คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5185-5221/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดต่อลูกจ้างที่ป่วยจากฝุ่นละอองในโรงงาน แม้เป็นภายในโรงงาน
โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โรงงานของจำเลยที่ 1 เป็นสถานที่ประกอบการที่ให้ลูกจ้างทำงานมีสารเคมีฝุ่นฝ้ายดิบฟุ้งกระจายสู่บรรยากาศของการทำงานเกินกว่าระดับมาตรฐานจึงเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติข้อ 2 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับภาวะแวดล้อม (สารเคมี) ลงวันที่ 30 พฤษภาคม 2520 จำเลยที่ 1 มิได้ดำเนินการแก้ไขเพื่อลดความเข้มข้นของสารเคมีฝุ่นฝ้ายดิบมิให้เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ โจทก์แต่ละคนทำงานในโรงงานของจำเลยที่ 1 มานานและได้รับฝุ่นฝ้ายจนเป็นโรคบิสสิโนซิสเสียหายแก่ร่างกายและอนามัย ถือว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดต่อโจทก์แต่ละคน ตั้งแต่วันที่ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าวมีผลใช้บังคับคือวันที่ 8 มกราคม 2521 หรือวันที่โจทก์แต่ละคนเข้าทำงานหลังจากวันที่ 8 มกราคม 2521 ซึ่งถือเป็นวันที่การละเมิดได้เกิดขึ้นและได้กระทำละเมิดตลอดมาจนถึงวันที่โจทก์แต่ละคนออกหมายหรือจนถึงวันฟ้องแล้วแต่กรณี โรงงานของจำเลยที่ 1 จึงเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษอันเป็นเหตุโดยตรงให้โจทก์แต่ละคนเป็นโรคบิสสิโนซิสหรือได้รับอันตรายแก่กายหรือสุขภาพอนามัย เมื่อโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38 มิได้เป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองแหล่งกำเนิดมลพิษจึงต้องถือว่าเป็นผู้อื่นตามความหมายของมาตรา 96 ดังกล่าว และการรั่วไหลหรือการแพร่กระจายของมลพิษนั้นก็ไม่จำต้องรั่วไหลหรือแพร่กระจายออกไปนอกโรงงานของจำเลยที่ 1 แม้ฝุ่นฝ้ายซึ่งเป็นวัตถุอันตรายและเป็นมลพิษจะรั่วไหลหรือแพร่กระจายภายในโรงงานของจำเลยที่ 1 ก็ถือว่าเป็นการแพร่กระจายของมลพิษตามความหมายของมาตรา 96 แล้วเช่นกัน จำเลยทั้งสองซึ่งเป็นเจ้าของหรือผู้ครอบครองโรงงานซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดมลพิษจึงมีหน้าที่ชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 17 และที่ 19 ถึงที่ 38

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้แรงงานเด็ก: นายจ้างต้องรู้ว่าลูกจ้างอายุต่ำกว่า 13 ปี
การที่นายจ้างจะมีความผิดฐานรับเด็กหญิงอายุต่ำกว่า 13 ปีบริบูรณ์เข้าทำงานอันเป็นการใช้แรงงานเด็ก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 10) ข้อ 20 ซึ่งออกตามความในข้อ 2 (3) แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ต้องได้ความว่านายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างอายุต่ำกว่า 13 ปีบริบูรณ์ ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านายจ้างผู้รับเด็กเข้าทำงานรู้เช่นนั้น เมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้ นายจ้างก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานใช้แรงงานเด็ก ต้องพิสูจน์ว่านายจ้างรู้ถึงอายุที่แท้จริงของเด็ก
การที่นายจ้างจะมีความผิดฐานรับเด็กหญิงอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์เข้าทำงานอันเป็นการใช้แรงงานเด็กตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่10)ข้อ20ซึ่งออกตามความในข้อ2(3)แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103ลงวันที่16มีนาคม2515ต้องได้ความว่านายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์ซึ่งโจทก์จะต้องพิสูจน์ให้เห็นว่านายจ้างผู้รับเด็กเข้าทำงานรู้เช่นนั้นเมื่อโจทก์นำสืบไม่ได้นายจ้างก็ไม่มีความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1473/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แรงงานเด็ก: นายจ้างต้องรู้ถึงอายุที่แท้จริงจึงมีความผิด
ความผิดฐานรับเด็กอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์เป็นลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน(ฉบับที่12)ข้อ20ซึ่งออกตามความในข้อ2(3)แห่งประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่103นั้นโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่าบุคคลที่เป็นนายจ้างรู้ว่าเด็กที่ตนรับเป็นลูกจ้างนั้นมีอายุต่ำกว่า13ปีบริบูรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4797/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยพนักงานรัฐวิสาหกิจ แม้ประกาศ คณะปฏิวัติฯ ไม่ใช้บังคับ แต่ระเบียบ ก.พ.ร. ยังให้สิทธิ
บริษัทจำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ อันเป็นกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515ไม่ใช้บังคับ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องกำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ไม่ใช้บังคับ ข้อ 2 อันเป็นผลให้โจทก์ซึ่งเป็นพนักงานไม่มีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน แต่ตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2534ข้อ 45 ซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534ได้กำหนดให้รัฐวิสาหกิจจ่ายค่าชดเชย ให้ แก่ พนักงาน ซึ่งเลิกจ้างโจทก์ทำงานมาแล้วประมาณ6 ปี จำเลยเลิกจ้าง จำเลยจึงต้องจ่าย ค่าชดเชย แก่โจทก์ ตามระเบียบดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 835/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทก่อนบังคับใช้ พ.ร.บ.รัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ 2534 ยังคงบังคับตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 และโจทก์มีอำนาจฟ้อง
การกระทำของจำเลยทั้งสองที่ถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่ อันเป็นข้อพิพาทในคดีนี้ ได้เกิดขึ้นและยังไม่ถึงที่สุดก่อน วันที่พระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 มีผลใช้บังคับและข้อพิพาทนี้ยังไม่ถึงที่สุดก่อนวันที่ประกาศ กระทรวงมหาดไทย เรื่อง กำหนดกิจการที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2515 ใช้บังคับด้วย ดังนั้น สิทธิและหน้าที่ของโจทก์ทั้งสองจะพึงมีตามกฎหมาย รวมทั้งการดำเนินการตามสิทธิที่จะเกิดขึ้นจากข้อพิพาทดังกล่าวนั้น จะต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะที่มีข้อพิพาทเกิดขึ้นคือตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ซึ่งไม่มีบทบัญญัติให้โจทก์ทั้งสองจะต้องปฏิบัติตาม ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้แต่อย่างใด คดีของโจทก์ไม่อยู่ ในบังคับตามพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ พ.ศ. 2534 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องต่อศาลแรงงานกลางได้โดยไม่ต้องปฏิบัติ ตามขั้นตอนหรือวิธีการอย่างใดก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5003/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างขั้นต่ำมีผลบังคับใช้ แม้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามปรับปรุงค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจ นายจ้างต้องจ่ายดอกเบี้ยหากผิดนัด
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดค่าจ้างขั้นต่ำพ.ศ. 2515 ก็ดี ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำ (ฉบับที่ 15) พ.ศ. 2527 ก็ดี ต่างก็ได้ออกโดยอาศัยอำนาจประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 จึงมีสภาพบังคับเป็นกฎหมายเมื่อจำเลยซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจและเป็นนายจ้างของโจทก์จ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์น้อยกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามกฎหมาย จึงเป็นการฝ่าฝืนข้อกำหนดของประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว แม้จะมีมติของคณะรัฐมนตรีห้ามรัฐวิสาหกิจทำการปรับปรุงค่าจ้างของลูกจ้างเว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเป็นพิเศษ แต่ก็ปรากฏว่าประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง อัตราค่าจ้างขั้นต่ำดังกล่าวมีผลใช้บังคับภายหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติ จำเลยจึงไม่อาจอ้างมติคณะรัฐมนตรีมาเป็นข้อยกเว้นบทกฎหมายได้ และถือว่าจำเลยผิดนัดในการจ่ายค่าจ้าง ต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในระหว่างผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปีตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคแรก อีกด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4047/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เงินโบนัสปกติไม่ถือเป็นค่าจ้างสำหรับการคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน จำเลยต้องคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย
เงินโบนัสปกติมิใช่เงินที่โจทก์จ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงาน ไม่ถือว่าเป็นค่าจ้างอันจะนำมาคำนวณเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน กรมแรงงานจำเลยเรียกเก็บ จึงเป็นการเรียกเก็บ โดยมิชอบ แต่โจทก์ก็จำต้องชำระเพื่อไม่ให้ต้องจ่ายเงินเพิ่ม จึงทำให้โจทก์ขาดประโยชน์อันควรได้จากเงินที่ได้ชำระให้จำเลย ไปตามคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ต้องถือว่าจำเลย เมื่อจะต้องคืนเงินดังกล่าว จึงต้องเสียดอกเบี้ย นับแต่วันที่รับเงินไว้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีวัตถุประสงค์แสวงหากำไร จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับ
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย(คุรุสภา)หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้นมีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้ ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภาซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหากจากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคน ระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยก ต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดง ว่าจำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2762-2765/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการคุ้มครองตามกฎหมายแรงงาน: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาและองค์การค้าคุรุสภา
ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า โจทก์มีสิทธิเรียกค่าทำงานในวันหยุดจากจำเลย (คุรุสภา) หรือไม่ เพียงใดเมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้เบื้องต้นว่า องค์การค้าของคุรุสภา และสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาเป็นหน่วยงานของคุรุสภาองค์การค้าของคุรุสภาเป็นหน่วยงานที่หารายได้ส่วนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาที่โจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ประจำอยู่นั้น มีหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินงานในหน้าที่ของคุรุสภาการที่ศาลแรงงานกลางกำหนดปัญหาวินิจฉัยว่า'สำนักงานเลขาธิการคุรุสภาอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานหรือไม่' จึงเป็นการพิจารณาเพื่อจะนำไปสู่ประเด็นข้อพิพาทที่ได้กำหนดไว้
ตามพระราชบัญญัติครู พ.ศ.2488 อำนาจหน้าที่ของคุรุสภา ซึ่งดำเนินงานโดยสำนักงานเลขาธิการคุรุสภาไม่มีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับองค์การค้าของคุรุสภาที่มีการบริหารงานแยกไปต่างหาก จากสำนักงานเลขาธิการพนักงานเจ้าหน้าที่ก็เป็นคนละส่วน กันผู้บังคับบัญชาในการบริหารของหน่วยงานทั้งสองเป็น คนละคนระเบียบข้อบังคับที่ใช้ในแต่ละหน่วยก็แยกต่างหากจากกัน เมื่อสำนักงานเลขาธิการคุรุสภามิได้มีการ ดำเนินงานเพื่อหารายได้มาแบ่งปันกันระหว่างพนักงานแสดงว่า จำเลยไม่มีวัตถุประสงค์ในการแสวงหากำไรทางเศรษฐกิจจำเลยหาต้องอยู่ในบังคับของกฎหมายคุ้มครองแรงงานไม่
of 8