พบผลลัพธ์ทั้งหมด 46 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2395/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของผู้จ้าง นายจ้างต้องรับผิดชอบการกระทำของลูกจ้าง และสิทธิเรียกร้องค่าขาดไร้อุปการะของสามีและบุตร
จำเลยที่1เป็นลูกจ้างจำเลยที่2ทำงานเป็นช่างซ่อมรถจักรยานยนต์ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ที่ลูกค้าของจำเลยที่2นำมาให้ซ่อมไปเพื่อทดลองเครื่องอันเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานซ่อมรถตามหน้าที่ถือได้ว่าจำเลยที่1ทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จำเลยที่2จึงต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ สามีภริยาย่อมมีหน้าที่จะต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูกันตามป.พ.พ.มาตรา1461เมื่อภริยาเสียชีวิตเพราะมีการทำละเมิดสามีย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงว่าสามีจะยากจนหรือมั่งมีและประกอบอาชีพหาเลี้ยงตนเองได้หรือไม่เพราะเป็นสิทธิของสามีจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย มารดามีหน้าที่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบุตรที่บรรลุนิติภาวะแล้วเฉพาะผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้ตามป.พ.พ.มาตรา1564วรรคสองบุตรซึ่งบรรลุนิติภาวะแล้วและไม่ได้ความชัดว่าเป็นผู้ทุพพลภาพและหาเลี้ยงตนเองไม่ได้จึงไม่อยู่ในข่ายจะได้รับค่าขาดไร้อุปการะตามป.พ.พ.มาตรา443วรรคสาม.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3267/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: ผลกระทบของคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และการคำนวณค่าเสียหาย
จำเลยที่ 4 ลูกจ้างจำเลยที่ 3 ขับรถเฉี่ยวชนกับรถที่ น.ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ขับสวนทางมาเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ในรถที่ น.ขับถึงแก่ความตายจำเลยที่ 4 ถูกฟ้อง ศาลมีคำพิพากษาคดีส่วนอาญาเสร็จเด็ดขาดไปแล้วว่า จำเลยที่ 4 มิได้ขับรถยนต์โดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คำพิพากษามีผลผูกพันเฉพาะโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย หาผูกพัน น. หรือจำเลยที่ 2 นายจ้างของ น. ซึ่งมิใช่คู่ความในคดีอาญาด้วยไม่ จำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงอาจนำสืบต่อสู้ได้ว่าความเสียหายเกิดขึ้นจากความผิดของจำเลยที่ 4. มิใช่เกิดจากความผิดของ น.เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า น. ขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้ ส.ภริยาโจทก์ตายจำเลยที่ 1 ที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดที่ลูกจ้างของตนได้กระทำไปในทางการที่จ้าง
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
ค่าใช้จ่ายอันจำเป็นในการจัดการศพและค่าปลงศพผู้ตาย โจทก์ในฐานะทายาทของผู้ตายมีสิทธิที่จะเรียกได้
ค่าขาดสิทธิที่โจทก์จะได้รับอุปการะเลี้ยงดูจาก ส.ผู้ตายมีตามกฎหมาย โดยไม่จำต้องคำนึงถึงความเป็นจริง จึงไม่ต้องพิจารณาว่าขณะถูกทำละเมิดถึงแก่ความตาย ส.มีรายได้และให้การอุปการะเลี้ยงดูโจทก์หรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3585/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: การสูญเสียอุปการะและแรงงาน
รถจำเลยขับชนรถโจทก์ จนโจทก์ต้องพิการตลอดชีวิต ภริยาโจทก์ถึงแก่ความตาย จำเลยต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในการที่โจทก์ต้องขาดไร้อุปการะและขาดแรงงานจากภริยา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องหย่า ความสมัครใจแยกกันอยู่ การให้อภัย และหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู
จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา1598/38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องหย่าหมดอายุเมื่อให้อภัย, การแยกกันอยู่โดยสมัครใจ, และหน้าที่ช่วยเหลืออุปการะภริยา
จำเลยใช้มีดจะแทงโจทก์ตั้งแต่ก่อนโจทก์จำเลยจะมีบุตรด้วยกัน ต่อมาโจทก์เห็นว่าจำเลยเป็นภริยาและมีบุตรด้วยกัน จึงไม่ร้องทุกข์กล่าวโทษจำเลย แสดงว่าโจทก์ได้ให้อภัยจำเลยแต่แรกแล้ว ถือได้ว่าสิทธิฟ้องหย่าในข้อนี้ย่อมหมดไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1518
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38
โจทก์จำเลยต่างสมัครใจแยกกันอยู่ โจทก์จะกล่าวหาว่าจำเลยจงใจละทิ้งร้างโจทก์ไม่ได้
ความสามารถและฐานะของโจทก์ดีกว่าจำเลย โจทก์ผู้เป็นสามีจึงต้องช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูจำเลยซึ่งเป็นภริยาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ประกอบด้วยมาตรา 1598/38
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าขาดจากสามีภริยาเนื่องจากแยกกันอยู่และไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู
โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน จำเลยออกจากบ้านโจทก์ไปอยู่กับมารดา ไม่ยอมอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพฐานะความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแล้ว เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์เดือดร้อนเกินควร เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2692/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหย่าจากกรณีแยกกันอยู่และไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดู ทำให้โจทก์เดือดร้อนเกินควร
โจทก์จำเลยแต่งงานจดทะเบียนสมรสเป็นสามีภริยากัน จำเลยออกจากบ้านโจทก์ไปอยู่กับมารดา ไม่ยอมอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ เป็นการไม่ช่วยเหลืออุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน และเป็นปฏิปักษ์ต่อการเป็นสามีภริยากันอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อคำนึงถึงสภาพฐานะความเป็นอยู่ร่วมกันฉันสามีภริยาแล้ว เป็นที่เห็นได้ว่า โจทก์เดือดร้อนเกินควร เข้าเหตุหย่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1516(6) แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2217/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าสินไหมทดแทนการขาดไร้อุปการะจากละเมิด ผู้ตายมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรไม่สำคัญ
จำเลยเป็นฝ่ายทำละเมิดทำให้สามีโจทก์และบิดาโจทก์ถึงแก่ความตาย เมื่อสามีตายภริยาย่อมขาดไร้อุปการะจากสามีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 และเมื่อบิดาตายบุตรผู้เยาว์ก็ย่อมขาดไร้อุปการะจากบิดาตามมาตรา 1564โจทก์ในคดีนี้ซึ่งเป็นภริยาและบุตรผู้เยาว์ของผู้ตายจึงย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนเพื่อการขาดไร้อุปการะนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 วรรคสามโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้ตายจะมีฐานะยากดีมีจนอย่างไรเพราะเป็นสิทธิที่ผู้เสียหายจะพึงได้รับชดใช้ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความและผลผูกพันหลังหย่า: ทรัพย์สินที่ตกลงยกให้ย่อมตกเป็นสิทธิของอีกฝ่าย
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลยไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตั๋วพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้วโจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไปเห็นว่าเมื่อข้อสัญญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไปเห็นว่าเมื่อข้อสัญญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกัน ระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปีนับแต่วันขาดจากการสมรส ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1274/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างคู่สมรสมีผลผูกพันและสิทธิในทรัพย์สินย่อมตกเป็นไปตามสัญญา
โจทก์เคยฟ้องหย่าจำเลย ในที่สุดได้ทำสัญญาไว้ต่อกันเป็นข้อสารสำคัญว่า โจทก์จำเลยยอมคืนดีเป็นสามีภริยากันดังเดิม และข้อความในหนังสือสัญญานั้นได้กล่าวไว้ชัดว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อระงับการฟ้องหย่าระหว่างโจทก์จำเลย ไม่ต้องเป็นความกันต่อไป โจทก์จำเลยจึงได้ตกลงแบ่งปันทรัพย์สินกันเป็นสัดส่วน กล่าวคือให้โจทก์ได้วัวที่มีตัวพิมพ์รูปพรรณ 16 ตัว ฯลฯ นอกจากทรัพย์ดังกล่าวนี้แล้ว โจทก์ไม่ขอเอาอีกต่อไป หนังสือสัญญานี้จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)
ข้อความในสัญญาที่ว่าจำเลยและโจทก์ได้ตกลงพร้อมใจกันทำหนังสือยกทรัพย์สินสมรสและสินเดิมให้แก่โจทก์ ฯลฯ นอกจากทรัพย์ที่โจทก์ได้รับไปนี้แล้ว ไม่ขอเอาอีกต่อไป เห็นว่าเมื่อข้อสัญาระบุชัดว่าโจทก์จะไม่เอาทรัพย์อื่นนอกจากที่โจทก์ได้รับตามสัญญานี้ ก็เท่ากับยอมให้ทรัพย์พิพาทอันเป็นทรัพย์ที่มีอยู่แล้วในขณะที่ทำสัญญานั้น ตกเป็นสิทธิของจำเลยฝ่ายเดียว โจทก์จะมาฟ้องขอแบ่งทรัพย์พิพาทอีกไม่ได้
สัญญาที่ทำไว้ต่อกันระหว่างที่โจทก์จำเลยยังเป็นสามีภริยากันอยู่ เมื่อไม่บอกล้างภายในกำหนดหนึ่งปี นับแต่วันขาดจากการสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1461 ก็ต้องถือว่ายังคงบังคับได้อยู่เสมอ (ข้อกฎหมายตามวรรค 2 และ 3 วินิจฉัยโดยที่ประชุมใหญ่ครั้งที่ 10/2521)