คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 94

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 640/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: เอกสารสิทธิชี้ขาด การนำสืบแก้ข้อความในเอกสารต้องห้าม
การซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ต้องทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคแรก เป็นกรณีที่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีเอกสารมาแสดง เมื่อหนังสือสัญญาขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างระบุว่า โจทก์ทั้งสองได้ชำระราคาและจำเลยทั้งสองได้รับเงินค่าที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่ซื้อขายเรียบร้อยแล้ว ก็ต้องฟังยุติตามนั้น การที่จำเลยทั้งสองนำพยานบุคคลมาสืบว่า ยังไม่ได้รับชำระค่าที่ดินครบถ้วน เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11760/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญากู้เงินแยกฉบับ - การนำสืบพยานขัดแย้งกับเอกสาร - สิทธิการยึดถือโฉนดที่ดิน
โจทก์กับ อ. ต่างลงลายมือชื่อในสัญญากู้คนละฉบับ แต่สัญญากู้ทั้งสองฉบับไม่มีข้อความแสดงว่า โจทก์กับ อ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากจำเลย ที่จำเลยนำสืบว่า สัญญากู้ทั้งสองฉบับเป็นการที่โจทก์กับ อ. ร่วมกันกู้ยืมเงินจากจำเลย ส่งผลให้โจทก์ต้องร่วมรับผิดกับ อ. เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพิ่มเติมพยานเอกสาร ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำเลยให้ อ. กู้เงินโดยโจทก์มอบโฉนดที่ดินไว้เป็นประกัน การที่โจทก์ทำสัญญากู้ไว้ แต่มิได้ร่วมกับ อ. กู้ยืมเงินจากจำเลย โจทก์จึงไม่เป็นลูกหนี้ที่จะต้องชำระหนี้แก่จำเลย จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินของโจทก์ไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11645/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ และสิทธิในการคิดดอกเบี้ยผิดนัด
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้เงินโจทก์กำหนดดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี โดยสัญญากู้ระบุว่า ดอกเบี้ยตามกฎหมาย แต่โจทก์นำสืบว่า ขั้นแรกตกลงคิดดอกเบี้ยกันอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ต่อมาลดลงเหลือร้อยละ 3 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยชำระมาแล้วเป็นการชำระดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย จำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ทั้งยังค้างชำระดอกเบี้ยอีกสามหมื่นบาทเศษ จึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้เต็มจำนวนกับดอกเบี้ยตามที่ระบุในสัญญานับตั้งแต่วันกู้ ดังนี้เป็นการนำสืบเรื่องรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่ฟ้อง เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืน พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ.2475 มาตรา 3 ประกอบด้วย ป.พ.พ. มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ทั้งการรับฟังพยานบุคคลว่าหนี้ที่ระบุไว้ในเอกสารไม่สมบูรณ์ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงเป็นโมฆะ
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดแก่โจทก์ ถือว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตาม ป.พ.พ. มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิเรียกคืนจึงจะให้นำไปหักดอกเบี้ยตามกฎหมายหรือหักจากยอดต้นเงินไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8163/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายโดยวางมัดจำ: ศาลรับฟังพยานบุคคลประกอบเอกสารได้ หากกฎหมายไม่ได้บังคับให้ต้องมีพยานเอกสารเท่านั้น
โจทก์และจำเลยมีเจตนาก่อนิติสัมพันธ์กันเป็นสัญญาจะซื้อขายโดยการวางมัดจำตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ซึ่งมิได้กำหนดแบบไว้ว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ สัญญาจะซื้อจะขายเกิดขึ้นนับแต่เวลาที่โจทก์วางมัดจำ มิใช่เพิ่งเกิดในภายหลังเมื่อมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเป็นหนังสือ เมื่อ ป.วิ.พ. มาตรา 94 จำกัดเฉพาะกรณีที่กฎหมายกำหนดว่า ข้อเท็จจริงในเรื่องที่ฟ้องร้องกันนั้นจะต้องแสดงให้ปรากฏด้วยการนำสืบพยานเอกสาร จึงต้องห้ามนำพยานบุคคลเข้าสืบเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารที่ได้นำมาแสดงแล้ว จึงไม่ตกอยู่ในบังคับข้อห้ามดังกล่าว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานบุคคลว่าจำเลยตกลงจะหาสถาบันการเงินให้โจทก์กู้ยืมชำระหนี้คืนจำเลยโดยมีระยะเวลาผ่อนนาน 15 ปี ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14241/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: ข้อตกลงเพิ่มเติมทางวาจาขัดแย้งกับหลักฐานหนังสือ
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดรูปแบบและหลักฐานในการทำสัญญากันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองว่า สัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จากบทกฎหมายดังกล่าว หากคู่สัญญาจะทำสัญญาจะซื้อขายให้มีผลทางกฎหมายในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ต้องเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือวางประจำ หรือมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยเลือกรูปแบบของสัญญาโดยทำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำกันไว้ ถือเป็นกรณีทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดโดยลงลายมือชื่อโจทก์จำเลยไว้เพื่อให้คู่สัญญาฟ้องบังคับฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ จึงเป็นกรณีที่หากฟ้องร้องบังคับคดีต้องมีสัญญาจะซื้อขายมาแสดงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้น จำเลยจะขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำมาแสดงแล้ว อ้างว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าโจทก์จะชำระเงินที่เหลือภายใน 1 เดือน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13825/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองที่ดินเพื่อค่านายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานต่างประเทศ ชำระหนี้แล้ว ศาลยืนหยัดคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินจากโจทก์เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2542 และจำเลยได้รับเงินกู้ยืมไปครบถ้วนแล้ว จำเลยให้การว่าจำเลยไม่เคยกู้ยืมเงินจากโจทก์และไม่เคยได้รับเงินไปจากโจทก์ จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเพื่อประกันการทำสัญญานายหน้าจัดส่งคนงานไปทำงานที่ไต้หวัน เท่ากับจำเลยให้การว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องซึ่งเป็นการยืมใช้สิ้นเปลืองไม่สมบูรณ์ เพราะไม่มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ยืมตาม ป.พ.พ. มาตรา 650 จำเลยจึงไม่ต้องห้ามมิให้นำสืบพยานบุคคลว่าสัญญากู้ยืมเงินตามคำฟ้องไม่สมบูรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ที่จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าสัญญาจำนองดังกล่าวเป็นประกันการชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ดินแดนไต้หวันและจำเลยได้ชำระหนี้หมดแล้วนั้น ก็เป็นการนำสืบถึงที่มาแห่งมูลหนี้จำนอง หาใช่การนำสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารอันจะต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ไม่ และการนำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญานายหน้าส่งคนไปทำงานที่ต่างประเทศก็มิใช่การนำสืบถึงการใช้เงินกู้ยืมที่มีหลักฐานเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่อยู่ในบังคับมาตรา 653 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4694/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิฟ้องขับไล่จากสัญญาเช่า: แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องกรรมสิทธิ์ แต่สิทธิฟ้องยังคงมีอยู่หากมีสัญญาเช่า
โจทก์ฟ้องว่า จ. ซึ่งเป็นปู่ของโจทก์เช่าที่ดินแปลงที่ปลูกห้องแถวพิพาทมาจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อประโยชน์ในการปลูกห้องแถวนำออกให้เช่า จ. ได้ปลูกห้องแถวพิพาทแล้ว ต่อมา จ. ถึงแก่ความตาย โจทก์จึงได้เข้าเป็นคู่สัญญาเช่าที่ดินจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์แทน และโจทก์มอบอำนาจให้ ส. มารดาของโจทก์ทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับจำเลยแทนโจทก์ จำเลยให้การว่าจำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาทโดยซื้อมาจาก ค. แต่ยอมรับว่าทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทตามสัญญาเช่าที่โจทก์ระบุมาให้คำฟ้องจริง เนื่องจากที่ดินที่ปลูกห้องแถวเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ คำให้การของจำเลยดังกล่าวเป็นที่เข้าใจได้ว่า จำเลยให้การปฏิเสธคำฟ้องโจทก์โดยสิ้นเชิง คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากห้องแถวพิพาทหรือไม่
จำเลยทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์และสัญญาเช่าไม่มีกำหนดระยะเวลาเมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแก่จำเลยโดยกำหนดระยะเวลาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินออกไปโดยชอบแล้ว จำเลยเพิกเฉย โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า และไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้ใดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท
จำเลยให้การและนำสืบพยานบุคคลว่าเหตุที่ต้องทำสัญญาเช่าห้องแถวพิพาทกับโจทก์เนื่องมาจากไม่สามารถทำสัญญญาโอนสิทธิการเช่าได้ เพราะที่ดินเป็นของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์เป็นการนำสืบพยานบุคคลเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่า - ตัวแทนไม่เปิดเผยชื่อ - ค่าเสียหาย - การเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้เช่า
จำเลยร่วมรับว่าเงินประกันการเช่าในวันยื่นแบบเสนอราคา เงินค้ำประกันการทำสัญญาและเงินค่าเช่าภายหลังสัญญาเป็นเงินของจำเลยร่วม กับมิได้ปฏิเสธถึงเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่จำเลยอ้างว่าเป็นเงินของจำเลยร่วม จึงต้องฟังว่าเงินค่าเช่าล่วงหน้าที่จำเลยชำระให้โจทก์เป็นเงินของจำเลยร่วม ส่วนหนังสือขอเปลี่ยนแปลงชื่อผู้เช่านั้นโจทก์นำสืบสนับสนุนว่า จำเลยร่วมมีหนังสือถึงโจทก์ขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าอ้างว่ามอบอำนาจให้จำเลยทำสัญญาเช่ากับโจทก์ โจทก์จึงแจ้งจำเลยร่วมว่าได้รับเรื่องไว้พิจารณาแล้ว โดย ก. กรรมการผู้มีอำนาจของจำเลยร่วมเบิกความรับว่าได้รับเอกสารที่โจทก์แจ้งจริง ทั้งมิได้ปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของหนังสือขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าการที่จำเลยร่วมนำสืบว่าไม่เคยมีหนังสือขอเปลี่ยนชื่อผู้เช่าถึงโจทก์จึงรับฟังไม่ได้ที่จำเลยร่วมนำสืบและฎีกาอ้างว่า จำเลยร่วมทำท่าขึ้นทรายในที่ดินที่เช่าและออกเงินค้ำประกันการทำสัญญาเช่าให้จำเลย กับยินยอมให้จำเลยกู้เงินโดยไม่ทำหลักฐานการกู้เพื่อชำระค่าประมูล ค่าเช่าภายหลังสัญญา เพราะจำเลยร่วมได้รับค่าตอบแทนจากจำเลยเป็นค่าจ้างให้ขนทรายในอัตรา 100 บาท ต่อ 1 ลูกบาศก์เมตร โดยวันหนึ่งขนทรายไม่ต่ำกว่า 3,000 ลูกบาศก์เมตร เนื่องจากบริษัทของจำเลยทำสัญญาขายทรายให้บริษัท ว. ดังนี้ แม้หากจะฟังว่าจำเลยร่วมรับจ้างขนทรายให้บริษัทของจำเลยก็ตาม แต่จำเลยผู้ว่าจ้างเพียงมีหน้าที่ต้องชำระเงินค่าจ้างให้จำเลยร่วมผู้รับจ้างเท่านั้น เป็นหน้าที่ของจำเลยร่วมต้องทำท่าขึ้นทรายเพื่อขนทรายให้บริษัทจำเลยตามที่รับจ้าง เมื่อการเช่าที่ดินตามฟ้อง เป็นการเช่าเพื่อทำท่าขึ้นทรายและจำเลยร่วมเข้าใช้ประโยชน์โดยการทำท่าขึ้นทราย 3 ท่า ในที่ดินที่เช่าด้วยค่าใช้จ่ายของจำเลยร่วมเพื่อขนทรายไปส่งตามที่ว่าจ้าง และเงินที่จำเลยชำระให้โจทก์ตามสัญญาเป็นเงินของจำเลยร่วมทั้งสิ้นข้ออ้างดังกล่าวของจำเลยร่วมจึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟัง ทั้งยิ่งกลับทำให้พยานหลักฐานของจำเลยมีน้ำหนักมากขึ้น ข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แทนจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ
เมื่อจำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินแต่อย่างใดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2303/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าที่ดิน - ตัวการไม่เปิดเผยชื่อ - ความรับผิดในค่าเสียหาย - การหักเงินค้ำประกัน
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์แทนจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ การที่โจทก์ไม่พิจารณาเปลี่ยนชื่อผู้เช่าที่ดินจากจำเลยเป็นจำเลยร่วมตามที่จำเลยร่วมร้องขอ ก็เพราะจำเลยไม่เคยเปิดเผยต่อโจทก์ว่าทำสัญญากับโจทก์ในฐานะตัวแทนของจำเลยร่วม แม้โจทก์จะเพิ่งทราบว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการในการทำสัญญาเช่าที่ดิน ก็เป็นสิทธิของโจทก์จะเลือกฟ้องตัวการหรือตัวแทนให้รับผิดตามสัญญาได้ เพราะถึงอย่างไรจำเลยในฐานะตัวแทนก็ไม่จำต้องรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์อยู่แล้ว จึงมิใช่โจทก์ประสงค์ที่จะผูกพันกับจำเลยโดยตรงเท่านั้น จำเลยร่วมจึงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าต่อโจทก์
ปัญหาว่า จำเลยนำสืบแก้ไขเอกสารเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 หรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยร่วมมิได้ยกขึ้นว่ากล่าวในคำฟ้องอุทธรณ์ จำเลยร่วมก็ยกขึ้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง
จำเลยทำสัญญาเช่าที่ดินกับโจทก์ การที่จำเลยนำสืบว่า จำเลยทำสัญญาดังกล่าวในฐานะเป็นตัวแทนของจำเลยร่วมซึ่งเป็นตัวการไม่เปิดเผยชื่อ จึงเป็นเพียงนำสืบความจริงว่าจำเลยร่วมเป็นตัวการเพื่อให้จำเลยร่วมเข้ามารับผิดตามสัญญาแทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาเช่าที่ดินอันต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
ปัญหาว่าคำฟ้องโจทก์ในส่วนค่าเสียหายเคลือบคลุมหรือไม่ มิใช่เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนที่ศาลจะยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง เมื่อจำเลยร่วมมิได้ยกปัญหาดังกล่าวขึ้นอ้างในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 จำเลยร่วมจึงไม่อาจยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9765/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดิน: พยานหลักฐานจากพยานบุคคลมีน้ำหนักกว่าทะเบียนการครอบครองดินที่ไม่มีเอกสารอ้างอิง
ปัญหาว่าที่ดินเป็นของผู้ใด ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง โจทก์จึงสามารถนำสืบได้ว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองในที่ดินและสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารทะเบียนการครอบครองที่ดินได้
of 110