พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6193/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงคดีเช่า และการเปลี่ยนแปลงแก้ไขพยานเอกสาร
เมื่อค่าเช่าอาคารพิพาทในขณะยื่นคำฟ้องได้กำหนดกันไว้แน่นอนแล้วว่าไม่เกินเดือนละสี่พันบาทจึงไม่มีกรณีที่จะต้องพิจารณาอีกต่อไปว่าอาคารพิพาทดังกล่าวอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องเดือนละเท่าใดคดีของโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา224วรรคสอง ในกรณีที่จำเลยมีหนังสือโต้แย้งการบอกเลิกสัญญาเช่าอาคารตามเอกสารหมายล.1ไปถึงโจทก์ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงจำเลยจึงนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารหมายล.1ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทน ความรับผิดของตัวการ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้
จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ. โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่50266 และ 50267 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3 รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2เอง เมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์จากเงินที่ได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วม ย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1จึงชอบแล้ว
จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ. โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3 ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่50266 และ 50267 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3 รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2เอง เมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์จากเงินที่ได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2
ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3 เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3 ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วม ย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5953/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนเชิด สัญญาซื้อขายที่ดิน ความรับผิดชอบ และการลดเบี้ยปรับ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 3 ในฐานะตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้ในสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนมิได้ระบุว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 และที่ 2 โจทก์ก็นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้ เพราะเป็นการสืบถึงความจริงว่าเป็นตัวการและตัวแทนมิใช่สืบถึงการที่จะบังคับตามสัญญาแต่ประการใด และในคำฟ้องบรรยายแต่ว่าเป็นตัวแทน ศาลก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นตัวแทนเชิดได้ เพราะตัวแทนกับตัวแทนเชิดก็มีความรับผิดในลักษณะอย่างเดียวกัน ฉะนั้น ถึงแม้สัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนจะมิได้กล่าวเรื่องตัวแทนตัวการเลย ศาลก็มีอำนาจที่จะรับฟังพยานบุคคลและพฤติการณ์ในคดีประกอบการวินิจฉัยได้ จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ในวันที่ 11 กันยายน 2532 ในสัญญาได้กล่าวถึงที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 ของจำเลยที่ 1 และที่ 2ว่าจำนองอยู่แก่ธนาคาร อ.โจทก์ได้มอบเงินให้จำเลยที่ 3ไป 1,300,000 บาท และได้ชำระหนี้จำนองรายนี้เมื่อวันที่12 กันยายน 2532 จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการไถ่ถอนจำนองและได้มีการจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 50266 และ 50267 เมื่อวันที่19 กันยายน 2532 การไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นเงินที่จำเลยที่ 3รับมาจากโจทก์ มิใช่เป็นเงินของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เองเมื่อได้เงินมาไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยที่ 1 และที่ 2 มอบให้จำเลยที่ 3 เป็นผู้ดำเนินการ เห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2รับเอาประโยชน์จากเงินทีได้มาจากการทำสัญญา ฉะนั้น กิจการที่จำเลยที่ 3 ได้กระทำไป จำเลยที่ 1 และที่ 2 รับเอาประโยชน์นั้น เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ชัดว่า จำเลยที่ 3 เป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 และที่ 2 เมื่อจำเลยที่ 3 ไปทำสัญญาเพื่อประโยชน์ต่างตอบแทนกับโจทก์ สัญญาดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 1 ที่ 2 กับจำเลยที่ 3เป็นตัวการตัวแทน เมื่อตัวแทนทำกิจการในหน้าที่ ความรับผิดชอบต่าง ๆ ต้องอยู่ที่ตัวการ ตัวแทนไม่ต้องรับผิด จึงมิใช่เป็นหนี้ที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดร่วมกันจำเลยที่ 1 และที่ 2 ด้วย และคำให้การต่อสู้คดีเป็นเรื่องเฉพาะตัวจำเลยแต่ละคนเมื่อจำเลยที่ 1 และที่ 2 มิได้ให้การต่อสู้คดีไว้ย่อมไม่มีประเด็นสำหรับจำเลยที่ 1 และที่ 2 การที่จำเลยที่ 3ต่อสู้คดีเรื่องการบอกเลิกสัญญาในคดีที่มิได้เป็นหนี้ร่วมย่อมเป็นการเฉพาะตัวของจำเลยที่ 3 เมื่อคดีสำหรับจำเลยที่ 3 ยุติตั้งแต่ศาลชั้นต้น ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้จำเลยที่ 1 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขสัญญากู้ยืมเงิน การรับรองลายมือชื่อ และผลต่อการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้นบางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลย จึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่า มีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน 20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริง ไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอมและเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5932/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ยืมหลังทำสัญญาไม่ทำให้สัญญาเป็นเอกสารปลอม หากไม่ก่อให้เกิดความเสียหาย
โจทก์ฟ้องอ้างว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์ตามสัญญากู้เอกสารท้ายฟ้องจำนวน 20,200 บาท จำเลยให้การต่อสู้เรื่องสัญญากู้เป็นเอกสารปลอมเป็นประเด็นสำคัญ โดยอ้างเหตุว่าที่เป็นเอกสารปลอมเนื่องจากโจทก์ได้แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้ฝ่ายเดียว แม้จำเลยจะอ้างในคำให้การ ด้วยว่าจำเลยไม่เคยกู้เงินจากโจทก์ตามฟ้องก็ตาม แต่จำเลยก็หาได้ให้การปฏิเสธโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อ ในช่องผู้กู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยไม่ทั้งที่เป็นข้อสาระสำคัญ ที่จำเลยอาจยกขึ้นปฏิเสธในคำให้การได้ จึงเท่ากับจำเลยอ้างเหตุตั้งประเด็นไว้เฉพาะสัญญากู้ตามฟ้องเป็นเอกสารที่ทำปลอมขึ้น บางส่วนเท่านั้น เมื่อจำเลยมิได้ให้การโดยชัดแจ้งว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้มิใช่ลายมือชื่อของจำเลยจึงต้องถือว่าจำเลยรับว่าลายมือชื่อในช่องผู้กู้เป็นลายมือชื่อของจำเลย จำเลยย่อมไม่มีประเด็นที่จะนำสืบว่าลายมือชื่อผู้กู้เป็นลายมือชื่อปลอม และที่จำเลยนำสืบว่าได้ชำระเงินกู้ตามสัญญาโดยมีการเวนคืนเอกสารแล้วนั้น จำเลยก็ให้การว่า วันดังกล่าวจำเลยไม่เคยกู้และรับเงินจากโจทก์ หาได้ให้การเป็นประเด็นว่ามีการกู้เงินและชำระเงินกู้คืนแล้วไม่ จำเลยจึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบเช่นเดียวกัน การที่โจทก์แก้ไขจำนวนเงินในสัญญากู้โดยการขีดฆ่าตัวเลขและตัวอักษรจากจำนวน 25,700 บาท เป็นจำนวน20,200 บาท และลงชื่อกำกับไว้เพื่อให้ตรงกับความเป็นจริงไม่น่าจะเกิดความเสียหายแก่จำเลย และคดีนี้โจทก์แก้ไขจำนวนเงินที่กู้ให้ลดลงจากเดิม กลับจะเป็นประโยชน์แก่จำเลย สัญญากู้จึงไม่เป็นเอกสารปลอม และเป็นเอกสารที่สมบูรณ์รับฟังเป็นพยานหลักฐานในคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5908/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาที่ไม่สมบูรณ์และการหักล้างหนี้ สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ทำให้โจทก์ฟ้องบังคับหนี้ไม่ได้ และจำเลยมีสิทธิหักล้างได้
จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์และเมื่อจำเลยไม่ชำระหนี้ให้โจทก์ โจทก์ก็ให้จำเลยทำสัญญากู้ให้เรื่อย ๆ โดยมิได้มีการกู้และรับเงินกันจริงตามสัญญากู้ที่ทำขึ้นสัญญากู้ที่โจทก์นำมาฟ้องจึงไม่สมบูรณ์ โจทก์นำมาฟ้องบังคับจำเลยไม่ได้ และเมื่อหนี้ตามสัญญาไม่สมบูรณ์ จำเลยก็มีสิทธิที่จะนำสืบหักล้างได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5734/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับช่วงสิทธิของบริษัทประกันภัย: อำนาจฟ้องและการไม่จำกัดด้วยข้อกำหนดสัญญา
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยฟ้องจำเลยทั้งสองให้รับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนอันเนื่องมาจากลูกจ้างของจำเลยทั้งสองกระทำละเมิด เป็นเหตุให้รถยนต์ของผู้ที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์ได้รับความเสียหาย และโจทก์ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว โจทก์จึงเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยฟ้องร้องจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 880 มิใช่การฟ้องร้องบังคับคดีตามสัญญาประกันภัย จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 867 วรรคแรกทั้งไม่อยู่ในบังคับตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 เพราะมิใช่กรณีที่ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง แม้สัญญาประกันภัยจะปิดอากรแสตมป์ครบหรือไม่ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางมัดจำซื้อขายที่ดิน vs. เงินกู้: การนำสืบข้อเท็จจริงเพื่อพิสูจน์ความไม่มีมูลหนี้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวน277,000บาทตามเอกสารสัญญากู้ยืมเงินจำเลยให้การว่าโจทก์จะซื้อที่ดินจากจำเลยได้วางเงินมัดจำ277,000บาทแก่จำเลยเอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้เงินจำเลยจึงนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่าเงินตามที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าวเป็นเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดหรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินวางมัดจำกับการกู้ยืม: การพิสูจน์เจตนาของคู่สัญญาเพื่อกำหนดลักษณะของธุรกรรม
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เงินกู้จำนวน 277,000 บาทตามเอกสารสัญญากู้ยืมเงิน จำเลยให้การว่าโจทก์จะซื้อที่ดินจากจำเลย ได้วางเงินมัดจำ 277,000 บาท แก่จำเลยเอกสารสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่หลักฐานการกู้เงิน จำเลยจึงนำสืบข้อเท็จจริงตามคำให้การได้ว่าเงินตามที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว เป็นเงินมัดจำที่โจทก์วางไว้แก่จำเลยเพราะเป็นการนำสืบถึงความไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดหรืออีกนัยหนึ่งหนี้ที่ระบุในสัญญากู้ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5045/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจะซื้อขาย: การเลื่อนโอนกรรมสิทธิ์ & การเปลี่ยนแปลงราคาที่ดิน
จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินให้โจทก์โดยกำหนดวันจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กันไว้ในหนังสือสัญญาจะซื้อขายการที่โจทก์นำสืบว่ามีการเลื่อนกำหนดการโอนกรรมสิทธิ์จากวันที่กำหนดไว้ในสัญญาหาใช่นำสืบว่าวันที่กำหนดโอนไว้ในสัญญาไม่ใช่วันที่ระบุไว้ในสัญญาจึงมิใช่การนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์ย่อมนำพยานบุคคลมาสืบได้