คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 240

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 248 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์ต้องสงบเปิดเผยและต่อเนื่อง โต้แย้งสิทธิเจ้าของเดิมไม่ได้
โจทก์ บรรยาย ฟ้อง กล่าว อ้าง ว่า โจทก์ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดา มารดา โจทก์ ยก ให้ แต่ มิได้ จด ทะเบียน การ ให้ จำเลย ยึด ถือโฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ ไม่ ยอม ส่ง มอบ ให้ โจทก์ ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดกตาม คำสั่ง ของ ศาลชั้นต้น ขอ ให้ บังคับ จำเลย ส่ง มอบ โฉนด ที่ดิน พิพาทนั้น เป็น การ บรรยาย สภาพ แห่ง ข้อหา ของ โจทก์ และ คำ ขอ บังคับ ทั้ง ข้ออ้าง ที่ อาศัย เป็น หลัก แห่ง ข้อหา เช่น ว่า นั้น โดย ชัด แจ้ง แล้วคำฟ้อง ของ โจทก์ จึง ไม่ เคลือบคลุม โจทก์ ฟ้อง อ้าง สิทธิ ใน การ เป็น เจ้าของ ที่ดิน พิพาท โดย บิดามารดา ยกให้ และ ใน ฐานะ เป็น ผู้จัดการมรดก ที่ดิน พิพาท ด้วย แต่ จำเลย ยึด ถือ โฉนด ที่ดิน พิพาท ไว้ โดย มิได้ ส่ง มอบ คืน ให้ โจทก์ใน ฐานะ ผู้จัดการมรดก เมื่อ โจทก์ ทวง ถาม การกระทำ ของ จำเลยจึง เป็น การ โต้แย้ง สิทธิ ของ โจทก์ ใน ฐานะ เจ้าของ ที่ดิน และ ใน ฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์ จึง มี อำนาจ ฟ้อง จำเลย ได้ ศาลชั้นต้น กำหนด ประเด็น ข้อ 3 ว่า โจทก์ ได้ กรรมสิทธิ์ ที่ดินตาม ฟ้อง โดย การ ยกให้ จาก เจ้าของ ที่ดิน หรือไม่ และ ประเด็น ข้อ 4ว่า จำเลย ได้ ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ปรปักษ์ หรือ ไม่ นั้นศาลชั้นต้น วินิจฉัยว่า การ ยกให้ ที่ดิน พิพาท โดย ไม่ได้ ทำ เป็น หนังสือและ จดทะเบียน ต่อ พนักงาน เจ้าหน้าที่ ย่อม ไม่ สมบูรณ์ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 525 โจทก์ จึง ไม่ ได้กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาทโดย โจทก์ โต้แย้ง ตลอดมา ถือ ไม่ ได้ ว่า เป็น การ ครอบครอง โดย สงบจำเลย จึง ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง ใน ประเด็น ข้อ 3 โจทก์ มิได้ อุทธรณ์ หรือ แก้ อุทธรณ์ ประเด็น จึง ยุติศาลอุทธรณ์ ไม่มี อำนาจ ยกขึ้น วินิจฉัย จำเลย อุทธรณ์ ว่า จำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท โดย สงบ เปิด เผยด้วย เจตนา เป็น เจ้าของ ต่อ จาก บิดา มารดา จำเลย เกิน สิบ ปี จำเลยย่อม ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาท โดย การ ครอบครอง แต่ ศาลอุทธรณ์กำหนด ประเด็น เพื่อ วินิจฉัย ว่า ที่ดิน พิพาท เป็น ของ โจทก์ หรือ จำเลยจึง ไม่ตรง ประเด็น ที่ ศาลชั้นต้น กำหนด ไว้ ใน ชั้นชี้สองสถาน และ ที่จำเลย อุทธรณ์ ต่อ ศาลอุทธรณ์ เท่ากับ ศาลอุทธรณ์ ยัง มิได้ วินิจฉัยประเด็น ที่ จำเลย อุทธรณ์ ขึ้น มา เนื่อง จาก โจทก์ จำเลย สืบพยาน กัน มาจน สิ้น กระบวน พิจารณา แล้ว ศาลฎีกา เห็น สมควร วินิจฉัย ให้ โดยไม่ ต้อง ย้อน สำนวน ไป ให้ ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัย ใหม่ ข้อเท็จจริง ได้ ความ ว่า ตลอด ระยะ เวลา ที่ จำเลย อ้าง ว่า บิดาจำเลย ครอบครอง ที่ดิน พิพาท และ จำเลย ครอบครอง ต่อ จาก บิดา จำเลยโจทก์ ได้ โต้แย้ง จำเลย ตลอด มา การ ครอบครอง ดังกล่าว นั้น ย่อม ไม่ใช่การ ครอบครอง โดย สงบ ประเด็น ข้อ นี้ ภาระการพิสูจน์ ตก อยู่ แก่ จำเลยเมื่อ จำเลย พิสูจน์ ไม่ได้ จำเลย ย่อม ไม่ได้ กรรมสิทธิ์ ใน ที่ดิน พิพาทโดย การ ครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้กรรมสิทธิ์ที่ดินจากการยกให้และครอบครองปรปักษ์ โดยมีการโต้แย้งสิทธิเจ้าของตลอดเวลา
โจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทโดยบิดามารดาโจทก์ยกให้ แต่มิได้จดทะเบียนการให้ จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตามคำสั่งของศาลชั้นต้น ขอให้บังคับจำเลยส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทนั้น เป็นการบรรยายสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นโดยชัดแจ้งแล้ว คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องอ้างสิทธิในการเป็นเจ้าของที่ดินพิพาท โดยบิดามารดายกให้และในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกที่ดินพิพาทด้วย แต่จำเลยยึดถือโฉนดที่ดินพิพาทไว้ โดยมิได้ส่งมอบคืนให้โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดก เมื่อโจทก์ทวงถามการกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ในฐานะเจ้าของที่ดินและในฐานะผู้จัดการมรดก โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยได้
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อ 3 ว่า โจทก์ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินตามฟ้องโดยการยกให้จากเจ้าของที่ดินหรือไม่ และประเด็นข้อ 4 ว่า จำเลยได้ที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่นั้น ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า การยกให้ที่ดินพิพาทโดยไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมไม่สมบูรณ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 525 โจทก์จึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และจำเลยครอบครองที่ดินพิพาท โดยโจทก์โต้แย้งตลอดมา ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองโดยสงบ จำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองในประเด็นข้อ 3 โจทก์มิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ ประเด็นจึงยุติ ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัย
จำเลยอุทธรณ์ว่า จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของต่อจากบิดาจำเลยเกินสิบปี จำเลยย่อมได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง แต่ศาลอุทธรณ์กำหนดประเด็นเพื่อวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย จึงไม่ตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ในชั้นชี้สองสถานและที่จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เท่ากับศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ขึ้นมา เนื่องจากโจทก์จำเลยสืบพยานกันมาจนสิ้นกระบวนพิจารณาแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยให้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยใหม่
ข้อเท็จจริงได้ความว่า ตลอดระยะเวลาที่จำเลยอ้างว่าบิดาจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทและจำเลยครอบครองต่อจากบิดาจำเลย โจทก์ได้โต้แย้งจำเลยตลอดมา การครอบครองดังกล่าวนั้นย่อมไม่ใช่การครอบครองโดยสงบ ประเด็นข้อนี้ ภาระการพิสูจน์ตกอยู่แก่จำเลย เมื่อจำเลยพิสูจน์ไม่ได้จำเลยย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6634/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเช็ค: การโอนเช็คเพื่อประกันการชำระหนี้ vs. โอนเพื่อชำระหนี้ มีผลต่ออายุความ
การที่จะวินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003 หรือไม่นั้น จะต้องได้ความว่าได้มีการโอนเช็คพิพาทโดยชอบด้วยกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 917 ประกอบด้วยมาตรา 309เสียก่อน กล่าวคือ ได้มีการสลักหลังและส่งมอบเช็คแล้วในกรณีเช็คที่ระบุชื่อผู้รับเงิน หรือได้มีการส่งมอบเช็คแล้วสำหรับกรณีเช็คที่ออกให้แก่ผู้ถือเป็นต้น เช็คพิพาทโจทก์มอบให้แก่ธนาคารเพื่อประกันการชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็ค มิใช่เพื่อชำระหนี้ เมื่อโจทก์ชำระหนี้ตามสัญญาขายลดเช็คแล้วจึงรับเช็คคืนมา โจทก์จึงมีฐานะเป็นผู้ทรงเช็ค มิใช่อยู่ในฐานะเป็นผู้สลักหลังเช็ค ประเด็นข้อโต้เถียงในคดียังไม่เป็นที่ยุติว่า โจทก์ได้สลักหลังโอนเช็คพิพาทเพื่อชำระหนี้ หรือเพียงแต่มอบเช็คพิพาทให้ธนาคารเพื่อค้ำประกัน ตนเมื่อข้อเท็จจริงในคดียังไม่พอแก่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามที่จำเลยฎีกา ชอบที่จะต้องฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานที่คู่ความจะนำสืบต่อไป การที่ศาลชั้นต้นด่วนสั่งงดสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยแล้วพิพากษาว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1003และศาลอุทธรณ์ฟังว่าคดีโจทก์ต้องด้วยมาตรา 1002ไม่ขาดอายุความนั้น เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ ปัญหาดังกล่าวแม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง และเพื่อให้ได้ข้อเท็จจริงตามประเด็นที่คู่ความโต้เถียงกัน สมควรให้ศาลชั้นต้นสืบพยานโจทก์และพยานจำเลยต่อไป แล้วมีคำพิพากษาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 240(3),243(3)(ข) ประกอบด้วยมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6399/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องแย่งการครอบครอง: จำเลยอ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ ย่อมไม่เกิดการแย่งการครอบครองจากโจทก์
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์มิได้ฟ้องเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง คดีโจทก์จึงขาดสิทธิฟ้องร้องและพิพากษายกฟ้องโดยมิได้วินิจฉัยประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุม โจทก์ทั้งสามอุทธรณ์จำเลยมิได้แก้อุทธรณ์ในเรื่องฟ้องเคลือบคลุม ปัญหาว่าฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 2 และมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ที่จำเลยฎีกาว่า โจทก์ทั้งสามมิได้ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองที่ดินพิพาทภายใน 1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง คดีโจทก์ทั้งสามจึงขาดอายุความ แต่จำเลยให้การและนำสืบว่า ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยและจำเลยครอบครองทำประโยชน์ตลอดมา โจทก์ทั้งสามไม่เคยครอบครองที่ดินพิพาท แสดงว่าจำเลยหาได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์ทั้งสามแต่อย่างใดไม่ โจทก์ทั้งสามจึงไม่จำต้องฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน1 ปี นับแต่เวลาถูกแย่งการครอบครอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1375 กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยว่าฟ้องโจทก์ทั้งสามขาดอายุความหรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องในคดีรื้อถอนสิ่งกีดขวางลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องเสียหายเป็นพิเศษหรือไม่
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะและนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2 เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้นเอง ครั้งคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้ โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลาก และทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฎว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาทแม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีละเมิดปิดกั้นลำน้ำสาธารณะ: โจทก์ต้องมีเสียหายเป็นพิเศษและมีสิทธิโดยตรง
จำเลยให้การว่า ลำบางพิพาทไม่ใช่ทางสาธารณะ และนำสืบเพื่อแสดงให้เห็นว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 ซึ่งให้จำเลยที่ 2เช่า จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิทำคันดินปิดกั้นในที่ดินของจำเลยที่ 1 ได้ และมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทอยู่ในที่ดินของจำเลยที่ 1 มิใช่ลำบางสาธารณะการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงมิใช่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ เท่ากับศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้วว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั่นเอง ครั้นคดีขึ้นมาสู่ศาลอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์พิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยทั้งสองแล้ว เชื่อว่าลำบางพิพาทเป็นลำบางสาธารณะ ฉะนั้นจึงต้องวินิจฉัยปัญหาต่อไปอีกว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองที่ทำการปิดกั้นลำบางพิพาทหรือไม่ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องของโจทก์จึงยังไม่ยุติ และเมื่อศาลอุทธรณ์เห็นว่าคู่ความได้นำสืบเกี่ยวกับเรื่องอำนาจฟ้องไว้แล้วและเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการพิจารณาพิพากษาคดีศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวให้เสร็จไปโดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้
โจทก์มีอาชีพค้าขาย ไม่ได้ประกอบอาชีพอื่นเลย และลำบางพิพาทอยู่ห่างบ้านโจทก์ถึง 5 เส้นเศษ โจทก์เพียงแต่เคยใช้เรือผ่านลำบางพิพาทเฉพาะฤดูที่มีน้ำหลากและทำการจับกุ้งบางครั้งบางคราวตั้งแต่ปี 2516 ต่อมาปรากฏว่าลำบางตื้นเขินเนื่องจากจำเลยมาปิดเส้นทาง โจทก์ก็ไม่ได้ใช้ลำบางพิพาทอีกเลย การที่จำเลยทั้งสองทำการปิดกั้นลำบางพิพาท แม้จะทำให้โจทก์ขาดประโยชน์ในการที่ประสงค์จะใช้ลำบางพิพาทในอนาคต ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ ฉะนั้นแม้จำเลยทั้งสองปิดกั้นลำบางพิพาทซึ่งเป็นลำบางสาธารณะก็เป็นเรื่องของเจ้าพนักงานฝ่ายปกครองของรัฐ ผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการดำเนินคดีต่อจำเลยทั้งสอง โจทก์หามีอำนาจฟ้องให้จำเลยทั้งสองรื้อถอนสิ่งปิดกั้นออกไปไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2556/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักกลบลบหนี้จากฟ้องแย้งที่ยุติแล้ว ศาลอุทธรณ์ไม่มีอำนาจวินิจฉัยซ้ำ
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์ติดตั้งชุดมอเตอร์เกียร์ให้จำเลยไม่ตรงตามสัญญาจนต่อมาได้เสียหายทั้งชุดโจทก์ต้องรับผิดในความเสียหายส่วนนี้ตามฟ้องแย้งจำนวน80,000บาทโดยให้หักกับเงินจำนวน200,000บาทที่จำเลยค้างชำระแก่โจทก์ในงานงวดสุดท้ายและพิพากษาให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์จำนวน120,000บาทโจทก์และจำเลยมิได้อุทธรณ์เกี่ยวกับจำนวนความเสียหายตามฟ้องแย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำนวนเงินตามฟ้องแย้งจึงยุติถึงที่สุดแล้วการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยต้องเสียหายเป็นจำนวนเงิน150,000บาทตามฟ้องแย้งและนำมาหักกลบลบหนี้กับโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ร่วมสมรส: ศาลวินิจฉัยได้แม้โจทก์มิได้อุทธรณ์ประเด็นการจัดการบ้านเรือน
ผู้ร้องอ้างว่าหนี้เงินกู้ที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์มิใช่หนี้ร่วมผู้ร้องมิได้เกี่ยวข้องหรือรู้เห็นยินยอมด้วยโจทก์คัดค้านว่าจำเลยได้นำเงินกู้ไปใช้ในการอุปการะเลี้ยงดูในครอบครัวและนำเงินบางส่วนไปชำระหนี้ค่าปลูกสร้างและตกแต่งบ้านที่โจทก์นำยึดคดีมีประเด็นพิพาทว่าหนี้เงินกู้นั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1490หรือไม่การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าหนี้ดังกล่าวจำเลยก่อขึ้นเพื่อประโยชน์ของตนฝ่ายเดียวแต่ผู้ร้องได้ให้สัตยาบันจึงเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1490(4)แม้โจทก์จะมิได้อุทธรณ์หรือแก้อุทธรณ์ตั้งประเด็นว่าเป็นหนี้ร่วมเพราะเกี่ยวแก่การจัดการบ้านเรือนและจัดหาสิ่งจำเป็นสำหรับครอบครัวตามมาตรา1490(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจวินิจฉัยว่าเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา1490(1)นี้ได้ไม่เป็นการนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจ & การฟ้องละเมิด: ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยประเด็นหนังสือมอบอำนาจแล้ว การบรรยายฟ้องไม่ขัดแย้ง
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจกระทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1ศาลต้องหยิบยกประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีตัวโจทก์ที่ 1 มาเบิกความยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทน โดยยืนยันว่าลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 จริง โดยจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2ฟ้องคดีแทน เช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้แล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ขับรถยนต์ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยรับรถยนต์ของโจทก์ไปจอดยังที่จำเลยจัดไว้เป็นการบรรยายว่าจำเลยได้รับฝากรถยนต์ของโจทก์ และบรรยายฟ้องต่อไปว่าลูกจ้างของจำเลยได้ย้ายรถยนต์ของโจทก์จากบริเวณหน้าห้องอาหารซึ่งมีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลไปจอดยังริมถนนฝั่งตรงข้าม ไม่มีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลรถยนต์ของโจทก์จึงหายไป อันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกัน ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1009/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และประเด็นฟ้องเคลือบคลุม
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยให้การว่าหนังสือมอบอำนาจกระทำขึ้นโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย และลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของผู้มอบอำนาจไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 ศาลต้องหยิบยกประเด็นเรื่องหนังสือมอบอำนาจของโจทก์ที่ 1 กระทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีตัวโจทก์ที่ 1 มาเบิกความยืนยันว่าได้มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทน โดยยืนยันว่าลายมือชื่อในช่องผู้มอบอำนาจเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 จริงโดยจำเลยไม่นำสืบให้เห็นเป็นอย่างอื่น จึงฟังได้ว่าโจทก์ที่ 1 มอบอำนาจให้โจทก์ที่ 2 ฟ้องคดีแทนเช่นนี้ถือได้ว่าศาลอุทธรณ์ได้ยกประเด็นดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยให้แล้ว โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ขับรถยนต์ไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารของจำเลย ลูกจ้างของจำเลยรับรถยนต์ ของโจทก์ไปจอดยังที่จำเลยจัดไว้เป็นการบรรยายว่า จำเลยได้รับฝากรถยนต์ของโจทก์ และบรรยายฟ้องต่อไปว่า ลูกจ้างของจำเลยได้ย้ายรถยนต์ของโจทก์จากบริเวณหน้าห้องอาหารซึ่งมีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลไปจอดยังริมถนนฝั่งตรงข้ามไม่มีพนักงานของจำเลยเฝ้าดูแลรถยนต์ของโจทก์จึงหายไปอันเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดกันไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
of 25