พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีเช็ค: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยพยานหลักฐานความพร้อมทางการเงินของจำเลยเป็นสาระสำคัญในการพิสูจน์ความผิด
อุทธรณ์ของโจทก์ที่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่าง ๆ ของโจทก์ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่า คดีโจทก์มีมูลนั้น มิได้ทำให้ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไป คดียังคงมีปัญหาว่า ฟ้องของโจทก์มีมูลหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้วเห็นว่า โจทก์ไม่ได้นำสืบ (ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง) ให้ปรากฏว่า วันที่เช็คถึงกำหนดจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่ หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค คดีของโจทก์จึงไม่มีมูลนั้น เหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักล้างเหตุผลที่โจทก์แสดงต่อศาลอุทธรณ์เพราะเหตุผลนั้นไม่เป็นสาระ ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยหักล้างอุทธรณ์ของโจทก์หรือยกเหตุผลอื่นขึ้นวินิจฉัย จึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ตรงตามที่โจทก์อุทธรณ์ และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะให้เหตุผลแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 249/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์มูลคดีเช็ค: ศาลอุทธรณ์พิจารณาจากเงินในบัญชีผู้สั่งจ่าย ณ วันเช็คถึงกำหนด
อุทธรณ์ของโจทก์ที่เป็นเพียงการแสดงความคิดเห็นต่างๆของโจทก์ในการรับฟังข้อเท็จจริงว่าคดีโจทก์มีมูลนั้นมิได้ทำให้ปัญหาที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเปลี่ยนแปลงไปคดียังคงมีปัญหาว่าฟ้องของโจทก์มีมูลหรือไม่เมื่อศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแล้วเห็นว่าโจทก์ไม่ได้นำสืบ(ชั้นไต่สวนมูลฟ้อง)ให้ปรากฏว่าวันที่เช็คถึงกำหนดจำเลยมีเงินในบัญชีพอที่จะจ่ายเงินตามเช็คพิพาทได้หรือไม่หรือบัญชีของจำเลยปิดแล้วหรือไม่ซึ่งเป็นสาระสำคัญของคดีความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คคดีของโจทก์จึงไม่มีมูลนั้นเหตุผลที่ศาลอุทธรณ์ยกขึ้นวินิจฉัยดังกล่าวเป็นการเพียงพอแล้วที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นได้โดยไม่จำต้องวินิจฉัยหักล้างเหตุผลที่โจทก์แสดงต่อศาลอุทธรณ์เพราะเหตุผลนั้นไม่เป็นสาระไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปการที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจแัยหักล้างอุทธรณ์ของโจทก์หรือยกเหตุผลอื่นขึ้นวินิจฉัยจึงไม่ใช่การวินิจฉัยนอกประเด็นไม่ตรงตามที่โจทก์อุทธรณ์และการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวแม้จะให้เหตุผลแตกต่างไปจากคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นก็ไม่ทำให้คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายแต่อย่างใด.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีขนส่งทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลย จึงเป็นสาขาของจำเลย เมื่อสาขาดังกล่าวมีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้น และได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของสายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ ก็หาทำให้ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้อง จะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไป การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมา ศาลฎีกาจึงสมควรวินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่น ๆ ทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัดความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบเพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อน มิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้น เป็นวิธีปฏิบัติเพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็นสาระสำคัญก็ได้หา เป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3844/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรับขนทางทะเล, การจำกัดความรับผิด, และผลของสัญญาประกันภัย
จำเลยเป็นบริษัทในต่างประเทศ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพเป็นกิจการของจำเลยจึงเป็นสาขาของจำเลยเมื่อสาขาดังกล่าวมี สำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตศาลชั้นต้นและได้ร่วมกระทำการ ในการขนส่งสินค้ารายพิพาท จึงถือว่าสำนักงานแห่งใหญ่ของ สายเดินเรือเมอสก์ สาขากรุงเทพ เป็นภูมิลำเนาของจำเลยตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71วรรคสอง โจทก์ย่อมฟ้องจำเลย ต่อศาลชั้นต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยต้องรับผิดต่อโจทก์ แต่ให้ยกฟ้อง เนื่องจากโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโจทก์อุทธรณ์เรื่องอำนาจฟ้อง แม้จำเลย จะมิได้ยกประเด็นข้ออื่นขึ้นโต้แย้งไว้ในคำแก้อุทธรณ์ก็หาทำให้ ประเด็นดังกล่าวยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่เพราะการที่ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องแล้วยังวินิจฉัยประเด็นข้ออื่น ต่อไปอีกก็โดยมีความประสงค์ว่าหากศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยในประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องจะได้วินิจฉัยประเด็นอื่นไปทีเดียวโดยไม่ต้องย้อนสำนวน ดังนี้ เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง ศาลอุทธรณ์ก็ชอบ ที่จะวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นต่อไปการที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยให้ และจำเลยยกประเด็นดังกล่าวขึ้นฎีกาต่อมาศาลฎีกาจึงสมควร วินิจฉัยไปทีเดียวโดยไม่ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอีก
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการรับขนของทางทะเลใช้บังคับ และไม่ปรากฏว่ามีประเพณีการขนส่งทางทะเลที่ถือปฏิบัติกันอยู่ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ลักษณะรับขน อันเป็นกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งมาปรับแก่คดี
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 625 ห้ามผู้ขนส่งกำหนดข้อความยกเว้นหรือจำกัดความรับผิดไว้ในใบรับ ใบตราส่งหรือเอกสารอื่นๆทำนองนั้นเว้นแต่ผู้ส่งจะแสดงความตกลงด้วยชัดแจ้ง เมื่อฟังไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงด้วยแจ้งชัด ข้อความจำกัด ความรับผิดจึงไม่มีผลใช้ยันผู้ส่งได้ และไม่อาจใช้ยันผู้รับตราส่ง ซึ่งได้รับช่วงสิทธิมาจากผู้ส่ง ตลอดจนผู้รับประกันภัยซึ่งรับช่วงสิทธิ ของผู้รับตราส่งมาอีกทอดหนึ่ง
สัญญาประกันภัยมีผลบังคับตั้งแต่ผู้รับประกันภัยตกลงรับประกันภัย และได้ออกหนังสือรับประกันภัยล่วงหน้าให้แก่ผู้เอาประกันภัยไว้ สัญญาประกันภัยทำขึ้นก่อนผู้เอาประกันภัยทราบว่าสินค้าสูญหาย แม้ว่าผู้รับประกันภัยจะออกกรมธรรม์ประกันภัยให้หลังจากผู้เอาประกันภัย ทราบว่าสินค้าสูญหายแล้ว สัญญาประกันภัยก็ไม่ตกเป็นโมฆะ
ข้อกำหนดในสัญญาประกันภัยที่ว่าในกรณีวัตถุที่เอาประกันภัยสูญหาย ผู้เอาประกันภัยจะต้องบอกกล่าวให้ตัวแทนของผู้รับประกันภัยทราบ เพื่อทำรายงานสำรวจเสียก่อนมิฉะนั้นจะไม่จ่ายเงินนั้นเป็นวิธีปฏิบัติ เพื่อให้ผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้ว่าสินค้าที่เอาประกันภัยสูญหายจริงเท่านั้น หากผู้รับประกันภัยเชื่อถือได้แน่นอนแล้วจะไม่ถือข้อกำหนดนี้เป็น สาระสำคัญก็ได้หาเป็นการผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบันทึกประจำวันสถานีตำรวจ ไม่ถือเป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ แม้จะมีการตกลงกันก่อนหน้านี้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหาย จำเลยให้การว่าไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์และได้ออกจากที่พิพาทไปแล้วก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสำเนาเอกสาร ท้ายฟ้องมิใช่สัญญาเช่าและจำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้ว ศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่สัญญาเช่านั้นไม่ชอบ ขอให้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์แล้วพิจารณาใหม่ตามรูปคดีดังนี้ ประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์มีเพียงว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องเป็นหลักฐานการเช่าหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงว่ามีข้อโต้แย้ง เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท ต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก่อนแล้วให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่นั้น จึงไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่ หลักฐานการเช่าแล้ว ก็ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสารบันทึกประจำวันไม่ถือเป็นสัญญาเช่า ต้องมีหลักฐานการตกลงเช่าที่ชัดเจน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยและเรียกค่าเช่ากับค่าเสียหายจำเลย ให้การว่าไม่เคยเช่าที่ดินโจทก์และได้ออกจากที่พิพาทไป แล้ว ก่อนสืบพยานโจทก์ จำเลยขอให้ศาลชี้ขาด ข้อกฎหมายเบื้องต้นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะสำเนาเอกสาร ท้ายฟ้องมิใช่สัญญาเช่าและจำเลยออกจากที่พิพาทไปแล้วศาลชั้นต้นงดสืบพยานโจทก์จำเลยและพิพากษายกฟ้องโจทก์โจทก์อุทธรณ์ว่าศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์โดยอ้างว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่สัญญาเช่านั้นไม่ชอบขอให้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์แล้วพิจารณาใหม่ตาม รูปคดีดังนี้ ประเด็นตามอุทธรณ์ของโจทก์มีเพียงว่า บันทึกประจำวันท้ายฟ้องเป็นหลักฐานการเช่าหรือไม่ ที่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า คำฟ้องของโจทก์แสดงว่ามีข้อโต้แย้ง เกิดขึ้นระหว่างโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่พิพาท ต้องฟังข้อเท็จจริงจากการนำสืบของคู่ความก่อนแล้วให้ศาลชั้นต้น พิจารณาพิพากษาใหม่นั้น จึงไม่ตรงตามประเด็นที่โจทก์ อุทธรณ์เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าบันทึกประจำวันท้ายฟ้องไม่ใช่ หลักฐานการเช่าแล้ว ก็ต้องยกฟ้องโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3816/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธฟ้องที่ไม่ชัดเจนถือเป็นการนำสืบเกินคำให้การ ศาลไม่ควรรับวินิจฉัย
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอเช่าห้องพิพาทจากโจทก์เพื่อประกอบการค้าประเภท "กิ๊ฟท์ชอป" แต่จำเลยกลับตกแต่งห้องและขึ้นป้ายเป็นการค้าประเภท "จิวเวลรี่" ซึ่งเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์ โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยเสียหาย ข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จำเลยมิได้ต่อสู้ คำให้การจึงมีแต่การปฏิเสธลอย ๆ ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ข้อนำสืบทั้งสิ้นของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ศาลไม่พึงรับวินิจฉัยให้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำสืบแก้ข้อนำสืบของโจทก์จึงเป็นการผิดพลาด ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่จำต้องถือตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3816/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธลอยๆ ในคำให้การ ถือเป็นการไม่ต่อสู้คดี ศาลไม่รับฟังพยานหลักฐานนอกคำให้การ
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขอเช่าห้องพิพาทจากโจทก์เพื่อประกอบการค้าประเภท 'กิ๊ฟท์ชอป' แต่จำเลยกลับตกแต่งห้องและขึ้นป้ายเป็นการค้าประเภท 'จิวเวลรี่' ซึ่งเป็นการผิดสัญญา จำเลยให้การเพียงว่าจำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา ทำให้จำเลยเสียหาย ข้อที่โจทก์อ้างว่าจำเลยผิดสัญญาอย่างใด จำเลยมิได้ต่อสู้ คำให้การจึงมีแต่การปฏิเสธลอยๆ ไม่มีเหตุแห่งการปฏิเสธตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสองข้อนำสืบทั้งสิ้นของจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ศาลไม่พึงรับวินิจฉัยให้การที่ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยนำสืบแก้ข้อนำสืบของโจทก์จึงเป็นการผิดพลาด ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาไม่จำต้องถือตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบำเหน็จตกทอดของภรรยาเมื่อมีการสมรสซ้อน: การพิจารณาตามกฎหมายและการพิสูจน์สถานะทางกฎหมาย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรส ต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น แล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3719/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิรับบำเหน็จตกทอดของภรรยาตามกฎหมาย แม้มีการสมรสซ้อน และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัย
แม้พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 มาตรา 51 จะบัญญัติหน้าที่ของกระทรวงเจ้าสังกัดจำเลยที่ 1 เพียงรับตรวจสอบเรื่องขอรับบำเหน็จตกทอด นำส่งให้ถึงกระทรวงการคลังและให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาสั่งก็ตามเมื่อกองทัพอากาศจำเลยที่ 1 ได้เสนอความเห็นส่งต่อไปถึงกระทรวงการคลัง ขอให้กันบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยาไว้ เพราะภรรยาคนแรกของผู้ตายยังมิได้ดำเนินการให้ศาลสั่งว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตายเป็นโมฆะ จนเป็นเหตุให้โจทก์ไม่ได้รับเงินบำเหน็จตกทอดส่วนของโจทก์นั้น ถือได้แล้วว่ามีข้อโต้แย้งสิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง ผู้ตายอยู่กินฉันสามีภรรยากับ ส.ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 และยังไม่ขาดจากการสมรสต่อมาผู้ตายจดทะเบียนสมรสกับโจทก์ ตราบใดที่ยังไม่มีคำพิพากษาศาลแสดงว่าการสมรสของโจทก์เป็นโมฆะ จะถือว่าโจทก์ไม่เป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายหาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับบำเหน็จตกทอดส่วนของภรรยา ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะวินิจฉัยคดีโดยเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและหลักฐานทั้งปวงในสำนวนความได้ฉะนั้น แม้ศาลอุทธรณ์จะมีอำนาจพิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่ได้แต่เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรที่จะวินิจฉัยตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่แล้วในสำนวนก็ชอบจะทำได้โดยไม่จำต้องย้อนสำนวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243