พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1952/2515
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิมรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และขอบเขตอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือจากอุทธรณ์
บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้ว มีสิทธิได้รับมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1629(1)
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและพยานหลักฐานในสำนวน ไม่มีอำนาจที่จะไปวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ที่ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจเพียงแต่พิจารณาฟ้องอุทธรณ์ คำแก้อุทธรณ์ เอกสารและพยานหลักฐานในสำนวน ไม่มีอำนาจที่จะไปวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็น ที่ไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2514
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธคำขอสืบพยานเพิ่มเติมและการต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงขอสืบพยานในประเด็นว่าจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดข้อแถลงของโจทก์ไว้ในรายงานพิจารณา จึงขอให้ศาลชั้นต้นบันทึกไว้เป็นประเด็นและขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบพยานในข้อนี้ได้ โดยถือว่าเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีการผิดมาตรา 27 เป็นเรื่องกล่าวอ้างขึ้นใหม่นั้น เห็นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธว่าไม่มีเรื่องผิดระเบียบและปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์สืบพยานในประเด็นที่ไม่ได้กำหนดกันไว้ในวันนัดชี้สองสถาน จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 228(2) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ก่อนพิพากษาคดีเป็นเวลา 5 วัน โจทก์มีเวลาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์และกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1602/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่รับฟังพยานหลักฐานใหม่ และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณา
โจทก์ยื่นคำร้องว่า ในวันชี้สองสถานโจทก์แถลงขอสืบพยานในประเด็นว่าจำเลยขัดขวางมิให้โจทก์ปฏิบัติตามสัญญา จึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่โจทก์จะปฏิบัติตามสัญญาได้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้จดข้อแถลงของโจทก์ไว้ในรายงานพิจารณา จึงขอให้ศาลชั้นต้นบันทึกไว้เป็นประเด็นและขอให้ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์สืบพยานในข้อนี้ได้ โดยถือว่าเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าไม่มีการผิดมาตรา 27 เป็นเรื่องกล่าวอ้างขึ้นใหม่นั้น เห็นว่า คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นนี้เป็นคำสั่งที่ศาลชั้นต้นปฏิเสธว่าไม่มีเรื่องผิดระเบียบและปฏิเสธไม่ยอมให้โจทก์สืบพยานในประเด็นที่ไม่ได้กำหนดกันไว้ในวันนัดชี้สองสถาน จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 มิใช่คำสั่งอันเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 228(2) และศาลชั้นต้นมีคำสั่งในเรื่องนี้ก่อนพิพากษาคดีเป็นเวลา 5 วัน โจทก์มีเวลาโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้น แต่โจทก์มิได้โต้แย้งไว้จึงต้องห้ามอุทธรณ์และกรณีไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสืบพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 240(2) ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการรับโอนโดยสุจริต: ศาลฎีกาตัดสินประเด็นการต่อสู้สิทธิในที่ดิน
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมอันยังมิได้จดทะเบียน ที่มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตามมาตรา 1299 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นถ้าคู่ความมิได้ตั้งประเด็นยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำฟ้องคำให้การ ย่อมไม่เป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยปรับแก่คดีได้ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 944/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในที่ดินโดยสุจริตและจดทะเบียนได้เหนือสิทธิที่ได้มาจากการครอบครองปรปักษ์ ศาลต้องวินิจฉัยประเด็นที่คู่ความยกขึ้นเท่านั้น
สิทธิของผู้ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์หรือทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรมอันยังมิได้จดทะเบียนที่มิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้ว ตามมาตรา 1299 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์นั้นถ้าคู่ความมิได้ตั้งประเด็นยกเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำฟ้องคำให้การย่อมไม่เป็นประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยปรับแก่คดีได้ทั้งไม่ใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยอ้างการครอบครองเป็นส่วนสัด ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้ หากไม่เกินคำขอเดิม
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่พิพาทอันดับ 1, 2 ไม่ใช่มรดกของ ส. แต่เป็นของจำเลยก่นสร้างครอบครองมา และแม้จะฟังว่าเป็นมรดกของ ส. ก็ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกับจำเลย คดีโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันดับ 1, 2 อันเป็นมรดกของ ส. ร่วมกับจำเลยหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นควรฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทอันเป็นมรดกของ ส.คนละแปลง เป็นส่วนสัดมาช้านาน ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองที่พิพาททั้งสองแปลงร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดจึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัดจึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกโดยอ้างการครอบครองปรปักษ์และแบ่งครอบครองเป็นส่วนสัด ศาลอุทธรณ์มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีเต็มตามคำขอของโจทก์จึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะอุทธรณ์ แต่เมื่อจำเลยเป็นฝ่ายอุทธรณ์ขอให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า ที่พิพาทอันดับ 1,2 ไม่ใช่มรดกของ ส. แต่เป็นของจำเลยก่อสร้างครอบครองมา และแม้จะฟังว่าเป็นมรดกของ ส. ก็ฟังไม่ได้ว่าโจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทร่วมกับจำเลย คดีโจทก์ขาดอายุความ คดีจึงมีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยตามที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมาว่า โจทก์ได้ครอบครองที่พิพาทอันดับ 1,2 อันเป็นมรดกของ ส.ร่วมกับจำเลยหรือไม่ เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นควรฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จำเลยได้แบ่งกันครอบครองที่พิพาทอันเป็นมรดกของ ส. คนละแปลง เป็นส่วนสัดมาช้านาน ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ มิได้ครอบครองที่พิพาททั้งสองแปลงร่วมกันดังที่ศาลชั้นต้นรับฟังมา ศาลอุทธรณ์ก็มีอำนาจฟังข้อเท็จจริงใหม่
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัด จึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
โจทก์ฟ้องขอแบ่งครึ่งที่ดินมรดกของ ส. รวม 3 แปลง เฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 3 ได้ความว่าจำเลยขายไปก่อน โจทก์จึงไม่ติดใจว่ากล่าว คงพิพาทกันเฉพาะที่ดินแปลงอันดับ 1 เนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 20 วา อันดับ 2 เนื้อที่ 6 ไร่ 3 งาน 84 วา ซึ่งมีราคาแปลงละ 4,000 บาทเท่ากัน ฉะนั้น ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์จำเลยได้รับที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาเท่ากันคนละแปลงตามที่ได้แบ่งกันครอบครองเป็นส่วนสัด จึงเท่ากับโจทก์ได้รับมรดกเพียงครึ่งหนึ่ง ไม่เป็นการนอกประเด็นและเกินคำขอของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: เมื่อผู้ซื้อผิดนัด จะฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้
สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ผิดสัญญา โจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายต่างตอบแทน: ฝ่ายผิดสัญญาไม่อาจบังคับให้ปฏิบัติตามสัญญาได้
สัญญาจะซื้อขายเป็นสัญญาต่างตอบแทน เมื่อโจทก์ผิดสัญญาโจทก์จะฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองที่ดินโดยเข้าใจผิดและอายุความ
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปี จึงได้กรรมสิทธิ์ ให้ยกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยที่ 1 รื้อคันนาจากหลักไม้หมายเลย 2 ถึงหลักไม้หมายเลข 3 ในแผนที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ ให้จำเลยที่ 1 ถึง 8 รื้อรั้วที่ทำไว้ในที่ดินของโจทก์ออกไปด้วย ดังนี้ เป็นแก้ไขมาก
จำเลยให้การว่า เดิมที่นาพิพาทจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยได้ครอบครองมีเขตคันเป็นส่วนสัดมาโดยสงบและเปิดเผยติดต่อตลอดมาทุกปีเป็นเวลา 30 ปีเศษ ทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยครอบครอง ถือว่าเป็นการต่อสู้ว่าครอบครองทรัพย์ของโจทก์โดยปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
การครอบครองปกปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ครอบครองจะรู้ว่าทรัพย์สินที่ตนครอบครองเป็นของผู้อื่นหรือไม่ ไม่สำคัญ ย่อมได้กรรมสิทธิ์เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญติไว้เป็นอย่างอื่น
จำเลยให้การว่า เดิมที่นาพิพาทจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ จำเลยได้ครอบครองมีเขตคันเป็นส่วนสัดมาโดยสงบและเปิดเผยติดต่อตลอดมาทุกปีเป็นเวลา 30 ปีเศษ ทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยครอบครอง ถือว่าเป็นการต่อสู้ว่าครอบครองทรัพย์ของโจทก์โดยปรปักษ์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
การครอบครองปกปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ผู้ครอบครองจะรู้ว่าทรัพย์สินที่ตนครอบครองเป็นของผู้อื่นหรือไม่ ไม่สำคัญ ย่อมได้กรรมสิทธิ์เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญติไว้เป็นอย่างอื่น