คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.รัษฎากร ม. 49

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8308/2557

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของเจ้าพนักงานสรรพากร และการประเมินภาษีตามมาตรา 88/4
ตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๑๖ บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังมีอำนาจแต่งตั้งเจ้าพนักงานประเมินได้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังย่อมมีอำนาจกำหนดท้องที่รับผิดชอบแก่เจ้าพนักงานที่ได้รับการแต่งตั้งด้วยได้เพื่อให้เกิดความคล่องตัวมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสภาพของจำเลย เมื่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกประกาศแต่งตั้งให้ข้าราชการพลเรือนสามัญตั้งแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป สังกัดกรมสรรพากร เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา ๑๖ (นอกจากที่ระบุไว้ใน (๒) (๓) และ (๔)) ในเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ตามข้อ ๒ (๑) ของประกาศกระทรวงการคลังว่าด้วยการแต่งตั้งเจ้าพนักงาน (ฉบับที่ ๓๙ ) ดังกล่าว ป. ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภาษี ๖ สำนักตรวจสอบภาษีกลาง จึงมีอำนาจประเมินให้โจทก์ชำระภาษีมูลค่าเพิ่มตามฟ้อง แม้สรรพากรจังหวัดสุราษฎร์ธานีจะมีอำนาจประเมินภาษีโจทก์ก็หามีผลกระทบกระเทือนเป็นเหตุให้การตรวจสอบและประเมินภาษีของ ป. ผู้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าพนักงานประเมินตามประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าวเป็นการไม่ชอบไม่
การประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา ๔๙ ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรที่จะกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นนั้น เป็นกรณีเจ้าพนักงานประเมินหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปี เปรียบเทียบกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีของปีภาษีนั้น ผลที่หาได้คือทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษีก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา ๔๙ เป็นการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ส่วนการที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกโจทก์ตามมาตรา ๘๘/๔ เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนภาษีมูลค่าเพิ่มเนื่องจากเจ้าพนักงานประเมินตรวจพบว่าโจทก์ไม่ได้จัดทำใบกำกับภาษีขายส่งมอบให้แก่ผู้ซื้อสินค้าและไม่ได้นำรายรับนี้ไปรวมเป็นฐานภาษีในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีพิพาท เจ้าพนักงานประเมินย่อมมีอำนาจประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มในส่วนที่โจทก์ขายสินค้าโดยไม่ได้ออกใบกำกับภาษี อันเป็นวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มตามมาตรา ๘๘ และ ๘๘/๒ ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโดยวิธีพิเศษตามมาตรา ๔๙

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6860/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินฝากและเงินเดือนที่ไม่ได้ยื่นแบบชำระภาษี และการหลีกเลี่ยงภาษีร่วมกันระหว่างผู้รับเงินได้และนายจ้าง
เจ้าพนักงานประเมินได้หลักฐานว่าโจทก์มีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินเดือนและค่าน้ำมันรถยนต์ที่ได้รับจากห้าง ส. ซึ่งเป็นนายจ้าง เป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (1) แห่ง ป.รัษฎากร และนำเงินฝากเข้าบัญชีโจทก์ซึ่งโจทก์ไม่สามารถนำสืบพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) วิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีนั้น เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีตามมาตรา 19 ถึง 27 แห่ง ป.รัษฎากร ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินโดยวิธีพิเศษ โดยกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้น อันจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรเสียก่อนตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร
โจทก์มีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (1) และ (8) เป็นจำนวนตามการประเมินในแต่ละปีภาษีพิพาท ซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์หักล้างได้ว่ามิใช่เงินได้ของโจทก์ เงินฝากดังกล่าวเป็นทรัพย์สินที่ได้รับ จึงเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่ง ป.รัษฎากร
เมื่อโจทก์มีรายการเงินฝากในบัญชีซึ่งโจทก์ไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด จึงถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (8) โจทก์จึงมีหน้าที่ต้องยื่นแบบชำระภาษีครึ่งปีตามมาตรา 56 ทวิ
แม้ห้าง ส. มิได้หักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่ง โจทก์เป็นผู้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบและชำระภาษี แต่โจทก์ไม่ยื่นแบบและชำระภาษี โจทก์จึงต้องรับผิดชำระภาษีตามการประเมิน
โจทก์และห้าง ส. ร่วมกันหลีกเลี่ยงภาษี จึงไม่สมควรงดเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มยังไม่มีเหตุอันสมควรให้งดหรือลด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีตามวิธีปกติ vs. วิธีพิเศษ (มาตรา 49) ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายอย่างละเอียด
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าผู้มีเงินได้มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ เพราะจากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ นอกจากนี้ขั้นตอนวิธีการตรวจสอบตามมาตรา 49 จะต้องตรวจสอบถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้นปีและตรวจสอบหามูลค่าทรัพย์สินสุทธิปลายปี จากนั้นจะหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปีกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีเดียวกันผลเพิ่มที่หาได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษี ก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา 49 จะไม่มีการนำค่าใช้จ่ายมาหักออกแต่อย่างใด ส่วนการประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนหารายได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับในรอบปีหรือที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมินแล้วตรวจดูว่าเป็นเงินประเภทใดตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) จากนั้นจึงหักด้วยค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ตามมาตรา 43 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้วหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามบัญชีอัตราภาษี
คดีนี้หลังจากกรมสรรพากรจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการเสียภาษีของโจทก์แล้ว ได้มีการพิจารณาวิธีการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ว่าจะใช้วิธีคำนวณหาค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิตามมาตรา 49 หรือจะตรวจสอบโดยวิธีปกติ คณะทำงานได้ประชุมลงมติให้ใช้วิธีปกติในการตรวจสอบเพราะการตรวจสอบโดยวิธีหาค่าเพิ่มสุทธิจะมีอุปสรรค จากนั้นเจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจยอดเงินได้ที่โจทก์และภริยาได้แสดงไว้ในแบบ ภ.ง.ด.91 ประจำปี2531, 2532 และ ภ.ง.ด.90 ประจำปี 2533 แล้ว ปรากฏว่ามียอดเงินรายได้ต่ำกว่ายอดเงินที่ได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของ รสช.เป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นโดยได้ขอหลักฐานเพิ่มเติมจากหน่วยราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทที่ภริยาโจทก์และ ร. หลานชายของโจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นจากกระทรวงพาณิชย์ และขอหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากนามแฝงของภริยาโจทก์ทั้ง 6 บัญชี จากธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากแล้วคณะทำงานได้ขออนุมัติออกหมายเรียกโจทก์ พร้อมทั้งขอขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกต่ออธิบดีจำเลยตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงได้ออกหมายเรียกโจทก์มาชี้แจง สำหรับบัญชีเงินฝากในนามแฝงนั้นโจทก์และภริยาไม่เคยโต้แย้งว่าไม่ใช่บัญชีของโจทก์และภริยา แต่โจทก์ชี้แจงว่าบัญชีเงินฝากนามแฝง 6 บัญชี เป็นบัญชีกิจการร่วมค้าของภริยาโจทก์เพื่อจัดซื้อและพัฒนาที่ดิน ซึ่งเงินฝากเข้าบัญชีส่วนใหญ่เป็นเงินที่ผู้ร่วมลงทุนจ่ายให้ เหตุที่แยกออกเป็น 6 บัญชี เพื่อให้รู้ว่าเป็นเงินฝากของใคร เท่าใด แต่บุคคลที่โจทก์อ้างว่าได้นำเงินมาร่วมลงทุนไม่สามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่โจทก์อ้าง คณะทำงานจึงเห็นว่าเงินฝากดังกล่าวมิใช่เป็นเงินที่บุคคลอื่นฝากเข้าบัญชีเพื่อร่วมลงทุนซื้อที่ดิน ส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นจากการตรวจหลักฐานการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ปรากฏว่าภริยาโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ โดยระบุว่าชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว แต่โจทก์และภริยาพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้มาด้วยวิธีใด คณะทำงานจึงถือว่าเงินฝากในบัญชีนามแฝงและผลประโยชน์รวมทั้งหุ้นที่ได้รับในบริษัทดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ที่จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้เมื่อได้ยอดเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภริยาได้รับทั้งหมดในปีภาษีดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเป็นเงินได้สุทธิ นำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและประเมินให้โจทก์ชำระภาษี จึงถือได้ว่าวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินโจทก์เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27แห่ง ป.รัษฎากรโดยชอบแล้ว ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นภาษีเงินได้: เช็คของขวัญ, เงินซื้อหุ้น, และเงินจากตั๋วสัญญาใช้เงิน การพิจารณาแหล่งที่มาและภาระภาษี
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่า การประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา 49 แห่งประมวลรัษฎากร เพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้น แม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลาง แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 49 แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19,20,23,24 แห่งประมวลรัษฎากร จึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน 15,000,000 บาท ให้ ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่น แล้ว ด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่าง ๆ ต่อมา ด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48 บาท ซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน 1,301,946.48 บาท น่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงิน และโจทก์ก็อ้างว่า ด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว ซึ่งตามประมวลรัษฎากร มาตรา 50 ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้เมื่อ ด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้ว โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีก ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 6,42(14) และ 56 วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี 2533 จำนวน 46 ฉบับรวมเป็นเงิน 83,102,500 บาท นั้น โจทก์นำสืบว่าบริษัท ส. จำกัด มอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดิน โดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้ แม้บริษัท ส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง 85,000,000 บาทเศษ ดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัท ส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับ โดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อ การที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 40(8) ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10135/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาษีอากร: การซื้อขายหุ้น, การรับเช็คของขวัญ, และการหาผลประโยชน์จากตั๋วสัญญาใช้เงิน การประเมินและพิสูจน์แหล่งที่มาของเงิน
ที่โจทก์อุทธรณ์ว่าการประเมินภาษีอากรไม่ชอบด้วยมาตรา49แห่งประมวลรัษฎากรเพราะมิได้รับอนุญาตจากอธิบดีนั้นแม้จะมิใช่ปัญหาที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลภาษีอากรกลางแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกาจึงรับวินิจฉัยให้ คดีนี้เจ้าพนักงานประเมินมิได้ใช้วิธีพิเศษกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิขึ้นเองโดยถือเงินหรือทรัพย์สินซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์หรือเข้ามาอยู่ในครอบครองของผู้มีเงินได้เป็นหลักในการพิจารณาซึ่งจะต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา49แต่เป็นกรณีออกหมายเรียกตรวจสอบไต่สวนและแจ้งประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา19,20,23,24แห่งประมวลรัษฎากรจึงไม่ต้องได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร โจทก์มอบเงินจำนวน15,000,000บาทให้ด. ไปหาผลประโยชน์ร่วมกับบุคคลอื่นแล้วด. ได้นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นดังกล่าวไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินของบริษัทเงินทุนต่างๆต่อมาด. จึงได้นำเงินมาคืนให้โจทก์จำนวน16,301,946.48บาทซึ่งแม้โจทก์จะได้เงินเพิ่มขึ้นจากเดิมจำนวน1,301,946.48บาทน่าเชื่อว่าเป็นเงินดอกเบี้ยจากตั๋วเงินที่ด. นำเงินของโจทก์กับบุคคลอื่นไปซื้อตั๋วสัญญาใช้เงินและโจทก์ก็อ้างว่าด. ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วซึ่งตามประมวลรัษฎากรมาตรา50ก็ได้บัญญัติให้บริษัทผู้จ่ายดอกเบี้ยตั๋วเงินหักภาษีณที่จ่ายไว้เมื่อด. ในฐานะผู้จัดการของคณะบุคคลที่มอบหมายให้นำเงินไปหาผลประโยชน์ได้เสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้แล้วโจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้ในส่วนนี้อีกตามประมวลรัษฎากรมาตรา6,42(14)และ56วรรคสุดท้าย เช็คของขวัญที่โจทก์ได้รับในปี2533จำนวน46ฉบับรวมเป็นเงิน83,102,500บาทนั้นโจทก์นำสืบว่าบริษัทส. จำกัดมอบให้โจทก์เป็นค่าซื้อที่ดินโดยบริษัทส. รับเช็คของขวัญดังกล่าวมาจากลูกค้าของบริษัทอีกต่อหนึ่งเช่นนี้แม้บริษัทส. จะได้ซื้อที่ดินจากโจทก์เป็นเงินถึง85,000,000บาทเศษดังที่โจทก์นำสืบจริงก็ไม่มีเหตุผลใดที่บริษัทส. จะต้องชำระค่าที่ดินให้โจทก์โดยใช้เช็คแบ่งย่อยออกเป็นหลายฉบับโดยเฉพาะเป็นเช็คของขวัญที่มิใช่เช็คของบริษัทเองหรือแคชเชียร์เช็คซึ่งน่าจะใช้เป็นหลักฐานในการชำระเงินได้ดีกว่าดังนี้เมื่อพยานหลักฐานโจทก์พิรุธไร้น้ำหนักไม่น่าเชื่อการที่เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ถือว่าเงินตามเช็คดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา40(8)ของโจทก์จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นส่วนหนึ่งของหนี้ภาษีเกิดขึ้นก่อนล้มละลาย เจ้าหนี้มีสิทธิรับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามประมวลรัษฎากรถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเมื่อกรมสรรพากรเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วยแม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดิน แต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ประจำปี 2530 เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี 2530 ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 56, 57 จัตวา เมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วย แม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย
การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19, 23 มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 25, 49 หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสืบเนื่องมาจากลูกหนี้มีรายได้จากการขายบ้านและที่ดินแต่มิได้ยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี2530เบี้ยปรับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาซึ่งลูกหนี้จะต้องยื่นแบบแสดงรายการและเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี2530ตามประมวลรัษฎากรมาตรา56,57จัตวาเมื่อเจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ย่อมมีสิทธิได้รับชำระหนี้เบี้ยปรับด้วยแม้เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้แต่เมื่อมูลหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังผู้ต้องเสียภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรมาตรา25,49หาทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมินตามหมายเรียกไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4555/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบี้ยปรับภาษีเกิดขึ้นพร้อมหนี้ภาษี แม้แจ้งประเมินหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ เจ้าหนี้มีสิทธิได้รับชำระ
เบี้ยปรับของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นเงินภาษีที่เกิดขึ้นพร้อมกับหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แม้ว่าเจ้าพนักงานประเมินจะได้แจ้งการประเมินไปยังลูกหนี้ภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ แต่เมื่อลูกหนี้ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและเบี้ยปรับได้เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ กรมสรรพากรเจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระเบี้ยปรับด้วย การที่ลูกหนี้ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 19,23มีผลเพียงทำให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินเงินภาษีอากรตามที่รู้เห็นว่าถูกต้องและแจ้งจำนวนภาษีอากรไปยังลูกหนี้ตามมาตรา 25,49 เท่านั้น ไม่ได้ทำให้เงินเบี้ยปรับเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อลูกหนี้ไม่ไปพบเจ้าพนักงานประเมิน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5218/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานประเมินภาษี การประเมินจากรายได้ที่แท้จริง แม้ไม่มีเอกสารหลักฐานครบถ้วน และการพิจารณาเงินได้ของภริยาและบุตร
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานประเมินและคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ของจำเลยประเมินภาษีโจทก์ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 เป็นการไม่ชอบเพราะได้นำเอาทรัพย์สินซึ่งมิได้เป็นกรรมสิทธิ์ของ โจทก์มาเป็นฐานในการคำนวณภาษี กับได้เอาค่าใช้จ่ายในส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ของโจทก์มาเป็นรายได้ของโจทก์ แม้จะไม่ได้ระบุ ว่าทรัพย์สินเป็นอะไร ราคาเท่าใดและค่าใช้จ่ายนั้นมีจำนวนเท่าใดก็ตาม แต่คดีพิพาทกันเฉพาะภาษีเงินได้ประจำปี พ.ศ. 2514-2517เจ้าพนักงานประเมินได้หมายเรียกโจทก์ไปทำการตรวจสอบ ไต่สวน เกี่ยวกับทรัพย์สินและค่าใช้จ่ายของโจทก์แล้วทำการประเมิน ภาษีเพิ่มจากหลักฐานดังกล่าว ทั้งโจทก์ได้อุทธรณ์การประเมิน จำเลยย่อมทราบเรื่องดีมิใช่เพิ่งจะมากล่าวอ้างเมื่อฟ้องคดีต่อศาล ถือได้ว่าฟ้องโจทก์แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอ บังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็น หลัก แห่งข้อหาเช่นว่านั้นเพียงพอที่ จำเลยจะให้การต่อสู้คดีแล้ว ฟ้อง โจทก์ จึงไม่เคลือบคลุม เจ้าพนักงานประเมินหมายเรียกโจทก์นำเอกสารหลักฐานไป ทำ การตรวจสอบ แต่โจทก์ไม่นำบัญชีเอกสารการรับจ่ายไปให้ ทำการ ตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่า โจทก์มีเงินได้แท้จริงเป็นจำนวนเท่าใด เจ้าพนักงานประเมินย่อมมี อำนาจทำการประเมินภาษีโจทก์เพิ่มได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 49 โดยได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร.
of 3