คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 1473

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 71 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 882/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรส, การแยกกันอยู่, และการโอนทรัพย์สินโดยเสน่หา
ที่ดินซึ่งภริยาก่อนบรรพ 5 มีอยู่ก่อนสมรสและอาจนำมาใช้ประโยชน์ด้วยกันได้ ไม่ต้องเอามาระคนปนกับสินเดิมของสามีก็ถือเป็นสินเดิมของภริยา
สามีภริยาก่อนบรรพ 5 การขาดจากสมรสต้องบังคับตามบรรพ 5การยินยอมขาดกันเองต้องทำเป็นหนังสือมีพยานลงลายมือชื่ออย่างน้อย 2 คน
การที่สามีภริยาไม่ได้หลับนอนร่วมเพศกัน แต่อยู่คนละบ้านในบริเวณเดียวกัน ไม่เป็นการทิ้งร้างกัน
สามีมีภริยาใหม่แต่ไม่จดทะเบียน ทรัพย์ที่ได้มาใหม่จะมีส่วนได้ร่วมกับสามีหรือไม่. ก็ยังเป็นสินสมรสระหว่างสามีกับภริยาเดิม และใส่ชื่อภริยาในโฉนดร่วมด้วยได้ แต่จะระบุส่วนของภริยาว่าหนึ่งในสามโดยยังไม่ถึงเวลาแบ่งทรัพย์สินกันไม่ได้
สามีโอนที่ดินสินสมรสให้โดยเสน่หาแก่ภริยาใหม่ที่ไม่ได้จดทะเบียนโดยภริยามิได้ยินยอมเป็นหนังสือ การเพิกถอนต้องทำทั้งหมดมิใช่เฉพาะส่วนของภริยา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2518 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินของภริยาในสินสมรสที่สามีโอนให้บุตรโดยไม่ได้รับความยินยอม คดีไม่มีอายุความ
สามีโจทก์เอาที่ดินและห้องแถวซึ่งเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนให้แก่บุตรซึ่งเกิดแต่ภริยาอื่นโดยเสน่หา และโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์นั้นมาเป็นของตนและกองมรดกของสามีได้ ส่วนการเพิกถอนการให้ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 872/2508)
การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนเป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้อง แม้จะเป็นเวลาช้านานสักปานใดและทราบเรื่องเมื่อใด เจ้าของยังมีสิทธิติดตามทรัพย์นั้นได้เสมอ เว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382, 1383 เจ้าของจึงจะหมดสิทธิติดตามกรณีนี้จะนำเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาปรับใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 462/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สินในสินสมรสที่โอนโดยไม่ได้รับความยินยอมจากภริยา และไม่มีอายุความ
สามีโจทก์เอาที่ดินและห้องแถวซึ่งเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนให้แก่บุตรซึ่งเกิดแต่ภริยาอื่นโดยเสน่หา และโดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์นั้นมาเป็นของตนและกองมรดกของสามีได้ส่วนการเพิกถอนการให้ก็ต้องเพิกถอนทั้งหมด จะเพิกถอนเฉพาะส่วนหาได้ไม่
(อ้างฎีกาที่ 872/2508)
การใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์ของตนเป็นคดีไม่มีอายุความฟ้องร้องแม้จะเป็นเวลาช้านานสักปานใด และทราบเรื่องเมื่อใด เจ้าของยังมีสิทธิติดตามทรัพย์นั้นได้เสมอเว้นแต่กรณีจะต้องด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382,1383 เจ้าของจึงจะหมดสิทธิติดตาม กรณีนี้จะนำเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 มาปรับใช้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินสินสมรสโดยไม่ได้รับความยินยอมของคู่สมรสและการเพิกถอน
สามีโจทก์ยกที่ดินสินสมรสราคากว่าแสนบาทให้จำเลยโดยโจทก์มิได้ยินยอมเป็นหนังสือ เหตุที่สามีโจทก์ยกที่ดินให้เพราะจำเลยช่วยอุปการะพาสามีโจทก์ไปตรวจรักษาพยาบาลไม่ปรากฏว่าเป็นเงินเท่าใดไม่พอถือเป็นการสมควรในทางศีลธรรมอันดี โจทก์เพิกถอนการให้นี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมือเปล่า: อำนาจสามีจำหน่ายสินบริคณห์ และการรับรองหลักฐานการโอนกรรมสิทธิ์
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าอันเป็นสินบริคณห์ ซึ่งสามีลงชื่อเป็นผู้ขายแต่เพียงผู้เดียวนั้น หาใช่เป็นการขายเฉพาะส่วนของสามีไม่ แต่เป็นการขายทั้งแปลง เพราะสามีย่อมมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินบริคณห์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าภรรยาได้รู้เห็นยินยอมด้วย
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งทำกันเอง เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ขายได้สละการครอบครองที่ดินดังกล่าวให้ผู้ซื้อแล้วเท่านั้นเอกสารเช่นนี้ประมวลรัษฎากรหาได้กำหนดไว้ให้ปิดอากรแสตมป์แต่อย่างใดไม่ จึงรับฟังได้แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2744/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายที่ดินมือเปล่าและอำนาจจำหน่ายสินบริคณห์ของสามี โดยไม่จำเป็นต้องมีคู่สมรสยินยอม
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าอันเป็นสินบริคณห์ ซึ่งสามีลงชื่อเป็นผู้ขายแต่เพียงผู้เดียวนั้น หาใช่เป็นการขายเฉพาะส่วนของสามีไม่ แต่เป็นการขายทั้งแปลง เพราะสามีย่อมมีอำนาจจำหน่ายทรัพย์สินบริคณห์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าภรรยาได้รู้เห็นยินยอมด้วย
สัญญาซื้อขายที่ดินมือเปล่าซึ่งทำกันเอง เป็นหลักฐานอย่างหนึ่งที่แสดงว่าผู้ขายได้สละการครอบครองที่ดินดังกล่าวให้ผู้ซื้อแล้วเท่านั้นเอกสารเช่นนี้ประมวลรัษฎากรหาได้กำหนดไว้ให้ปิดอากรแสตมป์แต่อย่างใดไม่ จึงรับฟังได้แม้มิได้ปิดอากรแสตมป์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์และการผูกพันตามสัญญาซื้อขายที่ดิน แม้ภรรยาไม่ได้ลงชื่อ
สามีภรรยาได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน โดยซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งขายเป็นที่ดินแปลงเล็ก เมื่อแบ่งแล้วลงชื่อภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินทั้งหมดย่อมถือว่าเป็นสินบริคณห์ ดังนี้เมื่อสามีทำสัญญาจะขายที่ดินที่จัดสรรดังกล่าวให้ผู้จะซื้อไปโดยภรรยาไม่ได้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อขายด้วย ภรรยาก็ต้องถูกผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1473 วรรคต้น ประกอบด้วยมาตรา 1468 ทั้งได้ความด้วยว่าภรรยาเคยยินยอมให้สามีขายที่ดินที่จัดสรรทำนองนี้มาแล้วด้วยภรรยาจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 222/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินบริคณห์และผลผูกพันสัญญาซื้อขาย: ภรรยาต้องรับผิดในสัญญาที่สามีทำแม้ไม่ได้ลงชื่อ หากร่วมกันค้าและยินยอม
สามีภรรยาได้ร่วมกันทำการค้าที่ดิน โดยซื้อที่ดินแปลงใหญ่มาจัดสรรแบ่งขายเป็นที่ดินแปลงเล็ก เมื่อแบ่งแล้วลงชื่อภรรยาเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ ที่ดินทั้งหมดย่อมถือว่าเป็นสินบริคณห์ ดังนี้ เมื่อสามีทำสัญญาจะขายที่ดินที่จัดสรรดังกล่าวให้ผู้จะซื้อไป โดยภรรยาไม่ได้ลงชื่อในสัญญาจะซื้อขายด้วย ภรรยาก็ต้องถูกผูกพันตามสัญญาจะซื้อจะขายนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1473 วรรคต้น ประกอบด้วยมาตรา 1468 ทั้งได้ความด้วยว่าภรรยาเคยยินยอมให้สามีขายที่ดินที่จัดสรรทำนองนี้มาแล้วด้วยภรรยาจึงปฏิเสธความรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายดังกล่าวหาได้ไม่
of 8