คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 2

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 606/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงในคดีเถียงกรรมสิทธิ์ที่มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท
โจทก์ฟ้องขอให้สั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ให้จำเลยรื้อถอนหลักไม้แก่นที่ปักไว้ในที่ดินของโจทก์ออกไป ห้ามจำเลยเข้าเกี่ยวข้อง จำเลยให้การต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยอันมีลักษณะเป็นการเถียงกรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์เมื่อคดีนี้มีทุนทรัพย์ไม่เกิน 10,000 บาท คดีจึงอยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 15 และมาตรา 22(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันการหย่าโดยความยินยอม แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า และอำนาจศาลในการสั่งให้หย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจ ย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514 แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนัก-นายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานทูตหรือกงสุลไทยก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วเมื่อจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่ให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นอีกเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียน สำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด
แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศหากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้
เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อยืนยันผลหนังสือหย่าที่ทำไว้แล้ว จำเลยมีหน้าที่จดทะเบียนหย่าตามข้อตกลง
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5887/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องหย่าเพื่อให้การหย่าโดยความยินยอมสมบูรณ์ แม้จำเลยไม่ปฏิบัติตามหนังสือหย่า
เมื่อกฎหมายแห่งสัญชาติของโจทก์จำเลยยินยอมให้คู่สมรสหย่าโดยความยินยอมได้ การที่โจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันด้วยความสมัครใจย่อมมีผลใช้บังคับกันได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1514แม้โจทก์กับจำเลยจะมิได้จดทะเบียนสมรสโดยนายทะเบียนประจำสำนักนายทะเบียนอำเภอหรือกิ่งอำเภอ หรือโดยนายทะเบียน ณ ที่ทำการสถานฑูตหรือกงสุลไทย ก็ตาม แต่จะอ้างเป็นเหตุเสื่อมสิทธิของบุคคลภายนอกผู้กระทำโดยสุจริตไม่ได้ เว้นแต่จะได้จดทะเบียนการหย่าแล้วจำเลยไม่ยอมจดทะเบียนหย่า โจทก์จึงต้องฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์กับจำเลยหย่าขาดจากกันเพื่อโจทก์จะได้ดำเนินการให้นายทะเบียนบันทึกไว้ในทะเบียนเพื่อให้การหย่าสมบูรณ์ตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว คำพิพากษาของศาลที่โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันมีสภาพใช้บังคับได้ ส่วนจะมีผลใช้บังคับในประเทศอังกฤษหรือไม่เป็นเรื่องหนึ่ง แต่มิใช่เป็นการขยายเขตอำนาจศาลไทยออกไปนอกราชอาณาจักรเพราะศาลมิได้บังคับให้นายทะเบียนสำนักงานทะเบียน ณ ประเทศอังกฤษ ทำการจดทะเบียนหย่าให้แก่โจทก์จำเลยแต่ประการใด แม้โจทก์กับจำเลยจะจดทะเบียนสมรสกันในต่างประเทศตามแบบของต่างประเทศ หากโจทก์จำเลยประสงค์จะจดทะเบียนการหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่ายก็สามารถจดทะเบียนหย่าในประเทศไทยตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว เมื่อได้ปฏิบัติตามกฎหมายดังกล่าวแล้วการหย่าโดยความยินยอมของโจทก์และจำเลยย่อมสมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1515 และสามารถใช้ยันบุคคลภายนอกได้ เมื่อโจทก์จำเลยทำหนังสือหย่ากันเองถูกต้องตามกฎหมายแล้วเท่ากับทั้งสองฝ่ายตกลงยอมไปร้องขอต่อนายทะเบียนให้จดทะเบียนการหย่าตามพระราชบัญญัติจดทะเบียนครอบครัว จำเลยจะปฏิเสธไม่ยอมไปร้องขอให้นายทะเบียนจดทะเบียนหย่าโดยไม่มีเหตุอันสมควรไม่ได้ เมื่อจำเลยมีหน้าที่ต้องไปจดทะเบียนหย่าแต่ไม่ยอมปฏิบัติ เท่ากับจำเลยโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้โจทก์จำเลยหย่าขาดจากกันโดยไม่จำเป็นต้องมีเหตุหย่าได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 62/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนสินค้า, ส่วนได้เสีย, ข้อจำกัดความรับผิด, การรับช่วงสิทธิ, คำให้การปฏิเสธ
คำให้การของจำเลยที่ว่า "จำเลยไม่ทราบและไม่ขอรับรอง" เป็นคำให้การที่ไม่ได้แสดงโดยชัดแจ้งว่าจำเลยปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ทั้งสิ้นหรือแต่บางส่วน ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การปฏิเสธจึงรับฟังข้อเท็จจริงได้ตามฟ้อง
บริษัท ด. และบริษัท อ. ร่วมทุนกันดำเนินธุรกิจขนส่งทางทะเล ใช้ชื่อทางการค้าว่าสายเดินเรือเมอสก์ และเรือซึ่งบรรทุกสินค้ารายนี้เป็นของสายเดินเรือเมอสก์ บริษัททั้งสองซึ่งร่วมทุนกันดังกล่าวจึงเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ และถือได้ว่าจำเลยซึ่งเป็นสำนักงานสาขาของบริษัททั้งสองนั้นเป็นผู้รับขนสินค้ารายนี้ด้วย
การที่บริษัท ย. เป็นผู้สั่งสินค้าตามฟ้องเข้ามาจากประเทศสาธารณรัฐฟิลิปปินส์ โดยการเปิดเลตเตอร์ออฟเครดิต ต่อ อินเตอร์เนชั่นแนลแบงค์ออฟไชน่า ถือได้ว่า บริษัท ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในสินค้าที่เอาประกันไว้นั้น
ข้อจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในใบตราส่งที่พิมพ์เพิ่มเติมขึ้นจากแบบพิมพ์เดิมโดยไม่ปรากฏการรับรู้ของผู้ส่งหรือผู้ตราส่ง จะฟังว่าผู้ส่งหรือผู้ตราส่งตกลงด้วยในข้อจำกัดความรับผิดของจำเลยซึ่งเป็นผู้ขนส่งหาได้ไม่ และเมื่อข้อจำกัดความรับผิดนั้นไม่อาจใช้ยันผู้ส่งหรือผู้ตราส่งเสียแล้ว ก็ย่อมใช้ยันผู้รับตราส่งซึ่งได้รับสิทธิของผู้ส่งมาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 627 ตลอดจนผู้รับช่วงสิทธิของผู้รับตราส่งไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีข้ามแดนและการรับผิดในสัญญาประกันภัย: ภูมิลำเนาของนิติบุคคลและลายมือชื่อในกรมธรรม์
การรวมกันประกอบกิจการนั้น ผู้เข้าร่วมประกอบกิจการอาจเป็นหุ้นส่วนกันได้ แต่การประกอบกิจการแทนกันนั้นเป็นเรื่องตัวการตัวแทนบุคคลสองฝ่ายจึงไม่อาจทั้งร่วมกัน และแทนกันในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งได้
จำเลยทั้งสี่ต่างมีสภาพเป็นนิติบุคคล ภูมิลำเนาของจำเลยแต่ละคนจึงต้องเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 จดทะเบียนและตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะยื่นคำให้การเข้ามา แต่เมื่อฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้เสนอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2 แล้วก็ไม่ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีถึงจำเลยที่ 3 ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867 สัญญาประกันภัยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดและกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยออกให้ต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกัน ดังนั้นเมื่อสาขาของบริษัทจำเลยที่ 3 ที่สิงคโปร์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้า และเป็นผู้ออกกรมธรรม์ประกันภัยจำเลยที่ 4 ไม่ได้ลงชื่อในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2805/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีจำเลยต่างชาติ และความรับผิดในสัญญาประกันภัยที่ไม่มีลายมือชื่อ
การรวมกันประกอบกิจการนั้น ผู้เข้าร่วมประกอบกิจการอาจเป็นหุ้นส่วนกันได้แต่การประกอบกิจการแทนกันนั้นเป็นเรื่องตัวการตัวแทนบุคคลสองฝ่ายจึงไม่อาจทั้งร่วมกันและและแทนกันในการประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งได้
จำเลยทั้งสี่ต่างมีสภาพเป็นนิติบุคคล ภูมิลำเนาของจำเลยแต่ละคนจึงต้องเป็นไปตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 71 บัญญัติไว้เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 3 จดทะเบียนและตั้งสำนักงานใหญ่อยู่ต่างประเทศไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 3 แม้จำเลยที่ 3 จะยื่นคำให้การเข้ามา แต่เมื่อฟ้องโจทก์ต้องห้ามมิให้เสนอต่อศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 2 แล้วก็ไม่ทำให้ศาลมีอำนาจพิจารณาคดีถึงจำเลยที่ 3 ได้
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 867สัญญาประกันภัยต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดและกรมธรรม์ประกันภัยที่ผู้รับประกันภัยออกให้ต้องลงลายมือชื่อของผู้รับประกัน ดังนั้นเมื่อสาขาของบริษัทจำเลยที่ 3 ที่สิงคโปร์เป็นผู้รับประกันภัยสินค้า และเป็นผู้ออกกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 ไม่ได้ลงชื่อในกรมธรรม์ประกันภัย จำเลยที่ 4 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 114/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: การฟ้องคดีแพ่งต้องยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจเหนือภูมิลำเนาจำเลย หากฟ้องผิดศาล ศาลมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องได้
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเรียกค่าเสียหายในข้อหาละเมิด ต้องอยู่ ในบังคับตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) ซึ่งให้เสนอต่อศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาล เมื่อจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในจังหวัดปทุมธานี มิได้อยู่ที่จังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีในเขตอำนาจศาลแพ่งโจทก์จะยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลแพ่งโดยศาลแพ่งมิได้ใช้ดุลพินิจยอมรับคดีไว้พิจารณาตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมไม่ได้
ศาลแพ่งสั่งรับฟ้องของโจทก์ไว้เพราะโจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยมีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อปรากฏว่า(ขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง) จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่นอกเขตอำนาจศาลแพ่งศาลแพ่งย่อมมีอำนาจเพิกถอนคำสั่งเดิมและมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องของโจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1753/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาค่าเลี้ยงดูบุตรหลังหย่า: สิทธิฟ้อง, อายุความ, และขอบเขตความรับผิด
โจทก์ซึ่งหย่าขาดจากจำเลยฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูบุตรค่าเล่าเรียน ตลอดจนอุปกรณ์การเรียนและค่ารักษาพยาบาลบุตรตามสัญญาที่ทำกันไว้ ไม่ใช่คดีเกี่ยวกับสิทธิในครอบครัว
เมื่อโจทก์และจำเลยทำสัญญากันว่าจำเลยยอมยกให้โจทก์เป็นผู้อุปการะเลี้ยงดูบุตรและยอมส่งค่าเลี้ยงดูบุตรจนกว่าบุตรจะบรรลุนิติภาวะ โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องให้จำเลยจ่ายเงินดังกล่าวให้โจทก์ตามสัญญาได้ และคดีไม่อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็ก
การนับอายุความฟ้องร้องเรียกเงินค่าเลี้ยงดูบุตรที่จำเลยต้องจ่ายแก่โจทก์เป็นรายเดือน และเงินค่าเล่าเรียนและค่าอุปกรณ์การเรียนเป็นรายปีนั้น ย่อมต้องแยกนับดูว่ารายใดเกิน 10 ปีหรือไม่ ส่วนที่ยังไม่เกิน 10 ปีก็ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1511/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำเลยต่างประเทศ: การมีตัวแทนในไทยไม่ถือเป็นภูมิลำเนา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ที่ 2 ตั้งจำเลยที่ 3 และจำเลยที่ 4 ตั้งจำเลยที่ 5 เป็นตัวแทนในประเทศไทยเพื่อดูแลกิจการและผลประโยชน์ของจำเลย โดยให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 3 ที่ 5 ฐานละเมิดต่อโจทก์ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่ได้อยู่ในประเทศไทย แม้จำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ตั้งตัวแทนดังกล่าวก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศไทย เพราะจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ไม่มีสำนักงานสาขาอยู่ในประเทศไทยหรือเลือกเอาประเทศไทยเป็นภูมิลำเนาในส่วนกิจการ อันทำในประเทศไทยด้วย โจทก์จึงไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ที่ 2 ที่ 4 ต่อศาลในประเทศไทย
of 4