พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7075/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อหลีกเลี่ยงหนี้ เจ้าหนี้ฟ้องเพิกถอนสัญญาซื้อขายไม่ได้ หากผู้ซื้อไม่รู้ถึงเจตนาหลีกเลี่ยงหนี้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่1ชำระเงินพร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ต่อมาจำเลยที่1จดทะเบียนโอนขายที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่จำเลยที่2เป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบจำเลยที่2ย่อมนำสืบพยานบุคคลหักล้างหนังสือสัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทได้ว่าซื้อขายกันจริงในราคา1,400,000บาทส่วนเหตุที่มีการระบุไว้ในหนังสือสัญญาขายที่ดินว่ามีการซื้อในราคาเพียง780,000บาทนั้นเป็นการแจ้งราคาซื้อขายให้บิดเบือนไปจากราคาซื้อที่ขายกันจริงเพื่อประโยชน์ในการที่จะได้ไม่ต้องเสียภาษีในจำนวนที่สูงเพราะมิใช่เป็นการนำสืบเพื่อให้บังคับหรือไม่บังคับตามสัญญาซื้อขายระหว่างผู้ขายกับผู้ซื้อจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดกโดยความยินยอมและสัญญาแบ่งทรัพย์สินมรดก: ผลผูกพันและข้อยกเว้น
จำเลยให้การว่าโจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอมยอมความคดีมีประเด็นว่าโจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดาและจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วยจึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าวและนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสารย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร เอกสารมีใจความว่าโจทก์และส. ทายาทโดยธรรมล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้โดยโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้นโจทก์ส. และบ. ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยานดังนี้เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วยเอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วนถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1613อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และส. ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของล. แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาทเพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส. ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่บ. ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่บ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกแต่บ. ก็เป็นภรรยาล. จึงมีฐานะเป็นทายาทมีสิทธิได้รับมรดกล.ด้วยและส. ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาทการที่โจทก์ส. และบ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ส. และบ. ผู้จัดการมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1750แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วยสัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าวดังนั้นการที่บ. ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าวจึงเป็นการโอนโดยชอบแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้าแต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้นโจทก์มิได้สละสิทธิด้วยโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน หลังจากล. เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้วต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งบ. เป็นผู้จัดการมรดกถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1754แล้วสิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6637/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สละมรดก สัญญาแบ่งทรัพย์มรดก และสิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์มรดกที่ยังไม่ได้สละ
จำเลยให้การว่า โจทก์สละมรดกและอ้างสัญญาประนีประนอม-ยอมความ คดีมีประเด็นว่า โจทก์ทำบันทึกสละมรดกให้ผู้จัดการมรดกไว้จริงหรือไม่การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่าโจทก์ตกลงโอนที่ดินพิพาทให้จำเลย เพื่อให้เอาไปจำนองแก่ธนาคารเอาเงินมาทำศพบิดา และจำเลยรับจะเลี้ยงมารดาและทำศพมารดาให้ด้วย จึงเป็นการนำสืบถึงมูลเหตุของการทำเอกสารดังกล่าว และนำสืบถึงความเป็นมาของเอกสาร ย่อมไม่ใช่การนำสืบนอกประเด็นหรือนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสาร
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
เอกสารมีใจความว่า โจทก์และ ส.ทายาทโดยธรรม ล.ยินยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งสรรที่ดินมรดกแปลงพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้ โดยโจทก์และ ส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านแต่ประการใดทั้งสิ้น โจทก์ ส.และ บ.ได้ลงชื่อไว้ต่อหน้าพยาน ดังนี้ เมื่อปรากฏว่านอกจากที่ดินดังกล่าวแล้วยังมีบ้านพิพาทเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งด้วย เอกสารทั้งสองฉบับกล่าวถึงที่ดินแต่ไม่กล่าวถึงบ้านด้วยจึงเป็นการสละสิทธิบางส่วน ถือว่าเป็นการสละมรดกไม่ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา1613 อย่างไรก็ตามข้อความตามเอกสารฉบับนี้เป็นกรณีที่โจทก์และ ส.ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมของ ล.แสดงเจตนาสละสิทธิในที่ดินพิพาท เพื่อระงับข้อพิพาทว่าโจทก์และส.ไม่ขอรับและไม่คัดค้านที่ บ.ผู้จัดการมรดกจะแบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาทคนใดก็ได้แม้จะทำไว้แก่ บ.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดก แต่ บ.ก็เป็นภรรยา ล. จึงมีฐานะเป็นทายาท มีสิทธิได้รับมรดก ล.ด้วย และ ส.ในฐานะผู้จัดการมรดกย่อมเป็นผู้มีหน้าที่แบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาท การที่โจทก์ ส.และ บ.ทำเอกสารดังกล่าวไว้นั้นแสดงถึงเจตนาของโจทก์ที่จะไม่รับส่วนแบ่งมรดกที่ดินพิพาทและยอมให้ผู้จัดการมรดกแบ่งให้ทายาทคนใดก็ได้ จึงเป็นสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกระหว่างโจทก์ ส.และ บ.ผู้จัดการมรดก ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1750 แม้จำเลยไม่ได้ลงชื่อด้วย สัญญาดังกล่าวก็ไม่เสียไปและมีผลผูกพันโจทก์ผู้ต้องรับผิดที่ลงชื่อในสัญญาไว้ให้ต้องปฏิบัติตามสัญญาดังกล่าว ดังนั้นการที่ บ.ผู้จัดการมรดกจัดการโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยโดยไม่แบ่งให้โจทก์ก็เป็นไปตามเจตนาของโจทก์ตามเอกสารสัญญาแบ่งปันทรัพย์มรดกดังกล่าว จึงเป็นการโอนโดยชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้จำเลยโอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ทั้งห้า แต่ในส่วนบ้านพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกอีกส่วนหนึ่งนั้น โจทก์มิได้สละสิทธิด้วย โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยแบ่งให้โจทก์ได้ตามส่วน
หลังจาก ล.เจ้ามรดกถึงแก่กรรมแล้ว ต่อมาศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้ง บ.เป็นผู้จัดการมรดก ถือได้ว่าผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกซึ่งยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทซึ่งรวมถึงโจทก์ด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1748โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งทรัพย์มรดกคือบ้านพิพาทได้ แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 แล้ว สิทธิเรียกร้องของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์ และการนำสืบพยานนอกเหนือจากสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่า ในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งบาท แต่ประเด็นข้อพิพาท ในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาในส่วนของค่าเช่าไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการขับไล่แผงลอยหน้าอาคารที่เช่าไม่มีระบุในสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ฉะนั้น การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6526/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาเรื่องทุนทรัพย์และข้อห้ามนำสืบพยานเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงสัญญา
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์อันมีค่าเช่าในขณะยื่นฟ้องเกินเดือนละหนึ่งหมื่นบาทแต่ประเด็นข้อพิพาทในเรื่องขับไล่ได้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วคงพิพาทกันในชั้นอุทธรณ์และฎีกาเฉพาะค่าเช่าเท่านั้นเมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาในส่วนของค่าเช่าไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง ข้อตกลงเรื่องจัดการซ่อมแซมเครื่องปรับอากาศและจัดการขับไล่แผงลอยหน้าอาคารที่เช่าไม่มีระบุในสัญญาเช่าอาคารซึ่งเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ฉะนั้นการที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่ามีข้อตกลงดังกล่าวจึงต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)เพราะเป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารชำระหนี้ที่ไม่ตรงกับฟ้อง ย่อมใช้เป็นหลักฐานการชำระหนี้ไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงข้อความในเอกสารเป็นสิ่งต้องห้าม
เอกสารการชำระหนี้ของจำเลย แม้จะมีโจทก์ในฐานะ ผู้ให้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้ แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วกลับได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเนื่องในกรณีที่จำเลยค้ำประกันหนี้รายที่ ฉ. เป็นผู้กู้เงินไปจากโจทก์ เท่ากับว่าจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับอื่นไม่ใช่ชำระหนี้ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจะรับฟังเป็นหลักฐานการใช้เงินรายนี้ไม่ได้ และจำเลยจะนำสืบว่าเงินที่ชำระแทนฉ. กับเงินที่กู้โจทก์ตามฟ้องเป็นหนี้รายเดียวกันก็เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6320/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารชำระหนี้ที่ไม่ตรงกับข้อฟ้อง ไม่อาจใช้เป็นหลักฐานการชำระหนี้ได้ และการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารเป็นข้อห้าม
เอกสารการชำระหนี้ของจำเลยแม้จะมีโจทก์ในฐานะผู้ให้กู้ได้ลงลายมือชื่อไว้แต่เมื่ออ่านข้อความทั้งหมดแล้วกลับได้ความว่าโจทก์ได้รับเงินจากจำเลยเนื่องในกรณีที่จำเลยค้ำประกันหนี้รายที่ฉ. เป็นผู้กู้เงินไปจากโจทก์เท่ากับว่าจำเลยได้ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ฉบับอื่นไม่ใช่ชำระหนี้ตามที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ดังนั้นเอกสารดังกล่าวจะรับฟังเป็นหลักฐานการใช้เงินรายนี้ไม่ได้และจำเลยจะนำสืบว่าเงินที่ชำระแทนฉ. กับเงินที่โจทก์กู้โจทก์ตามฟ้องเป็นหนี้รายเดียวกันก็เป็นการสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจำนองและกู้ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดกับข้อตกลงในสัญญา
สัญญากู้และสัญญาจำนอง ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา-ความแพ่ง มาตรา 94 (ข)
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
ปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขี้นวินิจฉัยได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6315/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ต้องทำเป็นหนังสือ การนำสืบพยานบุคคลขัดต่อมาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
สัญญากู้และสัญญาจำนองประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 653 วรรคหนึ่งและมาตรา 714 บังคับให้ต้องทำเป็นหนังสือ จึงเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง เมื่อโจทก์มีสัญญากู้และสัญญาจำนองมาแสดง จำเลยจะนำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างว่ายังมีข้อตกลงเพิ่มเติมไปกว่าข้อความที่มีอยู่ในสัญญาทั้งสองนั้นอยู่อีก จึงเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) นี้ เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คู่ความมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในการต่อสู้คดี
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาท จึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่า อาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใด คดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224วรรคสอง
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้
ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมาย ล.1 ไปถึงโจทก์ ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมาย ล.1 ได้