พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13652/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของคนเสมือนไร้ความสามารถ: ผู้พิทักษ์ไม่ใช่ตัวแทน แต่ต้องได้รับความยินยอม หรือมีคำสั่งศาล
ผู้พิทักษ์มิใช่เป็นผู้แทนของคนเสมือนไร้ความสามารถ ดังเช่นในกรณีของคนไร้ความสามารถที่ต้องให้ผู้อนุบาลกระทำการแทน ซึ่งการเสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ถือเป็นการกระทำอย่างหนึ่งอย่างใดที่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 (10) ดังนี้ แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมี อ. เป็นผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย แต่เมื่อปรากฏว่า อ. เป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความ และทนายความลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้มาเบิกความต่อศาล โดย อ. เบิกความแทน จึงเท่ากับเป็นการที่ผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้แก้ไขเพื่อให้คำฟ้องสมบูรณ์เสียแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจนคดีล่วงเลยมาสู่ศาลฎีกาเช่นนี้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13652/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ: ผู้พิทักษ์ต้องได้รับมอบอำนาจหรือมีคำสั่งศาล
การที่ศาลมีคำสั่งให้ บ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของ อ. มีผลเพียง บ. ไม่สามารถที่จะกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดได้ด้วยตนเอง เพราะต้องได้รับความยินยอมของ อ. ผู้พิทักษ์ก่อน ตามที่ ป.พ.พ. มาตรา 34 บัญญัติไว้เท่านั้น แต่มิได้มีผลทำให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้ที่มีอำนาจกระทำการต่าง ๆ แทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ดังเช่นในกรณีของคนไร้ความสามารถที่ต้องให้ผู้อนุบาลกระทำการแทน ซึ่งการเสนอคดีต่อศาลหรือดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ถือเป็นการอย่างหนึ่งอย่างใดที่คนเสมือนไร้ความสามารถต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อน ตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 (10) หากเป็นในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม และคำสั่งของศาลดังกล่าวให้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาตาม ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคสามและวรรคสี่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยมี อ. เป็นผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย แต่ อ. เป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความ และทนายความลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้มาเบิกความต่อศาลโดย อ. เป็นผู้มาเบิกความแทน จึงเท่ากับผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คนเสมือนไร้ความสามารถฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หรือศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถเสนอคดีต่อศาลได้ด้วยตนเอง ตามเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 34 ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้แก้ไขเพื่อให้คำฟ้องสมบูรณ์เสียแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจนคดีล่วงเลยมาสู่ศาลฎีกาเช่นนี้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ โดยมี อ. เป็นผู้พิทักษ์ตามกฎหมาย แต่ อ. เป็นผู้ลงชื่อแต่งทนายความ และทนายความลงชื่อในคำฟ้องในฐานะโจทก์และผู้เรียงพิมพ์ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้มาเบิกความต่อศาลโดย อ. เป็นผู้มาเบิกความแทน จึงเท่ากับผู้พิทักษ์เป็นโจทก์ฟ้องคดีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถโดยไม่ได้รับมอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทน คำฟ้องของโจทก์จึงมิใช่เป็นเรื่องที่คนเสมือนไร้ความสามารถฟ้องคดีโดยได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ หรือศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์ฟ้องคดีแทนในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถเสนอคดีต่อศาลได้ด้วยตนเอง ตามเงื่อนไขของ ป.พ.พ. มาตรา 34 ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ไม่สมบูรณ์และบกพร่องในเรื่องความสามารถของผู้ที่จะมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ เมื่อโจทก์มิได้แก้ไขเพื่อให้คำฟ้องสมบูรณ์เสียแต่ในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นจนคดีล่วงเลยมาสู่ศาลฎีกาเช่นนี้แล้ว จึงต้องถือว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษามานั้นจึงไม่ชอบ ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้เอง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12634/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนอง/โอนที่ดินโดยผู้จัดการทรัพย์สิน: การยินยอมถูกต้องทำให้สัญญาใช้ได้ เหตุฉ้อฉล/ทุจริตไม่ปรากฏ
ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "คนเสมือนไร้ความสามารถนั้นต้องได้รับความยินยอมของผู้พิทักษ์ก่อนแล้วจึงจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ได้
...ฯลฯ...
(4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
...ฯลฯ...
จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
...ฯลฯ...
(4) รับประกันโดยประการใดๆ อันมีผลให้ตนต้องถูกบังคับชำระหนี้
...ฯลฯ...
จากบทบัญญัติดังกล่าว แสดงให้เห็นว่าบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถนั้น มีความสามารถที่จะทำนิติกรรมอื่นๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ในมาตรา 34 วรรคหนึ่ง ได้เอง โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์แต่ประการใด โดยจัดว่าเป็นผู้หย่อนความสามารถเฉพาะการทำนิติกรรมต่าง ๆ ซึ่งระบุไว้เท่านั้นที่จะต้องได้รับความยินยอมจากผู้พิทักษ์ก่อน จึงจะมีความสามารถทำได้ ส่วนมาตรา 34 วรรคสาม บัญญัติว่า "ในกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวมาในวรรคหนึ่งหรือวรรคสองได้ด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือมีจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ศาลจะสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจกระทำการนั้นแทนคนเสมือนไร้ความสามารถก็ได้ ในกรณีเช่นนี้ให้นำบทบัญญัติที่เกี่ยวกับผู้อนุบาลมาใช้บังคับแก่ผู้พิทักษ์โดยอนุโลม" ตามบทบัญญัติในวรรคสามนี้ หมายถึงกรณีที่คนเสมือนไร้ความสามารถไม่สามารถจะทำการอย่างหนึ่งอย่างใดใน (1) ถึง (11) หรือวรรคสองด้วยตนเอง เพราะเหตุมีกายพิการหรือจิตฟั่นเฟือนไม่สมประกอบ ดังนั้น เมื่อโจทก์เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถโดยมีจำเลยที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ ได้ทำนิติกรรมการจำนองที่ดินพิพาทและการโอนที่ดินพิพาทชำระหนี้จำนองซึ่งเป็นนิติกรรมดังได้ระบุไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 (4) โดยได้รับความยินยอมของจำเลยที่ 1 ผู้พิทักษ์แล้ว จึงเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติของ ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่งแล้ว นิติกรรมดังกล่าวย่อมมีผลสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 66/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้ศาลอนุญาตให้ผู้พิทักษ์มีอำนาจกระทำการแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องมีเหตุการณ์เฉพาะเกิดขึ้นแล้วจึงจะพิจารณาได้
คำร้องขอที่ให้ศาลมีคำสั่งว่า จ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องจะมีคำขอมาด้วยกันเป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ศาลมีคำสั่งให้ผู้พิทักษ์เป็นผู้มีอำนาจทำการอย่างหนึ่งอย่างใดที่กล่าวไว้ใน ป.พ.พ. มาตรา 34 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง ได้ด้วยตนเองไม่ได้ เนื่องจากคำร้องขอของผู้ร้องเป็นแต่เพียงการขอล่วงหน้าโดยยังไม่ปรากฏว่ามีเหตุการณ์ตามที่ขอเกิดขึ้นจริง จึงไม่มีข้อเท็จจริงที่จะให้ศาลนำมาพิจารณาวินิจฉัยเพื่อใช้ดุลพินิจได้ ศาลจึงมีคำสั่งยกคำขอส่วนนี้ของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5827/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการขอให้ศาลสั่งเป็นผู้พิทักษ์/ผู้อนุบาล และสิทธิในการฟ้องร้องความเสียหาย
จำเลยเป็นบุตรย่อมมีอำนาจร้องขอต่อศาลให้สั่งให้มารดาเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือเป็นคนไร้ความสามารถได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 34 หรือ 29 โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ผู้เป็นบิดาจำเลยและสามีของมารดาจำเลยทั้งศาลมีอำนาจแต่งตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาได้ตามมาตรา 1463 แม้ตามปกติคู่สมรสจะเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลตามกฎหมายก็ตาม
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน
เมื่อศาลได้มีคำสั่งตั้งให้จำเลยเป็นผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาลของมารดาแล้ว จำเลยย่อมมีอำนาจกระทำการใด ๆ อันเป็นการอนุบาลคนไร้ความสามารถได้ แต่กรณีตามฟ้องเป็นเรื่องที่อ้างว่าจำเลยทำให้โจทก์เสียหายเท่านั้น โจทก์ชอบที่จะใช้สิทธิทางศาลฟ้องร้องจำเลยได้ คดีไม่มีเหตุให้เพิกถอนคำสั่งที่ตั้งจำเลยเป็นผู้พิทักษ์และผู้อนุบาลแล้วตั้งโจทก์เป็นแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 177/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมสมบูรณ์: ศาลฎีกายกฟ้องข้อกล่าวหาปลอมแปลงพินัยกรรม โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานและเจตนาของผู้ทำพินัยกรรม
พินัยกรรมทำขึ้นในขณะเจ้ามรดกมีสติดี สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้ แม้จะเป็นบุคคลผู้เสมือนไร้ความสามารถก็เพียงไม่สามารถจัดการงานบางประการของตนเองได้เท่านั้น การทำพินัยกรรมเป็นกิจการเฉพาะตัวที่จะต้องแสดงเจตนาด้วยตนเองและผู้พิทักษ์ก็ได้ให้ความยินยอมแล้ว พินัยกรรมจึงสมบูรณ์ตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ ต้องพิสูจน์ความไม่สามารถจัดการงานของตนเองได้
คำร้องกล่าวเพียงว่า ช.มารดาผู้ร้องป่วยเป็นโรคต่อมไทรอยด์ไม่ทำงาน สุขภาพไม่สมบูรณ์ ง่ายต่อการถูกหลอกลวงหรือข่มขู่จากผู้อื่นได้เท่านั้น ไม่ได้กล่าวว่า ช. ไม่สามารถจะจัดทำการงานของตนเองได้เพราะเหตุ ต่างๆ ตามที่ระบุไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา34 ตามทางไต่สวนก็ได้ความว่า ช.ยังคงปฏิบัติหน้าที่แม่บ้านได้ตามปกติโดยไปจ่ายตลาดและหุงหาอาหารเองกรณีไม่มีเหตุที่จะสั่งให้ ช. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถแต่ประการใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1044/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจร้องขอให้ศาลสั่งให้บุคคลเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ: ต้องเป็นบุพการีหรือผู้พิทักษ์ตามกฎหมายหรือตามพฤตินัย
น้าไม่ใช่บุพการีและไม่เคยให้ความอุปการะเลี้ยงดูที่พอจะฟังได้ว่าเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยจึงไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะร้องต่อศาลเพื่อสั่งให้หลานเป็นคนเสมือนไร้ความสามารถได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการขอเป็นผู้พิทักษ์จำกัดเฉพาะผู้มีสิทธิโดยตรง ผู้ป่วยมีสิทธิเลือกผู้ดูแล
ค.อายุ 74 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และเป็นอัมพาตมานานประมาณ 13 เดือน มือเท้าข้างขวาและร่างกายแถบซีกด้านขวาเคลื่อนไหวไม่ได้ เคลื่อนไหวได้เฉพาะแถบซีกด้านซ้าย ลุกขึ้นยังไม่ได้ นั่งได้ คลานไปในระยะใกล้ๆ ได้ เข้าใจคำถามได้ดี สามารถตอบคำถามได้บ้าง แพทย์รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงเป็นบุคคลไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้เพราะกายพิการ สมควรถูกสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์
ผู้ร้องเป็นบุตรของพี่ชาย ค. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานหรือผู้พิทักษ์ของ ค. ส่วนผู้คัดค้านเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยของ ค.มาก่อน ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งว่า ค.เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของ ค.หาก ค. ถึงแก่กรรม โดยได้รับมรดกแทนที่บิดาผู้ร้องที่ถึงแก่กรรมแล้ว และเป็นทายาทเพียงผู้เดียวของ ค.การร้องของต่อศาลเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมายอันว่าด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของ ค.และของผู้ร้องตามที่ผู้ร้องฎีกานั้น กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้
ผู้ร้องเป็นบุตรของพี่ชาย ค. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานหรือผู้พิทักษ์ของ ค. ส่วนผู้คัดค้านเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยของ ค.มาก่อน ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งว่า ค.เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของ ค.หาก ค. ถึงแก่กรรม โดยได้รับมรดกแทนที่บิดาผู้ร้องที่ถึงแก่กรรมแล้ว และเป็นทายาทเพียงผู้เดียวของ ค.การร้องของต่อศาลเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมายอันว่าด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน เพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของ ค.และของผู้ร้องตามที่ผู้ร้องฎีกานั้น กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเป็นผู้พิทักษ์จำกัดเฉพาะผู้มีฐานะเป็นญาติหรือผู้ดูแลตามกฎหมาย การขอเป็นผู้พิทักษ์เพื่อหวังผลประโยชน์ทางมรดกทำไม่ได้
ค. อายุ 74 ปี ป่วยเป็นโรคเบาหวาน และเป็นอัมพาตมานานประมาณ 13 เดือน มือเท้าข้างขวาและร่างกายแถบซีกด้านขวาเคลื่อนไหวไม่ได้ เคลื่อนไหวได้เฉพาะแถบซีกด้านซ้าย ลุกขึ้นยืนไม่ได้ นั่งได้ คลานไปในระยะใกล้ ๆ ได้ เข้าใจคำถามได้ดีสามารถตอบคำถามได้บ้างแพทย์ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น จึงเป็นบุคคลไม่สามารถจะจัดการงานของตนเองได้ เพราะกายพิการสมควรถูกสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและให้อยู่ในความพิทักษ์
ผู้ร้องเป็นบุตรของพี่ชาย ค. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานหรือผู้พิทักษ์ของ ค. ส่วนผู้คัดค้านเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยของ ค. มาก่อน ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มี สิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งว่า ค. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของ ค. หาก ค. ถึงแก่กรรม โดยได้รับมรดกแทนที่บิดาผู้ร้องที่ถึงแก่กรรมแล้วและเป็นทายาทเพียงผู้เดียว ของ ค. การร้องขอต่อศาลเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมายอัน ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของ ค. และของผู้ร้อง ตามที่ผู้ร้องฎีกานั้น กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้
ผู้ร้องเป็นบุตรของพี่ชาย ค. ไม่ใช่ผู้สืบสันดานหรือผู้พิทักษ์ของ ค. ส่วนผู้คัดค้านเป็นผู้พิทักษ์ตามพฤตินัยของ ค. มาก่อน ดังนี้ ผู้ร้องจึงไม่มี สิทธิร้องขอต่อศาลให้สั่งว่า ค. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ร้องได้
การที่ผู้ร้องอ้างว่าผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกของ ค. หาก ค. ถึงแก่กรรม โดยได้รับมรดกแทนที่บิดาผู้ร้องที่ถึงแก่กรรมแล้วและเป็นทายาทเพียงผู้เดียว ของ ค. การร้องขอต่อศาลเป็นการใช้สิทธิโดยสุจริต ชอบด้วยกฎหมายอัน ว่าด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเพื่อรักษาผลประโยชน์ส่วนได้เสียของ ค. และของผู้ร้อง ตามที่ผู้ร้องฎีกานั้น กรณีดังกล่าวไม่มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายให้ผู้ร้องมีสิทธิร้องขอต่อศาลได้