คโดยชอบ แม้รายละเอียดมูลหนี้ต่างจากฟ้อง หากฟ้องมุ่งรับผิดตามเช็ค
โจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาโดยมีมูลหนี้ที่ป. จะต้องชำระให้แก่โจทก์จริงโจทก์จึงเป็นผู้ทรงเช็คพิพาทโดยชอบจำเลยในฐานะทายาทป. ผู้สั่งจ่ายเช็คจึงต้องรับผิดชดใช้ให้โจทก์แม้ข้อเท็จจริงที่โจทก์นำสืบว่าป. สั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายดังกล่าวจะแตกต่างไปจากคำฟ้องที่ระบุว่าสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ค่าเช่าที่ดินไปบ้างก็เป็นเพียงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับรายละเอียดของมูลหนี้ที่นำมาสู่การสั่งจ่ายเช็คพิพาทเท่านั้นแต่ก็เป็นเหตุที่ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงโดยชอบเช่นเดียวกันทั้งโจทก์ก็ฟ้องโดยมุ่งประสงค์ให้จำเลยรับผิดตามเช็คที่ป.เป็นผู้สั่งจ่ายเป็นสำคัญมิได้มุ่งให้รับผิดในมูลหนี้ซื้อขายที่ดินโดยตรงจึงไม่ถึงกับทำให้คดีของโจทก์เสียไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนเวลาชำระหนี้ในสัญญาจะซื้อขาย และการเปลี่ยนแปลงข้อตกลงโดยการนำสืบพยานเพิ่มเติม
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาทรวมเป็นเงิน 160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน 5,000 บาท ผู้จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาทภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาทโดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปี ที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่ง ป.พ.พ.มาตรา 192วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปีตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1 ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาทการที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2 ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ต้องห้ามมิให้นำสืบตาม ป.วิ.พ.มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4785/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน: การชำระราคาครบถ้วนภายในกำหนด และหน้าที่โอนกรรมสิทธิ์ของจำเลย
ตามสัญญาจะซื้อขายระบุว่า คู่สัญญาตกลงซื้อขายที่ดินพิพาทกันในราคาตารางวาละ 1,200 บาท และค่าบริการอีก ตารางวาละ 1,300 บาท รวมเป็นเงิน160,000 บาท ในการจะซื้อขายนี้ โจทก์ผู้จะซื้อวางมัดจำให้จำเลยผู้จะขายไว้แล้วจำนวน5,000 บาท จำเลยได้รับเงินมัดจำไว้ถูกต้องแล้ว โจทก์ตกลงชำระค่าที่ดินและค่าบริการที่เหลือให้แก่จำเลยเป็นรายเดือน ๆ ละ 2,676 บาท ภายในวันที่ 5 ของทุก ๆ เดือน โดยเริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2526 เป็นต้นไป โจทก์ตกลงจะนำค่าที่ดินและค่าบริการชำระให้แก่จำเลยให้ครบถ้วนภายใน 7 ปี นับแต่วันทำสัญญานี้ โจทก์จำเลยได้กำหนดวันจะไปทำการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่โจทก์ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการครบถ้วนแล้ว และตอนล่างของสัญญาดังกล่าวมีบันทึกรับผ่อนเงินดาวน์ (เงินมัดจำ) อีกจำนวน 15,000 บาท โดยจำเลยลงชื่อรับไว้ ดังนี้ สำหรับเงื่อนเวลา 7 ปีที่สัญญาระบุให้โจทก์ชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้ครบถ้วนนั้นเป็นเงื่อนเวลาสิ้นสุด ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 192 วรรคหนึ่ง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ากำหนดไว้เพื่อประโยชน์แก่ลูกหนี้ คือโจทก์ในภาระหน้าที่ที่จะต้องชำระค่าที่ดินและค่าบริการแก่จำเลย ดังนั้น โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะชำระค่าที่ดินและค่าบริการให้เสร็จสิ้นภายในเวลาใดก็ได้ แต่ต้องอยู่ภายในเวลา 7 ปี ตามสัญญาเท่านั้น
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขาย โดยทำหลักฐานเป็นหนังสือและสัญญาในข้อ 1ระบุเพียงว่า ราคาที่ดินและค่าบริการรวมเป็นเงิน 160,000 บาท การที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า เงินค่าที่ดินและค่าบริการจำนวน 160,000 บาท เป็นราคาเงินสด และสัญญาข้อ 2ก็ระบุว่าผ่อนชำระค่าที่ดินและค่าบริการ เมื่อโจทก์เลือกผ่อนชำระราคาดังกล่าว ต้องมีดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นด้วย จึงเป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารต้องห้ามมิให้นำสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบมูลหนี้และการชำระหนี้เกินจำนวนที่ค้างชำระ ศาลบังคับใช้ตามสัดส่วน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไรและเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริงโจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวนและได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่งจึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4695/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องสัญญากู้และการนำสืบหลักฐานหนี้ การชำระหนี้เกินจำนวน และการนำไปชำระหนี้อื่น
โจทก์ฟ้องให้จำเลยรับผิดตามสัญญากู้ โจทก์นำสืบมูลที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ว่าเดิมมีอยู่อย่างไร และเหตุใดจึงมีจำนวนหนี้ดังกล่าวตามที่จำเลยขีดฆ่าและลงชื่อกำกับไว้ก่อนที่จะมีการแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นมีความเป็นมาอย่างไรมิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328
แม้สัญญากู้ยืมจะเป็นตราสารที่ต้องปิดอากรแสตมป์บริบูรณ์ตามประมวลรัษฎากรจึงจะอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ แต่ในกรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระหนี้และจำเลยให้การรับว่าเป็นหนี้จริง โจทก์ก็ไม่จำเป็นต้องอ้างสัญญากู้ยืมเป็นพยานหลักฐาน
จำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่หลายจำนวน และได้ชำระหนี้ให้โจทก์เกินกว่าหนี้ที่ต้องชำระอยู่จำนวนหนึ่ง จึงให้นำเงินจำนวนดังกล่าวชำระหนี้ซึ่งถึงกำหนดชำระก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 328
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1102/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดินหลังทำสัญญา การนำสืบเพิ่มเติมไม่ขัดกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
แม้หนังสือสัญญาขายที่ดินระบุว่าที่ดินราคา9,500,000บาทโดยผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้วแต่เมื่อผู้ซื้อผู้ขายรับกันว่าซื้อขายกันจริงในราคา20,000,000บาทการที่ผู้ขายนำสืบว่าได้รับชำระค่าที่ดินยังไม่ครบถ้วนหาเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในหนังสือสัญญาขายที่ดินไม่จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 805/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาซื้อขายที่ดิน: การพิสูจน์ราคาซื้อขายที่แท้จริง & ความสมบูรณ์ของสัญญาจะซื้อขาย
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ห้ามเฉพาะการนำพยานบุคคลเข้าสืบแทนพยานเอกสารหรือประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อความในเอกสารในเมื่อมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงการที่โจทก์นำสืบถึงข้อตกลงเกี่ยวกับราคาที่ดินตลอดจนเงื่อนไขวิธีการชำระราคาที่ดินด้วยเช็คตามสัญญาจะซื้อขายอันเป็นเอกสารอีกส่วนหนึ่งนอกเหนือจากสัญญาซื้อขายที่ดินจึงหาต้องห้ามไม่ หนังสือสัญญาซึ่งระบุว่าเป็นสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยโจทก์เจ้าของที่ดินตกลงจะขายให้แก่จำเลยที่4และจำเลยที่4ตกลงจะซื้อและมี ข้อสัญญาด้วยว่าเงินค่าธรรมเนียมในการซื้อขายก็ดีเงินค่าภาษีเงินได้ของสรรพากรหรือเงินค่าใช้จ่ายอื่นใดก็ดีที่เกี่ยวแก่การซื้อขายที่ดินตามสัญญานี้ผู้จะซื้อเป็นผู้ออกแทนผู้จะขายทั้งสิ้นแสดงว่าคู่กรณีจะไปทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไปจึงเป็น สัญญาจะซื้อขายเท่านั้น