พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7403/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็นและทางภารจำยอม: ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นการกำหนดความกว้างของทางจำเป็น และการวินิจฉัยประเด็นทางภารจำยอมที่ถูกต้อง
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมกว้าง 1 เมตร จึงไม่เป็นทางจำเป็น และให้ย้ายทางภารจำยอมตามที่จำเลยทั้งสองเสนอ โจทก์อุทธรณ์ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมและเป็นทางจำเป็นด้วยศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่า ทางพิพาทเป็นทางจำเป็น และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแล้ว การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยต่อไปว่า ทางพิพาทไม่เป็นทางภารจำยอมจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นที่โจทก์อุทธรณ์หาเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบไม่
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินของโจทก์มีที่ดินแปลงอื่นล้อมทุกด้าน คงมีเฉพาะทางพิพาทที่โจทก์และครอบครัวใช้เป็นทางเข้าออกที่ดินของโจทก์เท่านั้น จำเลยไม่ได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ ข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงต้องถือเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยทั้งสองจะฎีกาว่า โจทก์มีทางอื่นออกสู่ทางสาธารณะนอกเหนือจากทางพิพาทอีกไม่ได้
โจทก์อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เปิดทางจำเป็นกว้างตามแนวที่โจทก์ขอ แต่ไม่ระบุความกว้างให้ชัดเจน จึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาจึงระบุให้จำเลยทั้งสองเปิดทางจำเป็นเสียให้ชัดแจ้งและไม่เกินกว่าที่โจทก์ขอมาในชั้นอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางสาธารณะ: การพิสูจน์ทางพิพาทและการระบุความกว้างเพื่อความชัดเจนในการบังคับคดี
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทางสาธารณะ: การพิสูจน์ทางพิพาทและการระบุความกว้างเพื่อประโยชน์ในการบังคับคดี
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตรยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดี แต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6962/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีทางสาธารณะถูกปิดกั้น: ความเสียหายพิเศษและขอบเขตของทางพิพาท
ฎีกาของจำเลยทั้งสองมีประเด็นว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ และทางพิพาทเป็นทางสาธารณะหรือไม่ เพียงใด ประเด็นหลังเป็นข้อกฎหมายสำคัญในการชี้ขาดตัดสินคดี แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดประเด็นข้อนี้ไว้ชัดแจ้งทั้งศาลอุทธรณ์ก็มิได้หยิบยกประเด็นดังกล่าวขึ้นพิจารณาอย่างชัดเจน ศาลฎีกาจึงกำหนดประเด็นดังกล่าวไว้ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
เกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์นั้น หากทางพิพาทเป็นทางสาธารณะและโจทก์ใช้ร่วมกับประชาชนอื่น ๆ แม้โจทก์จะใช้ทางสาธารณะอื่นด้วย เมื่อจำเลยทั้งสองปิดกั้นทางพิพาท โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
ข้อเท็จจริงในทางพิจารณาฟังได้ว่าทางสาธารณะอันเป็นทางพิพาทกว้าง 4 เมตร ยาวตลอดแนว และศาลอุทธรณ์ภาค 3 ให้โจทก์ชนะคดีแต่มิได้ระบุความกว้างของทางพิพาทจึงอาจเกิดปัญหาในชั้นบังคับคดีได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรระบุให้ชัดแจ้งโดยให้ทางพิพาทกว้าง 4 เมตร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาผิดประเด็นอุทธรณ์ ศาลฎีกามีอำนาจแก้คำพิพากษาเพื่อความถูกต้องและสงบเรียบร้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดพิพาทเฉพาะส่วนเนื้อที่ประมาณ 3 งาน 82 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่ผู้คัดค้านครอบครองอยู่เนื้อที่ 1 งาน 63 ตารางวาส่วนผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ ดังนี้ประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงตามคำขอในฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านคือที่ดินซึ่งมีเนื้อที่เพียง 1 งาน 63 ตารางวา การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องขอเสียทั้งหมด จึงเป็นการไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับเป็นการพิพากษายกคำร้องขอเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 2 งาน 19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1382 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก่เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6661/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการพิพากษาในชั้นอุทธรณ์ต้องไม่เกินประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ หากเกินถือเป็นการพิพากษานอกเหนือประเด็น
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า ที่ดินโฉนดพิพาทเฉพาะส่วนเนื้อที่ประมาณ3 งาน 82 ตารางวา ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้อง และผู้คัดค้านอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องไม่ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินในส่วนที่ผู้คัดค้านครอบครองอยู่เนื้อที่ 1 งาน 63 ตารางวาส่วนผู้ร้องมิได้อุทธรณ์ ดังนี้ประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกันในชั้นอุทธรณ์คงมีเพียงตามคำขอในฟ้องอุทธรณ์ของผู้คัดค้านคือที่ดินซึ่งมีเนื้อที่เพียง 1 งาน 63 ตารางวาการที่ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับให้ยกคำร้องขอเสียทั้งหมด จึงเป็นการไม่ถูกต้องมีผลเท่ากับเป็นการพิพากษายกคำร้องขอเกี่ยวกับที่ดินส่วนที่เหลือเนื้อที่ 2 งาน19 ตารางวา ตามโฉนดเลขที่ 1382 ซึ่งยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วว่าตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องด้วย เป็นการพิพากษานอกเหนือไปจากประเด็นที่คู่ความอุทธรณ์ ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 142 ปัญหาข้อนี้เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและพิพากษาแก้เสียให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินที่ถูกล้อม – การพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบจึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6190/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นและการพิจารณาข้อเท็จจริงนอกฟ้อง
ที่ดินของโจทก์ตามโฉนดเลขที่ 50352 ซึ่งอยู่ท้ายซอยสุดของทางพิพาท ถูกที่ดินแปลงอื่นของบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้เว้นเสียแต่จะผ่านไปตามทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเพื่อออกสู่ถนนภายในหมู่บ้านและออกสู่ถนนซึ่งเป็นทางสาธารณะเพียงทางเดียว ฉะนั้น โดยนัยแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 1349 วรรคแรก โจทก์จึงชอบที่จะใช้ทางพิพาทเป็นทางจำเป็นผ่านไปสู่ทางสาธารณะได้ การที่จำเลยสร้างรั้วกำแพงปิดกั้นทางพิพาทจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะให้เกิดเสียหายแก่โจทก์อันเป็นการอันมิชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา421 โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องให้เปิดทางพิพาทซึ่งเป็นทางจำเป็นได้
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่ดินของโจทก์และจำเลยเป็นที่ดินคนละแปลงโดยแบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 ไม่ใช่แบ่งโอนมาจากที่ดินตามโฉนดที่ดินเลขที่ 1654 เป็นเหตุให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกไปสู่ทางสาธารณะ โจทก์จะต้องไปเรียกร้องขอใช้ทางจำเป็นผ่านออกไปสู่ทางสาธารณะได้เฉพาะบนที่ดินแปลงโฉนดที่ดินเลขที่ 7210 จะมาเรียกร้องเอาทางจำเป็นจากที่ดินของจำเลยซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นและไม่ได้แบ่งโอนมาจากโฉนดที่ดินเลขที่ 7210ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1350 ไม่ได้ โดยศาลอุทธรณ์พิจารณาจากข้อเท็จจริงที่นอกฟ้องนอกประเด็นและไม่เกี่ยวกับที่คู่ความจะต้องนำสืบ จึงเป็นการไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการจดทะเบียนเช่าทรัพย์สิน: การฟ้องบังคับให้จดทะเบียนเพื่อความสมบูรณ์ของสิทธิเช่า และค่าเสียหายจากการไม่จดทะเบียน
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1 หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมายจ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อ ป.พ.พ.มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2 มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้น เป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5337/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับให้จดทะเบียนสัญญาเช่าพื้นที่ดาดฟ้าและการเรียกร้องค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทจากโจทก์ที่ 1 รวม 4 คูหา และเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารพิพาทจำเลยที่ 1 ขอให้โอนใส่ชื่อจำเลยที่ 2ถึงที่ 8 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 จึงโอนกรรมสิทธิ์ให้จำเลยทั้งแปดถือกรรมสิทธิ์ร่วมกัน และในการตกลงซื้อที่ดินและอาคารพิพาทดังกล่าวจำเลยที่ 1 ได้ทำบันทึกข้อตกลงไว้ท้ายสัญญาจะซื้อจะขายยินยอมให้โจทก์ที่ 1หรือตัวแทนติดตั้งป้ายโฆษณาบนพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทมีกำหนด 30 ปี โดยไม่มีค่าตอบแทน ต่อมาจำเลยทั้งแปดได้ทำสัญญาให้โจทก์ที่ 2 เช่าพื้นที่ดาดฟ้าอาคารพิพาทเพื่อติดตั้งป้ายโฆษณามีกำหนด 30 ปี ตามสัญญาเช่าทรัพย์สินเอกสารหมาย จ.10 ซึ่งเป็นสัญญาที่ชอบด้วยกฎหมาย การที่โจทก์ที่ 2 และจำเลยทั้งแปดมีเจตนาที่จะจดทะเบียนการเช่าและได้ยื่นเรื่องราวขอจดทะเบียนการเช่าต่อเจ้าพนักงานแล้วแต่ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าให้เสร็จในวันเดียวกันได้เพราะต้องประกาศให้ผู้มีส่วนได้เสียคัดค้านก่อนมีกำหนดเวลา 30 วัน แต่ในระหว่างนั้นจำเลยทั้งแปดได้ขอยกเลิกหนังสือมอบอำนาจที่มอบอำนาจให้ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์ที่ 2 ดำเนินการจดทะเบียนการเช่าดังกล่าวแทนจำเลยทั้งแปด เป็นเหตุให้โจทก์ที่ 2 ไม่สามารถจดทะเบียนการเช่าได้ จึงเป็นการไม่ชอบ การที่โจทก์ที่ 2 ฟ้องร้องขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่า จึงเป็นการขอให้จำเลยทั้งแปดปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้การเช่าได้มีการจดทะเบียนซึ่งจะทำให้มีผลบังคับเต็มตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ในสัญญาเช่า กรณีมิใช่การฟ้องร้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่าหรือโดยอาศัยสิทธิแห่งสัญญาเช่าซึ่งฟ้องร้องให้บังคับคดีได้เพียง 3 ปี โจทก์ที่ 2 จึงฟ้องบังคับให้จำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าได้ ไม่ขัดต่อประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 และโจทก์ที่ 2มีสิทธิได้รับค่าเสียหายไปจนกว่าจำเลยทั้งแปดจดทะเบียนการเช่าให้โจทก์ที่ 2 ที่จำเลยทั้งแปดแก้ฎีกาว่า โจทก์ที่ 2 ไม่ได้รับความเสียหายขอให้ยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ในส่วนค่าเสียหายนั้นเป็นการขอนอกเหนือไปจากคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ต้องกระทำโดยยื่นคำฟ้องฎีกา จะขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย