คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 ม. 66 วรรคสอง (เดิม)

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7714/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสนับสนุนการค้ายาเสพติด: ความผิดฐานตัวการร่วม vs. ผู้สนับสนุน และการลงโทษที่เหมาะสม
วันเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เป็นผู้ไปแจ้งดาบตำรวจ ส. ผู้ล่อซื้อให้เปลี่ยนแปลงสถานที่ส่งมอบเมทแอมเฟตามีน และจำเลยที่ 3 ได้แนะนำว่าจำเลยที่ 1 เป็นหุ้นส่วนค้ายาเสพติดด้วย แต่ก่อนเกิดเหตุไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เข้ามามีส่วนร่วมในการเจรจาตกลงซื้อขายเมทแอมเฟตามีนกับสายลับและดาบตำรวจ ส. แต่อย่างใด กลับได้ความจากคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยที่ 1 ว่า วันเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กับพวก ได้มาหาจำเลยที่ 1 เพื่อว่าจ้างให้จำเลยที่ 1 คอยดูต้นทางบริเวณที่เกิดเหตุว่ามีตำรวจมาหรือไม่ โดยจำเลยที่ 1 ได้ค่าจ้าง 100 บาท การกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นเพียงการช่วยเหลือหรือให้ความสะดวกในการที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด อันเป็นความผิดฐานผู้สนับสนุนเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 526/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แก้ไขโทษจำคุกจากประหารชีวิต/ตลอดชีวิต เป็นจำคุก 50 ปี สำหรับผู้กระทำผิดขณะอายุต่ำกว่า 18 ปี ตามกฎหมายแก้ไขเพิ่มเติม
จำเลยที่ 2 อายุ 16 ปี กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษฯ มาตรา 15 วรรคหนึ่ง วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ประกอบ ป.อ. มาตรา 83 มีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามี พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.อ. (ฉบับที่ 16) ฯ มาตรา 3 ให้เพิ่มความขึ้นเป็นวรรคสองและวรรคสามของมาตรา 18 แห่ง ป.อ. ซึ่งในวรรคสามที่เพิ่มมีข้อความว่า ในกรณีผู้ซึ่งกระทำความผิดในขณะที่มีอายุต่ำกว่าสิบแปดปีได้กระทำความผิดที่มีระวางโทษประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต ให้ถือว่าระวางโทษดังกล่าวได้เปลี่ยนเป็นระวางโทษห้าสิบปี ระวางโทษตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่จึงเป็นคุณมากกว่าระวางโทษตามกฎหมายที่ใช้ในขณะกระทำความผิดจึงต้องใช้กฎหมายที่แก้ไขใหม่บังคับแก่จำเลยที่ 2 ตาม ป.อ. มาตรา 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
of 2