พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลผูกพัน แม้ทำโดยสามีเกี่ยวกับสินบริคณห์ของภรรยา
สามีโจทก์และสามีจำเลยได้ตกลงทำบันทึกกันยอมให้ฝ่ายจำเลยไถ่นาพิพาทคืนจากโจทก์ได้ในราคา 5,200 บาท บันทึกนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850, 851 และที่ดินพิพาทเป็นสินบริคณห์ ย่อมอยู่ในอำนาจสามีโจทก์ที่จะจัดการสินบริคณห์ รวมทั้งจำหน่ายได้ด้วยตามมาตรา 1468, 1472 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่สามีโจทก์ทำไว้ โดยต้องยอมให้จำเลยไถ่ถอนคืนตามสัญญานั้น จะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 247/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความผูกพันเจ้าของสินบริคณห์ การไถ่ถอนที่ดิน
สามีโจทก์และสามีจำเลยได้ตกลงทำบันทึกกันยอมให้ฝ่ายจำเลยไถ่นาพิพาทคืนจากโจทก์ได้ในราคา 5,200 บาท บันทึกนั้นเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850, 851 และที่ดินพิพาทเป็นสินบริคณห์ ย่อมอยู่ในอำนาจสามีโจทก์ที่จะจัดการสินบริคณห์ รวมทั้งจำหน่ายได้ด้วยตามมาตรา 1468, 1472 เดิม อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น โจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่สามีโจทก์ทำไว้โดยต้องยอมให้จำเลยไถ่ถอนคืนตามสัญญานั้น จะปฏิเสธไม่ยอมปฏิบัติตามสัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2472/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเรียกเงินกู้: สินส่วนตัว vs. สินสมรส และผลกระทบจากการเสียชีวิตของคู่สมรส
ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินส่วนตัว และฟ้องเรียกเงินนั้นคืนได้โดยลำพัง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง
แม้ภริยาให้กู้เงินที่เป็นสินสมรส และฟ้องคดีโดยสามีไม่ได้ยินยอมด้วย แต่ปรากฏชั้นฎีกาว่าสามีตายแล้วไม่มีทางให้สามีเข้าจัดการร่วมด้วย ภริยาจัดการสินสมรสได้โดยลำพังและมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
น.ส.3 ไม่แสดงกรรมสิทธิ์ สามีมีอำนาจขายที่ดินบริคณห์ได้โดยลำพัง
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ไม่เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือนั้นมีกรรมสิทธิ์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1467 และ 1474 ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภรรยากันมีชื่อร่วมกันในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยที่ 1 สามีก็มีอำนาจจำหน่ายได้โดยลำพัง ไม่จำต้องให้จำเลยที่ 2 ภริยาเข้าชื่อเป็นผู้ขายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจำหน่ายที่ดิน น.ส.3: สามีมีอำนาจจำหน่ายได้โดยลำพัง แม้ที่ดินมีชื่อทั้งสองสามีภรรยา
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) ไม่เป็นเอกสารสำคัญที่จะแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือนั้นมีกรรมสิทธิ์ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1467 และ 1474 ฉะนั้นแม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 เป็นสามีภรรยากันมีชื่อร่วมกันในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จำเลยที่ 1 สามีก็มีอำนาจจำหน่ายได้โดยลำพัง ไม่จำต้องให้จำเลยที่ 2 ภริยาเข้าชื่อเป็นผู้ขายด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในที่ดิน: การโอนสิทธิโดยไม่ชอบ ผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน แม้จดทะเบียน
ที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองอยู่ ส. ซึ่งเป็นสามีได้แจ้งการครอบครองและรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยปกปิดมิให้โจทก์ที่ 1 ทราบ การกระทำของ ส.ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ที่ 1 และไม่มีอำนาจนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพลการ เมื่อ ส.ไม่มีอำนาจขาย จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อย่อมไม่ได้สิทธิอันเกิดจากสัญญาซื้อขายนั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อจากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย จำเลยที่ 2 ก็ย่อมไม่ได้รับสิทธิในที่พิพาท เพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดินเดิมของผู้ครอบครอง vs. สิทธิจากหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ได้มาโดยปกปิด
ที่พิพาทเป็นสินเดิมของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 1 ยังครอบครองอยู่ส. ซึ่งเป็นสามีได้แจ้งการครอบครองและรับหนังสือรับรองการทำประโยชน์โดยปกปิดมิให้โจทก์ที่ 1 ทราบ การกระทำของ ส. ย่อมไม่ก่อให้เกิดสิทธิครอบครองในที่พิพาทดีกว่าโจทก์ที่ 1 และไม่มีอำนาจนำที่พิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 1 โดยพลการเมื่อ ส. ไม่มีอำนาจขาย จำเลยที่ 1 ผู้ซื้อย่อมไม่ได้สิทธิอันเกิดจากสัญญาซื้อขายนั้น ฉะนั้น แม้จำเลยที่ 2 จะรับซื้อไว้จากจำเลยที่ 1 โดยสุจริตและจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายจำเลยที่ 2 ก็ย่อมไม่ได้รับสิทธิในที่พิพาทเพราะผู้รับโอนไม่มีสิทธิดีกว่าผู้โอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1266/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำหน่ายสินเดิมโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภรรยา และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
การที่สามีจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์สินเดิมของตนอันเป็นสินบริคณห์ระหว่างสามีภรรยาตามประมวลกฎหมายแพ่ง และพาณิชย์ มาตรา 1462 ด้วยการยกให้โดยเสน่หานั้น จะต้องได้รับความยินยอมเป็นหนังสือจากภรรยาตามมาตรา 1473 และ 1476 ประกอบด้วย 525 และ 456
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่
คดีมีประเด็นว่า จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นภรรยาของผู้ตายได้ยินยอมให้ผู้ตายยกอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ตายให้แก่ผู้อื่นโดยเสน่หาหรือไม่ เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ ทั้งคดีไม่มีประเด็นว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคมหรือเป็นการจำหน่ายเพื่อประโยชน์ตนฝ่ายเดียวหรือไม่ ศาลย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 โดยไม่ต้องชักสินสมรสไปใช้สินเดิมดังกล่าวของผู้ตายก่อน
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างผู้ตายกับคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1625(1)จะไม่ได้บัญญัติให้นำมาตรา 1476 มาใช้ด้วย แต่มาตรา 1476 เป็นบทบังคับในเรื่องแบบของความยินยอม อันจะนำไปสู่บทบัญญัติเรื่องจะนำสินสมรสใช้คืนสินเดิมของคู่สมรสที่หย่าขาดจากกันได้หรือไม่เพียงใด ศาลย่อมยกขึ้นปรับกับคดีได้ หาเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติ มาตรา 1625(1) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1899/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้โดยเสน่หาเพื่อตอบแทนอุปการะและการซื้อขายที่ดิน: ศาลฎีกาตัดสินเรื่องการยกทรัพย์สินให้หลานและข้อพิพาทเรื่องการซื้อขาย
โจทก์กับ ช.เป็นสามีภรรยาไม่มีบุตรด้วยกัน จำเลยเป็นหลานของ ช.ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้จำเลยครึ่งหนึ่งโดยเสน่หา ขณะที่ ช.ยกที่พิพาทให้จำเลยนั้น ทั้งโจทก์และช.ต่างมีอายุ 70 ปีเศษแล้ว เมื่อ ช.ป่วย. จำเลยได้ดูแลปรนนิบัติและรักษาพยาบาลช.ทั้งช่วยออกเงินค่ารักษาพยาบาลแต่ผู้เดียว.การที่ช. ยกที่ดินแปลงพิพาทให้จำเลยครึ่งหนึ่ง จึงเป็นการให้เพื่อตอบแทนความอุปการะช่วยเหลือ และเป็นการให้โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีของกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิขอให้เพิกถอน
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยให้การว่า จำเลยกับ ช.ร่วมกันซื้อที่ดินแปลงพิพาทโดยออกเงินคนละครึ่งแต่ในชั้นพิจารณาจำเลยกลับนำสืบว่า ช.ซื้อที่ดินแปลงพิพาทผู้เดียว ต่อมา ช.จึงขายที่ดินดังกล่าวให้จำเลยครึ่งหนึ่ง ดังนี้ เป็นการนำสืบข้อความนอกประเด็น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 934/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สินบริรุณภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และผลกระทบต่อพินัยกรรม
การให้สินบริคณห์โดยเสน่หาตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีหรือในทางสมาคม ซึ่งสามีทำได้โดยไม่ต้องรับความยินยอมของภรรยาตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 นั้น ผู้ได้รับการยกให้ต้องมีความสัมพันธ์หรือมีฐานะชอบด้วยกฎหมาย จำเลยผู้รับให้เป็นภริยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายก็ไม่เป็นการให้ที่ยกเว้นตามมาตรานี้ แต่ไม่ใช่เรื่องโมฆะกรรมหรือโมฆียะเป็นแต่เพียงนิติกรรมที่ทำไปโดยไม่ชอบซึ่งภริยาเพิกถอนได้
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย
สามีทำพินัยกรรมฉบับหลังว่ามิให้พินัยกรรมฉบับแรกที่ยกทรัพย์ให้ภริยาทั้งหมดมีผลกระทบถึงทรัพย์ที่ยกให้ภริยาน้อยไปแล้วดังนี้ ภริยาน้อยได้รับที่ดินส่วนของสามีครึ่งหนึ่งตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361,1477
ชายออกเงินซื้อที่ดินยกให้ภริยาน้อย ที่ดินเป็นสินสมรสระหว่างชายกับภริยาหลวง มิใช่เป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างชายกับภริยาน้อย