คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1727/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้แสตมป์สุราปลอมเป็นความผิดตามกฎหมาย แม้ไม่มีกฎกระทรวงรองรับ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังส่งให้กรมสรรพสามิตต์จัดทำแสตมป์สุราขึ้นใช้ในสมัยที่ใช้ พ.ร.บ.ภาษีชั้นใน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2486 นั้น หาจำเป็นต้องออกเป็นกฎกระทรวงเสียก่อนดังเช่น พ.ร.บ.สุรา พ.ศ. 2493 บังคับไว้ ก็สมบูรณ์และย่อมถือว่าแสตมป์สุรานั้นเป็นบัตรตาม ก.ม.แล้ว ผู้ใดมีไว้หรือใช้แสดมป์สุราปลอม ย่อมมีผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 216
ฟ้องหาว่าจำเลยมีและใช้แสตมป์สุราปลอม ขอให้ลงโทษตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 216 นั้น ย่อมหมายถึงแสตมป์สุราตาม พ.ร.บ.ภาษีชั้นในนั่นเอง, แม้โจทก์ไม่อ้าง พ.ร.บ.ภาษีชั้นในมาก็หาทำให้เป็นการฟ้องเคลือบคลุมไม่
การมีแสตมป์สุราปลอมไว้จำหน่ายนั้นเป็นผิดมาตรา 216
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นยังไม่ได้ชี้ขาดข้อเท็จจริงนั้น กฎหมายบัญญัติให้ศาลอุทธรณ์, ฎีกามีอำนาจสั่งย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นชี้ขาดข้อเท็จจริงได้ แต่เมื่อศาลอุทธรณ์ฎีกาเห็นไม่จำเบ็นต้องใช้อำนาจนั้น ก็ชี้ขาดข้อเท็จจริงไปได้โดยไม่ต้องใช้อำนาจที่ ก.ม.ให้ไว้ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาตามข้อหา/คำแก้ และการคุ้มครองผู้เช่าตาม พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่า แม้มีการบอกเลิกสัญญาเช่า
ฟ้องให้ขับไล่จากห้องเช่าโดยอ้างว่า ผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า และอ้างเหตุว่าโจทก์ต้องการขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า และได้บอกกล่าวจำเลยเป็นคำรบ 2 อีกครั้งหนึ่งจำเลยก็ไม่ออก ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้ให้เช่าไม่ยอมรับค่าเช่าเอง แต่เมื่อปรากฏว่าได้บอกเลิกการเช่าล่วงหน้าตามกำหนดแล้ว ศาลก็ยกเหตุหลังขึ้นพิพากษาขับไล่ผู้เช่าได้ ไม่ถือว่าพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ประเด็นแห่งคดีอยู่ที่ข้อหาคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์ และแก้อุทธรณ์ คำฟ้องฎีกา และแก้ฎีกา ไม่ใช่อยู่ที่ข้อหาหรือคำฟ้องอย่างเดียว ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อหาหรือคำแก้ได้ทั้ง 2 สถาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าโดยอ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ยอมรับค่าเช่าเองจนจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯทราบไว้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้แม้จำเลยจะไม่ต่อสู้โดยตรงว่าจำเลยได้รับความคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯ แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การเกี่ยวถึงพระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯในภาวะคับขันอยู่แล้ว กล่าวคือจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯและว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง อย่างไรก็ดี พระราชบัญญัติควบคุมค่าเช่าฯเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจยกพระราชบัญญัติ ขึ้นปรับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1260/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องขับไล่จากห้องเช่า: ศาลมีอำนาจพิจารณาตามคำแก้ และยกกฎหมายควบคุมค่าเช่าขึ้นวินิจฉัยได้
ฟ้องให้ขับไล่จากห้องเช่าโดยอ้างว่าผู้เช่าค้างชำระค่าเช่า และอ้างเหตุว่าโจทก์ต้องการขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่า และได้บอกกล่าวจำเลยเป็นคำรพ 2 อีกครั้งหนึ่งจำเลยก็ไม่ออก ดังนี้ แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่าผู้ให้เช่าไม่ยอมรับค่าเช่าเอง แต่เมื่อปรากฎว่าได้บอกเลิกการเช่าล่วงหน้าตามกำหนดแล้ว ศาลก็ยกเหตุหลังขึ้นพิพากษาขับไล่ผู้เช่าได้ ไม่ถือว่าพิพากษานอกฟ้องนอกประเด็น
ประเด็นแห่งคดีอยู่ที่ข้อหาคำให้การ คำฟ้องอุทธรณ์และแก้อุทธรณ์ คำฟ้องฎีกาและแก้ฎีกาไม่ใช่อยู่ที่ข้อหาหรือคำฟ้องอย่างเดียว ศาลมีอำนาจพิพากษาตามข้อหาหรือคำแก้ได้ทั้ 2 สถาน
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากห้องเช่าโดยอ้างว่าจำเลยค้างชำระค่าเช่า จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ยอมรับค่าเช่าเองจนจำเลยต้องยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯ ทราบไว้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย ดังนี้แม้จำเลยจะไม่ต่อสู้โดยตรงว่าจำเลยได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ. ควบคุมค่าเช่าฯ แต่ก็ถือได้ว่าจำเลยได้ให้การเกี่ยวถึง พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ ในภาวะคับขันอยู่แล้ว กล่าวคือจำเลยได้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการควบคุมค่าเช่าฯ และว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องอย่างไรก็ดี พ.ร.บ.ควบคุมค่าเช่าฯ เป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลจึงมีอำนาจยก พ.ร.บ.ขึ้นปรับคดีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แม้ผู้ตายเสียชีวิตจากสาเหตุอื่น ศาลยังลงโทษได้
ในคดีฟ้องหาว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตามกฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 251 นั้น ถ้าผู้ถูกทำร้ายตายเพราะเหตุอื่น ไม่ใช่เพราะบาดแผลที่ถูกทำร้ายแล้ว ศาลก็ยังลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา192เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยแต่ข้อเดียวว่าผู้ตายมิได้ตายเพราะบาดแผลที่จำเลยทำร้าย ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำร้ายร่างกาย แม้ผู้ตายถึงแก่ความตายจากสาเหตุอื่น ศาลยังลงโทษฐานทำร้ายได้
ในคดีฟ้องหาว่าจำเลยฆ่าคนตายโดยไม่เจตนาตาม ก.ม.ลักษณะอาญา ม. 251 นั้น ถ้าผู้ถูกทำร้ายตายเพราะเหตุอื่นไม่ใช่เพราะบาดแผลที่ถูกทำร้ายแล้ว ศาลก็ยังลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ตาม ป.วิ.อาญา ม. 192 เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยแต่ข้อเดียวว่าผู้ตายมิได้ตายเพราะบาดแผลที่จำเลยทำร้าย ศาลฎีกาสั่งย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยความผิดฐานทำร้ายร่างกายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ต้องได้รับการพิจารณา
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันท์สามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้ มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ป.ม.แพ่งฯ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมฤดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 (1) ป.ม.แพ่ง ฯ
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มฤดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ. ได้รับโองเด็กเป็นบุตร อันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมฤดกของ พ. หรือไม่ ยังไม่ปรากฎ ความข้อนี้คู่ความยกขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์ ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่ง ศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้ แล้วพิพากษาใหม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์มรดกของบุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรอง และสิทธิของผู้เยาว์ที่ได้รับผลกระทบจากการห้ามเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์
โจทก์กล่าวในฟ้องว่า ก. ไม่เป็นภรรยาที่ชอบด้วยกฎหมายของ พ. เพราะไม่ได้จดทะเบียนสมรส จำเลยไม่ได้ต่อสู้ความข้อนี้ เป็นแต่กล่าวในคำให้การถึงเรื่องเกี่ยวกับทรัพย์ว่า ทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสของ พ. และ ก. ซึ่งได้สร้างขึ้นเมื่อเป็นสามีภรรยากันมาโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนี้ต้องถือว่าในข้อที่ว่า พ. กับ ก. เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่นั้น จำเลยไม่ได้ต่อสู้ไว้โดยชัดแจ้ง จึงต้องฟังตามคำโจทก์ว่า พ. กับ ก. ไม่ได้เป็นผัวเมียกันโดยชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลจะแบ่งทรัพย์ระหว่างชายหญิงซึ่งไม่ใช่ผัวเมียกันอย่างเป็นเจ้าของร่วมนั้น ต้องเป็นทรัพย์ที่ชายหญิงทำมาหาได้มาด้วยกัน โดยเห็นเจตนาได้ว่าการที่เขาปฏิบัติต่อกันฉันสามีภรรยา และช่วยกันหาทรัพย์มาเช่นนี้.มีความประสงค์จะหาร่วมกัน
ตามมาตรา 1627 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บุตรนอกกฎหมายถ้าบิดาได้รับรองแล้ว แม้จะยังไม่ถึงกับเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย ก็ยังอาจมีสิทธิรับมรดกของชายผู้ให้กำเนิดได้ ในฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา1629(1) ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
จำเลยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของบุตรนอกกฎหมายของ พ. โจทก์ฟ้องห้ามจำเลยมิให้เกี่ยวข้องกับทรัพย์มรดกของ พ. แต่ข้อเท็จจริงที่ว่า พ.ได้รับรองเด็กเป็นบุตรอันจะทำให้เด็กมีสิทธิได้รับมรดกของพ. หรือไม่นั้น ยังไม่ปรากฏ ความข้อนี้คู่ความมิได้ขึ้นโต้เถียงอย่างชัดแจ้งในศาลล่าง แต่เป็นปัญหาที่กระทบกระเทือนสิทธิของผู้เยาว์ ซึ่งไม่ได้เป็นคู่ความ เพราะถ้าห้ามมิให้จำเลยเกี่ยวข้องกับทรัพย์นี้ในฐานที่เป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของเด็กผู้เยาว์แล้ว ผู้เยาว์อาจเสียหายได้ ดังนี้ ย่อมเป็นข้อกฎหมายซึ่งเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนซึ่งศาลฎีกามีอำนาจย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาในข้อนี้แล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 820/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนขายที่ดินไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ศาลต้องฟังพยานเพื่อพิสูจน์ความสุจริต
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ขายนาให้โจทก์ โจทก์ชำระราคาแล้ว จำเลยที่ 1 กลับโอนนาให้แก่จำเลยที่ 2-3 โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลเพิกถอนและบังคับให้จำเลยโอนขายให้แก่โจทก์ตามสัญญาจำเลยให้การว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนประเด็นจึงมีว่า การโอนระหว่างจำเลยเป็นไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนหรือไม่ ซึ่งต้องฟังคำพยานต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งที่ดินมรดก/ที่ดินร่วม การนำสืบต้องสอดคล้องกับคำฟ้อง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขคำพิพากษา
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า โจทก์กับจำเลยปกครองที่ดินร่วมกันมา บัดนี้จำเลยจะเอาที่ดินเสียผู้เดียว จึงขอให้จำเลยส่งโฉนดมาทำการแบ่งแยกตามส่วนครึ่งหนึ่ง หากแบ่งแยกไม่ตกลง ก็ขอให้ประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยต่างปกครองเป็นส่วนสัดกัน ดังนี้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทแต่เพียงครึ่งหนึ่ง ถ้าทางพิจารณาได้ความว่า โจทก์มีกรรมสิทธิอยู่ในที่พิพาทจริง ศาลก็พิพากษาให้ที่ดินพิพาทไม่เกินครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์ได้ ไม่ผิดจากฟ้อง หรือเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดเลยจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์หรืออย่างไรนั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 750/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการแบ่งทรัพย์สินร่วม กรณีฟ้องขอแบ่งที่ดิน ศาลต้องพิพากษาภายในส่วนแบ่งที่โจทก์ขอ
โจทก์ฟ้องกล่าวว่า โจทก์กับจำเลยปกครองที่ดินร่วมกันมา บัดนี้จำเลยจะเอาที่ดินเสียผู้เดียว จึงขอให้จำเลยส่งโฉนดมาทำการแบ่งแยกตามส่วนครึ่งหนึ่ง หากแบ่งแยกไม่ตกลง ก็ขอให้ประมูลราคาหรือขายทอดตลาดแบ่งเงินกัน ชั้นพิจารณาโจทก์นำสืบว่า โจทก์จำเลยต่างปกครองเป็นส่วนสัดกัน ดังนี้ ไม่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น
โจทก์ฟ้องขอแบ่งที่พิพาทแต่เพียงครึ่งหนึ่ง ถ้าทางพิจารณาได้ความว่า โจทก์มีกรรมสิทธิ์อยู่ในที่พิพาทจริง ศาลก็พิพากษาให้ที่ดินพิพาทไม่เกินครึ่งหนึ่งเป็นของโจทก์ได้ ไม่ผิดจากฟ้อง หรือเกินคำขอ
ศาลชั้นต้นพิพากษาชี้ขาดเลยจากคำขอท้ายฟ้องของโจทก์หรืออย่างไรนั้น ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้
of 25