พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,097 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2601/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การขยายความรับผิดเกินกว่าที่ตกลงกัน และข้อจำกัดการนำสืบพยานเพิ่มเติม
การที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 อ้างคำเบิกความพยานโจทก์และพยานจำเลยว่าโจทก์มีระเบียบในการเปลี่ยนสัญญาค้ำประกันใหม่เมื่อมีการเปลี่ยนตำแหน่งสูงขึ้นหรือมีความรับผิดชอบสูงขึ้น เป็นการอ้างเพื่อให้ศาลรับฟังว่ายังมีข้อความเพิ่มเติมข้อความในสัญญาค้ำประกันนั้นอยู่อีก จึงต้องห้ามมิให้ศาลรับฟังพยานเช่นว่านั้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94ประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 31
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1742/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การรับฟังพยานหลักฐานนอกสัญญา, และการวินิจฉัยข้อพิพาทสัญญาเช่า
คดีฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ แม้ตามฟ้องโจทก์จะอ้างว่าที่ดินพิพาทมีผู้ประสงค์จะเช่าเดือนละ 15,000 บาท แต่ศาลชั้นต้นเห็นว่า ทางนำสืบของโจทก์ไม่น่าเชื่อว่าโจทก์จะเสียหายถึงเดือนละ 15,000 บาท จึงกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เพียงเดือนละ 4,000 บาท โจทก์มิได้อุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น จึงถือได้ว่าที่ดินพิพาทอาจให้เช่าได้ในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 10,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248วรรคสอง
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบถึงการที่จำเลยกั้นแบ่งห้องให้บุคคลภายนอกเช่า โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังจึงได้บอกเลิกการเช่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ระบุในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินว่าเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แต่จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ยื่นฟ้องโดยแต่งตั้ง ป. เป็นทนายความและให้ ป. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความพร้อมใบแต่งทนายความแล้ว เมื่อ ป. ยื่นฟ้องฎีกาจึงไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความอีก
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ โจทก์ฎีกาว่า โจทก์ไม่ทราบถึงการที่จำเลยกั้นแบ่งห้องให้บุคคลภายนอกเช่า โจทก์เพิ่งมาทราบภายหลังจึงได้บอกเลิกการเช่า ถือไม่ได้ว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าจึงเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาในข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคสอง
จำเลยเช่าที่ดินพิพาทจากโจทก์ระบุในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินว่าเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แม้ว่าประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาดังกล่าว จึงต้องฟังว่าจำเลยเช่าที่ดินพิพาทเพื่อปลูกสร้างบ้านอยู่อาศัย แต่จำเลยให้การว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าซึ่งในการวินิจฉัยประเด็นดังกล่าว นอกจากศาลจะต้องฟังข้อเท็จจริงที่ปรากฏในหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดินแล้ว ศาลจำต้องฟังพยานบุคคลที่จำเลยนำสืบมาประกอบว่า โจทก์หรือจำเลยได้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดผิดไปจากข้อตกลงตามหนังสือสัญญาแบ่งเช่าที่ดิน อันจะถือได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา ดังนั้น จำเลยย่อมนำสืบข้อเท็จจริงที่ได้ปฏิบัติมาต่อกันได้ ไม่เป็นการสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสาร ที่ศาลอุทธรณ์รับฟังพยานบุคคลว่าโจทก์ยินยอมให้จำเลยปลูกสร้างบ้านในที่ดินพิพาทเพื่อให้บุคคลภายนอกเช่าได้ จำเลยจึงไม่ได้กระทำผิดสัญญาเช่าไม่เป็นการรับฟังพยานบุคคลซึ่งต้องห้ามตามมาตรา 94 วรรคท้าย
โจทก์ยื่นฟ้องโดยแต่งตั้ง ป. เป็นทนายความและให้ ป. มีอำนาจใช้สิทธิในการอุทธรณ์หรือฎีกาได้ด้วย โจทก์ได้ชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความพร้อมใบแต่งทนายความแล้ว เมื่อ ป. ยื่นฟ้องฎีกาจึงไม่ต้องชำระค่าธรรมเนียมแต่งทนายความอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6443/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ การยกข้อต่อสู้เรื่องผิดสัญญา และการนำสืบหลักฐาน
ในสัญญาซื้อขายนั้นนอกจากผู้ขายมีหน้าที่ต้องส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้แก่ผู้ซื้อแล้ว ผู้ซื้อก็มีหน้าที่ต้องชำระราคาให้แก่ผู้ขายเป็นการตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 486 เมื่อจำเลยให้การยอมรับว่าได้ซื้อสินค้าตามฟ้องโจทก์จริง จำเลยจึงมีหน้าที่ต้องชำระราคาสินค้าที่ซื้อให้แก่โจทก์ภายในกำหนดเวลาที่โจทก์ให้สินเชื่อแก่จำเลย การที่จำเลยให้การต่อสู้ว่า จำเลยไม่มีภาระหน้าที่จะต้องชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ตั้งให้จำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์แต่ผู้เดียวในประเทศไทยแล้วโจทก์กลับจำหน่ายสินค้าให้แก่นิติบุคคลหลายรายในประเทศไทยในราคาที่ต่ำกว่าจำหน่ายให้แก่จำเลย ทั้งโจทก์ได้รับประกันสินค้าเป็นเวลา 1 ปี นับจากวันที่ ผู้ซื้อสินค้ารับสินค้าไปแต่โจทก์บ่ายเบี่ยงไม่ดำเนินการเปลี่ยนสินค้าให้ใหม่โดยไม่คิดมูลค่า จึงเป็นการที่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นมาใหม่เพื่อปัดความรับผิดที่จะไม่ชำระราคาสินค้าให้แก่โจทก์ ภาระการพิสูจน์จึงตกแก่จำเลย
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองและวรรคสาม เกี่ยวกับการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคาห้าร้อยบาทหรือกว่านั้นขึ้นไปนั้น เมื่อได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ย่อมฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ โจทก์ได้ส่งมอบสินค้าตามฟ้องให้จำเลยรับไปแล้วตามที่จำเลยสั่งซื้อ ถือได้ว่าได้มีการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายให้จำเลยไปแล้ว โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะฟ้องร้องบังคับให้จำเลยชำระราคาสินค้าได้
ในการติดต่อซื้อขายสินค้า โจทก์จำเลยได้ทำสัญญาจัดจำหน่าย (DISTRIBUTION AGREEMENT) กันครั้งแรกตั้งแต่ปี 2537 และครั้งหลังสุดได้ทำสัญญาจัดจำหน่ายในปี 2540 โดยการตั้งจำเลยเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าของโจทก์ในประเทศไทย และโจทก์รับประกันที่จะซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสินค้าสำหรับสินค้าที่จำเลยส่งคืนในกรณีที่จำเลยขายสินค้าให้แก่ลูกค้าแล้วเกิดชำรุดบกพร่องในระยะเวลาประกัน 1 ปี ตามสัญญาในเรื่องคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่องระบุว่า ให้ปฏิบัติตามนโยบายของโจทก์เกี่ยวกับการคืนสินค้าที่ชำรุดบกพร่อง (Returned Merchandise Authority หรือ RMA Policy) การที่จำเลยจะขอนำสืบถึงการซื้อสินค้าคดีนี้ว่ามีข้อตกลงกันไว้ดังกล่าวและโจทก์เป็นฝ่ายปฏิบัติผิดสัญญานั้น จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 500 บาท แม้ไม่มีเอกสารก็ฟ้องได้ หากมีข้อพิพาทเรื่องการชำระหนี้
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตาม สัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6204/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงชำระหนี้บางส่วน ฟ้องร้องบังคับคดีได้ และสิทธิการนำสืบพยานบุคคล
การซื้อขายน้ำมันเชื้อเพลิงเกินกว่า 500 บาท ที่มีการชำระหนี้บางส่วนแล้ว เข้ากรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง และวรรคสาม ซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้แม้ไม่มีเอกสารมาแสดง เมื่อมีปัญหาว่าจำเลยชำระเงินตามสัญญาซื้อขายครบถ้วนแล้วหรือไม่ โจทก์จึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้มิใช่เป็นการสืบพยานเพื่อเพิ่มเติม ตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5897/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์: การยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์โดยผู้รับจ้างถือเป็นการผิดสัญญา
แม้จำเลยจะจ้างโจทก์ทำเพลทแม่พิมพ์หลายครั้ง แต่ในการจ้างแต่ละครั้งสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อหนี้ ค่าจ้างตามสัญญาจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่เกี่ยวกับการว่าจ้างครั้งที่ 4 และไม่เป็นคุณประโยชน์แก่โจทก์เกี่ยวด้วยเพลทแม่พิมพ์ตามสัญญาจ้างครั้งที่ 4 ที่โจทก์ยึดถือไว้ ทั้งหนี้ค่าจ้างทำเพลทแม่พิมพ์ครั้งที่ 4 ยังไม่ถึงกำหนดชำระ โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะยึดหน่วงเพลทแม่พิมพ์ดังกล่าวตาม ป.พ.พ. มาตรา 241 การที่โจทก์ยึดเพลทแม่พิมพ์ไว้ ถือว่าโจทก์ผิดสัญญา ทำให้จำเลยไม่สามารถพิมพ์หนังสือออกจำหน่าย ย่อมทำให้จำเลยเสียหายอยู่ในตัว
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
ค่าขาดรายได้จากลูกค้าจ้างลงโฆษณา จำเลยมีหลักฐานสัญญาจ้างโฆษณามาแสดง แม้บางฉบับจะคาบเกี่ยวกับสัญญาจ้างโฆษณาในหนังสือฉบับก่อนก็ใช้เป็นพยานหลักฐานได้ ทั้งในหนังสือที่จำเลยพิมพ์ออกจำหน่ายก็ปรากฏว่า มีการลงโฆษณามากพอสมควร โจทก์เองก็ไม่ได้นำสืบโต้แย้ง แม้จำเลยไม่นำตัวบุคคลในเอกสารดังกล่าวมาเบิกความ ยืนยันก็รับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูบุตรหลังการหย่า แม้ไม่มีข้อตกลงระบุจำนวนเงิน ศาลสามารถกำหนดได้
ภาระหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูและให้การศึกษาตามสมควรแก่บุตรในระหว่างที่เป็นผู้เยาว์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 มิได้หมดสิ้นไปเมื่อมีการจดทะเบียนหย่า เมื่อบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามิได้กล่าวว่าให้อำนาจปกครองบุตรอยู่กับโจทก์หรือจำเลย กรณีต้องถือว่าโจทก์จำเลยต่างเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองบุตรร่วมกันตามมาตรา 1566 วรรคหนึ่ง ส่วนมาตรา 1522 วรรคหนึ่งมีความหมายเพียงว่า ในการหย่าโดยความยินยอม สามีและภริยาอาจตกลงกันในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าว่า ฝ่ายใดจะเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร เป็นจำนวนเท่าใด หากสามีและภริยามิได้กำหนดจำนวนเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูไว้ในบันทึกข้อตกลง ศาลก็ย่อมเป็นผู้กำหนดจำนวนเงินให้ได้ตามสมควรตามมาตรา 1522 วรรคสอง บทกฎหมายดังกล่าวหาได้หมายความถึงขนาดที่ว่า เมื่อมิได้กำหนดให้จำเลยเป็นผู้ออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรไว้ในบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยก็ไม่ต้องรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
ข้อความตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ามีว่า "หย่าทั้งสองฝ่าย สาเหตุแห่งการหย่าเพราะทรรศนะไม่ตรงกัน มีบุตรด้วยกัน 1 คน คือ เด็กชาย ท.อยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของมารดา" ข้อความดังกล่าวไม่ใช่ข้อตกลงเรื่องออกเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นจำนวนเท่าใดตามมาตรา 1522 วรรคหนึ่ง ศาลจึงมีอำนาจกำหนดให้จำเลยออกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ตามมาตรา 1522 วรรคสอง นอกจากนี้บันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า แม้เป็นสัญญาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษร ก็มิได้ลบล้างหน้าที่อันยิ่งใหญ่ของบิดามารดาที่มีต่อบุตรผู้เยาว์ การที่โจทก์นำสืบถึงหน้าที่ดังกล่าวของจำเลยซึ่งเป็นบิดา จึงมิใช่การนำสืบพยานบุคคลหักล้างหรือขัดแย้งกับพยานเอกสาร เมื่อโจทก์นำสืบได้ความชัดแจ้งและจำเลยเองก็ยอมรับว่า หลังจดทะเบียนการหย่าในปี 2537 จำเลยมิได้ให้ค่าอุปการะเลี้ยงดูผู้เยาว์ เนื่องจากจำเลยยืนยันว่าไม่เคยตกลงที่จะให้ค่าอุปการะเลี้ยงดู โจทก์ก็เรียกให้จำเลยรับผิดจ่ายเงินค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรย้อนหลังตั้งแต่ปี 2537 จนถึงวันฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1395/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกที่ดิน การพิพากษาเกินคำขอ และการนำสืบพยานบุคคลหักล้างพยานเอกสาร
การฟ้องเรียกทรัพย์มรดก ไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ไม่ต้องด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94 ที่ห้ามสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จึงให้โจทก์ที่ 1ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน
โจทก์ทั้งสี่ฟ้องขอให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ทั้งสี่คนละ 80 ตารางวา การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยจดทะเบียนแบ่งแยกที่ดินพิพาทให้โจทก์ที่ 1 จำนวน 2 งาน ตามที่โจทก์ที่ 1ปลูกสร้างบ้านอยู่และพิพากษายกฟ้องโจทก์คนอื่น จึงเป็นการพิพากษาเกินคำขอ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์ที่ 1 ได้รับส่วนแบ่งที่ดินไม่เกินจำนวนที่โจทก์ขอตามคำฟ้อง แต่เพื่อมิให้เป็นการเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 จึงให้โจทก์ที่ 1ได้รับส่วนแบ่งในที่ดินส่วนที่ปลูกสร้างบ้าน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 851/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้าน: แผ่นพับโฆษณาเป็นส่วนหนึ่งของสัญญา, จำเลยผิดสัญญาเมื่อก่อสร้างล่าช้า
แผ่นพับโฆษณาของจำเลยระบุว่าเริ่มก่อสร้างบ้านเดือนกันยายน2537 จะแล้วเสร็จปลายปี 2539 โจทก์ซึ่งเป็นผู้ซื้อได้พบแผ่นพับโฆษณาดังกล่าว ได้พิจารณารูปแบบบ้าน ทำเลที่ดินและเงื่อนไขต่าง ๆ ที่ระบุไว้และใช้เป็นส่วนหนึ่งในการตัดสินใจที่จะซื้อจำเลยจึงมีหน้าที่ต้องก่อสร้างบ้านให้เสร็จภายในวันดังกล่าว เมื่อมิได้ก่อสร้างให้เสร็จภายในวันที่ 30 กันยายน 2539 และได้ทำหนังสือถึงโจทก์ยืนยันว่าจะก่อสร้างให้เสร็จภายในวันที่ 27 พฤศจิกายน 2539 แต่จำเลยก็ไม่เสร็จตามที่ขอขยายเวลาออกไป โจทก์ย่อมมีสิทธิไม่ชำระหนี้จนกว่าจำเลยจะชำระหนี้ตอบแทนโจทก์จึงไม่ผิดสัญญา การที่จำเลยแจ้งให้โจทก์ทราบว่าได้ก่อสร้างบ้านเสร็จเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2540 ซึ่งพ้นกำหนดเวลาที่จำเลยขอขยายการก่อสร้างออกไป จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้
การที่โจทก์นำสืบแผ่นพับโฆษณาเสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่กำหนดเวลาเริ่มก่อสร้างไว้และกำหนดเวลาแล้วเสร็จเพื่อจะอธิบายให้เห็นชัดในสัญญาจะซื้อจะขายว่ากำหนดเวลาสร้างแล้วเสร็จจะเป็นวันเวลาใด มิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
การที่โจทก์นำสืบแผ่นพับโฆษณาเสนอขายบ้านพร้อมที่ดินของจำเลยที่กำหนดเวลาเริ่มก่อสร้างไว้และกำหนดเวลาแล้วเสร็จเพื่อจะอธิบายให้เห็นชัดในสัญญาจะซื้อจะขายว่ากำหนดเวลาสร้างแล้วเสร็จจะเป็นวันเวลาใด มิใช่เป็นการนำพยานบุคคลมาสืบเพิ่มเติมตัดทอนหรือเปลี่ยนแปลงแก้ข้อความในเอกสารตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราและผลของการชำระหนี้โดยสมัครใจ แม้ผิดกฎหมาย
หนังสือสัญญากู้ยืมเงินระบุว่าผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยแก่ผู้ให้กู้ชั่งละ 1 บาทต่อเดือน แต่โจทก์นำสืบว่าได้มีการตกลงด้วยวาจาให้คิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน จำนวนเงินที่จำเลยออกเช็คชำระให้แก่โจทก์เป็นการชำระดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกันด้วยวาจาและจำเลยยังมิได้ชำระต้นเงินกู้ยืมกับยังค้างดอกเบี้ยอยู่อีกจึงฟ้องเรียกต้นเงินกู้ยืมพร้อมดอกเบี้ยตามที่ระบุไว้ในสัญญากู้ยืมนั้นเป็นการนำสืบถึงรายละเอียดแห่งข้อเท็จจริงในมูลกรณีที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข)
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำไปหัก กับต้นเงินไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยตกลงให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 2 ต่อเดือน เช็คที่จำเลยสั่งจ่ายเป็นการชำระดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ให้แก่โจทก์ซึ่งเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้อันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตราฯ มาตรา 3 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 และเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลย่อมมีอำนาจขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5)
การที่จำเลยสมยอมชำระดอกเบี้ยเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนดไว้แก่โจทก์ถือได้ว่าเป็นการชำระหนี้ตามอำเภอใจโดยรู้ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 จำเลยไม่มีสิทธิจะได้รับคืนดอกเบี้ยส่วนที่ได้ชำระไปแล้ว และจะให้นำไปหัก กับต้นเงินไม่ได้