พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2525/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: การเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารโดยพยานบุคคล
ข้อความในสัญญาประนีประนอมยอมความปรากฏแต่เพียงว่าจำเลยลงชื่อในฐานะพยานการที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยลงชื่อในฐานะเป็นคู่สัญญาซึ่งต้องรับผิดตามสัญญาเท่ากับเป็นการนำสืบพยานบุคคลเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องช่วงสิทธิประกันภัย: บุคคลภายนอกไม่ต้องผูกพันตามสัญญา, พยานหลักฐาน
โจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ ธ.ผู้เอาประกันภัยไปแล้ว ฟ้องจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้ใช้อำนาจปกครอง จึงเป็นการฟ้องในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยตามป.พ.พ. มาตรา 880 ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย
ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก เป็นเพียงบทบัญญัติใช้บังคับเฉพาะแก่คู่กรณีที่ได้ทำสัญญากันเท่านั้น หามีผลผูกพันให้ใช้แก่บุคคลภายนอกจำเลยทั้งสามเป็นบุคคลภายนอก ไม่ได้เป็นคู่สัญญา ย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง การนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้ในวันชี้สองสถานโจทก์ไม่มีต้นฉบับเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยมาแสดงต่อศาล โจทก์ก็สืบพยานบุคคลเพื่อให้ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ได้
ป.พ.พ. มาตรา 867 วรรคแรก เป็นเพียงบทบัญญัติใช้บังคับเฉพาะแก่คู่กรณีที่ได้ทำสัญญากันเท่านั้น หามีผลผูกพันให้ใช้แก่บุคคลภายนอกจำเลยทั้งสามเป็นบุคคลภายนอก ไม่ได้เป็นคู่สัญญา ย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดง การนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานจึงไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 แม้ในวันชี้สองสถานโจทก์ไม่มีต้นฉบับเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยมาแสดงต่อศาล โจทก์ก็สืบพยานบุคคลเพื่อให้ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1867/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของผู้รับประกันภัยและการนำสืบพยานหลักฐานสัญญาประกันภัย
โจทก์ผู้รับประกันภัยซึ่งได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ธ.ผู้เอาประกันภัยไปแล้วฟ้องจำเลยที่1ผู้ทำละเมิดและจำเลยที่2ที่3ผู้ใช้อำนาจปกครองจึงเป็นการฟ้องในฐานะผู้เข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา880ไม่ได้ฟ้องบังคับตามสัญญาประกันภัย ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา867วรรคแรกเป็นเพียงบทบัญญัติใช้บังคับเฉพาะแก่คู่กรณีที่ได้ทำสัญญากันเท่านั้นหามีผลผูกพันให้ใช้แก่บุคคลภายนอกจำเลยทั้งสามเป็นบุคคลภายนอกไม่ได้เป็นคู่สัญญาย่อมไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายที่ต้องนำพยานเอกสารมาแสดงการนำสืบและการรับฟังพยานหลักฐานจึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94แม้ในวันชี้สองสถานโจทก์ไม่มีต้นฉบับเอกสารกรมธรรม์ประกันภัยมาแสดงต่อศาลโจทก์ก็สืบพยานบุคคลเพื่อให้ศาลรับฟังว่าโจทก์เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานนอกคำฟ้อง, การนำสืบที่มาของหนี้, และการพิพากษาเกินคำขอ
แม้โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 90 ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น แต่ที่ศาลอุทธรณ์ใช้ดุลพินิจรับฟังพยานเอกสารดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในคดี อันเป็นอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา87 (2) จึงเป็นการรับฟังพยานหลักฐานที่ชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าวเปลือกก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน 42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์นำสืบถึงการแปลงหนี้ค่าข้าวเปลือกเป็นหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน เป็นการนำสืบถึงที่มาของหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงิน แม้โจทก์จะมิได้บรรยายคำฟ้องว่าหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นหนี้ที่แปลงมาจากหนี้ค่าข้าวเปลือกก็ตาม แต่โจทก์ก็มีสิทธินำสืบถึงที่มาและเหตุที่ทำสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องได้ ไม่เป็นการนำสืบนอกคำฟ้อง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระเงินแก่โจทก์จำนวน93,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี นับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม2530 จนกว่าจะชำระเสร็จ และศาลอุทธรณ์พิพากษายืน แต่เมื่อคำนวณดอกเบี้ยถึงวันฟ้องได้เป็นจำนวนเงิน 42,002.88 บาท ซึ่งเกินกว่าดอกเบี้ยถึงวันฟ้องจำนวน 27,900 บาท ตามคำขอของโจทก์ จึงเป็นการที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาเกินไปกว่าที่ปรากฏในคำฟ้อง ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉาง-ฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้ให้เช่าในฐานะส่วนตัวและอายุความ
ข้อความในสัญญาเช่าฉางระบุว่าจำเลยเป็นผู้ให้เช่าฉางของจำเลยแต่ผู้เดียว โดยมิได้ระบุว่าเป็นตัวแทนผู้ใดต้องถือว่าจำเลยยอมผูกพันตนเองเข้ารับผิดตามสัญญาเป็นการส่วนตัว การที่จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าตนกระทำในฐานะเป็นตัวแทน โดยไม่ยอมรับผิดเป็นส่วนตัวจึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 โจทก์เช่าฉางจากจำเลยแล้วนำข้างเปลือกเก็บไว้ โดยจำเลย เป็นผู้รับและจ่ายข้าวเปลือกคืนโจทก์ เข้าลักษณะฝากทรัพย์เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไปจากการครอบครองของจำเลยผู้รับฝาก การที่โจทก์ผู้ฝากฟ้องร้องเรียกราคาข้าวเปลือกที่ฝากคืนจากจำเลย ซึ่งมิได้มีกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ไว้ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม ซึ่งมีอายุความสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1586/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าฉาง: จำเลยผูกพันตามสัญญาในฐานะส่วนตัว แม้ไม่ได้ระบุเป็นตัวแทน, อายุความฝากทรัพย์ 10 ปี
ข้อความในสัญญาเช่าฉางระบุว่าจำเลยเป็นผู้ให้เช่าฉางของจำเลยแต่ผู้เดียวโดยมิได้ระบุว่าเป็นตัวแทนผู้ใดต้องถือว่าจำเลยยอมผูกพันตนเองเข้ารับผิดตามสัญญาเป็นการส่วนตัวการที่จำเลยนำพยานบุคคลเข้าสืบว่าตนกระทำในฐานะเป็นตัวแทนโดยไม่ยอมรับผิดเป็นส่วนตัวจึงเป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94 โจทก์เช่าฉางจากจำเลยแล้วนำข้าวเปลือกเก็บไว้โดยจำเลยเป็นผู้รับและจ่ายข้าวเปลือกคืนโจทก์เข้าลักษณะฝากทรัพย์เมื่อข้าวเปลือกที่ฝากขาดหายไปจากการครอบครองของจำเลยผู้รับฝากการที่โจทก์ผู้ฝากฟ้องเรียกราคาข้าวเปลือกที่ฝากคืนจากจำเลยซึ่งมิได้มีบทกฎหมายบัญญัติเกี่ยวกับอายุความในเรื่องนี้ไว้จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา164เดิมซึ่งมีอายุความสิบปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1441/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันเป็นเพียงข้อสันนิษฐาน คู่ความมีสิทธิพิสูจน์ส่วนแบ่งที่แตกต่างได้
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1357ที่ว่าเจ้าของรวมมีส่วนเท่ากันไม่ใช่ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดคู่ความมีสิทธิที่จะนำสืบให้รับฟังเป็นอย่างอื่นและสามารถนำพยานบุคคลมานำสืบหักล้างพยานเอกสารสัญญาจำนองและสัญญาซื้อขายที่ดินที่แสดงการเป็นเจ้าของรวมนั้นได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับสภาพหนี้จากการมอบอำนาจโอนกรรมสิทธิ์และการบังคับตามสัญญาเดิม แม้ผู้รับโอนเปลี่ยนแปลง
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน 100,000 บาท ดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง 100,000 บาท ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 248วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว.บุตรสาว ที่จำเลยฎีกาว่า พยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ 2 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร 2 คน ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสอง จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลย ถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และเริ่มนับใหม่ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่4 กรกฎาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง 2 คน โดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว และเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว.บุตร ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้น ต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว. ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้
การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว.เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิม ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิม ซี่งต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามที่จำเลยอ้างไม่
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร 2 คน ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสอง จำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลย ถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใด ๆ อันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่า อายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 172 เดิม เมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่ 4 สิงหาคม 2524 อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่ 4 สิงหาคม 2524 และเริ่มนับใหม่ต่อไป โจทก์ฟ้องคดีวันที่4 กรกฎาคม 2533 ยังไม่เกิน 10 ปี จึงไม่ขาดอายุความ
บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง 2 คน โดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียว และเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้ว จำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว.บุตร ซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อ ว.เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้ง ย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่า จุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้น ต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียว โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว. ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้
การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว.เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิม ก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิม ซี่งต้องห้ามตามประมวล-กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ตามที่จำเลยอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 933/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องบังคับตามสัญญา, การมอบอำนาจ, และเจตนาในการยกทรัพย์ให้บุตร
ที่พิพาทโจทก์จำเลยตีราคาไว้จำนวน100,000บาทดังนั้นราคาทรัพย์หรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงมีเพียง100,000บาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่พิพาทแก่ ว. บุตรสาวที่จำเลยฎีกาว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจนั้นให้โจทก์ไว้เพราะไม่มีการมอบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนสำเนาทะเบียนบ้านและโฉนดที่ดินให้โจทก์ตามเหตุผลที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาข้อ2นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญายกที่พิพาทให้แก่บุตร2คนตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญาจึงมีฐานะเป็นลูกหนี้ที่จะต้องโอนที่พิพาทให้แก่บุตรทั้งสองจำเลยได้ทำหนังสือมอบอำนาจให้โจทก์ไปดำเนินการโอนที่พิพาทให้แก่บุตรแทนจำเลยถือได้ว่าการที่จำเลยทำหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวให้โจทก์ไว้เป็นการกระทำใดๆอันปราศจากเคลือบคลุมสงสัยตระหนักเป็นปริยายว่ายอมรับสภาพหนี้ตามบันทึกหลังทะเบียนหย่าอายุความย่อมสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา172เดิมเมื่อหนังสือมอบอำนาจลงวันที่4สิงหาคม2524อายุความจึงสะดุดหยุดลงตั้งแต่วันที่4สิงหาคม2524และเริ่มนับใหม่ต่อไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่4กรกฎาคม2533ยังไม่เกิน10ปีจึงไม่ขาดอายุความ บันทึกข้อตกลงหลังทะเบียนหย่าระหว่างโจทก์จำเลยระบุยกที่พิพาทแก่บุตรทั้ง2คนโดยมิได้มีเงื่อนไขกำหนดให้สัญญาสิ้นความผูกพันหากเหลือบุคคลที่จะเป็นผู้รับทรัพย์นั้นเพียงผู้เดียวและเมื่อ พ.บุตรคนหนึ่งถึงแก่กรรมไปแล้วจำเลยยังทำหนังสือมอบอำนาจเป็นการรับสภาพหนี้ที่มีความผูกพันที่จะโอนที่พิพาทให้แก่ ว. บุตรซึ่งจำเลยรู้อยู่แล้วว่ายังคงเหลืออยู่เพียงผู้เดียวโดยระบุชื่อว. เป็นผู้รับโอนไว้อย่างชัดแจ้งย่อมแสดงให้เห็นเจตนาของจำเลยว่าจุดประสงค์ที่แท้จริงในการยกที่พิพาทนั้นต้องการยกให้แก่บุตรเท่านั้นโดยมิได้คำนึงถึงจำนวนบุตรว่าจะอยู่ครบทั้งคู่หรือเหลือเพียงคนเดียวโจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยโอนที่พิพาทแก่ ว.ตามสัญญาและศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่พิพาททั้งแปลงแก่ ว. ได้ การที่จำเลยระบุผู้รับโอนที่พิพาทเป็น ว. เพียงคนเดียวในหนังสือมอบอำนาจแตกต่างไปจากสัญญาเดิมก็หาใช่เป็นเรื่องที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาเดิมซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94ตามที่จำเลยอ้างไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 41/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานบุคคลเพื่ออธิบายความหมายของสัญญาเช่า ไม่ถือเป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญา
สัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าระบุไว้แต่เพียงว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์เท่านั้นการที่โจทก์นำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงด้วยวาจาว่าจำเลยจะต้องสร้างตึกแถวอาคารพาณิชย์3ชั้นและ2ชั้นหน้ากว้าง4เมตรลึก14ถึง16เมตรเป็นการนำสืบอธิบายความหมายของคำว่าตึกแถวอาคารพาณิชย์ในสัญญาไม่ใช่เป็นการสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าและหนังสือต่อท้ายสัญญาเช่าตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)โจทก์จึงนำพยานบุคคลมาสืบได้