คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1042

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4723/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวแทนเชิดและความผูกพันตามสัญญา: โจทก์ต้องรับผิดต่อการบอกเลิกสัญญาโดยตัวแทน
ส. เป็นบุตรของ ว. และ ฉ. ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของโจทก์ โดย ส. เป็นหุ้นส่วนประเภทจำกัดความรับผิดของโจทก์อยู่ด้วย ทั้งยังมีหน้าที่ขับรถยนต์คันหนึ่งและเป็นผู้ประสานงานตามสัญญาว่าจ้างเหมารถรับส่งพนักงานระหว่างโจทก์กับจำเลยตลอดมา ส่อแสดงความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ส. ว่า โจทก์เชิด ส. ออกแสดงเป็นตัวแทน โจทก์จึงต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่า ส. เป็นตัวแทนของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 821 ประกอบมาตรา 1042 ซึ่งบัญญัติว่า ความเกี่ยวพันระหว่างหุ้นส่วนผู้จัดการกับผู้เป็นหุ้นส่วนทั้งหลายอื่นนั้น ท่านให้บังคับด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น การที่ ส. ลงลายมือชื่อในหนังสือแจ้งเลิกสัญญากับจำเลยย่อมผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นตัวการ
แม้จำเลยจะให้การต่อสู้คดีว่า จำเลยไม่ได้ผิดสัญญาเพราะโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แต่ได้ความว่าตัวแทนเชิดของโจทก์เป็นผู้บอกเลิกสัญญา ก็ไม่ถือเป็นเรื่องนอกประเด็นหรือนอกคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้นำเข้าสินค้าต่อภาษีอากรและการยินยอมให้ตัวแทนเดิมดำเนินการ
ในขณะที่มีการนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จากม.มาเป็นจำเลยที่ 2 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่ 1 ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ยินยอมให้ ม.หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมคงเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 อยู่ต่อไป เมื่อ ม.ลงชื่อในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าในนามจำเลยที่ 1 จึงผูกพันจำเลยที่ 1 และต้องถือว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร
จำเลยที่ 1 เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้อง โจทก์ที่ 1 มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่ 1 สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่ 1 รับไปก่อน โดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดง จำเลยที่ 1 ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกัน ต่อมาโจทก์ที่ 1 ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้น แม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้ว ก็หาทำให้จำเลยที่ 1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้น พ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6101/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงผู้จัดการ-ตัวแทนทางกฎหมาย และสิทธิในการประเมินราคาใหม่ของศุลกากร
ในขณะที่มีการนำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักรได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงตัวหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่1จากม. มาเป็นจำเลยที่2แล้วแต่จำเลยที่1ไม่ได้แจ้งขอเปลี่ยนแปลงบัตรตัวอย่างลายมือชื่อต่อกรมศุลกากรโจทก์ที่1ย่อมถือได้ว่าจำเลยที่1ยินยอมให้ม.หุ้นส่วนผู้จัดการคนเดิมคงเป็นตัวแทนของจำเลยที่1อยู่ต่อไปเมื่อม.ลงชื่อในใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าในนามจำเลยที่1จึงผูกพันจำเลยที่1และต้องถือว่าจำเลยที่1เป็นผู้นำสินค้าพิพาทเข้ามาในราชอาณาจักร จำเลยที่1เป็นผู้นำเข้าสินค้าพิพาทโดยสำแดงราคาไว้ไม่ถูกต้องโจทก์ที่1มิได้ยอมรับในราคาที่จำเลยที่1สำแดงแต่ได้ตรวจปล่อยสินค้าพิพาทให้จำเลยที่1รับไปก่อนโดยเรียกให้มีการวางประกันค่าภาษีอากรตามราคาที่สำแดงจำเลยที่1ได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมามอบไว้เป็นหลักประกันต่อมาโจทก์ที่1ประเมินราคาใหม่ที่ถูกต้องแท้จริงของสินค้าพิพาททำให้จำนวนภาษีอากรที่จำเลยที่1จะต้องรับผิดเพิ่มขึ้นแม้ธนาคารผู้ค้ำประกันจะชำระเงินให้แก่โจทก์ตามวงเงินในหนังสือค้ำประกันแล้วก็หาทำให้จำเลยที่1ซึ่งเป็นผู้นำเข้าและเป็นลูกหนี้ชั้นต้นในเงินค่าภาษีอากรที่ขาดอยู่รวมทั้งเงินเพิ่มและค่าปรับด้วยนั้นพ้นจากความรับผิดไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 830/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและผู้สั่งจ่ายเช็คในสัญญาประนีประนอมยอมความ รวมถึงการล้มละลาย
ข้อพิพาทตามสิทธิเรียกร้องที่ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับห้างจำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการกระทำการแทนห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ จำเลยที่ 2 จึงลงลายมือชื่อเป็นคู่สัญญาแทนจำเลยที่ 1 ในสัญญาประนีประนอมยอมความได้โดยไม่ต้องประทับตราห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 เป็นแต่เพียงผู้ออกเช็คชำระหนี้ของห้างจำเลยที่ 1ให้แก่โจทก์ความรับผิดของจำเลยที่ 3 เป็นความรับผิดตามเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายตามสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยที่ 3 หาได้แสดงตนว่าเป็นหุ้นส่วนในห้างจำเลยที่ 1 ไม่ แม้จำเลยที่ 3 จะเป็นภริยาของจำเลยที่ 2 และได้ลงลายมือชื่อทางด้านห้างจำเลยที่ 1 ไว้ในสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งมีข้อความระบุว่า "การชำระหนี้จำเลยที่ 1 ได้ชำระด้วยเช็คซึ่งสั่งจ่ายโดยจำเลยที่ 3" ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 แสดงตนเป็นหุ้นส่วนของห้างจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3จึงไม่ต้องร่วมรับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความด้วย จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 839,000 บาท ห้างจำเลยที่ 1 ได้ปิดกิจการตั้งแต่ก่อนถูกฟ้องคดีนี้ ตัวอาคารห้างรวมทั้งที่ดินถูกธนาคารยึด นำขายทอดตลาดไปแล้ว จำเลยที่ 1 ที่ 2 ไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ จำเลยที่ 2ต้องอาศัยบุตรสาวอยู่ พฤติการณ์ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของกฎหมายแล้วว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4511-4512/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเข้ามาในคดีของจำเลยที่ 1 (นิติบุคคล) ผ่านตัวแทน แม้ไม่ได้แต่งตั้งทนายโดยตรง
จำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคล การดำเนินกิจการทั้งหลายของจำเลยที่ 1 ย่อมต้องอาศัย ช. หุ้นส่วนผู้จัดการดำเนินการแทน เมื่อ ช. มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ติดต่อกับโจทก์ คิดบัญชีหนี้สินที่เกี่ยวค้างกัน และยังมอบงานบางอย่างให้จำเลยที่ 2 ทำ โดยให้ใช้ตราของห้างได้ในชั้นส่งหมายเรียกสำเนาฟ้องให้แก่จำเลยทั้งสอง เจ้าพนักงานก็ได้ส่งไปยังภูมิลำเนาของจำเลยทั้งสองตามที่ปรากฏในหนังสือรับรองของนายทะเบียน ในคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวของจำเลยที่ 2 ก็ระบุว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ในวันเดียวกันนั้น ช. ได้ยื่นคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราวจำเลยที่ 2 ด้วย เมื่อศาลอนุญาต ช.ได้ทำสัญญาประกันตัวจำเลยที่ 2 ตามคำร้องดังกล่าวมีข้อความระบุชื่อจำเลยที่ 1 ว่าเป็นจำเลยไว้อย่างชัดแจ้ง ช.ย่อมทราบดีว่าจำเลยที่ 1 ถูกฟ้อง และที่จำเลยที่ 2ต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 มาแต่แรก ช. ก็ไม่ได้คัดค้านการกระทำของจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ของ ช. ดังกล่าวแสดงว่า ช. ได้มอบหมายให้จำเลยที่ 2 ต่อสู้คดีแทนตนในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 แล้วดังนั้นที่จำเลยที่ 2แต่งทนายความต่อสู้คดีในนามของจำเลยที่ 1 จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้เข้ามาในคดีแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิม vs. ประเด็นอื่นนอกเหนือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วนในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ที่1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วยขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้างฯ โจทก์ที่ 1 ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวกับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1076/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตฟ้องแย้ง: ประเด็นเกี่ยวเนื่องกับคำฟ้องเดิมต้องรับไว้พิจารณา แต่ประเด็นอื่นที่ไม่เกี่ยวเนื่องต้องห้าม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 และจำเลยที่ 4 เป็นหุ้นส่วน ในระหว่างที่จำเลยร่วมกันดำเนินกิจการของโจทก์ 1 แทนโจทก์ที่ 2 ได้จำหน่ายรถไถและอุปกรณ์รถไถของโจทก์ที่ 1 แล้วไม่นำเงินส่งให้โจทก์ที่ 1 กับเอาตราและเอกสารของโจทก์ที่ 1 ไปด้วย ขอให้จำเลยชำระเงินค่าสินค้าที่จำหน่ายไป กับให้ส่งมอบตราและเอกสารแก่โจทก์ จำเลยที่ 4 ให้การและฟ้องแย้งว่า โจทก์ที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการและลูกจ้างของโจทก์ที่ 1 ได้รับรถไถของจำเลยที่ 4 ไปจำหน่ายแล้วไม่นำเงินส่งมอบแก่โจทก์ 1 และจำเลยที่ 4 ตามข้อตกลง ทั้งยังได้นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัวอีกด้วย ขอให้โจทก์ที่ 2 ชำระเงินแก่โจทก์ที่ 1 และจำเลยที่ 4 กับให้โจทก์ที่ 3 ซึ่งเข้ามาช่วยโจทก์ที่ 2 ดำเนินการห้าง ฯ โจทก์ที่ร่วมรับผิดด้วย และให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้าง ฯ โจทก์ที่ 1 และชำระบัญชี ดังนี้ ฟ้องแย้งในเรื่องที่เกี่ยวกับรถไถเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ส่วนฟ้องแย้งที่อ้างว่าโจทก์ที่ 2 และที่ 3 นำเงินของโจทก์ที่ 1 ไปใช้จ่ายเป็นส่วนตัว กับให้โจทก์ที่ 2 ไปดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างฯ โจทก์ที่ 1และชำระบัญชีนั้น เป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิม ต้องห้ามมิให้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 520/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจโดยปริยายและการผูกพันตามสัญญา: สัญญาที่ตัวแทนลงนามผูกพันเจ้าหนี้หรือไม่
ห้างหุ้นส่วนจำกัดโจทก์ มี ช. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ พ. บุตรของ ช. เป็นหุ้นส่วนและเป็นพนักงานของห้างโจทก์ พ. คิดเงินที่จำเลยซื้อของไปจากห้องโจทก์แล้วค้างชำระ และ พ. กับจำเลยได้ตกลงเรื่องจำนวนเงินที่เป็นหนี้กันทันที โดยยินยอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ด้วย ซึ่งวันนั้นเอง พ. กับจำเลยได้ทำสัญญายอมให้จำเลยผ่อนชำระหนี้เป็นงวด ๆ พฤติการณ์ดังนี้ส่อแสดงให้เห็นว่า ช. ได้มอบอำนาจให้ พ. กระทำการของห้างโจทก์แทน ช. ได้ในระหว่างที่ ช. ไม่อยู่ ห้างโจทก์จึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 196/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดตั้งบริษัทที่ไม่ได้จดทะเบียน และสิทธิของหุ้นส่วนในการรับชำระหนี้
ผู้ขอรับชำระหนี้กับจำเลยตกลงเข้าหุ้นกันเพื่อจะจัดตั้งบริษัททำการจัดสรรที่ดินและอาคารให้เช่าโดยให้ชื่อว่าบริษัทสยามอาคารซึ่งไม่มีคำว่าจำกัด ไว้ปลายชื่อและไม่ปรากฏว่าจะเป็นบริษัทจำกัดหรือเพียงใช้ชื่อบริษัทแต่ความจริงเป็นหุ้นส่วน ผู้ขอรับชำระหนี้ได้ชำระเงินค่าหุ้นให้จำเลยรับไว้แล้ว และบริษัทได้มีการเริ่มงานไปบ้างแล้วโดยหุ้นส่วนทุกคนมอบให้จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการแต่ผู้เดียว ดังนั้น บริษัทดังกล่าวจึงมิใช่บริษัทจำกัด แม้จะมิได้มีการจดทะเบียนก็จะถือว่ากิจการอันตกลงร่วมหุ้นกันนั้นยังไม่จัดตั้งขึ้นหาได้ไม่ จึงจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1112 มาปรับแก่กรณีมิได้ ผู้ขอรับชำระหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินค่าหุ้นคืนจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1836/2514

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หุ้นส่วนรับผิดร่วมกันในความเสียหายจากการกระทำของหุ้นส่วนอีกคน
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2จำเลยที่ 1 ขับรถของจำเลยที่ 2 ไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2ได้ขับด้วยความประมาทชนรถของโจทก์เสียหาย ขอให้ร่วมกันและแทนกันชำระค่าเสียหาย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกรถยนต์ จำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกแรงงานร่วมกันรับจ้างบรรทุกของของผู้อื่น แล้วจำเลยที่ 2 นำสืบในทำนองนี้ และว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้ตกลงทำสัญญารับจ้างขนของรายนั้น จำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปตกลงเอง ผลประโยชน์แบ่งกันคนละครึ่ง ดังนี้ เห็นได้ว่าการดำเนินกิจการเกี่ยวกับรถยนต์คันนี้ ระหว่างจำเลยที่ 1 กับที่ 2 เข้าลักษณะเป็นหุ้นส่วนกัน โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ออกแรง จำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกทรัพย์เมื่อการกระทำของหุ้นส่วนทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดร่วมกันและแทนกัน และคดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับผิดในฐานะที่จำเลยที่ 1 เป็นตัวแทนด้วย คดีจึงไม่จำต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 หรือไม่
of 3