พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3604/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยฟ้องแย้งหลังยกฟ้องคดีหลัก และหลักการผูกพันตามคำพิพากษาถึงที่สุด
เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสาม ให้สิทธิแก่จำเลยที่จะฟ้องแย้งเข้ามาในคำให้การได้ ถ้าข้ออ้างตามฟ้องแย้งเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับฟ้องเดิมแล้ว ศาลย่อมจะต้องรับคำให้การและฟ้องแย้งของจำเลยไว้พิจารณา เมื่อโจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 178 แล้วย่อมเกิดประเด็นข้อพิพาทที่จะนำไปสู่ประเด็นแห่งคดีที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดให้คู่ความแพ้หรือชนะกัน ตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2)และมาตรา 133 บัญญัติไว้ ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องของโจทก์แล้ววินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีตามคำฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง แล้ว โจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลชั้นต้นนั้นต่อไปได้ ตามมาตรา 223 ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจหน้าที่จะต้องชี้ขาดตัดสินอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยร่วมที่ 2 ตามประเด็นแห่งคดีที่คู่ความได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ดังที่มาตรา 131(2) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 240 บัญญัติไว้ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์แล้วเห็นว่า คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นถูกต้อง แต่ไม่วินิจฉัยในประเด็นข้ออุทธรณ์ของจำเลยร่วมที่ 2 โดยอ้างว่า เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ศาลจะต้องพิพากษายกฟ้องโจทก์ ทำให้ฟ้องแย้งของจำเลยร่วมที่ 2 ต้องตกไป จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะไม่เข้ากรณีที่ศาลจะไม่ต้องวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องนั้นตามที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 132 บัญญัติไว้และไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดสนับสนุนคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เช่นนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3448/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้จัดการมรดก: ผู้คัดค้านไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดก จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน
คดีนี้ผู้ร้องทั้งสองร้องขอให้ตั้งผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้จัดการมรดกของล.ผู้ตาย โดยอ้างว่าผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับมรดกผู้ตายตามพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6ผู้คัดค้านที่ 3 คัดค้านว่าผู้ร้องทั้งสองปลอมพินัยกรรมฉบับดังกล่าว จึงถูกกำจัดมิให้รับมรดก และผู้ตายเคยทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองไว้ก่อนแล้ว แต่ปรากฏว่าผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมทั้งสองฉบับดังกล่าว และไม่ปรากฏว่าผู้ตายมีทรัพย์มรดกอื่นนอกจากที่ระบุไว้ในพินัยกรรมทั้งสองฉบับ ทั้งปัญหาที่ว่าผู้ร้องทั้งสองถูกกำจัดมิให้รับมรดกหรือไม่ผู้คัดค้านที่ 3 ก็มิได้อุทธรณ์โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนั้น ไม่ว่าพินัยกรรมที่ผู้ร้องทั้งสองเป็นผู้รับพินัยกรรมจะเป็นพินัยกรรมปลอมหรือไม่ ผู้คัดค้านที่ 3ก็ไม่มีสิทธิรับมรดกและเป็นผู้ไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของผู้ตาย จึงไม่มีสิทธิร้องคัดค้านเป็นคดีนี้ และเมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้องของผู้คัดค้านที่ 3 ผู้คัดค้านที่ 3 อุทธรณ์และศาลอุทธรณ์เห็นว่าผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิร้องคัดค้านตามนัยดังกล่าวข้างต้นก็ชอบที่จะยกคำคัดค้านของผู้คัดค้านที่ 3 ยืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพินัยกรรมเอกสารหมาย ร.6 เป็นพินัยกรรมปลอม และพิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ตั้งผู้ร้องที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย โดยเห็นว่าพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้รับพินัยกรรมยังคงมีผลใช้ได้ และผู้ร้องที่ 2 มิใช่ผู้รับมรดกตามพินัยกรรมดังกล่าวนั้นเป็นการก้าวล่วงไปวินิจฉัยตามประเด็นในคำคัดค้านทั้งที่ผู้คัดค้านที่ 3 ไม่มีสิทธิยื่นคัดค้าน แต่เมื่อผู้คัดค้านที่ 3 มิใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกไม่มีสิทธิร้องคัดค้าน และไม่อาจตั้งผู้คัดค้านที่ 3 เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายได้ ส่วนผู้ร้องที่ 2 เมื่อมิได้มีคุณสมบัติต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการ-มรดก จึงสมควรตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับผู้ร้องที่ 1 ได้ตามคำร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3067/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลไม่รับอุทธรณ์บางส่วนมีผลถึงที่สุด ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยเฉพาะส่วนที่รับอุทธรณ์ ฟ้องไม่เคลือบคลุมเมื่อบรรยายลักษณะสัญญาและเหตุผิดสัญญาชัดเจน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยในข้อใด หากจำเลยไม่เห็นด้วยก็ต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์เพื่อให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งรับอุทธรณ์ในข้อที่ไม่รับนั้นได้ เมื่อจำเลยมิได้อุทธรณ์ ต้องถือว่าคำสั่งศาลชั้นต้นถึงที่สุดศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยชี้ขาดอุทธรณ์ของจำเลยตามประเด็นข้อที่ศาลชั้นต้นสั่งรับไว้เท่านั้น
โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
โจทก์บรรยายฟ้อง โจทก์เข้าทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินกับจำเลยตามคำพรรณนาโจทก์หลงเชื่อทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและผ่อนชำระเงินมัดจำแก่จำเลย รวมเป็นเงิน630,000 บาท เวลาล่วงเลยมานานประมาณ 5 ปี จำเลยยังไม่จัดทำโครงการตามที่ได้พรรณนาไว้ อันเป็นการผิดสัญญา โจทก์จึงได้บอกเลิกสัญญา ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินมัดจำแก่โจทก์ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวไม่ขัดกันจึงไม่เคลือบคลุม ทั้งไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์ถูกหลอกลวงถึงขนาดหรือไม่เพียงใดเพราะโจทก์มิได้ฟ้องขอให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะอันเนื่องมาจากการบอกล้างสัญญาที่เกิดจากกลฉ้อฉล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินโดยเสน่หา มิใช่เพื่อจัดการคดีเช่า ศาลยกฟ้องเพิกถอนการโอน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่าเดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่44ไร่3งาน28ตารางวาในปี2529โจทก์ให้ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟ้องน้ำจำนวน5ไร่ค่าเช่าไร่ละ1,000บาทต่อปีมีกำหนดการเช่า30ปีเช่าได้3ถึง4ปีเกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทนแต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยงโจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมดต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้วจำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี2534โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า400,000บาทและค่าเช่าเป็นรายปีปีละประมาณ15,000บาทถึง18,000บาทอีกด้วยการกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดินต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมดขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิมคำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้วส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่าตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นจำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิตจำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่เป็นการประพฤติเนรคุณนั้นเป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทนระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น2นัยซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุมแต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุมดังนี้ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่าโจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทนมิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตามแต่ปรากฎว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้วจึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อนอันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2382/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนโอนที่ดิน กรณีฉ้อฉลหลอกลวงให้โอนกรรมสิทธิ์เพื่อดำเนินคดีแทน
โจทก์ได้บรรยายฟ้องว่า เดิมโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินตามโฉนดที่ดินเนื้อที่ 44 ไร่ 3 งาน 28 ตารางวา ในปี 2529 โจทก์ให้ ศ.เช่าปลูกโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ที่นอนฟองน้ำจำนวน 5 ไร่ ค่าเช่าไร่ละ 1,000 บาทต่อปี มีกำหนดการเช่า 30 ปี เช่าได้ 3 ถึง 4 ปี เกิดไฟไหม้โรงงานหมดสิ้นจึงมีกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าซึ่งโจทก์มอบให้จำเลยจัดการแทน แต่จำเลยอ้างว่าต้องให้จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน จึงจะดำเนินการได้และโจทก์ไม่ต้องเสี่ยง โจทก์จึงให้ใส่ชื่อจำเลยเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินและตกลงกันว่าหากคดีเสร็จแล้วจำเลยจะคืนที่ดินให้โจทก์ ส่วนผลประโยชน์ค่าเช่าหรือรายได้อื่นของที่ดินระหว่างที่จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์อยู่ จำเลยจะยกให้โจทก์ทั้งหมด ต่อมาโจทก์ทราบว่าคดีเสร็จแล้ว จำเลยนำที่ดินไปให้ผู้อื่นเช่าใหม่ในปี 2534 โดยจำเลยได้รับเงินกินเปล่า 400,000 บาท และค่าเช่าเป็นรายปี ปีละประมาณ 15,000บาท ถึง 18,000 บาท อีกด้วย การกระทำของจำเลยเป็นการฉ้อฉลใช้อุบายหลอกลวงโจทก์ว่าโจทก์จะถูกฟ้องร้องแบ่งที่ดิน ต้องให้จำเลยจัดการและต้องให้จำเลยมีชื่อในโฉนดที่ดินจึงจะจัดการได้ จนโจทก์หลงเชื่อยอมจดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยทั้งหมด ขอให้พิพากษาเพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินดังกล่าวโดยให้ที่ดินกลับมาเป็นของโจทก์ดังเดิม คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นและคำขอบังคับแล้ว ส่วนที่โจทก์ได้บรรยายฟ้องด้วยว่า ตั้งแต่จำเลยถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้น จำเลยไม่เคยแบ่งค่าเช่าหรือผลประโยชน์จากที่ดินดังกล่าวให้โจทก์หรือมอบให้โจทก์ใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรในการดำรงชีวิต จำเลยไม่เอาใจใส่เลี้ยงดูโจทก์ ทั้งพูดจากระทบกระเทียบบีบบังคับจนโจทก์ไม่สามารถอยู่อาศัยในบ้านของโจทก์ซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินพิพาทและโจทก์จำเลยอยู่ร่วมกันต่อไปได้โจทก์ต้องไปอาศัยผู้อื่นอยู่ เป็นการประพฤติเนรคุณนั้น เป็นเพียงการบรรยายประกอบให้เห็นพฤติการณ์อันไม่สมควรที่จำเลยได้กระทำต่อโจทก์หลังจากที่โจทก์ได้จดทะเบียนยกที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยถือกรรมสิทธิ์แทน ระหว่างที่จำเลยดำเนินการแทนโจทก์ในกรณีฟ้องร้องเกี่ยวกับการเช่าที่ดินพิพาทเท่านั้นมิใช่เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่ใช้เป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยโจทก์ประสงค์จะให้มีการบังคับแก่จำเลยเป็นอีกข้อหนึ่งต่างหากในขณะเดียวกันไม่คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นคำฟ้องที่ตั้งประเด็นเป็น 2 นัย ซึ่งขัดแย้งกันแต่อย่างใดฟ้องของโจทก์จึงไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์เป็นคำฟ้องเคลือบคลุม แต่ศาลฎีกาเห็นว่าฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ดังนี้ ปัญหาตามที่โจทก์ฎีกาว่า โจทก์โอนที่ดินพิพาทให้จำเลยเพื่อให้จำเลยดำเนินคดีต่อบุคคลภายนอกแทน มิใช่โอนให้โดยเสน่หาหรือไม่ แม้ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก็ตาม แต่ปรากฏว่าโจทก์และจำเลยได้มีโอกาสสืบพยานของตนอย่างเต็มภาคภูมิแล้ว จึงไม่มีเหตุจำเป็นที่ศาลฎีกาจะต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยปัญหาข้อนี้ก่อน อันจะทำให้คดีต้องล่าช้าไปโดยใช่เหตุ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงิน: การคิดดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 19 ต่อปี มิใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้คำพิพากษา
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่าโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ15ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนจึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา240และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมายจ.4เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลังเอกสารหมายจ.9ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ19ต่อปีได้และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าวการคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา148วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควรเมื่อลูกหนี้ผิดนัดอันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัตราดอกเบี้ยตามสัญญา: การพิจารณาว่าเป็นดอกผลหรือเบี้ยปรับ และขอบเขตการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีเพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
เมื่อปรากฏว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตาม ป.พ.พ.มาตรา 148 วรรคสามกรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 894/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาเงินกู้: การคิดดอกเบี้ยตามอัตราที่ตกลงกัน ไม่ใช่เบี้ยปรับ ศาลแก้เป็นคิดดอกเบี้ย 19% ต่อปี
ปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์เพียงว่า โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีเพราะกำหนดอัตราดอกเบี้ยมิใช่เบี้ยปรับหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกข้อเท็จจริงขึ้นวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยเกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เพราะมิได้นำสืบไว้ โดยคู่ความมิได้อุทธรณ์หรือยื่นคำแก้อุทธรณ์ไว้และมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงเป็นการวินิจฉัยคดีที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240 และที่ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยว่าการกำหนดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินเอกสารหมาย จ.4 เป็นเบี้ยปรับหรือไม่จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าวข้างต้น เมื่อปรากฎว่าโจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยตามสำเนาประกาศกระทรวงการคลัง เอกสารหมาย จ.9 ซึ่งตามเอกสารดังกล่าวโจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 19 ต่อปีได้ และได้ระบุจำนวนดอกเบี้ยไว้ในสัญญากู้เงินโดยแจ้งชัดให้โจทก์มีสิทธิคิดดอกเบี้ยจากจำเลยในอัตราดังกล่าว การคิดดอกเบี้ยของโจทก์จึงเข้าลักษณะเป็นดอกผลนิตินัยที่โจทก์พึงได้รับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 148 วรรคสาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องที่ลูกหนี้สัญญาว่าจะใช้เงินจำนวนหนึ่งเป็นเบี้ยปรับเมื่อตนไม่ชำระหนี้หรือไม่ชำระหนี้ให้ถูกต้องสมควร เมื่อลูกหนี้ผิดนัด อันจะถือว่าเป็นเบี้ยปรับ ซึ่งศาลลดจำนวนลงดังที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจสั่งซื้อสินค้าและการรับผิดชอบหนี้ของเจ้าของร้านกับผู้ดำเนินกิจการจริง
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้วและโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว มีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป. ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป. ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ. ก็หมายถึงร้าน ป. ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป. ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป. ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่าจำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป. ค้าไม้ ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้าน ป. ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป. ค้าไม้ หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป. ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้านจึงล้วนเป็นข้อที่ส่งแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป. ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท. เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป. ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท. จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่า ท. ก็มีอายุเกือบ70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท. จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป. ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9349/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าในนามร้านค้าบุคคลธรรมดา ผู้ดำเนินกิจการมีอำนาจสั่งซื้อและผูกพันทางสัญญา
การที่โจทก์บรรยายฟ้องถึงทรัพย์ที่ซื้อขายกันว่าเป็นเสาคอนกรีตอัดแรงพร้อมทั้งระบุราคามาด้วย นับว่าได้แสดงให้เข้าใจถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์ได้พอสมควรแล้ว และโจทก์ยังบรรยายถึงรายละเอียดขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงมาในคำฟ้อง รวมทั้งแนบสำเนาใบส่งของชั่วคราว 2 ฉบับ มาเป็นเอกสารท้ายฟ้องแล้วยังระบุวันที่ส่งของกับลายมือชื่อผู้ส่งและผู้รับของ อันทำให้ทราบได้ว่าสินค้าตามที่บรรยายฟ้องคือสินค้าตามเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าว ยิ่งทำให้ง่ายต่อการตรวจสอบยิ่งขึ้น ส่วนที่ข้อความเกี่ยวกับขนาดของเสาคอนกรีตอัดแรงในเอกสารท้ายฟ้องดังกล่าวมีตัวอักษรที่ไม่ใช่อักษรภาษาไทยแตกต่างจากคำว่า "ดี" ในส่วนที่บรรยายฟ้องไว้เพียงตัวเดียว ก็น่าจะพอเข้าใจได้ว่าในการบรรยายฟ้องโจทก์ได้พยายามจะแปลความหมายของตัวอักษรที่ไม่ใช่ภาษาไทยดังกล่าวนั่นเอง คำฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นคำฟ้องที่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้น ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสอง แล้ว
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป.ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป.ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ.ก็หมายถึงร้าน ป.ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป.ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป.ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป.ค้าไม้ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้านป.ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป.ค้าไม้หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป.ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้าน จึงล้วนเป็นข้อที่ส่อแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป.ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท.เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป.ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่าท.ก็มีอายุเกือบ 70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท.จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป.ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง
แม้คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาทก็ตาม แต่เมื่อปรากฏว่าผู้พิพากษาที่นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นได้รับรองว่ามีเหตุอันควรอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ จึงไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 วรรคหนึ่ง ที่ศาลอุทธรณ์ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ข้อเท็จจริงของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ชอบ และศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
จำเลยได้สั่งซื้อเสาคอนกรีตอัดแรงจากโจทก์ หน้าร้านของจำเลยใช้ชื่อว่า ป.ค้าไม้ ในการดำเนินกิจการร้าน ป.ค้าไม้เคยมีการซื้อสินค้าจากโจทก์ตามสำเนาใบส่งของที่ระบุว่าร้าน พ.ก็หมายถึงร้าน ป.ค้าไม้ ส่วนสินค้าตามใบส่งของที่พิพาทกันนั้นมีคนขับรถร้าน ป.ค้าไม้รับไว้ แล้วนำไปส่งให้ลูกค้าของร้านและได้รับชำระราคาจากลูกค้าแล้ว จำเลยได้เปิดบัญชีกระแสรายวันที่ธนาคาร และเคยสั่งจ่ายเช็คธนาคารดังกล่าวประทับตราร้าน ป.ค้าไม้ให้แก่โจทก์ เป็นพฤติการณ์ที่แสดงออกให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามร้าน ป.ค้าไม้ทั้งตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันของจำเลยที่ธนาคารก็ปรากฏข้อความระบุว่าจำเลยประกอบธุรกิจจำหน่ายไม้แปรรูปและวัสดุก่อสร้าง สถานที่ประกอบธุรกิจชื่อร้านป.ค้าไม้และตามการ์ดตัวอย่างลายมือชื่อบัญชีกระแสรายวันก็ระบุเงื่อนไขการสั่งจ่ายเช็คว่า เช็คทุกใบที่สั่งจ่ายต้องประทับตราตามตัวอย่างตราประทับร้าน ป.ค้าไม้หากขาดตราประทับให้ติดต่อลูกค้าทันที นอกจากนี้สถานที่ตั้งร้าน ป.ค้าไม้ก็ปรากฏชื่อจำเลยเป็นเจ้าบ้าน จึงล้วนเป็นข้อที่ส่อแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินกิจการค้าขายวัสดุก่อสร้างในนามของร้าน ป.ค้าไม้
แม้เอกสารใบทะเบียนการค้าและใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มระบุชื่อ ท.เป็นผู้ประกอบการค้าร้าน ป.ค้าไม้ก็ตาม แต่ร้านดังกล่าวก็มิได้มีสภาพเป็นนิติบุคคลซึ่ง ท.จะเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนได้แต่เพียงผู้เดียว อีกทั้งปรากฏว่าท.ก็มีอายุเกือบ 70 ปี และมีบุตรหลายคนรวมทั้งจำเลยที่สามารถทำกิจการได้ไม่แน่ว่าในทางปฏิบัติที่แท้จริงแล้ว ท.จะยังทำหน้าที่เจ้าของร้านอีกต่อไป และหากให้จำเลยดำเนินกิจการของร้านเมื่อจำเลยซื้อสินค้าแม้จะซื้อในนามร้าน ป.ค้าไม้ซึ่งมิใช่นิติบุคคลแล้วก็ถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้ซื้อนั่นเอง