พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6002/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่าจากเหตุละทิ้งร้างและการกระทำผิดในอดีต ศาลพิจารณาการแยกกันอยู่โดยสมัครใจและอายุความ
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวอ้างว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้ จำเลยใช้อาวุธปืนยิงโจทก์ 2 ครั้ง แม้จะเป็นความจริงดังที่โจทก์ฎีกา แต่เหตุเกิดก่อนฟ้องประมาณ 14 ปี และ 4 ปี ตามลำดับไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย คงอยู่กินด้วยกันตลอดมาแสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแล้ว สิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 313/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากละเมิด: การประเมินค่าขาดไร้อุปการะและค่าปลงศพที่สมเหตุสมผล
โจทก์บรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งห้าทำให้โจทก์ทั้งห้าได้รับความเสียหายคือค่าขาดไร้อุปการะตามกฎหมายโจทก์ที่ 1 ขอค่าขาดไร้อุปการะ 150,000 บาท โจทก์ที่ 2 ถึงที่ 5ขอค่าขาดไร้อุปการะคนละ 50,000 บาท และนอกจากนี้โจทก์ต้องเสียค่าจัดการศพและค่าปลงศพเป็นเงิน 40,000 บาท คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ รวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนการคิดค่าขาดไร้อุปการะตั้งแต่เมื่อใด และสิ้นสุดลงเมื่อใด และจัดการศพอยู่กี่วัน วันละเท่าใดนั้น โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้เพราะเป็นเพียงรายละเอียด ดังนี้ฟ้องเกี่ยวกับค่าเสียหายไม่เคลือบคลุม ป.พ.พ. มาตรา 1461 บัญญัติว่า สามีภริยาต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามความสามารถและฐานะของตน ดังนั้นผู้ตายในฐานะภริยาโจทก์ย่อมมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าผู้ตายเป็นผู้ชวนจำเลยขับขี่รถยนต์ไปกับโจทก์ที่ 4 และที่ 5 นับว่ามีส่วนร่วมเสี่ยงภัยอยู่ด้วยและต้องเฉลี่ยความรับผิดนั้น ข้ออ้างดังกล่าวไม่มีกฎหมายรับรองเมื่อไม่ได้ความว่าผู้ตายมีส่วนประมาทอยู่ด้วยก็ไม่มีเหตุที่จะให้ผู้ตายเฉลี่ยความรับผิดชอบค่าเสียหายกับจำเลย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5627/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดูและค่าเลี้ยงชีพหลังหย่า พิจารณาจากเหตุแห่งการหย่า ความสามารถและฐานะของคู่สมรส
ในคดีหย่า แม้โจทก์จำเลยตกลงหย่ากันระหว่างพิจารณาแต่การที่ จำเลยจะมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์หรือไม่นั้นจะต้องพิจารณาว่า มีเหตุแห่งการหย่าหรือไม่ และเหตุแห่งการหย่านั้นเป็นความผิดของโจทก์ หรือไม่เมื่อโจทก์จำเลยสมัครใจแยกกันอยู่จึงถือไม่ได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งร้างจำเลยอันจะทำให้จำเลยมีสิทธิเรียกค่าเลี้ยงชีพจากโจทก์
ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นั้นฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะน้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริต ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่าย เมื่อโจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย และจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอโจทก์ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูจำเลย มาตลอดและอยู่ในฐานะที่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูจำเลยได้จึงมี หน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย
ส่วนค่าอุปการะเลี้ยงดูในระหว่างที่สามีภริยาแยกกันอยู่นั้นฝ่ายที่มีความสามารถหรือฐานะน้อยกว่าและแยกไปอยู่โดยสุจริต ชอบที่จะได้รับการช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจากอีกฝ่าย เมื่อโจทก์ จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ชั่วคราวโดยไม่ใช่ความผิดของจำเลย และจำเลยไม่มีอาชีพหรือรายได้เพียงพอโจทก์ซึ่งอุปการะเลี้ยงดูจำเลย มาตลอดและอยู่ในฐานะที่สามารถจะอุปการะเลี้ยงดูจำเลยได้จึงมี หน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่ในเหตุละเมิด, ค่าขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3 จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการจำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วม ให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่า นาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากรถยนต์, การจำกัดความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย, และค่าขาดไร้อุปการะ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่ 2 และที่ 3จำเลยที่ 2 เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่ 3 เป็นกรรมการ จำเลยที่ 1 กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขับรถยนต์ด้วยความประมาท ล้อรถยนต์หลุดไปชนนาง ล. ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ให้การว่าจำเลยที่ 2 ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่ 1 ขับรถไปในที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัย จำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่ 2 ที่ 3 ดังนี้ข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 2 ให้บริษัท ก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุ และข้อที่จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า จำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน จำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท
เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตาม เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป 100 เมตร นาง ล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันที และได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้ว แต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษา เหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ ดังนี้ ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด
การที่นาง ล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตาย จึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านาง ล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง
กรมธรรม์ประกันภัย จำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้ 25,000 บาทต่อหนึ่งคนและ 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้ง เมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคน จำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง 25,000 บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า 100,000 บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคน จำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน 100,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3471/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าของรถและผู้ขับขี่จากอุบัติเหตุทางถนน, การขาดไร้อุปการะ, และข้อยกเว้นกรมธรรม์ประกันภัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและตัวแทนของจำเลยที่2และที่ 3จำเลยที่2เป็นบริษัทจำกัดมีจำเลยที่3เป็นกรรมการจำเลยที่1กระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2และที่3ขับรถยนต์ด้วยความประมาทล้อรถยนต์หลุดไปชนนางล.ถึงแก่ความตายซึ่งเป็นการละเมิดต่อโจทก์จำเลยที่2ให้การว่าจำเลยที่2ไม่ได้จ้างวานหรือให้จำเลยที่1ขับรถไปในที่เกิดเหตุจำเลยที่1ไม่ได้ประมาทแต่ล้อรถหลุดเป็นเหตุสุดวิสัยจำเลยร่วมให้การว่าจำเลยที่1ไม่ได้ขับขี่รถยนต์คันเกิดเหตุในทางการที่จ้างหรือที่ได้รับมอบหมายจากจำเลยที่2ที่3ดังนี้ข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่2ให้บริษัทก.เช่ารถคันเกิดเหตุไปก่อนเกิดเหตุและข้อที่จำเลยที่2ฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างและไม่ได้กระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่2กับข้อที่จำเลยร่วมฎีกาว่าจำเลยที่1ไม่ใช่ลูกจ้างของจำเลยที่2นั้นเป็นข้อที่จำเลยที่2และจำเลยร่วมมิได้ให้การไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุสุดวิสัยจะต้องเป็นเรื่องที่ไม่อาจป้องกันได้แม้จะได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแล้วก็ตามเมื่อได้ความว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์คันเกิดเหตุด้วยความเร็วสูงแล้วล้อหน้าด้านซ้ายของรถหลุดกระเด็นกระดอนไปถูกศีรษะนางล.ซึ่งอยู่ห่างไป100เมตรนางล.ได้รับอันตรายถึงแก่ความตายทันทีและได้ความว่าแม้จะมีการตรวจสภาพรถแล้วแต่ถ้าได้มีการใช้งานหนักหรือเจ้าของผู้ขับขี่รถไม่ใช้ความระมัดระวังดูแลรักษาเหตุดังกล่าวย่อมเกิดขึ้นได้ดังนี้ต้องถือว่าเหตุที่เกิดขึ้นเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่1มิใช่เหตุสุดวิสัยแต่อย่างใด การที่นางล.ตายลงทำให้โจทก์ซึ่งเป็นสามีและบุตรต้องขาดไร้อุปการะจากผู้ตายจึงชอบที่จะได้รับค่าสินไหมทดแทนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องปรากฏข้อเท็จจริงว่านางล.จะต้องเป็นผู้มีรายได้และโจทก์ต่างเป็นผู้ได้รับอุปการะจากผู้ตายจริง กรมธรรม์ประกันภัยจำกัดความรับผิดของจำเลยร่วมต่อบุคคลภายนอกไว้25,000บาทต่อหนึ่งคนและ100,000บาทต่อหนึ่งครั้งเมื่อการกระทำละเมิดครั้งนี้มีผู้ได้รับความเสียหายเพียงหนึ่งคนจำเลยร่วมก็ต้องรับผิดต่อโจทก์เพียง25,000บาทข้อจำกัดความรับผิดที่ว่า100,000บาทต่อหนึ่งครั้งนั้นหมายความว่าถ้ามีอุบัติเหตุครั้งหนึ่งมีผู้ได้รับความเสียหายหลายคนจำเลยร่วมก็จะจำกัดความรับผิดเพียงไม่เกิน100,000บาท.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน, ค่าขาดไร้อุปการะ และความรับผิดร่วม
โจทก์ฟ้องขอค่าขาดไร้อุปการะแม้จะไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ควรได้เป็นรายเดือนรายปีเท่าไรเป็นเวลานานเท่าใดก็ตามเมื่อได้ระบุจำนวนที่ขอมาศาลก็พิจารณากำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควรไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยประกอบกิจการรถทัวร์รับส่งคนโดยสารได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาแล่นรับส่งคนโดยสารแทนรถทัวร์ของจำเลยซึ่งเสียอยู่การที่คนขับรถทัวร์ได้ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลยโดยจำเลยเป็นผู้กำหนดและใช้ให้กระทำนั้นคนขับรถทัวร์จึงเป็นตัวแทนของจำเลยเมื่อตัวแทนของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา427ประกอบมาตรา425 การใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าขาดไร้อุปการะต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วยเมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่1ผู้ขอมีอายุ90ปีเศษขณะยื่นฟ้องและได้ถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน90,000บาทจึงสูงไปโจทก์ที่1ควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะเพียง45,000บาท เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคันทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างร่วมรับผิดด้วยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหนเท่าใดจำเลยทุกคนจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวอย่างลูกหนี้ร่วม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน, การกำหนดค่าขาดไร้อุปการะตามโอกาสแห่งการมีชีวิต, และความรับผิดร่วมของจำเลย
โจทก์ฟ้องขอค่าขาดไร้อุปการะ แม้จะไม่ได้บรรยายว่าโจทก์ควรได้เป็นรายเดือน รายปีเท่าไร เป็นเวลานานเท่าใดก็ตามเมื่อได้ระบุจำนวนที่ขอมา ศาลก็พิจารณากำหนดให้ตามจำนวนที่เห็นสมควร ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
จำเลยประกอบกิจการรถทัวร์รับส่งคนโดยสาร ได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาแล่นรับส่งคนโดยสารแทนรถทัวร์ของจำเลยซึ่งเสียอยู่ การที่คนขับรถทัวร์ได้ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้กำหนดและใช้ให้กระทำนั้น คนขับรถทัวร์จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อตัวแทนของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
การใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าขาดไร้อุปการะ ต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ผู้ขอมีอายุ 90 ปีเศษขณะยื่นฟ้องและได้ถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 90,000 บาท จึงสูงไป โจทก์ที่ 1 ควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะเพียง 45,000 บาท
เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคัน ทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างร่วมรับผิดด้วย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหน เท่าใด จำเลยทุกคนจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวอย่างลูกหนี้ร่วม
จำเลยประกอบกิจการรถทัวร์รับส่งคนโดยสาร ได้เช่ารถทัวร์คันเกิดเหตุมาแล่นรับส่งคนโดยสารแทนรถทัวร์ของจำเลยซึ่งเสียอยู่ การที่คนขับรถทัวร์ได้ขับรถทัวร์ในกิจการของจำเลย โดยจำเลยเป็นผู้กำหนดและใช้ให้กระทำนั้น คนขับรถทัวร์จึงเป็นตัวแทนของจำเลย เมื่อตัวแทนของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะตัวการต้องรับผิดในผลแห่งการละเมิดนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 427 ประกอบมาตรา 425
การใช้ดุลยพินิจกำหนดค่าขาดไร้อุปการะ ต้องพิจารณาถึงโอกาสแห่งการมีชีวิตของผู้ขอด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ที่ 1 ผู้ขอมีอายุ 90 ปีเศษขณะยื่นฟ้องและได้ถึงแก่กรรมเมื่อคดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ ที่ศาลล่างกำหนดค่าขาดไร้อุปการะเป็นเงิน 90,000 บาท จึงสูงไป โจทก์ที่ 1 ควรได้รับค่าขาดไร้อุปการะเพียง 45,000 บาท
เหตุละเมิดเกิดจากการขับรถยนต์โดยประมาทของคนขับรถทั้งสองคัน ทำให้จำเลยอื่นซึ่งเป็นตัวการและนายจ้างร่วมรับผิดด้วย ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าจำเลยคนใดต้องรับผิดเฉพาะส่วนไหน เท่าใด จำเลยทุกคนจึงต้องรับผิดในค่าเสียหายดังกล่าวอย่างลูกหนี้ร่วม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิในการได้รับค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่ 2 นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่อง อันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ ถือได้ว่าจำเลยที่ 1 ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์
สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิด สามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม
สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิด สามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม โดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมี และประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่ เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1564 วรรคสอง บุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 443 วรรคสาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามป.พ.พ.มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสาม.