คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 พ.ศ.2515

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 75 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3415/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีแรงงาน: การสิ้นสภาพข้อพิพาทเมื่อลูกจ้างไม่ครบตามจำนวนที่กฎหมายกำหนด และการโต้แย้งสิทธิจากคำวินิจฉัยรัฐมนตรี
แม้ฟ้องโจทก์จะมิได้ระบุตำแหน่งจำเลยมาในฟ้อง แต่ในคำบรรยายฟ้องได้กล่าวว่าจำเลยเป็นพนักงานปฏิบัติราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน อาศัยความตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 และคำขอท้ายฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยและคำสั่งที่ มท 1206/9094 ลงวันที่ 2 กรกฎาคม 2515 ของจำเลยโดยระบุตำแหน่งจำเลยไว้ด้วย ถือได้ว่าโจทก์มิได้ฟ้องจำเลยเป็นส่วนตัว
แม้คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์จะยังมิได้วินิจฉัยเนื้อหาของข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ แต่ได้วินิจฉัยอำนาจร้องของลูกจ้างอันเป็นประโยชน์ต่อโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยวินิจฉัยอุทธรณ์ของลูกจ้างแล้วจึงเป็นการครบขั้นตอนตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 23 กำหนดไว้ ฝ่ายที่ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยได้
การยื่นข้อเรียกร้องของลูกจ้างต่อนายจ้างต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการตามที่ พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 13 กำหนดไว้ โดยลูกจ้างต้องมีอยู่ครบจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบห้าของลูกจ้างทั้งหมดซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง หาใช่มีอยู่ครบจำนวนเพียงเฉพาะในวันยื่นข้อเรียกร้องไม่ การที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องถอนชื่อออกจากการสนับสนุนข้อเรียกร้องด้วยความสมัครใจเหลือจำนวนลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบร้อยละสิบห้าของลูกจ้างซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้องตามมาตรา 13 แห่ง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ ข้อพิพาทแรงงานนั้น จึงสิ้นสภาพนับแต่วันที่ลูกจ้างผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องไม่ครบจำนวนตามกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1334/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการได้รับค่าชดเชยของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างหลังประกาศคุ้มครองแรงงานมีผลบังคับใช้ แม้เข้าทำงานก่อนประกาศ
ลูกจ้างเข้าทำงานก่อนประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฉบับที่ 2 ใช้บังคับ ได้ทำงานมา 3 ปี 1 เดือน นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเมื่อประกาศฉบับนั้นใช้บังคับแล้ว นายจ้างจ่ายเงินชดเชยไม่ครบตามหนังสือที่พนักงานแรงงานสัมพันธ์แจ้งให้จ่าย นายจ้างมีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ข้อ 2, 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ถือเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ และไม่มีผลบังคับทางกฎหมาย ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
กรมแรงงานจำเลยที่ 2 แจ้งต่อโจทก์ว่า การที่โจทก์ไม่ปฏิบัติตามคำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานของจำเลยที่ 2 ที่ให้โจทก์จ่ายค่าชดเชยแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างโจทก์เป็นการผิดกฎหมาย เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็น มิใช่เป็นการชี้ขาด และไม่มีผลบังคับโจทก์ให้ต้องปฏิบัติตาม จึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2194/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดวินัยร้ายแรงจากการฝ่าฝืนข้อบังคับการรับพนักงานเข้าทำงาน แม้พนักงานมีความสามารถ
โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยมีหน้าที่รับพนักงานเข้าทำงาน โจทก์รับพนักงานโดยไม่คัดเลือกผู้มีคุณสมบัติผ่านคณะกรรมการสัมภาษณ์เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับการทำงาน และข้อตกลงระหว่างจำเลยกับสหภาพแรงงานข้อบังคับในเรื่องการรับพนักงานมีความสำคัญยิ่งต่อจำเลยการที่โจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับในเรื่องนี้จึงเป็นความผิดวินัยร้ายแรงจำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2193/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานเล่นการพนันในที่ทำงานและเวลาทำงาน มิพักต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เล่นการพนันในที่ทำงานและในเวลาทำงาน เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานถือได้ว่าเป็นความผิดร้ายแรงซึ่งจำเลยมีอำนาจลงโทษให้เหมาะสมกับความผิดได้การที่จำเลยลงโทษโจทก์โดยเลิกจ้างและไม่จ่ายค่าชดเชย จึงกระทำได้โดยชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 ข้อ 47(3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1903/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำเตือนของพนักงานตรวจแรงงานไม่ใช่คำวินิจฉัยที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย นายจ้างไม่ต้องปฏิบัติตามหากเห็นว่าไม่ถูกต้อง
พนักงานตรวจแรงงานได้ออกคำเตือนตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงานให้บริษัทโจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่ ฉ. ลูกจ้างโจทก์ คำเตือนนี้ไม่มีลักษณะเป็นคำวินิจฉัยชี้ขาดที่มีผลบังคับในกฎหมาย ทั้งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ก็มิได้ระบุกรณีฝ่าฝืนคำเตือนว่าเป็นผิดอาญา การออกคำเตือนจึงไม่ใช่การโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่ และไม่ใช่กรณีที่จำเป็นต้องใช้สิทธิทางศาลบริษัทโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้เพิกถอน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1320/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทำความสะอาดและเก็บเงินในร้านตัดผม มีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา แม้ทำงานเกี่ยวกับกิจการร้านค้า ไม่ถือเป็นงานบ้าน
งานทำความสะอาดร้านตัดผมและเก็บเงินจากลูกค้าที่ ล.ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะลูกจ้างนั้น เป็นงานเกี่ยวกับร้านตัดผมที่จำเลยประกอบกิจการอยู่ โดยเฉพาะหน้าที่เก็บเงินจากลูกค้าที่มาตัดผม ย่อมเห็นได้ว่าไม่เกี่ยวกับงานบ้าน กรณีถือไม่ได้ว่า ล. เป็นลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับงานบ้าน ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ล. จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเงินทดแทนเกินกำหนด 30 วันตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ถือเป็นเหตุให้หมดสิทธิฟ้อง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทนและการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้ โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน โดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวัน นับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1314/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเงินทดแทนจากคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การปฏิบัติตามประกาศกระทรวง
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องอัตราและวิธีเรียกเก็บเงินสมทบการจ่ายเงินทดแทนของสำนักงานกองทุนเงินทดแทน และการอุทธรณ์ ลงวันที่ 11 มิถุนายน 2516 ข้อ 25 ว่า ถ้าผู้อุทธรณ์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน ให้ยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ ประกาศกระทรวงมหาดไทยฉบับนี้ออกโดยอาศัยอำนาจที่ให้ไว้โดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 103 ย่อมมีสภาพบังคับเป็นกฎหมาย ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนโดยจะยื่นฟ้องต่อศาล โจทก์จะต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงหมาดไทยฉบับดังกล่าว เมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าสามสิบวันนับแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยอุทธรณ์ โจทก์ก็ไม่มีสิทธินำคดีมามาฟ้องต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 697/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดชอบนายจ้างต่อเงินทดแทนกรณีลูกจ้างประสบอันตรายระหว่างเดินทางไปทำงาน
ลูกจ้างของโจทก์ออกเดินทางจากบ้านพักจะไปโรงกุสีเพื่อเอาป้ายสำหรับเดินตรวจทางซึ่งอยู่ในหน้าที่ แต่ยังเดินทางไปไม่ถึงโรงกุสีก็ถูกรถไฟชนถึงแก่ความตาย เป็นกรณีที่ผู้ตายยังมิได้เริ่มเดินตรวจทางตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากโจทก์ เพียงแต่กำลังเดินทางจะไปโรงกุลีซึ่งเท่ากับเป็นสถานที่ที่ผู้ตายจะเริ่มต้นทำงาน เมื่อผู้ตายได้รับอันตรายในขณะที่ยังเดินทางไปไม่ถึงสาถนที่ที่จะเริ่มต้นทำงานและยังมิได้ลงมือทำงานให้แก่โจทก์ จะถือว่าประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง หรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้าง ตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 103 ลงวันที่ 16 มีนาคม 2515 ข้อ 2 (6) และประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ 16 เมษายน 2515 หาได้ไม่
of 8