คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ม. 6

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 30 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6599/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การกระทำของเจ้าหน้าที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้จะเกี่ยวข้องกับทางหลวงคู่ขนาน
พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 5 กำหนดว่าถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้และจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2533 จึงเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ซึ่งพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้กำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างก็อยู่ในแนวที่ดินที่จะต้องเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ การที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 290 ข้อ 1 ด้วย ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2534 เพื่อให้จำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้น ซึ่งจำเลยที่ 1 ก็ได้มีหนังสือไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ โจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว จำเลยที่ 1 แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและโจทก์ได้รับหนังสือนั้นแล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 ได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ. ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้ว การกระทำของจำเลยทั้งสี่จึงเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่กฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยทั้งสี่ย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ
แม้ที่ดินและบ้านของโจทก์จะไม่อยู่ในแนวเขตที่ใช้ก่อสร้างทางพิเศษ โดยอยู่พ้นจากแนวเขต 80 เมตร แต่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดแนวเขตและใช้ที่ดินของโจทก์บางส่วนในการเป็นทางระบายน้ำเพื่อสร้างทางหลวง การที่กำหนดให้ที่ดินและบ้านของโจทก์อยู่ในแนวเขตที่จะเวนคืนตามแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533 ตรงบริเวณที่กำหนดไว้เพื่อสร้างทางแยกต่างระดับก็ดี ล้วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างทางพิเศษและเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ตาม พระราชกฤษฎีกาจึงมิได้อยู่นอกวัตถุประสงค์ของพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนในท้องที่ เขตลาดพร้าว? พ.ศ. 2533

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าทดแทนการเวนคืนสำหรับผู้เช่า: การเยียวยาความเสียหายจากการออกจากที่เช่า และขอบเขตค่าทดแทน
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แต่ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน...พ.ศ.2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน2533 โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 18 (3) และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่ และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก
โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้นมีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา18 (3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบ จึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย
ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้
ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1 แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่ เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่านี้อยู่ในเขต พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืนการกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 463/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าทดแทนการเวนคืนที่ดิน-สิ่งปลูกสร้าง: การประเมินความเสียหายจากการตกแต่ง, ดอกเบี้ย, และการกระทำละเมิด
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 421.ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
มาตรา 142,246,247.พระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
พ.ศ. 2530 มาตรา 6,18(3),21. โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารพิพาทซึ่งเป็นการเช่าที่มีหลักฐานเป็นหนังสือและทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แต่พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. 2530 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2531 โดยหลังจากวันที่ 1 กันยายน 2533โจทก์ยังคงอยู่ในสถานที่เช่าต่อไป ซึ่งถือเป็นการเช่ารายเดือนต่อไป ต่อมาโจทก์ออกจากสถานที่เช่าเมื่อปลายปี 2536 และจำเลยที่ 1 แจ้งให้โจทก์ทราบว่าคณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดเงินค่าทดแทนโดยเหตุที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่าก่อนสัญญาเช่าระงับซึ่งเท่ากับฝ่ายจำเลยยอมรับว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 18(3)และได้กำหนดเงินค่าทดแทนที่โจทก์เสียหายจริงเพราะเหตุที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารก่อนสัญญาเช่าระงับ ซึ่งโจทก์ได้รับเงินจำนวนนี้ไปแล้วโดยมิได้เรียกร้องค่าทดแทนในส่วนนี้เพิ่ม จึงไม่มีเหตุที่ศาลต้องวินิจฉัยว่า โจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนส่วนนี้หรือไม่และไม่มีเหตุที่ศาลจะต้องกำหนดเงินค่าทดแทนส่วนนี้อีก โจทก์เป็นผู้เช่าที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโดยการเช่านั้น มีหลักฐานเป็นหนังสือซึ่งได้ทำไว้ก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 โจทก์จึงเป็นบุคคลตามมาตรา 18(3) ทั้งโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนตามสิทธิในฐานะผู้เช่าตามสัญญาเช่าโดยชอบจึงเป็นผู้ครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมาย เมื่อโจทก์ได้ประกอบการค้าขายอยู่ในที่ดินและอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนและได้รับความเสียหายเนื่องจากการที่ต้องออกจากทรัพย์สินที่เช่านั้น กรณีจึงถือได้ว่าโจทก์เป็นบุคคลผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนสำหรับความเสียหายตามมาตรา 21 วรรคท้าย ค่าโอนสิทธิการเช่าเป็นเงินค่าตอบแทนที่โจทก์ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้เช่าเดิมเพื่อโจทก์จะได้รับโอนสิทธิการเช่าและเข้าครอบครองที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืน ซึ่งโจทก์ได้รับสิทธิตามสัญญาดังกล่าวไปแล้ว ดังนี้ เงินค่าตอบแทนการโอนสิทธิการเช่าดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงเนื่องจากการที่ต้องออกจากที่ดินและอาคารที่ถูกเวนคืนโจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนความเสียหายส่วนนี้ ก่อนทำสัญญาเช่าอาคารและก่อนตกแต่งอาคารที่เช่าที่ถูกเวนคืนโจทก์ผู้เช่าได้มีหนังสือสอบถามจำเลยที่ 1แล้วว่าที่ดินและอาคารที่เช่าจะถูกเวนคืนหรือไม่เมื่อหนังสือของจำเลยที่ 1 ที่มีถึงโจทก์มีข้อความชัดแจ้งว่าจำเลยที่ 1 ยืนยันว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าอยู่นี้อยู่ในเขตพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเพื่อสร้างทางพิเศษ หาได้แจ้งว่าที่ดินและอาคารที่โจทก์เช่าไม่ถูกเวนคืน การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นการใช้สิทธิที่มีแต่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ไม่เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างทางพิเศษ: อำนาจของฝ่ายปกครองและการคุ้มครองสิทธิของเอกชน
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่ รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้ โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอน การกระทำดังกล่าวของจำเลยได้ ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2521 มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่าการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิ บรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้น ทั้งนี้ตาม ที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมีพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ใช้บังคับมาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่นถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น ให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น"และสำหรับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าว เขตบึงกุ่มเขตบางกะปิเขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพมหานครพ.ศ. 2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ทุกประการ ซึ่งพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา-อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนด ให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผัง ประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของ คณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่า ทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขต ที่ดินที่ถูกเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ และประกาศของ คณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ"ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือ พื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูป ทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8224/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมาย: อำนาจของรัฐในการดำเนินการเวนคืนเพื่อสาธารณูปโภค
การกระทำของฝ่ายจำเลยซึ่งเป็นฝ่ายปกครอง แม้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิ เสรีภาพ หรือประโยชน์อันชอบธรรมของโจทก์ซึ่งเป็นเอกชน แต่เมื่อเป็นการกระทำที่มีกฎหมายให้อำนาจให้กระทำได้ และได้กระทำการดังกล่าวภายในกรอบที่รัฐธรรมนูญและกฎหมายได้กำหนดไว้ จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำได้โดยชอบ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสี่ให้เพิกถอนการกระทำดังกล่าวของจำเลยได้
ขณะเกิดเหตุ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521มาตรา 33 วรรคสาม บัญญัติว่า การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จะกระทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายเฉพาะเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศ หรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ หรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตร หรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดิน หรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น และต้องชดใช้ค่าทดแทนภายในเวลาอันควรแก่เจ้าของตลอดจนผู้ทรงสิทธิบรรดาที่ได้รับความเสียหายในการเวนคืนนั้นทั้งนี้ตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย และมี พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530 ใช้บังคับ มาตรา 5 บัญญัติให้รัฐเมื่อมีความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เพื่อกิจการใด ๆ อันจำเป็นเพื่อการอันเป็นสาธารณูปโภคหรือการอันจำเป็นในการป้องกันประเทศหรือการได้มาซึ่งทรัพยากรธรรมชาติหรือเพื่อการผังเมือง หรือเพื่อการพัฒนาการเกษตรหรือการอุตสาหกรรม หรือเพื่อการปฏิรูปที่ดินหรือเพื่อประโยชน์สาธารณะอย่างอื่น ถ้ามิได้ตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่นให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ ส่วนในกรณีที่มีบทบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนไว้ในกฎหมายอื่นโดยเฉพาะแล้ว ถ้าจะต้องดำเนินการเวนคืนเพื่อกิจการตามกฎหมายดังกล่าว เมื่อคณะรัฐมนตรีเห็นสมควรจะมีมติให้ดำเนินการเวนคืนตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้แทนก็ได้ และเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการเวนคืนตามวรรคหนึ่งจะตราพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนไว้ก่อนก็ได้ และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนต้องระบุความประสงค์ของการเวนคืน เจ้าหน้าที่เวนคืน กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนเท่าที่จำเป็น กับให้มีแผนที่หรือแผนผังประเมินเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนและแสดงเขตที่ดินที่อยู่ในบริเวณที่ประเมินนั้น ติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกานั้น ..."และสำหรับ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนในท้องที่เขตลาดพร้าวเขตบึงกุ่ม เขตบางกะปิ เขตห้วยขวาง เขตคลองเตย และเขตพระโขนง กรุงเทพ-มหานคร พ.ศ.2533 ก็ได้ตราขึ้นใช้บังคับตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหา-ริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ทุกประการ ซึ่ง พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืนฯ ดังกล่าวได้ระบุความประสงค์ของการเวนคืนไว้ว่า เพื่อประโยชน์สาธารณะในการสร้างทางพิเศษสายรามอินทรา - อาจณรงค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภคโดยกำหนดให้จำเลยที่ 2 เป็นเจ้าหน้าที่เวนคืน และมีแผนที่แผนผังประเมินเขตที่ดินติดไว้ท้ายพระราชกฤษฎีกา โดยมีมติของคณะรัฐมนตรีให้ดำเนินการสร้างทางดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าทางหลวงคู่ขนานที่กรุงเทพมหานครสร้างซึ่งอยู่ในแนวเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.ฉบับนี้ และประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่290 ข้อ 1 ได้กำหนดความหมายของ "ทางพิเศษ" ไว้ว่า หมายถึงทางหรือถนนซึ่งจัดสร้างขึ้นใหม่ไม่ว่าในระดับพื้นดิน ใต้พื้นดิน เหนือพ้นพื้นดิน หรือพื้นน้ำ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรเป็นพิเศษ... ดังนั้น การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้สร้างทางพิเศษในรูปทางด่วนและมีถนนคู่ขนานตลอดแนวทางด่วน ทั้งทางด่วนและถนนคู่ขนานหรือทางหลวงคู่ขนานดังกล่าวก็ยังถือได้ว่าเป็นทางพิเศษตามความหมายในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 290 นั้นอยู่นั่นเอง และต่อมาเมื่อได้มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ได้ ซึ่งจำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือแจ้งไปยังโจทก์แจ้งการเข้าครอบครองหรือใช้อสังหา-ริมทรัพย์ และโจทก์ได้รับหนังสือดังกล่าวแล้ว กับจำเลยที่ 1 ได้แจ้งการวางเงินค่าทดแทนและกำหนดเวลาให้โจทก์รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ให้โจทก์ทราบแล้ว ดังนี้จำเลยที่ 1 จึงได้ดำเนินการตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อขอค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ม ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม ไม่ตกเป็นโมฆะ
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดิน เพิ่มขึ้นได้ ดังนี้ กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์ กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็น กิจการ ที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะ ขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้ ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นโดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้นทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการอันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้นเงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 587 ตามปกติและหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนจึงไม่ตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิเมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัยแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง200 บาท ตามบัญชีท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งตาราง 1 ข้อ 2(ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7404/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจ้างทำของเพื่อเรียกร้องค่าเวนคืนที่ดิน: ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรม
จำเลยถูกเวนคืนที่ดินอันเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 25 ถ้าจำเลยไม่พอใจในราคาของอสังหาริมทรัพย์หรือจำนวนเงินค่าทดแทนที่คณะกรรมการกำหนด ย่อมมีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 6 หรือรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้นได้ ดังนี้กิจการที่จำเลยตกลงว่าจ้างให้โจทก์กระทำการยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อขอค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นนั้น จึงเป็นกิจการที่ชอบด้วยกฎหมายตามสิทธิของจำเลยในอันที่จะขอความเป็นธรรมต่อทางราชการตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้
ส่วนข้อตกลงที่ว่าจำเลยผู้ว่าจ้างยินยอมชำระสินจ้างให้แก่โจทก์ผู้รับจ้างในการที่ผู้รับจ้างดำเนินการทำหนังสือยื่นอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเพื่อให้ผู้ว่าจ้างได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น โดยผู้ว่าจ้างจะชำระสินจ้างให้เป็นจำนวนครึ่งหนึ่งหรือ 50 เปอร์เซ็นต์ของเงินค่าทดแทนที่ได้รับเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ผู้รับจ้างมิได้เรียกร้องเงินค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ อันมีความหมายว่า โจทก์ผู้รับจ้างเป็นผู้รับดำเนินการและออกค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกร้องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมให้จำเลยได้รับค่าทดแทนที่ดินเพิ่มอันเนื่องมาจากที่ดินของจำเลยถูกเวนคืน ถ้าจำเลยไม่ได้รับค่าทดแทนเพิ่มขึ้น เงินค่าใช้จ่ายที่โจทก์ออกให้จำเลยก็ไม่ต้องคืนแก่โจทก์แต่ถ้าจำเลยได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่ม จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่ง ข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยดังกล่าวเป็นการที่จำเลยตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้นแก่โจทก์ เข้าลักษณะเป็นสัญญาจ้างทำของตาม ป.พ.พ. มาตรา 587ตามปกติ และหาได้มีลักษณะเป็นการหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกัน หรือยุยงให้ผู้อื่นเป็นความกันไม่ เพราะจำเลยมีสิทธิที่จะเรียกร้องเอาค่าทดแทนที่ดินที่ถูกเวนคืนเพิ่มขึ้นตามกฎหมายอยู่แล้ว และจำเลยประสงค์จะได้ค่าเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นโจทก์และจำเลยย่อมมีสิทธิที่จะตกลงกำหนดสินจ้างในงานที่ทำนั้นได้ ไม่มีกฎหมายห้ามและไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 150
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์อุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาจ้างทำของระหว่างโจทก์และจำเลยไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน จึงไม่ตกเป็นโมฆะแล้ว จำต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในประเด็นอื่นที่ยังไม่ได้วินิจฉัย แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี อุทธรณ์ปัญหาข้อกฏหมายของโจทก์เช่นนี้ เป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ เสียค่าขึ้นศาลเพียง 200 บาท ตามบัญชีท้าย ป.วิ.พ.ตาราง 1ข้อ 2 (ก)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6498/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดินโดยไม่แจ้งเขตที่ดินตามกฎหมาย ทำให้ต้องใช้หลักเกณฑ์ค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530
ที่ดินของโจทก์อยู่ในบริเวณที่ที่จะเวนคืนตาม พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2530 ซึ่งหลังจากที่ พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าวพ้นกำหนดอายุใช้บังคับแล้วได้มีการออก พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางพิเศษสายบางโคล่ - แจ้งวัฒนะ และสายพญาไท - ศรีนครินทร์ ในท้องที่อำเภอปากเกร็ด? พ.ศ. 2535 เท่ากับว่ามีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวโดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 เป็นกรณีตามมาตรา 23 ซึ่งบัญญัติว่า ในกรณีที่มีการใช้บังคับ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 15 โดยมิได้มีการออก พ.ร.ฎ. ตามมาตรา 6 และ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับนั้นมิได้กำหนดเงินค่าทดแทนไว้เป็นอย่างอื่น ให้คณะกรรมการตามวรรคหนึ่งกำหนดเงินค่าทดแทนตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 โดยอนุโลม จึงต้องนำหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 มาใช้โดยอนุโลม คือต้องกำหนดเงินค่าทดแทนโดยคำนึงถึงราคากับสภาพและที่ตั้งของอสังหาริมทรัพย์ตามมาตรา 21 (1) ถึง (5) ในวันที่ พ.ร.บ.เวนคืนอสังหาริมทรัพย์ดังกล่าวมีผลใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสม, ดอกเบี้ย, และการชดใช้ค่าฤชาธรรมเนียม
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่1และที่2กำหนดให้แก่โจทก์ตำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา6แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่เป็นธรรมจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้ ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทางภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวกมะม่วงมะพร้าวและกล้วยมิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา21(1)ถึง(5)แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา22เพราะมาตรา22ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา21ก็ได้ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา21เสมอไปจึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2530มาตรา26วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่าในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา10จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา11ดังนั้นวันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทนจำเลยที่2มีหนังสือลงวันที่8กุมภาพันธ์2534แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน15วันนับแต่วันหนังสือโจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่26กุมภาพันธ์2534แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าวจำเลยที่2จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา28วรรคสองซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่2ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด15วันนับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่14มีนาคม2534จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่14มีนาคม2534หาใช่วันที่11สิงหาคม2533ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักงานยกรัฐมนตรีเรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่2นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่2มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้วสำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้นเมื่อไม่ปรากฎว่าจำเลยที่1และที่2ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใดจึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2107/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: หลักเกณฑ์การคำนวณค่าทดแทน, ดอกเบี้ย, และหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่า ค่าทดแทนที่ดินที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 กำหนดให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหา-ริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับ พ.ร.ฎ.ที่ออกตามมาตรา 6 แห่งพ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 ไม่เป็นธรรม จึงเป็นหน้าที่ของโจทก์จะต้องหาพยานมาสนับสนุนข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวให้มีน้ำหนักรับฟังได้
ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายเงินค่าทดแทนสำหรับค่าเสียหายทางจิตใจไว้ ผู้ถูกเวนคืนจึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้
ที่ดินของโจทก์ที่ถูกเวนคืนเป็นที่ดินติดถนนซอยและที่มีทางสาธารณะเข้าออกได้หลายทาง ภายในที่ดินมีการปลูกผลอาสินจำพวก มะม่วงมะพร้าว และกล้วย มิได้ถูกขุดหน้าดินให้เป็นหลุมเป็นบ่อ ทั้งเป็นที่ดินแปลงเล็กเหมาะแก่การใช้เป็นที่ปลูกสร้างที่อยู่อาศัยโดยเฉพาะ ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินของโจทก์ตามที่เป็นอยู่ในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาฯมีราคาสูงกว่าที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดให้ ที่ศาลชั้นต้นกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กำหนดได้คำนึงถึงหลักเกณฑ์ของมาตรา 21 (1) ถึง (5) แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ซึ่งเป็นธรรมแก่โจทก์ผู้ถูกเวนคืนและสังคมและไม่ขัดกับมาตรา 22 เพราะมาตรา 22 ให้เป็นดุลพินิจที่จะกำหนดเงินค่าทดแทนให้ต่ำกว่าเงินค่าทดแทนที่กำหนดตามมาตรา 21 ก็ได้ ไม่ได้บังคับว่าต้องกำหนดให้ต่ำกว่ามาตรา 21 เสมอไป จึงไม่มีเหตุที่ศาลอุทธรณ์กำหนดค่าทดแทนแก่โจทก์เพิ่มขึ้นจากที่ศาลชั้นต้นกำหนดอีก
พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530มาตรา 26 วรรคสุดท้ายที่บัญญัติว่า ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้น ให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นทั้งนี้นับแต่วันที่ต้องมีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าได้การตกลงทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่จะถูกเวนคืนกันตามมาตรา 10 จึงไม่มีวันที่ต้องมีการจ่ายค่าทดแทนตามมาตรา 11 ดังนั้น วันเริ่มต้นนับดอกเบี้ยจึงต้องนับแต่วันที่วางเงินค่าทดแทน จำเลยที่ 2 มีหนังสือลงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2534 แจ้งให้โจทก์ไปรับเงินค่าทดแทนภายใน 15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ โจทก์ได้รับหนังสือนี้เมื่อวันที่ 26กุมภาพันธ์ 2534 แต่โจทก์ไม่ได้ไปรับเงินค่าทดแทนตามกำหนดเวลาในหนังสือดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงมีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนนั้นไปวางต่อศาลหรือสำนักงานวางทรัพย์หรือฝากไว้กับธนาคารออมสินในชื่อของโจทก์โดยพลันตามมาตรา 28วรรคสอง ซึ่งเท่ากับว่าจำเลยที่ 2 ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางในวันถัดจากวันครบกำหนด 15 วัน นับแต่รับหนังสือดังกล่าวคือวันที่ 14 มีนาคม 2534 จึงต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยในเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 14 มีนาคม 2534 หาใช่วันที่ 11สิงหาคม 2533 ซึ่งเป็นวันที่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่องกำหนดให้การเวนคืนเป็นกรณีที่มีความจำเป็นโดยเร่งด่วนและไม่ใช่นับแต่วันที่จำเลยที่ 2 นำเงินค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ไปฝากธนาคารออมสินเพราะเป็นวันภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 มีหน้าที่ต้องนำเงินค่าทดแทนไปวางแล้ว สำหรับจำนวนเงินต้นในการคำนวณดอกเบี้ยนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่า จำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้ชำระดอกเบี้ยสำหรับเงินค่าทดแทนให้เพิ่มขึ้นตามที่รัฐมนตรีวินิจฉัยหรือไม่ตั้งแต่เมื่อใดและได้ชำระเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีไปตั้งแต่เมื่อใด จึงนำเงินค่าทดแทนที่เพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีมารวมกับที่ศาลวินิจฉัยเพิ่มเพื่อคำนวณดอกเบี้ยด้วย
of 3