พบผลลัพธ์ทั้งหมด 51 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6734/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาเช่า, ค่าเสียหายจากการเช่า, การผ่อนเวลาชำระหนี้, ความรับผิดของผู้ค้ำประกัน, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์
กำหนดอายุความตามมาตรา 563 หมายถึงผู้ให้เช่าฟ้องผู้เช่าให้รับผิดเพราะผู้เช่าฝ่าฝืนต่อหน้าที่ของตนตามสัญญาเช่า แต่ค่าขาดประโยชน์จากการใช้ทรัพย์ ค่าขาดราคาเมื่อนำรถที่เช่าออกขาย ค่าเบี้ยประกันภัยและค่าภาษีรถยนต์ที่โจทก์ชำระแทนไป เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายตามสัญญาเช่าไม่ใช่เป็นการเรียกค่าเสียหายเพราะผู้เช่าฝ่าฝืนต่อหน้าที่จึงไม่อยู่ในอายุความตามมาตรา 563
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าไป จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ. มาตรา 561
การผ่อนเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นจะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระยังไม่ถือว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 19 เป็นต้นไปเท่านั้น โดยไม่มีการตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้กันแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ตามมาตรา 700
เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าแก่โจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่ส่งมอบรถยนต์คืน โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์จากรถยนต์ที่จำเลยที่ 1 เช่าไป จำเลยที่ 2 จะอ้างว่าระหว่างนั้นจำเลยที่ 1 ไม่ได้ใช้รถยนต์และโจทก์ไม่ติดตามเอารถยนต์คืนหาได้ไม่ เพราะเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ต้องส่งมอบรถยนต์ที่เช่าคืนตามสัญญาและตาม ป.พ.พ. มาตรา 561
การผ่อนเวลาชำระหนี้แก่ลูกหนี้ซึ่งทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดนั้นจะต้องมีการตกลงผ่อนเวลากันแน่นอน และมีผลว่าในระหว่างผ่อนเวลานั้นเจ้าหนี้จะใช้สิทธิเรียกร้องหรือฟ้องร้องมิได้ หากเพียงแต่หนี้ถึงกำหนดชำระ เจ้าหนี้ไม่ได้เรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระยังไม่ถือว่าเป็นการผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้เพราะเจ้าหนี้อาจใช้สิทธิเรียกร้องเมื่อใดก็ได้ ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 1 ผิดนัดชำระหนี้ตั้งแต่งวดที่ 19 เป็นต้นไปเท่านั้น โดยไม่มีการตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 ยอมผ่อนเวลาชำระหนี้กันแต่ประการใด ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงไม่หลุดพ้นจากหนี้ตามมาตรา 700
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1845/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม กรณีจำเลยทุบผนังตึกเช่าและมีหน้าที่ซ่อมแซม
จำเลยเช่าตึกแถวพิพาทซึ่งติดกับตึกแถวของจำเลยจากโจทก์ แล้วจำเลยทุบผนังห้องตึกแถวที่ติดกันออกโดยได้รับความยินยอมจากโจทก์เพื่อประโยชน์ของฝ่ายจำเลย ต่อมาโจทก์ฟ้องจำเลยว่าผิดสัญญาเช่าขอให้บังคับจำเลยชำระค่าเช่าและค่าเสียหายจนกว่าจำเลยจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวที่เช่าและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ สภาพเรียบร้อย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อยกับให้จำเลยชำระค่าเสียหายจนกว่าจะขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกจากตึกแถวและส่งมอบตึกแถวคืนโจทก์ จำเลยฝ่ายเดียวอุทธรณ์ การที่คำพิพากษาศาลอุทธรณ์ให้เหตุผลแห่งคำวินิจฉัยตอนหนึ่งว่า "ที่ศาลชั้นต้นใช้คำว่าส่งมอบตึกแถวให้แก่โจทก์ในสภาพเรียบร้อย จึงน่าจะหมายความว่า จำเลยมีหน้าที่ทำผนังตึกแถวของโจทก์ให้อยู่ในสภาพเดิมก่อนที่จะมีการทุบทำลายออกเพื่อประโยชน์ของจำเลยตามข้อตกลงท้ายสัญญา" แล้วพิพากษายืนเช่นนี้ เป็นการอธิบายความหมายของคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมมิให้มีปัญหาในชั้นบังคับคดี ตามคำพิพากษาเท่านั้น แม้จำเลยจะมิได้ขอให้ศาลอธิบายคำพิพากษาของศาลชั้นต้นก็ตาม คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้จึงไม่เกินคำขอแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5692/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทสัญญาเช่าเลิกสัญญา ค่าเสียหาย และสิทธิในการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง
จำเลยเช่าที่ดินจากโจทก์เพื่อก่อสร้างโครงเหล็กติดตั้งป้ายโฆษณา เมื่อสัญญาเช่าที่ดินเลิกกันแล้วจำเลยมีหน้าที่ต้องส่งคืนที่ดินให้แก่โจทก์ในสภาพที่ได้รับมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 คือต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างทั้งหมดซึ่งรวมถึงเสาเข็มของจำเลยออกไปจากที่ดินที่เช่าด้วย เพราะจำเลยเป็นผู้ปลูกสร้างโดยอาศัยสิทธิตามสัญญาเช่า จึงไม่ถือว่าเป็นส่วนควบกับที่ดินตามมาตรา 146
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกันแล้วการที่จำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออกจากที่ดินเช่าและส่งมอบที่ดินเช่าคืนโจทก์ในสภาพที่จำเลยได้รับมา ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องในเรื่องค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2541 ถึงวันฟ้องวันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นเงินรวม 71,999.98 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ส่วนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องต่อไปอีกเดือนละ 10,000 บาท แต่รวมค่าเสียหายทั้งหมดแล้วไม่ให้เกิน20 เดือนนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจึงนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่ได้ ดังนั้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินแต่ละชั้นศาลจำนวน 1,800 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายมาด้วยจึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราชั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 71,999.98 บาท เกินกว่า 25,000 บาท ซึ่งมีค่าทนายความอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์เป็นเงินร้อยละ 3 ของทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คือเป็นเงินไม่เกิน 2,159.97บาท แต่สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์กำหนดค่าทนายความในอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไม่เกิน 1,500 บาท จึงต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีที่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตราสูงกว่าใช้บังคับ
เมื่อสัญญาเช่าเลิกกันแล้วการที่จำเลยไม่รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างของจำเลยออกจากที่ดินเช่าและส่งมอบที่ดินเช่าคืนโจทก์ในสภาพที่จำเลยได้รับมา ย่อมทำให้โจทก์เสียหายเพราะไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินที่เช่าได้ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย
จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้ยกฟ้องในเรื่องค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชดใช้แก่โจทก์เดือนละ 10,000 บาท นับแต่วันที่ 6 มิถุนายน 2541 ถึงวันฟ้องวันที่ 12 มกราคม 2542 เป็นเงินรวม 71,999.98 บาท ซึ่งถือเป็นทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกา ส่วนค่าเสียหายที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระแก่โจทก์นับแต่วันหลังจากวันฟ้องต่อไปอีกเดือนละ 10,000 บาท แต่รวมค่าเสียหายทั้งหมดแล้วไม่ให้เกิน20 เดือนนั้น เป็นค่าเสียหายในอนาคตจึงนำมารวมคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในอุทธรณ์และชั้นฎีกาไม่ได้ ดังนั้นจำเลยต้องเสียค่าขึ้นศาลในชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามทุนทรัพย์ดังกล่าวเป็นเงินแต่ละชั้นศาลจำนวน 1,800 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างออกไปจากที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหายมาด้วยจึงเป็นคดีมีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราชั้นสูงกว่าตามตาราง 6 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก เมื่อปรากฏว่าทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์เป็นเงิน 71,999.98 บาท เกินกว่า 25,000 บาท ซึ่งมีค่าทนายความอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์เป็นเงินร้อยละ 3 ของทุนทรัพย์ในชั้นอุทธรณ์คือเป็นเงินไม่เกิน 2,159.97บาท แต่สำหรับคดีไม่มีทุนทรัพย์กำหนดค่าทนายความในอัตราขั้นสูงในศาลอุทธรณ์ไม่เกิน 1,500 บาท จึงต้องถือเอาอัตราค่าทนายความในคดีที่มีทุนทรัพย์ซึ่งมีอัตราสูงกว่าใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าหมดอายุ จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างบนที่ดินเช่า แม้จะมีการโอนขายหรือถูกยึด
จำเลยปลูกบ้านพิพาทในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ แม้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าจำเลยขายบ้านพิพาทให้ส.โดยมีข้อตกลงให้ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดสัญญาเช่าและหน้าที่ในการส่งคืนสภาพที่ดิน ผู้เช่าขายบ้านที่เช่าไม่ได้ปลดหน้าที่
จำเลยปลูกบ้านในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าเมื่อสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้จำเลยก็ต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 561 โดยจำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ การที่จำเลยโอนขายบ้านให้ส.โดยมีข้อตกลงให้ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ การที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาสัญญาเช่าแล้วโจทก์ย่อม มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อบ้านพร้อมขนย้าย ทรัพย์สินออกจากที่ดินได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการส่งคืนที่ดินเช่าและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างหลังสัญญาเช่าสิ้นสุด แม้มีการซื้อขาย/ยึดทรัพย์
จำเลยปลูกบ้านพิพาทในที่ดินของโจทก์โดยอาศัยสิทธิการเช่าสัญญาเช่าระงับเมื่อสิ้นกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ จำเลยต้องส่งคืนที่ดินซึ่งเป็นทรัพย์สินที่เช่าในสภาพเรียบร้อยแก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 561 จำเลยจะต้องรื้อถอนบ้านพิพาทซึ่งปลูกอยู่ในที่ดินที่เช่าเพื่อส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนแก่โจทก์ แม้ก่อนครบกำหนดตามสัญญาเช่าจำเลยขายบ้านพิพาทให้ ส. โดยมีข้อตกลงให้ ส. มีหน้าที่รื้อถอนบ้านพิพาทออกไปจากที่ดินที่จำเลยเช่าก็ดี และการที่บ้านพิพาทถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคดีอื่นของจำเลยนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้ก็ดี หาเป็นเหตุให้จำเลยพ้นหน้าที่จะต้องส่งมอบที่ดินที่เช่าคืนให้โจทก์ตามผลของกฎหมายไม่ ดังนั้นการที่จำเลยไม่รื้อถอนบ้านพิพาทออกจากที่ดินที่เช่าของโจทก์เมื่อสิ้นกำหนดเวลาตามสัญญาเช่าแล้ว โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านพร้อมขนย้ายทรัพย์สินออกจากที่ดินตามฟ้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รับฝากทรัพย์: ความรับผิดของผู้รับฝากเมื่อทรัพย์สูญหาย, อายุความ, และการรับช่วงสิทธิ
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3517/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฝากทรัพย์โดยปริยาย ความรับผิดของผู้รับฝาก และอายุความของคดี
คดีมีทุนทรัพย์ 42,000 บาท ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดย วินิจฉัยว่าคดีโจทก์ขาดอายุความ ศาลอุทธรณ์เห็นว่าคดีไม่ขาดอายุความ แต่มีเหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคงต้องรับผิดเฉพาะจำเลยที่ 3 จึงพิพากษาแก้เป็นว่าให้จำเลยที่ 3 ใช้เงิน 40,000 บาทแก่โจทก์ การแก้ไขเช่นนี้เป็นการแก้ความรับผิดของจำเลยที่ 3 ให้รับผลตรงข้ามกับคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขมากจำเลยที่ 3 ฎีกาข้อเท็จจริงได้
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
โจทก์รับประกันภัยรถยนต์คันที่หายไว้และได้ใช้เงินค่ารถยนต์ให้แก่ผู้รับประโยชน์ไปแล้ว โจทก์ย่อมเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและของผู้รับประโยชน์ซึ่งมีต่อบุคคลภายนอกผู้ก่อวินาศภัยด้วยอำนาจกฎหมาย โดยโจทก์และบุคคลภายนอกนั้นไม่จำต้องมีนิติสัมพันธ์ต่อกัน
ผู้เอาประกันภัยได้เช่าซื้อรถยนต์มาจากผู้รับประโยชน์แล้วให้จำเลยที่ 2 เช่าไป จำเลยที่ 2 นำรถยนต์นั้นไปฝากไว้แก่จำเลยที่ 3 แล้วหายไปเพราะจำเลยที่ 3 ผิดสัญญาฝากทรัพย์ จำเลยที่ 3 ย่อมต้องรับผิดต่อผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์ เพราะเป็นเหตุให้ผู้เอาประกันภัยไม่ได้รถยนต์ที่ให้เช่าคืน โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยและผู้รับประโยชน์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 3 ได้
ขณะที่จำเลยที่ 2 นำรถยนต์ไปจอดที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 นั้นจำเลยที่ 3 ก็อยู่ที่ปั๊มน้ำมันและได้รับเงิน 5 บาทที่จำเลยที่ 2 มอบให้แก่พนักงานของจำเลยที่ 3 ไว้แล้วรถที่นำมาจอดรายวันและจะจอดตรงไหนก็ได้ในลานจอดรถ จำเลยที่ 3 ประจำอยู่ที่ปั๊มน้ำมันตั้งแต่เวลา 18 นาฬิกาจนถึงเช้าวันรุ่งขึ้นอันเป็นเวลากลางคืนแสดงว่าจำเลยที่ 3 ผู้เป็นเจ้าของปั๊มคอยดูแลรับผิดชอบทรัพย์สินภายในบริเวณปั๊มทั้งหมดรวมถึงรถยนต์ที่จอดด้วยพฤติการณ์ที่ปั๊มน้ำมันของจำเลยที่ 3 ปฏิบัติต่อลูกค้าดังกล่าวเห็นได้ว่าจำเลยที่ 3 ยอมรับรถยนต์จากผู้อื่นมาอยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3 ที่ปั๊มน้ำมันแล้วเข้าลักษณะฝากทรัพย์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 657หาใช่เป็นการให้เช่าที่จอดรถยนต์ไม่ แม้ผู้นำรถยนต์มาจอดไม่ต้องมอบกุญแจรถให้ไว้ก็ดีจะนำรถคืนไปเมื่อใดก็ได้โดยไม่ต้องบอกจำเลยที่ 3 ก่อนก็ดีที่บริเวณกำแพงข้างปั๊มน้ำมันมีข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยที่ 3เขียนไว้ก็ดีก็ไม่ทำให้รถยนต์ที่นำมาจอดไม่อยู่ในความอารักขาของจำเลยที่ 3
เมื่อทรัพย์ที่รับฝากสูญหายไป ผู้รับฝากก็ต้องใช้ราคาทรัพย์ที่รับฝากไว้แทนตัวทรัพย์การฟ้องเรียกให้ใช้ราคาทรัพย์ในกรณีเช่นนี้ ไม่ใช่เรียกค่าสินไหมทดแทนเกี่ยวกับการฝากทรัพย์ตามมาตรา 671 และไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีกำหนดสิบปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3161/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ส่งคืนทรัพย์สินเช่าเมื่อสัญญาเลิก และความรับผิดของผู้เช่าแม้จะให้ผู้อื่นครอบครอง
เมื่อสัญญาเช่าได้เลิกหรือระงับลง จำเลยผู้เช่ามีหน้าที่ต้องส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าให้แก่ผู้ให้เช่า เมื่อจำเลยยังมิได้ส่งมอบตึกแถวพิพาทแก่โจทก์ ทั้งยังได้ความว่าจำเลยให้บุคคลอื่นเข้ามาอยู่แทนจำเลย จำเลยจึงไม่มีทางพ้นความรับผิด โจทก์ฟ้องบังคับจำเลยได้โดยหาจำต้องไปฟ้องผู้อื่นซึ่งอยู่ในตึกแถวพิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2016/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่หลังสัญญาเช่าเดิมสิ้นสุด: กรณีผู้เช่าช่วง
โจทก์เช่าที่ดินจากกรมธนารักษ์ปลูกห้องแถวที่พิพาท แล้วโจทก์ให้จำเลยเช่าห้องแถวที่พิพาท ถึงแม้ต่อมาสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับกรมธนารักษ์จะสิ้นสุดลง โจทก์ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบทรัพย์สินที่เช่าให้แก่กรมธนารักษ์ตามสัญญาเช่า เมื่อสัญญาเช่าระหว่างโจทก์จำเลยสิ้นกำหนดระยะเวลาแล้ว โจทก์จึงยังมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยและบริวารออกจากสถานที่เช่าและเรียกค่าเสียหายได้