คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 715

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค้ำประกันและค่าใช้จ่ายบังคับจำนอง: ศาลแก้ไขอัตราดอกเบี้ยและรับรองค่าประกาศ
ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันหนี้ขายลดตั๋วเงินจำนวน 89,051.47 บาท นับแต่วันที่ 7 มิถุนายน 2529จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยไม่ได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยว่าจะต้องชำระหนี้แก่โจทก์ในเงินต้นดังกล่าวในอัตราดอกเบี้ยร้อยละเท่าใด ในเมื่อจำเลยที่ 1 ต้องรับผิดในดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 17.5 ต่อปีตามสัญญาค้ำประกันแล้ว แต่ไม่ได้กำหนดให้ว่าต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเท่าใด จึงเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงแก้ไขให้ถูกต้อง
โจทก์ได้ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่ 2ตามภูมิลำเนาที่อยู่ของจำเลยที่ 2 สองครั้ง แต่ไม่สามารถส่งได้ โจทก์จึงบอกกล่าวการบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์ เพื่อให้มีผลตาม ป.พ.พ. มาตรา 728ฉะนั้น ค่าประกาศหนังสือพิมพ์จึงถือได้ว่าเป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองตามมาตรา 715 (3) โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่าประกาศหนังสือพิมพ์ 400 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากจำเลยที่ 2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4887/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับจำนอง, ค่าฤชาธรรมเนียม, และอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ส่งหนังสือบอกกล่าวบังคับจำนองไปยังจำเลยที่2ตามภูมิลำเนาสองครั้งแต่ไม่สามารถส่งได้โดยได้รับแจ้งว่าจำเลยที่2ไปทำงานต่างจังหวัดและย้ายไม่ทราบที่อยู่ใหม่โจทก์จึงบอกกล่าวบังคับจำนองโดยประกาศทางหนังสือพิมพ์เพื่อให้มีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา728ถือว่าคำประกาศหนังสือพิมพ์เป็นค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองโจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยที่2

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการอุทธรณ์หนี้จำนอง: การบังคับคดีเกินกว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้ที่เหลือซึ่งเป็นหนี้สามัญ นอกเหนือไปจากหนี้จำนองที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในวงเงินต้น 2,000,000 บาท เท่านั้น โจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่ 5รับผิดในหนี้จำนองเพิ่มขึ้นไม่ ดังนั้น หากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้ว ก็ไม่อาจบังคับจำนองได้มากไปกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 5 รับผิดในหนี้จำนองจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการไถ่ถอนทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 5 ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 918/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับชำระหนี้จากการจำนองและการจำกัดสิทธิในการไถ่ถอนทรัพย์สินจำนองเมื่อมีการอุทธรณ์
โจทก์เพียงแต่อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้ที่เหลือซึ่งเป็นหนี้สามัญนอกเหนือไปจากหนี้จำนองที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่5รับผิดในวงเงินต้น2,000,000บาทเท่านั้นโจทก์หาได้อุทธรณ์ขอให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้จำนองเพิ่มขึ้นไม่ดังนั้นหากโจทก์ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์แล้วก็ไม่อาจบังคับจำนองได้มากไปกว่าที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่5รับผิดในหนี้จำนองจึงไม่มีเหตุที่จะให้งดการไถ่ถอนทรัพย์จำนองของจำเลยที่5ไว้ในระหว่างอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้รวม: สิทธิจำเลยในการปฏิเสธการชำระหนี้เฉพาะส่วน
โจทก์จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ใด ๆ ที่โจทก์หรือ จ. บิดาโจทก์ มีต่อจำเลยในขณะนั้นหรือในภายหน้า โจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ครบถ้วนเฉพาะหนี้ส่วนของตนซึ่งไม่ครบวงเงินตามสัญญาจำนอง ในขณะที่ จ.ยังคงเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงชอบที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 320

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 626/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำนองประกันหนี้รวม เจ้าหนี้มีสิทธิบอกปัดการชำระหนี้เฉพาะส่วน หากหนี้รวมยังไม่ครบ
โจทก์จำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ใด ๆ ที่โจทก์หรือ จ.บิดาโจทก์ มีต่อจำเลยในขณะนั้นหรือในภายหน้า โจทก์จะขอไถ่ถอนจำนองโดยชำระหนี้ครบถ้วนเฉพาะหนี้ส่วนของตนซึ่งไม่ครบวงเงินตามสัญญาจำนอง ในขณะที่ จ. ยังคงเป็นหนี้จำเลยอยู่อีกจำนวนหนึ่งไม่ได้ จำเลยจึงชอบที่จะบอกปัดไม่รับชำระหนี้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 320

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองเกินวงเงินและดอกเบี้ยทบต้น: ข้อตกลงโมฆะและขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำ-ประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน1,000,000 บาท เท่านั้น ข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมีดอกเบี้ยหรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตาม ป.พ.พ.มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืน ป.พ.พ. มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย
ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกัน ซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1 เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าว หลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5629/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดความรับผิดจำนองเกินวงเงินสัญญา และดอกเบี้ยทบต้นที่คำนวณได้ตามสัญญา
ตามสัญญาค้ำประกันและสัญญาจำนองระบุว่าจำเลยที่ 3ผู้ค้ำประกันและผู้จำนอง ค้ำประกันและจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 ในวงเงิน 1,000,000 บาท จำเลยที่ 3 จึงมีความรับผิดตามสัญญาดังกล่าวในต้นเงิน 1,000,000 บาท เท่านั้นข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองที่ว่า การกำหนดจำนวนต้นเงินตามสัญญาจำนองไม่ตัดสิทธิผู้รับจำนองที่จะบังคับจำนองสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินที่กำหนดไว้เพราะมี ดอกเบี้ย หรือหนี้อุปกรณ์รวมกันเกินวงเงินที่กำหนดไว้ เป็นข้อตกลงที่ใช้ได้เพราะจำเลยที่ 3ผู้จำนองต้องรับผิดดอกเบี้ยและหนี้อุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 อยู่แล้ว แต่ข้อตกลงที่กำหนดให้จำเลยที่ 3 ผู้จำนองต้องรับผิดสำหรับต้นเงินที่เกินวงเงินตามสัญญาจำนองเพราะเหตุใด ๆ นั้น เป็นข้อตกลงที่ทำให้สัญญาจำนองไม่มีจำนวนเงินที่แน่นอน หรือไม่มีจำนวนขึ้นสูงสุดที่ได้เอาทรัพย์จำนองตราไว้เป็นประกันเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 708 และเป็นช่องทางให้หลีกเลี่ยงการเสียค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนจำนอง จึงตกเป็นโมฆะไม่มีผลใช้บังคับ ส่วนที่จำเลยที่ 3 ตกลงยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ก็มีผลเพียงว่าจำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันจะอ้างสิทธิพิเศษ เช่น การยกข้อต่อสู้ซึ่งลูกหนี้มีต่อเจ้าหนี้ขึ้นต่อสู้หรือเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนไม่ได้เท่านั้น มิได้หมายความว่าจำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดในจำนวนหนี้เท่ากับตัวลูกหนี้ด้วย ตามสัญญาต่อท้ายสัญญาจำนองระบุว่า กรณีผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามบัญชีเดินสะพัด ให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นได้ตามประเพณีการค้าของธนาคารพาณิชย์ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3 ได้ตามสัญญา นับแต่วันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เต็มตามวงเงินที่จำเลยที่ 3 ทำสัญญาจำนองจนถึงวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 เลิกกันซึ่งปรากฏว่ามีรายการหักทอนบัญชีครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 27เมษายน 2528 หลังจากนั้นไม่ปรากฏว่าโจทก์ยอมให้จำเลยที่ 1เบิกเงินเกินบัญชีอีกต่อไป ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำเงินเข้าบัญชีเพื่อหักทอนหนี้ พฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงในวันดังกล่าวหลังจากนั้นโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นจากจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จำนอง: ดอกเบี้ยต้องจ่ายถึงวันขายทอดตลาด แม้จำเลยล้มละลาย ผู้จำนองยังต้องรับผิด
การที่ ฉ. จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยผู้ล้มละลาย ทรัพย์สินที่จำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนอง เมื่อผู้ร้องฟ้องฉ. เพื่อบังคับจำนองและเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอที่จะเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับชำระหนี้ก่อนหลังต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329คือต้องจัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย สุดท้ายจึงชำระหนี้อันเป็นประธานและดอกเบี้ยนั้นจะต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาดเพราะ ฉ. ผู้จำนองมิใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์จึงนำมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาใช้บังคับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จากการบังคับจำนองหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยก่อนหนี้และข้อยกเว้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้อง ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ.ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
of 8