คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดก: การครอบครองทำกินร่วมกัน และการแบ่งมรดกหลังการเสียชีวิต
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของ ท. โจทก์กับ ม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และ ม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมา แต่ให้ ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม..." โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179 วรรคท้าย
ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับ ท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมา โดย ท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับ ท.ด้วย เมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของ ท. บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ ท. เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับ ท.และม.ด้วย นอกจากนี้หลังจาก ท.ตายไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาท และโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพ ท. การที่ ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือ ม. คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อ ท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม. การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของ ท. และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดก ท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ 1 ปี ตามป.พ.พ.มาตรา 1754 มาใช้บังคับไม่ได้
พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตาม แต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดย ถ.ได้บันทึกรับรองว่า คดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้ว เมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่า ถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย
ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มา ศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความการแบ่งมรดกและการครอบครองทรัพย์สินร่วมกัน
ตามฟ้องสภาพแห่งข้อหาของโจทก์คือ ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นมรดกของท.โจทก์กับม.เป็นทายาทได้รับส่วนแบ่งคนละครึ่ง คำขอบังคับคือมรดกที่เรียกร้องคิดเป็นเงิน 800,000 บาท ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาคือม.ไม่มีสิทธิทำพินัยกรรมยกที่ดินและบ้านทั้งหมดให้แก่จำเลยได้ที่โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยตัดข้อความที่ว่า "และครอบครองที่ดินแทนโจทก์ตลอดมา" ออกเป็นว่า "โจทก์และม.ได้ครอบครองและเก็บผลประโยชน์ในที่ดินพิพาทร่วมกันตลอดมาแต่ให้ม.ลงชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ โจทก์ได้ติดต่อทวงถาม" โดยคงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับตลอดจนข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาไว้ตามเดิมนั้นไม่ทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนไป ทั้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมเช่นนี้โจทก์ย่อมแก้ไขได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179 วรรคท้าย ตั้งแต่ ท.จดทะเบียนรับโจทก์เป็นบุตรบุญธรรม โจทก์ได้ไปอยู่กับท.ในบ้านและที่ดินพิพาทตลอดมาโดยท.ประกอบอาชีพขายจาก และโจทก์ตัดจากในที่ดินพิพาทขายกับท.ด้วยเมื่อโจทก์เป็นบุตรบุญธรรมของท.บ้านและที่ดินพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของท.เชื่อได้ว่าโจทก์ทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกับท.และม.ด้วย นอกจากนั้นหลังจากท.ตามไป โจทก์ยังคงอยู่ในบ้านพิพาทและโจทก์เป็นผู้เก็บผลประโยชน์จากการตัดต้นสนในที่ดินพิพาทไปขายนำเงินไปมอบให้แก่ม.เพื่อช่วยเป็นค่าใช้จ่ายในการปลงศพท.การที่ท.ยังมิได้ยกบ้านและที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์หรือม.คนทั้งสองจึงอยู่อาศัยโดยทำกินในที่ดินพิพาทร่วมกันเท่านั้นเมื่อท.ตายไป บ้านและที่ดินพิพาทย่อมตกแก่โจทก์และ ม.การครอบครองอยู่อาศัยและทำกินต่อมาจึงเป็นการครอบครองแทนซึ่งกันและกัน แม้โจทก์จะมิได้คัดค้านการจดทะเบียนรับโอนมรดกของท.และมิได้ฟ้องคดีที่อายัดที่ดินพิพาท โจทก์ก็ยังคงมีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกท.ซึ่งตนเป็นเจ้าของร่วมได้ จะนำอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754มาใช้บังคับไม่ได้ พระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 24 บัญญัติบังคับว่าศาลอุทธรณ์ต้อง มีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคน จึงจะเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาคดีได้ และแม้ในสำนวนจะไม่มีคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่เป็นต้นร่างก็ตามแต่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์โดยถ.ได้บันทึกรับรองว่าคดีนี้มีผู้พิพากษาสามคนได้ร่วมปรึกษาและมีความเห็นพ้องกันดังได้ลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาแล้วเมื่อจำเลยมิได้โต้เถียงว่าถ.มิใช่อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ในขณะพิพากษา คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ฉบับนี้จึงชอบด้วยกฎหมาย ส่วนที่โจทก์แก้ฎีกาให้เอาบ้านและที่ดินพิพาทออกขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งแก่ตนครึ่งหนึ่งนั้น เมื่อโจทก์มิได้ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในเรื่องนี้มาศาลฎีกาจึงไม่อาจพิพากษาตามที่โจทก์ขอมาในคำแก้ฎีกานั้นได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 765/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิยึดถือใช้สอยและการเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้ที่ดินถูกเวนคืน สิทธิของผู้เช่ายังคงมีอยู่
แม้ที่ดินที่ปลูกบ้านพิพาทถูกเวนคืนเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับระหว่างรัฐกับราษฎรแต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นราษฎรด้วยกันโจทก์มีสิทธิยึดถือและใช้สอยบ้านพิพาทกับมีสิทธิขัดขวางมิให้ผู้ใดเกี่ยวข้องในสถานะเช่นเดียวกับเจ้าของเมื่อจำเลยเป็นคู่สัญญาผู้เช่าบ้านพิพาทยอมรับสิทธิของโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าและได้รับประโยชน์ในบ้านพิพาทที่เช่าจำเลยจะเถียงว่าโจทก์ไม่ใช่เจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทไม่มีอำนาจฟ้องหาได้ไม่เมื่อการเช่าสิ้นสุดลงเพราะจำเลยผิดสัญญาไม่ชำระค่าเช่าซึ่งโจทก์บอกเลิกการเช่าโดยชอบแล้วโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขับไล่และเรียกค่าเช่าที่ค้างชำระได้และการที่จำเลยอยู่ต่อมาได้ชื่อว่าอยู่โดยละเมิดสิทธิโจทก์จึงต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ด้วย คดีไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายตามที่ฟ้องปัญหาเรื่องค่าเสียหายจึงเป็นประเด็นโดยตรงที่ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยแม้ศาลชั้นต้นยังมิได้วินิจฉัยแต่เมื่อโจทก์และจำเลยต่างก็นำสืบจนคดีเสร็จสำนวนแล้วศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวโดยไม่จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาใหม่อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างทนายความ: การประเมินจากความสำเร็จในการดำเนินคดี, ทุนทรัพย์, และความซับซ้อนของคดี
เดิมจำเลยที่1ถูกบ.ฟ้องฐานละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนและเรียกทรัพย์คืนศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่1ชำระหนี้แก่บ. จำเลยที่1และบ.ต่างยื่นฎีกาสำหรับจำเลยที่1ได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความร่วมกับทนายความคนเดิมของจำเลยที่1ดำเนินคดีในชั้นฎีกาโจทก์จึงได้ทำคำแก้ฎีกาและทำคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกายื่นต่อศาลส่วนคำฟ้องฎีกานั้นโจทก์ก็เป็นผู้ยกร่างฎีกาเป็นบางส่วนซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่1ไม่ต้องมีหลักประกันมาวางศาลและจำเลยที่1ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่บ. เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในชั้นฎีกาถือได้ว่ามีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่ การที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดีย่อมต้องพิจารณาจากคำฟ้องฎีกาและคำแก้ฎีกาเป็นสำคัญก่อนแล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้หาใช่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างเดียวไม่ การคิดจำนวนสินจ้างจำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริตโดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีทั่วไปด้วยและโดยที่คดีที่โจทก์รับจ้างว่าความมีทุนทรัพย์เกือบถึง100,000,000บาทจำเลยที่1แพ้คดีศาลล่างทั้งสองศาลมาแล้วและโจทก์ตั้งที่ปรึกษาหลายคนเป็นคณะทำงานประกอบกับต้องทำงานอย่างรีบเร่งเพื่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยที่1ที่ประกอบธุรกิจธนาคารที่ถูกลูกค้าของธนาคารฟ้องฐานละเมิดหากจำเลยที่1จะจ้างทนายความอื่นก็น่าจะต้องเสียค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ้างโจทก์จึงเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์เป็นเงิน3,000,000บาทนั้นเป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทนายความ: การพิจารณาจากความซับซ้อนของคดี ทุนทรัพย์ และผลสำเร็จของงาน
เดิมจำเลยที่ 1 ถูก บ.ฟ้องฐานละเมิดให้ใช้ค่าสินไหมทดแทนและเรียกทรัพย์คืน ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่ บ. จำเลยที่ 1 และ บ.ต่างยื่นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 1 ได้ว่าจ้างโจทก์เป็นทนายความร่วมกับทนายความคนเดิมของจำเลยที่ 1 ดำเนินคดีในชั้นฎีกาโจทก์จึงได้ทำคำแก้ฎีกาและทำคำร้องขอทุเลาการบังคับชั้นฎีกายื่นต่อศาลส่วนคำฟ้องฎีกานั้นโจทก์ก็เป็นผู้ยกร่างฎีกาเป็นบางส่วน ซึ่งต่อมาศาลฎีกามีคำสั่งอนุญาตให้ทุเลาการบังคับโดยจำเลยที่ 1 ไม่ต้องมีหลักประกันมาวางศาล และจำเลยที่ 1 ไม่ต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ บ. เช่นนี้การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ในชั้นฎีกาถือได้ว่ามีส่วนเป็นผลให้งานสำเร็จเป็นส่วนใหญ่
การที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาคดี ย่อมต้องพิจารณาจากคำฟ้องฎีกาและคำแก้ฎีกาเป็นสำคัญก่อน แล้วจึงพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนจึงจะวินิจฉัยชี้ขาดตัดสินได้ หาใช่ต้องพิจารณาจากพยานหลักฐานในสำนวนแต่อย่างเดียวไม่
การคิดจำนวนสินจ้างจำเป็นต้องตีความสัญญาให้เป็นไปตามความประสงค์ในทางสุจริต โดยพิเคราะห์ถึงปกติประเพณีทั่วไปด้วย และโดยที่คดีที่โจทก์รับจ้างว่าความมีทุนทรัพย์เกือบถึง 100,000,000 บาท จำเลยที่ 1แพ้คดีศาลล่างทั้งสองศาลมาแล้ว และโจทก์ตั้งที่ปรึกษาหลายคนเป็นคณะทำงานประกอบกับต้องทำงานอย่างรีบเร่ง เพื่อชื่อเสียงและเกียรติคุณของจำเลยที่ 1ที่ประกอบธุรกิจธนาคารที่ถูกลูกค้าของธนาคารฟ้องฐานละเมิด หากจำเลยที่ 1จะจ้างทนายความอื่นก็น่าจะต้องเสียค่าจ้างไม่น้อยกว่าที่จ้างโจทก์ จึงเห็นว่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทนายความให้โจทก์เป็นเงิน 3,000,000 บาท นั้น เป็นจำนวนพอสมควรแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดต้องสุจริต ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นได้ การอ้างพยานหลักฐานใหม่ในชั้นฎีกาไม่ชอบ
การที่จะวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทที่ว่าโจทก์ผู้ซื้อที่ดินแปลงพิพาทจากการขายทอดตลาดของเจ้าพนักงานบังคับคดีตามคำสั่งของศาลเป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นตั้งประเด็นข้อพิพาทไว้หรือไม่จำเป็นต้องฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยสุจริตตามที่มาตรา1330แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติไว้หรือไม่เป็นสำคัญดังนั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นว่าโจทก์เป็นเจ้าของและมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทโดยการซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นโดยชอบศาลอุทธรณ์ภาค2ก็ชอบที่จะวินิจฉัยว่าการซื้อที่ดินพิพาทมาจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้นของโจทก์กระทำโดยสุจริตหรือไม่ เมื่อคำเบิกความของโจทก์ในคดีอาญาตามที่จำเลยแนบมาท้ายฎีกาซึ่งมีใจความแสดงว่าโจทก์เป็นผู้ไม่สุจริตในการซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดตามคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยเพิ่งอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นการไม่ชอบศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 218/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องละเมิด: การพิจารณาจากสภาพแห่งข้อหาและบทบัญญัติที่ใช้บังคับ
การที่โจทก์อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นนั้น แม้โจทก์มิได้ยกปัญหาอายุความขึ้นเป็นประเด็นแห่งอุทธรณ์เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้วินิจฉัยถึงปัญหาอายุความไว้ แต่คำแก้อุทธรณ์มีประเด็นที่จำเลยทั้งสองได้กล่าวแก้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ชั้นชี้สองสถานศาลชั้นต้นได้กำหนดข้อโต้เถียงของคู่ความไว้เป็นประเด็นว่า คดีโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์ยกปัญหาอายุความขึ้นวินิจฉัยจึงกระทำได้โดยชอบ
ฟ้องโจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดซึ่งเป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ส่วนที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยทั้งสองได้นำข้อความที่รู้อยู่แล้วว่าเป็นความเท็จไปยื่นฟ้องโจทก์กับพวกเป็นคดีอาญาในข้อหาว่าร่วมกันหมิ่นประมาทซึ่งฟ้องในคดีอาญาล้วนเป็นความเท็จทั้งสิ้นนั้น ข้อความดังกล่าวเป็นเพียงข้ออ้างที่โจทก์อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเพื่อให้ฟ้องสมบูรณ์ขึ้นตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172วรรคสอง เท่านั้น หาได้เป็นสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ไม่ ดังนั้น เมื่อคำฟ้องโจทก์เป็นการเรียกค่าเสียหายฐานละเมิด โดยมิได้กล่าวในคำฟ้องว่าจำเลยทั้งสองได้กระทำผิดในทางอาญาต่อโจทก์ คดีจึงนับอายุความทางอาญาที่ยาวกว่าตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคสอง ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ต้องอยู่ภายในประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ การวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์เป็นกรณีที่มิชอบ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยบุกรุก จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ส่วนข้อความในอุทธรณ์ที่จำเลยกล่าวถึงการจัดทำแผนที่วิวาทว่า โรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์4 ตารางวา เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวถึงข้อที่ศาลชั้นต้นอ้างไว้ในคำพิพากษาเท่านั้นมิใช่จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าโรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จริง คดียังคงมีประเด็นว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยปลูกสร้างบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์ จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ต้องไม่เกินกรอบอุทธรณ์ของจำเลย แม้จำเลยจะยอมรับการรุกล้ำ แต่ศาลต้องพิจารณาเหตุสุจริต
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า จำเลยบุกรุกที่ดินโจทก์หรือไม่ แล้วศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยบุกรุก จำเลยอุทธรณ์ว่าจำเลยไม่ได้ปลูกสร้างโรงเรือนและรั้วรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์ ส่วนข้อความในอุทธรณ์ที่จำเลยกล่าวถึงการจัดทำแผนที่วิวาทว่า โรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของโจทก์ 4 ตารางวา เป็นกรณีที่จำเลยกล่าวถึงข้อที่ศาลชั้นต้นอ้างไว้ในคำพิพากษาเท่านั้น มิใช่จำเลยยอมรับข้อเท็จจริงว่าโรงเรือนและรั้วของจำเลยรุกล้ำเข้าไปในที่ดินโจทก์จริง คดียังคงมีประเด็นว่าจำเลยบุกรุกที่ดินของโจทก์หรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้กระทำละเมิดโดยปลูกสร้างบ้านและรั้วรุกล้ำที่ดินของโจทก์จึงไม่เป็นการวินิจฉัยเกินกว่าอุทธรณ์ของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6564/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเพิ่มเติมและการใช้กฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังย้อนหลังในคดีแพ่ง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าสัญญาเช่าเอกสารหมายจ.1ของโจทก์ต้องห้ามรับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90เดิมเนื่องจากโจทก์ไม่ได้ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายนำสืบก่อนโจทก์อุทธรณ์ว่าโจทก์ไม่จำต้องส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันที่ศาลเริ่มต้นทำการสืบพยานนัดแรกไม่ต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าวศาลอุทธรณ์ภาค2กลับวินิจฉัยว่าโจทก์ยื่นคำร้องขอระบุพยานเพิ่มเติมอ้างว่าหลงลืมพลั้งเผลอโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์ไม่สามารถทราบได้ว่าต้องนำหนังสือเช่ามาสืบและโจทก์ไม่ทราบว่าหนังสือเช่านั้นมีอยู่กรณีไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้โจทก์ระบุพยานเพิ่มเติมคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค2ในส่วนนี้เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแห่งคำอุทธรณ์และเป็นการนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา88วรรคสี่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา3ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่มิได้ใช้บังคับอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง(ฉบับที่13)พ.ศ.2535มาตรา2จึงเป็นการนำกฎหมายที่บังคับใช้ภายหลังมาใช้บังคับย้อนหลังต่อกระบวนพิจารณาที่ล่วงเลยมาแล้วย่อมเป็นการไม่ชอบ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค2วินิจฉัยต่อไปว่าแม้ศาลชั้นต้นอนุญาตและโจทก์อ้างเอกสารที่ระบุพยานเพิ่มเติมเป็นพยานแล้วก็ย่อมต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา87,90นั้นก็หาได้แสดงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยว่าไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมอย่างไรไม่ได้อ้างบทบัญญัติของกฎหมายและแปลความหมายของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา90เดิมไว้จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา141(4)ประกอบด้วยมาตรา246ศาลฎีกาเห็นสมควรให้ส่งสำนวนคืนไปยังศาลอุทธรณ์ภาค2เพื่อให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา243(1)ประกอบด้วยมาตรา247
of 25