พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482-483/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงชื่อบริษัท และผลต่อการฟ้องร้องคดี การแจ้งชื่อใหม่ทางเอกสารถือเป็นการแจ้งให้ทราบ
แม้โจทก์ยังไม่ได้พิมพ์โฆษณาชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ในราชกิจจานุเบกษา และ ป.พ.พ. มาตรา 1023 บัญญัติว่า บริษัทจะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกเพราะเหตุที่มีสัญญาหรือเอกสาร หรือข้อความอันบังคับให้จดทะเบียนยังไม่ได้จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาแล้วก็ตาม แต่การบัญญัติดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้บุคคลทั่วไปทั้งที่เกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทมีโอกาสทราบถึงรายการต่างๆ ที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่เมื่อตามใบแจ้งยอดใช้จ่ายบัตรเครดิต/ใบกำกับภาษีที่โจทก์ส่งให้จำเลยที่ 1 ได้ระบุชื่อโจทก์ที่ได้จดทะเบียนแก้ไขใหม่ไว้แล้ว ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทราบถึงการจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อของโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่สามารถยกเอาเรื่องที่ยังไม่มีการพิมพ์โฆษณาข้อความในส่วนชื่อโจทก์ที่มีการจดทะเบียนแก้ไขใหม่มาเป็นข้อต่อสู้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3913/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ข้อพิพาทเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าและการตรวจสอบอำนาจอนุญาโตตุลาการ
หนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องระบุมอบอำนาจให้ ว. ยื่นฟ้อง ต่อสู้คดีดำเนินการไปจนสำเร็จในศาลทั้งปวงแทนผู้รับมอบอำนาจ ว. จึงมีอำนาจกระทำการแทนผู้รับมอบอำนาจในการยื่นฟ้องและดำเนินคดีในศาลได้ทุกคดีโดยไม่มีกำหนดเวลาจนกว่าผู้มอบอำนาจจะเพิกถอนการมอบอำนาจนั้น
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
สัญญาการเป็นหุ้นส่วน เป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับกลุ่มบุคคล กำหนดให้คู่สัญญาก่อตั้งบริษัทขึ้นภายใต้กฎหมายไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลิตสินค้าภายใต้สลากเครื่องหมายการค้าที่ตกลงกัน และในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิเป็นสัญญาระหว่างผู้ร้องกับบริษัทผู้คัดค้าน โดยมีกลุ่มบุคคลลงลายมือชื่อในฐานะส่วนตัว และ อ. ลงลายมือชื่อในฐานะประธานบริษัทผู้คัดค้านซึ่งจะจัดตั้งขึ้นในอนาคต โดยผู้ร้องมีวัตถุประสงค์ในการแต่งตั้งผู้คัดค้านให้เป็นผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าภายใต้ใบอนุญาตที่อนุมัติโดยผู้ร้องและภายใต้เครื่องหมายการค้าที่กำหนด สัญญาทั้งสองฉบับจึงเป็นสัญญาที่ผู้ริเริ่มก่อการบริษัทผู้คัดค้านได้กระทำไว้เพื่อก่อตั้งบริษัทผู้คัดค้านเพื่อถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิ เมื่อผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเป็นบริษัทตามกฎหมายไทยแล้วก็ได้เข้าถือสิทธิตามสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิดังกล่าว โดยผลิตและจำหน่ายสินค้าโดยใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของผู้ร้อง และได้อ้างข้อตกลงที่ให้ระงับข้อพิพาทโดยวิธีอนุญาโตตุลาการตามที่ระบุไว้ในสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิขึ้นต่อสู้คดีในศาล กับนำเสนอข้อพิพาทระหว่างผู้ร้องกับผู้คัดค้านต่ออนุญาโตตุลการ ดังนี้ถือว่าผู้คัดค้านได้เข้าถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงต้องผูกพันตามสัญญานั้น กรณีถือว่าผู้คัดค้านเข้าเป็นคู่สัญญาโดยชอบและมิได้บกพร่องในเรื่องความสามารถแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดความรับผิดของหุ้นส่วนออกจากห้างหุ้นส่วนและการแจ้งการประเมินภาษีอากรเกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย
จำเลยที่ 2 โอนหุ้นให้แก่จำเลยที่ 3 เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม2527 และนำไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียนสำนักทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2528 ต้องถือว่าจำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 17 พฤษภาคม 2528และโจทก์ไม่ได้แจ้งการประเมินภาษีอากรให้จำเลยที่ 2 ทราบคงแจ้งไปยังจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการในขณะนั้น ดังนั้น การที่โจทก์มีหนังสือเตือนไปยังจำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2529 และวันที่ 2 เมษายน 2530 เพื่อให้ชำระเงินภาษีที่ค้างอยู่โดยหนังสือเตือนดังกล่าวไม่ปรากฏว่าได้ระบุแจ้งผลการประเมินตามรายการอากรสำแดง หรือมีรายการแยกแยะเป็นรายละเอียดภาษีอากรที่จะชำระเอาไว้แต่อย่างใด จึงถือไม่ได้ว่า เป็นการแจ้งการประเมินภาษีอากรตามประมวลรัษฎากร แต่เป็นเพียงหนังสือทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ตามปกติดังเช่นหนี้ทั่วไป เมื่อโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2530 อันเป็นเวลาภายหลัง2 ปี นับแต่จำเลยที่ 2 ออกจากการเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1068 โจทก์จึงไม่มีสิทธินำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องจำเลยที่ 2 ให้ล้มละลายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจกรรมการลาออก, ตัวแทน, ผลการเปลี่ยนแปลงกรรมการต่อบุคคลภายนอก
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส. ช. และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์ แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช.ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826, 827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนที่ลาออก: การกระทำของกรรมการที่พ้นสภาพแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันบริษัท
ตามข้อบังคับของบริษัทโจทก์กำหนดให้กรรมการคือ ส.ช.และจ. มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้ โดยกรรมการสองในสามคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราบริษัทจึงจะผูกพันโจทก์แต่การที่ ส.ซึ่งได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์แล้วยังมาร่วมลงลายมือชื่อกับ ช. ในหนังสือมอบอำนาจให้ฟ้องคดีอีก เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ ผู้รับมอบอำนาจตามหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4953/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีของตัวแทนบริษัทเมื่อกรรมการลาออก การกระทำของตัวแทนที่ปราศจากอำนาจผูกพันบริษัทไม่ได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทกับกรรมการนั้น ป.พ.พ มาตรา 1167ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยตัวแทน ดังนั้น ส. ในฐานะกรรมการย่อมบอกเลิกการเป็นผู้แทนโจทก์ในเวลาใด ๆ ก็ได้ และมีผลทันทีเมื่อแสดงเจตนาแก่โจทก์ตามมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลเมื่อโจทก์นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้จนกว่าจะได้พิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกย่อมถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้ โจทก์มอบอำนาจให้ จ. ฟ้องคดีโดยมี ส. ร่วมลงลายมือชื่อกับกรรมการอื่นของโจทก์กระทำการแทนโจทก์ แต่ ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการของโจทก์ไปก่อนหน้านี้แล้ว การกระทำของ ส.จึงเป็นการกระทำโดยปราศจากอำนาจ จ. ผู้รับมอบอำนาจจึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีต้องเป็นไปตามข้อบังคับบริษัท การลาออกกรรมการมีผลทันทีตามหลักตัวแทน
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช. มอบอำนาจให้จ. ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส. ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้วจึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ.สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของจำเลย ส.จึงเป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ การลาออกของ ส. ยังไม่มีผลตามกฎหมายเพราะยังไม่ได้มีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลง แต่ความเกี่ยวพันกันในระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 กำหนดให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อและย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อ โจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้น เป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีหลังพ้นจากตำแหน่งกรรมการ: อำนาจฟ้องเป็นโมฆะ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับ ช. มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนดให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส. ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส.เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ.ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส.ผู้เป็นกรรมการนั้นป.พ.พ. มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆ ก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827, 386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการเปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์ จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4949/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีและการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัท: ผลของการลาออกและการมอบอำนาจ
การที่ ส.ลงลายมือชื่อร่วมกับช.มอบอำนาจให้ จ.ฟ้องจำเลยเป็นการกระทำภายหลังจาก ส.ได้ลาออกจากการเป็นกรรมการผู้มีอำนาจของโจทก์ซึ่งเป็นบริษัทจำกัดแล้ว จึงไม่ต้องด้วยข้อบังคับของโจทก์ตามหนังสือรับรองที่กำหนด ให้กรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ คือ ส.ช. และ จ. สองในสามคนนี้ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของบริษัทจึงจะกระทำการผูกพันโจทก์ การกระทำของ ส. เป็นการกระทำที่ปราศจากอำนาจ จ. ไม่มีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ ความเกี่ยวพันระหว่างบริษัทโจทก์กับ ส. ผู้เป็นกรรมการนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1167 บัญญัติให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ว่าด้วยตัวแทน ฉะนั้น ส.ย่อมจะบอกเลิกการเป็นผู้แทนของโจทก์เสียในเวลาใด ๆก็ได้ทุกเมื่อ และย่อมมีผลทันทีเมื่อได้แสดงเจตนาแก่โจทก์ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 826,827,386 หาใช่มีผลต่อเมื่อโจทก์ได้นำไปจดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทแล้วไม่ ส่วนการบังคับให้จดทะเบียนตามมาตรา 1023 นั้นเป็นกรณีที่โจทก์จะถือเอาประโยชน์แก่บุคคลภายนอกถึงการ เปลี่ยนแปลงยังไม่ได้ จนกว่าจะได้ลงพิมพ์โฆษณาในหนังสือ ราชกิจจานุเบกษาแล้ว แต่คดีนี้จำเลยถูกฟ้องในฐานะ ผู้กู้ยืมเงินจากโจทก์ มิใช่ในฐานะผู้ถือหุ้นของโจทก์จึงนับว่าเป็นบุคคลภายนอกย่อมจะถือเอาประโยชน์เช่นว่านั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2858/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหุ้นส่วนผู้จัดการในการสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงิน และผลผูกพันต่อบุคคลภายนอก
ตามหนังสือรับรองปรากฏว่า ส. เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างโจทก์โดยไม่มีข้อจำกัดอำนาจ และ ส. เป็นผู้ลงลายมือชื่อสลักหลังตั๋วสัญญาใช้เงินให้จำเลย ดังนี้ ข้อที่โจทก์อ้างว่าการสลักหลังดังกล่าวไม่ผูกพันโจทก์ เพราะ ส. ลงลายมือชื่อไปโดยไม่ได้ปรึกษาหุ้นส่วนอีกคนหนึ่งและต้องประทับตราของโจทก์นั้นเป็นข้อจำกัดอำนาจที่มิได้ปรากฏในหนังสือรับรอง จึงไม่อาจยกขึ้นยันจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกได้