พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5258/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบพยานหลักฐานเปลี่ยนแปลงเอกสารในคดีอาญา ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ในคดีอาญาจำเลยย่อมนำสืบตามข้ออ้างของตน ซึ่งอาจเป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงหรือแก้ไขเอกสารใดๆ ได้ทั้งสิ้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา เพราะประมวลวิธีพิจารณาความอาญามิได้มีข้อจำกัดห้ามมิให้นำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารในบางกรณีไว้ดังประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
( วินิจฉัยทำนองเดียวกับคำพิพากษาฎีกาที่ 1210/2511 )
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรสและการถอนคืนสิทธิเนื่องจากเนรคุณ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการให้มีมูลเหตุจูงใจจากการสมรส จึงไม่สามารถถอนคืนได้
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 535 (4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินในโอกาสสมรส และสิทธิในการถอนคืนการให้เมื่อจำเลยประพฤติเนรคุณ
แม้ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาล ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าโจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไปนั้นหาใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาไม่ เพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธินำสืบได้
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ดังนั้น ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ก็ตาม โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4) ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5126/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้ที่ดินเนื่องในโอกาสสมรส: สิทธิในการถอนคืน และการนำสืบพยานหลักฐาน
ในวันที่จำเลยที่ 1 อ้างตนเองเข้าเบิกความต่อศาลชั้นต้น ก. ได้นั่งฟังอยู่ในห้องพิจารณาด้วยอันเป็นการผิดระเบียบ แต่เมื่อคำเบิกความของ ก. มีเหตุผลน่าเชื่อฟัง ศาลย่อมฟังคำเบิกความของ ก. เพื่อประกอบการพิจารณาได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 114 วรรคสอง
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)
การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่า โจทก์จดทะเบียนให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเนื่องในโอกาสที่จำเลยทั้งสองสมรสกันเพื่อให้ใช้ทำมาหากินเลี้ยงครอบครัวสืบไป มิใช่เป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารหลักฐานการจดทะเบียนที่ระบุว่าเป็นการให้โดยเสน่หาเพราะเป็นการนำสืบให้เห็นถึงมูลเหตุจูงใจที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองว่าเป็นการให้เนื่องในโอกาสใด
โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยทั้งสองในการสมรส ไม่ว่าจำเลยทั้งสองจะได้ประพฤติเนรคุณโจทก์หรือไม่ โจทก์ก็จะฟ้องขอถอนคืนการให้ไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5101/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบความเป็นมาของหนี้กู้ยืมเงินเพื่อยืนยันเหตุผลในการรับผิดตามสัญญา ไม่ถือเป็นการนำสืบเกินกรอบประเด็น
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกู้ยืมเงินและรับเงินกู้ไปจากโจทก์แล้ว โจทก์นำสืบว่าจำเลยเคยกู้ยืมเงินโจทก์มาก่อนวันทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงิน โดยวิธีนำเช็คมาแลกเงินสดจากโจทก์หลายครั้ง แล้วรวมทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวเป็นจำนวนเงินตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คจากธนาคารได้ เป็นการนำสืบเพื่อให้ทราบถึงมูลเหตุที่จำเลยต้องทำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินให้แก่โจทก์ อันเป็นการนำสืบถึงความเป็นมาแห่งหนี้ตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าว และเป็นข้อเท็จจริงในประเด็นที่ว่าเหตุใดจำเลยจึงต้องรับผิดตามหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้อง หาใช่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาดังกล่าวหรือเป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4436/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันหนี้ที่ไม่ใช่หนี้ต่อโจทก์ สัญญาจำนองเป็นโมฆะ
การที่จำเลยจดทะเบียนจำนองที่ดินพิพาทไว้แก่โจทก์นั้น แท้จริงแล้วเป็นการจำนองประกันหนี้ที่จำเลยมีต่อ ล. โจทก์ผู้รับจำนองจึงมิได้เป็นเจ้าหนี้ในมูลหนี้ที่จำเลยจำนองที่ดินเป็นประกัน สัญญาจำนองจึงไม่มีมูลหนี้ที่จำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ โจทก์จึงบังคับจำนองแก่จำเลยมิได้
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ต้นเงินที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จาก ล. และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกัน แล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนอง จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นการนำสืบเพื่ออธิบายถึงที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายหาใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้
การที่จำเลยนำสืบพยานบุคคลว่า การจำนองที่ดินตามหนังสือสัญญาจำนองที่ดินเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้ต้นเงินที่จำเลยได้รับมาปล่อยกู้จาก ล. และดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ค้างชำระรวมกัน แล้วใช้ชื่อโจทก์เป็นผู้รับจำนอง จำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องเป็นการนำสืบเพื่ออธิบายถึงที่มาของหนี้ตามสัญญาจำนองว่าไม่สมบูรณ์เพราะไม่มีมูลหนี้ต่อกัน จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 วรรคท้ายหาใช่เป็นการนำสืบว่าจำเลยไม่ได้รับเงินตามเอกสารดังกล่าวไม่ จำเลยย่อมมีสิทธินำสืบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับจำนอง, สัญญาค้ำประกัน, อายุความ และการให้สัตยาบันต่อการกระทำของตัวแทน
ป.พ.พ. มาตรา 728 บัญญัติว่า "เมื่อจะบังคับจำนองนั้น ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ก่อนว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรซึ่งกำหนดไว้ในคำบอกกล่าวนั้น?" และมาตรา 798 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "กิจการอันใดท่านบังคับไว้โดยกฎหมายว่าต้องทำเป็นหนังสือ การแต่งตั้งตัวแทนเพื่อกิจการอันนั้นก็ต้องทำเป็นหนังสือด้วย" บทบัญญัติมาตรา 728 มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือ กรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่งดังกล่าว
โจทก์มอบหมายให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนั้น เมื่อ อ. ตัวแทนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนองย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 แล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่แก่โจทก์ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้ และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไปในภายหน้าด้วย การฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)
โจทก์มอบหมายให้ อ. บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนองแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 823 ดังนั้น เมื่อ อ. ตัวแทนโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนองย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 728 แล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 1 ที่มีอยู่แก่โจทก์ มีข้อความระบุไว้ชัดเจนว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกันนี้ และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไปในภายหน้าด้วย การฟ้องร้องจำเลยที่ 2 กับที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกัน เป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ ฯ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสารโดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้มีพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบ ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่โจทก์มาฟ้องเรียกร้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีท ซึ่งเป็นสัญญาที่ไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ไม่ใช่กรณีที่โจทก์ประกอบธุรกิจในการดูแลกิจการของจำเลยที่ 1 เรียกเอาเงินที่ได้ทดรองจ่ายแทนจำเลยที่ 1 ซึ่งมีกำหนดอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (7)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3698/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญา: การคิดดอกเบี้ยสูงสุดต้องเป็นไปตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและข้อตกลงในสัญญา
สัญญาทรัสต์รีซีทที่ระบุข้อตกลงว่า จำเลยที่ 1 จะชำระค่าสินค้าโดยคำนวณเป็นเงินไทยตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ธนาคารโจทก์ต้องชำระค่าสินค้าแทนจำเลยที่ 1 หรือตามอัตราแลกเปลี่ยนที่ตกลงกันไว้ หรือในอัตราแลกเปลี่ยนของโจทก์ ณ วันครบกำหนดชำระเงินตามทรัสต์รีซีท หรือในอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่จำเลยที่ 1 ชำระเงินตามทรัสต์รีซีท โดยจำเลยที่ 1 ยอมให้โจทก์เป็นผู้เลือกที่จะใช้อัตราใดแล้วแต่จะเห็นสมควรเป็นข้อตกลงที่ไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนเมื่อโจทก์เรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินโดยคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยในวันครบกำหนดชำระเงินตามสัญญาทรัสต์รีซีทแต่ละฉบับซึ่งเป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา ศาลจึงไม่มีอำนาจบังคับโจทก์ให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยในวันอื่นที่โจทก์ไม่ได้เลือก จำเลยทั้งสี่จึงไม่อาจอ้างว่าโจทก์คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินชิลลิงออสเตรียเป็นเงินไทยโดยไม่เป็นธรรมได้
บทบัญญัติมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
โจทก์มอบให้ อ. พนักงานธนาคารโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ดังนั้นเมื่อ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามมาตรา 728 แล้ว
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้งสิบสองฉบับและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาฉบับสุดท้ายถึงวันที่โจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเกิน 1 ปี แล้ว และหลังจากโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการฟ้องร้องจำเลยทั้งสี่ในทันทีเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนอง แต่มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือกำหนดเวลา 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นสาระสำคัญ ถือไม่ได้ว่าจดหมายบอกกล่าวมิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรจึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกัน และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไป ในภายหน้าด้วย การฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารแสดง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสาร การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์ว่ามีข้อความเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์ซีท ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำแปลเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่คู่ความอ้างส่งในคดี จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างเอกสารเป็นพยาน และถือเป็นหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะต้องร่วมกันสื่อความหมายของข้อความนั้นให้ศาลได้เข้าใจได้ตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายที่แท้จริงของข้อความภาษาต่างประเทศนั้นให้มากที่สุด ดังนั้นหากคำแปลเป็นภาษาไทยไม่ถูกต้อง คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมขอแก้ไขเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา
การคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีท ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3(4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
บทบัญญัติมาตรา 728 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มิได้บัญญัติว่าการบอกกล่าวบังคับจำนองต้องทำเป็นหนังสือกรณีจึงไม่ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 798 วรรคหนึ่ง
โจทก์มอบให้ อ. พนักงานธนาคารโจทก์บอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1โดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือ แต่เมื่อ อ. มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ได้รับแล้วไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ โจทก์จึงนำคดีมาฟ้อง แสดงว่าโจทก์ยอมรับเอาการบอกกล่าวบังคับจำนองของ อ. ถือได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นตัวการได้ให้สัตยาบันแก่การกระทำของ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนที่บอกกล่าวบังคับจำนอง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 823 ดังนั้นเมื่อ อ. ซึ่งเป็นตัวแทนของโจทก์มีหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 1 ผู้จำนอง ย่อมถือได้ว่าโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังผู้จำนองตามมาตรา 728 แล้ว
จำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์รีซีททั้งสิบสองฉบับและไม่ชำระหนี้ให้แก่โจทก์เลยนับแต่วันครบกำหนดชำระหนี้ตามสัญญาฉบับสุดท้ายถึงวันที่โจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเกิน 1 ปี แล้ว และหลังจากโจทก์มีจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองซึ่งจำเลยที่ 1 ได้รับเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 2541 โจทก์ก็มิได้ดำเนินการฟ้องร้องจำเลยทั้งสี่ในทันทีเมื่อพ้นกำหนด 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนอง แต่มาฟ้องเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2542 แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือกำหนดเวลา 15 วัน ตามจดหมายบอกกล่าวบังคับจำนองเป็นสาระสำคัญ ถือไม่ได้ว่าจดหมายบอกกล่าวมิได้กำหนดเวลาให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควรจึงเป็นการบอกกล่าวบังคับจำนองโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
หนังสือสัญญาค้ำประกันซึ่งจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้ในฐานะผู้ค้ำประกันระบุว่าเป็นการค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 อันเกิดจากนิติกรรมใด ๆ ที่จำเลยที่ 1 ได้กระทำไว้แล้วในขณะทำสัญญาค้ำประกัน และหนี้เกิดจากนิติกรรมใด ๆ ต่อไป ในภายหน้าด้วย การฟ้องจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ให้รับผิดตามหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นกรณีที่กฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารแสดง ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อโจทก์อ้างส่งหนังสือสัญญาค้ำประกันเป็นพยานเอกสาร การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 อุทธรณ์ว่ามีข้อความเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 มิได้ทำสัญญาค้ำประกันหนี้ในอนาคตของจำเลยที่ 1 ศาลย่อมไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากข้อความในหนังสือสัญญาค้ำประกันได้
การที่ฟ้องให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาทรัสต์ซีท ซึ่งจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระหนี้แก่โจทก์ ไม่มีกฎหมายกำหนดเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
คำแปลเอกสารที่เป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยไม่ถือว่าเป็นเอกสารที่คู่ความอ้างส่งในคดี จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งว่าด้วยการอ้างเอกสารเป็นพยาน และถือเป็นหน้าที่ของคู่ความทั้งสองฝ่ายที่จะต้องร่วมกันสื่อความหมายของข้อความนั้นให้ศาลได้เข้าใจได้ตรงหรือใกล้เคียงกับความหมายที่แท้จริงของข้อความภาษาต่างประเทศนั้นให้มากที่สุด ดังนั้นหากคำแปลเป็นภาษาไทยไม่ถูกต้อง คู่ความทั้งสองฝ่ายหรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งย่อมขอแก้ไขเมื่อใดก็ได้ก่อนศาลมีคำพิพากษา
การคิดดอกเบี้ยจากต้นเงินที่จำเลยที่ 1 ค้างชำระตามสัญญาทรัสต์รีซีท ต้องปฏิบัติตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศธนาคารโจทก์และตามสัญญาทรัสต์รีซีท เมื่อสัญญาทรัสต์รีซีทข้อ 7 ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1ผิดนัดได้ตามอัตราที่ระบุในสัญญาข้อ 4 และข้อความในสัญญาข้อ 4 ระบุถึงอัตราดอกเบี้ยในกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระภายในกำหนดเวลาตามสัญญาอันเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ยังไม่ผิดนัดซึ่งแม้สัญญาข้อ 4 จะระบุให้ใช้อัตราดอกเบี้ยสูงสุดตามประกาศธนาคารโจทก์ย่อมหมายถึงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าที่ไม่ผิดนัดเท่านั้น ดังนี้ โจทก์ย่อมมีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยที่ 1 เพียงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดสำหรับลูกค้าทั่วไปที่ไม่ผิดนัดตามประกาศธนาคารโจทก์ ไม่ใช่อัตราสูงสุดในกรณีลูกค้าผิดเงื่อนไขหรือผิดสัญญา เพราะตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องการกำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลดข้อ 3(4) กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์เรียกดอกเบี้ยในอัตราสำหรับลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขได้เฉพาะกรณีที่ลูกค้าปฏิบัติผิดเงื่อนไขแล้วเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3108/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฉ้อฉลในการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ได้ว่าถูกฉ้อฉลจริง พยานหลักฐานต้องน่าเชื่อถือ
โจทก์มีภาระการพิสูจน์ว่าถูกจำเลยที่ 1 ฉ้อฉลให้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 แต่พยานหลักฐานของโจทก์ไม่น่าเชื่อถือและไม่มีน้ำหนักในการรับฟัง โจทก์ย่อมต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: ข้อตกลงสภาพการจ้างไม่อาจใช้แปลความสัญญาค้ำประกัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ผู้ค้ำประกันอ้างมีข้อความเกี่ยวกับการจ้างจำเลยที่ 1 เข้าทดลองงานเท่านั้น ไม่มีข้อความใดเกี่ยวพันกับสัญญาค้ำประกันที่จะนำมาแปลความหมายในสัญญาค้ำประกันได้ ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 อ้างข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวเพื่อให้นำมาพิจารณาประกอบสัญญาค้ำประกัน หรืออ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าจำเลยมีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น ล้วนแต่เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญา ค้ำประกันอีก ซึ่งต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ประกอบ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31