คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.อ. ม. 335 (9)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7562/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะและเป็นซ่องโจร: การกระทำร่วมกันและแบ่งหน้าที่
จำเลยทั้งสองกับพวก 5 คน ร่วมกันปรึกษาวางแผนลักทรัพย์ของชาวต่างชาติบนรถโดยสารสองแถว โดยขึ้นรถโดยสารสองแถวมาพร้อมกันซึ่งจะทำให้มีผู้โดยสารมากพอที่จะทำให้พวกของจำเลยที่ 1 สามารถเข้าไปนั่งชิดกับผู้เสียหายทางด้านขวาที่มีกระเป๋าสตางค์อยู่ในประเป๋ากางเกง พวกของจำเลยทั้งสองจึงมีโอกาสล้วงกระเป๋าสตางค์ของผู้เสียหาย และมีการแบ่งหน้าที่กันทำตามที่จำเลยที่ 1 กับพวกรวม 5 คน สมคบกัน จำเลยที่ 1 จึงมีความผิดฐานร่วมกับพวกลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะและเป็นซ่องโจร ซึ่งความผิดฐานเป็นซ่องโจรกับฐานร่วมกันลักทรัพย์ในยวดยานสาธารณะเกี่ยวเนื่องกันจึงเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ การปรับบทลงโทษตามความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่สาธารณะ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยลักเหรียญกษาปณ์รวมเป็นเงิน 842 บาท ของวัดผู้เสียหายโดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการะบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ตรงกับคำนิยามคำว่า "สาธารณสถาน" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (3) ทั้งนี้เพื่อการสักการะบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะดังที่โจทก์บรรยายฟ้องไว้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5456/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะ: การปรับบทลงโทษตามมาตรา 335 (9) ป.อ.
จำเลยลักเหรียญกษาปณ์ของวัดผู้เสียหาย โดยเหรียญกษาปณ์ดังกล่าวอยู่ในพานและบาตรวางอยู่บนชั้นสามของอาคารเจษฎาบดินทร์ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปเพื่อให้ประชาชนมากราบไหว้สักการบูชาภายในวัดผู้เสียหาย สถานที่เกิดเหตุลักทรัพย์จึงเป็นสถานที่ซึ่งประชาชนทั่วไปมีความชอบธรรมที่จะเข้าไปได้ ตรงกับนิยามคำว่า "สาธารณสถาน" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (3) ทั้งนี้ เพื่อการสักการบูชาพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานไว้ให้ประชาชนกราบไหว้สักการะบูชา จึงเป็นการลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4284/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตีความ 'สถานที่บูชาสาธารณะ' ในความผิดฐานลักทรัพย์ ศาลฎีกาพิจารณาจากพจนานุกรมและข้อเท็จจริง
คำว่า "ศาลาการเปรียญ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 หมายถึง ศาลาวัดสำหรับพระสงฆ์แสดงธรรม ศาลาการเปรียญจึงหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9) ด้วยไม่
พระยอดขุนพลของกลางที่จำเลยเข้าไปลัก ขณะเกิดเหตุติดอยู่ที่แผงบริเวณเสาของศาลาการเปรียญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 335 (8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9693/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในบริเวณสถานที่ตั้งศพ ไม่ถือเป็นสถานที่บูชาสาธารณะตามกฎหมาย
สถานที่เกิดเหตุเป็นบริเวณหน้าที่ตั้งศพอดีตเจ้าอาวาสซึ่งอยู่หน้ากุฎิเจ้าอาวาส เป็นเพียงสถานที่ในวัดที่จัดนำศพอดีตเจ้าอาวาสมาตั้งไว้เพื่อรอการพระราชทานเพลิงศพเท่านั้น ไม่ถือว่าเป็นสถานที่บูชาสาธารณะ จำเลยลัก ตู้รับเงินบริจาคซึ่งตั้งอยู่บริเวณหน้าศพอดีตเจ้าอาวาสดังกล่าวจึงไม่เป็นความผิดฐานลักทรัพย์ในสถานที่บูชาสาธารณะตาม ป.อ. มาตรา 335 (9)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิไม่ใช่สถานที่บูชาสาธารณะ แต่เป็นเคหสถาน
กุฏิพระเป็นเคหสถาน แต่ไม่ใช่สถานที่บูชาสาธารณะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2014/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลักทรัพย์ในกุฏิพระ: กุฏิเป็นเคหสถานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(8)
คำว่า "กุฏิ" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525หมายความว่า "เรือนหรือตึกสำหรับพระภิกษุสามเณรอยู่" ดังนั้นกุฏิพระจึงเป็นเพียงที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณรเท่านั้น จึงเป็น"เคหสถาน" ตามนัยมาตรา 1(4) แห่งประมวลกฎหมายอาญา และหาใช่สถานที่บูชาสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(9) ด้วยไม่การลักทรัพย์ในบริเวณกุฏิพระ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 335(8)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ: การกระทำต่อเนื่องจากบนรถถึงนอกรถถือเป็นความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ
จำเลยยืนอยู่นอกรถยนต์โดยสารประจำทาง ใช้กำลังประทุษร้ายดึงตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถแล้วบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหาย เช่นนั้น การชิงทรัพย์ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนกับการบังคับเอาทรัพย์ จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองประกอบกับมาตรา 335 (9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1084/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะ: การกระทำต่อเนื่องและขอบเขตความผิด
จำเลยยืนอยู่นอกรถยนต์โดยสารประจำทาง ใช้กำลังประทุษร้ายดึงตัวผู้เสียหายให้ลงมาจากรถแล้วบังคับเอาทรัพย์จากผู้เสียหาย เช่นนั้น การชิงทรัพย์ได้เริ่มเกิดขึ้นตั้งแต่จำเลยใช้กำลังประทุษร้ายในขณะที่ผู้เสียหายยังอยู่บนรถซึ่งเป็นการกระทำที่ต่อเนื่องกันไม่ขาดตอนกับการบังคับเอาทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐานชิงทรัพย์ในยวดยานสาธารณะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคสองประกอบกับมาตรา 335(9).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 528/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต และความผิดฐานลักทรัพย์
การที่จำเลยเอาทรัพย์ซึ่งมีผู้อื่นควบคุมดูแลแทนเจ้าทรัพย์ไป โดยจำเลยมิได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ครอบครองและนำทรัพย์นั้นไปแต่อย่างไร จำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335
of 2