คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 881/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์: การครอบครองที่ดินของผู้อื่นโดยสงบ เปิดเผย และเจตนาเป็นเจ้าของ ทำให้ได้กรรมสิทธิ์
ศาลชั้นต้นฟังว่า ที่พิพาทอยู่ในเขตโฉนดของโจทก์จำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีจึงได้กรรมสิทธิ์ให้ยกฟ้องโจทก์ศาลอุทธรณ์แก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นว่า ให้จำเลยที่ 1 รื้อคันนาจากหลักไม้หมายเลข 2 ถึงหลักไม้หมายเลข 3. ในแผนที่พิพาทออกไปจากที่ดินของโจทก์ให้จำเลยที่ 1 ถึง 8 รื้อรั้วที่ทำไว้ในที่ดินของโจทก์ออกไปด้วย ดังนี้ เป็นแก้ไขมาก
จำเลยให้การว่า เดิมที่นาพิพาทจำเลยมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์จำเลยได้ครอบครองมีเขตอันเป็นส่วนสัดมาโดยสงบและเปิดเผยติดต่อมาทุกปีเป็นเวลา 30 ปีเศษทางพิจารณาได้ความว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์แต่จำเลยครอบครอง ถือว่าเป็นการต่อสู้ว่าครอบครองทรัพย์ของโจทก์โดยปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 แล้ว
การครอบครองปรปักษ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1382 ผู้ครอบครองจะรู้ว่าทรัพย์สินที่ตนครอบครองเป็นของผู้อื่นหรือไม่ ไม่สำคัญย่อมได้กรรมสิทธิ์เสมอ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทและเจ้าหนี้ในการบังคับคดีทรัพย์สินร่วมกัน: การกันส่วนได้ของทายาท
ผู้ตายและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกัน เมื่อผู้ตาย ที่ดินส่วนของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะยึดทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้ตนได้ แต่ต้องไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้ของผู้อื่นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ร่วมกับจำเลย
เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นของบุคคลหลายคนรวมกันถูกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาลเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ร่วมกับจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันส่วนได้ของตนเสียภายในห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 656/2508

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิทายาทในทรัพย์สินร่วม และสิทธิเจ้าหนี้ในการบังคับคดี โดยไม่กระทบสิทธิผู้อื่น
ผู้ตายและจำเลยมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทร่วมกันเมื่อผู้ตายตายที่ดินส่วนของผู้ตายย่อมเป็นมรดกตกได้แก่ทายาท โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษามีสิทธิจะยึดทรัพย์ส่วนของจำเลยมาชำระหนี้ตนได้แต่ต้องไม่ทำให้กระทบกระเทือนถึงส่วนได้ของผู้อื่นผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิร่วมกับจำเลย
เมื่อทรัพย์ซึ่งเป็นของบุคคลหลายคนรวมกันถูกขายทอดตลาดตามคำพิพากษาของศาล เจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ร่วมกับจำเลยจะต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลกันส่วนได้ของตนเสียภายในห้าปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาช่วง-มอบอำนาจ: ความรับผิดของคู่สัญญาต่อค่าใช้จ่ายตามสัญญา
โจทก์ทำสัญญาเช่าโรงมหรศพจากเจ้าของเพื่อจัดการแสดงมหาศพและการบันเทิงต่าง ๆ โดยมีข้อห้ามมิให้เช่าช่วง แต่โจทก์มาทำสัญญากับจำเลยยินยอมมอบอำนาจให้จำเลยดำเนินการฉายภาพยนต์หรือจัดรายการบันเทิงอื่นใดโรงมหรศพนี้ โดยจำเลยต้องให้เงินโจทก์เป็นรายเดือน สัญญานี้ใช้บังคับได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนข้อที่ว่าเป็นการให้เช่าช่วงหรือไม่นั้น เป็นเรื่องที่เจ้าของจะว่ากล่าวแก่โจทก์ จำเลยจะยกขึ้นปัดความรับผิดของตนไม่ได้
เมื่อสัญญามอบอำนาจนั้นมีข้อตกลงให้จำเลยรับภาระค่าเช่าโทรศัพท์ด้วย ถ้าจำเลยยังไม่ได้ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยได้ มิใช่ต้องให้องค์การโทรศัพท์เป็นผู้ฟ้อง เพราะองค์การนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลย ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย
ค่าโทรศัพท์นี้ จำเลยมีหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระแก่โจทก์ตามสัญญา จำเลยก็ต้องรับผิดในดอกเบี้ยด้วย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ถึงแม้ว่าโจทก์เองจะยังไม่ได้ชำระให้องค์การโทรศัพท์ก็ตาม
เมื่อจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริงตามฟ้อง แต่ต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ค่าภาระติดพันต่าง ๆ แก่โจทก์ตามข้อสัญญาครบถ้วนแล้ว ก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบก่อน
คดีที่มีการสืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้วทั้งสองฝ่ายและในฎีกาของจำเลยก็มิได้ขอให้ศาลสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานกันใหม่ ทั้งพยานหลักฐานที่ได้สืบกันมาก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไป ดังนี้ จำเลยจะฎีกาคัดค้านการกำหนดหน้าที่นำสืบอีก ย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 441/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าช่วง vs. สัญญามอบอำนาจ: ความรับผิดชอบค่าใช้จ่ายและหน้าที่นำสืบ
โจทก์ทำสัญญาเช่าโรงมหรสพจากเจ้าของเพื่อจัดการแสดงมหรสพและการบันเทิงต่างๆ โดยมีข้อห้ามมิให้เช่าช่วงแต่โจทก์มาทำสัญญากับจำเลยยินยอมมอบอำนาจให้จำเลยดำเนินการฉายภาพยนต์หรือจัดรายการบันเทิงอื่นในโรงมหรสพนี้ โดยจำเลยต้องให้เงินโจทก์เป็นเดือน สัญญานี้ใช้บังคับได้ระหว่างโจทก์กับจำเลย ส่วนข้อที่ว่าเป็นการให้เช่าช่วงหรือไม่ นั้นเป็นเรื่องที่เจ้าของจะว่ากล่าวแก่โจทก์ จำเลยจะยกขึ้นปัดความรับผิดของตนไม่ได้
เมื่อสัญญามอบอำนาจนั้นมีข้อตกลงให้จำเลยรับภาระค่าเช่าโทรศัพท์ด้วยถ้าจำเลยยังไม่ได้ชำระ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องเรียกเอาแก่จำเลยได้มิใช่ต้องให้องค์การโทรศัพท์เป็นผู้ฟ้องเพราะองค์การนั้นไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับจำเลย ไม่ได้เป็นคู่สัญญากับจำเลย
ค่าโทรศัพท์นี้ จำเลยมีหน้าที่จ่ายให้แก่โจทก์เมื่อจำเลยผิดนัดไม่ชำระแก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยก็ต้องรับผิดในดอกเบี้ยด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ถึงแม้ว่าโจทก์เองจะยังไม่ได้ชำระให้องค์การโทรศัพท์ก็ตาม
เมื่อจำเลยยอมรับว่าได้ทำสัญญากับโจทก์จริงตามฟ้องแต่ต่อสู้ว่าได้ชำระหนี้ค่าภาระติดพันต่างๆ แก่โจทก์ตามข้อสัญญาครบถ้วนแล้วก็เป็นหน้าที่ของจำเลยต้องนำสืบก่อน
คดีที่มีการสืบพยานเสร็จสิ้นไปแล้วทั้งสองฝ่าย และในฎีกาของจำเลยก็มิได้ขอให้ศาลฎีกาสั่งให้ศาลชั้นต้นสืบพยานกันใหม่ ทั้งพยานหลักฐานที่ได้สืบกันมาก็ไม่ทำให้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงไปดังนี้ จำเลยจะฎีกาคัดค้านการกำหนดหน้าที่นำสืบอีกย่อมฟังไม่ขึ้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกเงินจากบัญชีที่ไม่ถูกต้อง และการโต้แย้งบัญชีในคำแก้อุทธรณ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ขาดบัญชีไป ผู้ร้องจึงร้องต่อศาล ศาลชั้นต้นเห็นว่าบัญชีเงินที่ขาดถูกต้อง แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้ออื่นแล้วสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินรายนี้เสีย ผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอุทธรณ์ต่อไปอีก เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผุ้แพ้คดีเป็นฝ่ายอุทธรณ์และผู้ร้องได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์โต้แย้งเกี่ยวกับบัญชีนี้ว่าไม่ถูกต้องดังที่ได้ร้องคัดค้านไว้แล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ ย่อมมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงบัญชีนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ได้ โยผู้ร้องไม่ต้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการเรียกร้องเงินจากบัญชีที่ไม่ถูกต้อง และประเด็นการโต้แย้งบัญชีในชั้นอุทธรณ์
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินที่ขาดบัญชีไปผู้ร้องจึงร้องต่อศาลศาลชั้นต้นเห็นว่าบัญชีเงินที่ขาดถูกต้อง แต่เมื่อพิจารณาประเด็นข้ออื่นแล้ว สั่งให้เพิกถอนคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่สั่งให้ผู้ร้องชำระเงินรายนี้เสีย ผู้ร้องจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องอุทธรณ์ต่อไปอีก เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้แพ้คดีเป็นฝ่ายอุทธรณ์ และผู้ร้องได้ยื่นคำแก้อุทธรณ์โต้แย้งเกี่ยวกับบัญชีนี้ว่าไม่ถูกต้องดังที่ได้ร้องคัดค้านไว้แล้วในศาลชั้นต้น ดังนี้ ย่อมมีประเด็นให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงบัญชีนี้ว่าถูกต้องหรือไม่ได้ โดยผู้ร้องไม่ต้องอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 203/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: การไม่ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่กำหนด ทำให้สิทธิในการบังคับคดีสิ้นสุดลง
ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ชนะคดี เพียงแต่ขอหมายบังคับคดีไว้เฉยๆ 5-6 ปี มิได้นำยึดเพื่อบังคับให้เป็นผลตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นต่อไเมื่อโจทก์ผู้ชนะคดีนี้ได้บังคับคดีเอากับจำเลยผู้ร้องจึงโต้แย้งสิทธิขึ้นมา ดังนี้ จึงเป็นการยากที่จะถือว่ายังอยู่ในระยะเวลาที่ผู้ร้องจะปฏิบัติตามคำพิพากษาเท่าที่จำเป็นเพื่อบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2500

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกินเกณฑ์ และศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงตามสำนวนได้
โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ ไว้ในฟ้อง 2,500 บาทมาในชั้นฎีกามีประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แก้ไขใหม่ว่าทุนทรัพย์ไม่เกิน5,000 บาท ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ดั่งนี้ กฎหมายที่แก้ใหม่เป็นวิธีสบัญญัติ ใช้บังคับได้ทันที โจทก์จึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเสมอไป หากพยานหลักฐานมีอย่างไรในสำนวนศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยตามนั้นได้เมื่อมีประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 811/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 5,000 บาท และการวินิจฉัยข้อเท็จจริงของศาลอุทธรณ์
โจทก์ตั้งทุนทรัพย์ ไว้ในฟ้อง 2,500 บาท มาในชั้นฎีกามี ป.วิ.แพ่ง แก้ไขใหม่ว่าทุนทรัพย์ไม่เกิน 5,000 บาท ฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้ ดั่งนี้ กฎหมายที่แก้ใหม่เป็นวิธีสบัญญัติ ใช้บังคับได้ทันที โจทก์จึงฎีกาข้อเท็จจริงไม่ได้
ศาลอุทธรณ์ไม่จำต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาเสมอไป หากพยานหลักฐานมีอย่างไรในสำนวน ศาลอุทธรณ์ก็วินิจฉัยตามนั้นได้เมื่อมีประเด็น.
of 25