คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.พ.พ. ม. 715

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชำระหนี้จำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยถึงวันขายทอดตลาด, ผู้จำนองยังต้องรับผิด
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้องทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนอง มาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่ง พิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ. ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ย ที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3713/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจำนองครอบคลุมหนี้ของลูกหนี้รายอื่น ผู้จำนองต้องรับผิดชอบดอกเบี้ยค้างชำระ การนำสืบภายหลัง
โจทก์ทำสัญญาจำนองในวงเงิน 390,000 บาท เพื่อประกันหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของ ท. ที่มีต่อธนาคารจำเลยผู้รับจำนอง โดยสัญญาจำนองระบุว่า ผู้จำนองได้จำนองเพื่อประกันเงินซึ่ง ท.ได้เบิกไปจากผู้รับจำนองหรือในเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลาทำสัญญาจำนองหรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้ากับค่าอุปกรณ์ คือ ดอกเบี้ย ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ ค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนอง ผู้จำนองยอมรับผิดชอบด้วยทั้งสิ้นและว่า ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยให้แก่ผู้รับจำนองในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ในจำนวนเงินทั้งสิ้นซึ่งลูกหนี้เป็นหนี้ผู้รับจำนอง ถ้าลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยที่กล่าวนี้ผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ค้างชำระทบต้นในบัญชีของลูกหนี้ด้วย ดังนั้น ย่อมมีความหมายว่า นอกจากโจทก์ผู้จำนองจะต้องรับผิดตามสัญญาจำนองเป็นเงิน 390,000 บาท แล้ว ยังต้องรับผิดสำหรับดอกเบี้ยเมื่อ ท. ซึ่งเป็นลูกหนี้ผิดนัดชำระดอกเบี้ยแก่จำเลยด้วย จำเลยซึ่งมีหน้าที่นำสืบภายหลังมีสิทธิอ้างส่งสัญญาค้ำประกันเพื่อการนำสืบตามประเด็นข้อต่อสู้ได้ แม้จะมิได้ถามค้านพยานโจทก์ในข้อนี้ไว้ก่อนก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้เบิกเกินบัญชี แม้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้จำนองยังต้องรับผิดชำระหนี้และดอกเบี้ย
ที่โจทก์ฟ้องบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งได้จำนองไว้เป็นประกันการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท พ.ตามสัญญาจำนองที่จำเลยทำไว้กับโจทก์ แม้บริษัท พ. ถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายและโจทก์ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่บริษัท พ. เป็นหนี้โจทก์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นแล้ว แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากทรัพย์สินของบริษัท พ. จำเลยก็ยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจำนองที่ได้ทำไว้กับโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 728 จำเลยทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันกับโจทก์ยอมรับผิดใช้ต้นเงินที่บริษัท พ. เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ไม่เกินจำนวนเงิน3,670,000 บาท แต่บริษัท พ. ได้ทำสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ยอมให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์สำหรับจำนวนเงินที่เบิกเกินบัญชีไปและหนังสือสัญญาจำนองก็มีข้อความระบุเช่นเดียวกันว่า จำเลยตกลงให้ดอกเบี้ยแก่โจทก์ในการจำนองที่ดินเป็นประกันการกู้เงินเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท พ. และถ้าผู้จำนองหรือลูกหนี้ผิดนัดไม่ชำระหนี้เป็นเหตุให้ผู้รับจำนองได้รับความเสียหาย ผู้จำนองยอมรับผิดชอบชดใช้เงินต้นพร้อมทั้งดอกเบี้ย ดังนั้นเมื่อบริษัทพ.ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ จำเลยซึ่งเป็นผู้จำนองเป็นประกันก็จะต้องรับผิดชำระเงินต้น 3,670,000 บาทพร้อมด้วยดอกเบี้ยให้แก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำนองประกันหนี้ลูกหนี้ล้มละลาย ผู้จำนองยังผูกพันชำระหนี้ตามสัญญา แม้ลูกหนี้ยังไม่ชำระ
โจทก์ฟ้องบังคับจำนองเอาแก่ทรัพย์สินของจำเลยซึ่งได้จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันการชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท พ.จำกัดแม้บริษัทพ. จำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ของโจทก์ที่จำเลยจำนองทรัพย์สินเป็นประกันถูกศาลพิพากษาให้ล้มละลายและโจทก์ก็ได้ยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีที่บริษัทพ. จำกัด เป็นหนี้โจทก์ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และมีสิทธิได้รับชำระหนี้ในคดีล้มละลายนั้นแล้ว แต่ตราบใดที่โจทก์ยังมิได้รับชำระหนี้ดังกล่าวจากทรัพย์สินของบริษัท พ. จำกัด จำเลยซึ่งเป็นผู้จำนองทรัพย์ของตนเป็นประกันหนี้ของบริษัท พ. จำกัดก็ยังคงมีความผูกพันตามสัญญาจำนองที่ได้ทำไว้กับโจทก์ โจทก์จึงยังมีสิทธิฟ้องบังคับจำนองแก่จำเลยได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 728 แม้จำเลยซึ่งเป็นผู้จำนองยอมรับผิดใช้ต้นเงินของบริษัท พ.จำกัด ในการเบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์เพียงไม่เกินจำนวนเงินจำนอง3,670,000 บาท มิใช่รับผิดโดยไม่จำกัดก็ตาม แต่เมื่อจำเลยมีความผูกพันตามสัญญาจำนองที่ทำไว้กับโจทก์ที่จะต้องชำระดอกเบี้ยและบริษัท พ. จำกัดซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ชำระหนี้จำเลยซึ่งเป็นผู้จำนองเป็นประกันก็ต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ด้วย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1920/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบังคับคดี: ราคาขายทอดตลาดต่ำกว่าวงเงินจำนองและราคาประเมิน ถือเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายและชอบที่จะยกเลิกได้
ในการขายทอดตลาดโดยปลอดจำนองนั้น เจ้าพนักงานบังคับคดีควรตั้งราคาขายขั้นต่ำเท่ากับวงเงินจำนองพร้อมค่าอุปกรณ์ ถ้าจะขายราคาต่ำกว่านั้นควรให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้จำนองยินยอมหรือมีเหตุผลพิเศษเพื่อประโยชน์ของคู่ความ เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์จำนองให้ผู้ซื้อทรัพย์ ไปในราคาเพียง 205,000 บาท ต่ำกว่าวงเงินจำนองเมื่อ 5 ปีก่อน ถึง45,000 บาท ทั้งที่เพิ่งเป็นการขายทอดตลาดครั้งแรก และไม่ ปรากฏเหตุผลพิเศษที่เจ้าพนักงานบังคับคดีจะต้องรีบด่วนขายไปใน ราคานี้ และได้ความต่อมาว่า หลังจากศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกเลิกการขายทอดตลาดนี้แล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ทำการขายทอดตลาด ใหม่มีผู้ซื้อได้โดยให้ราคาสูงสุดถึง 360,000 บาท ซึ่งสูงกว่า การ ขายทอดตลาดครั้งพิพาทถึง 155,000 บาท ยิ่งแสดงให้เห็นว่า ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีขายทอดตลาดให้ผู้ซื้อทรัพย์ไปนั้น ต่ำ เกิน ไปมาก ไม่ใช่ราคาที่พอสมควร ส่อให้เห็นวี่แวว อันไม่สุจริต ถือได้ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดฝ่าฝืนบทบัญญัติ ว่าด้วย การ บังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง โจทก์จึงชอบ ที่จะขอให้ยกเลิกเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยสัญญาเบิกเกินบัญชีและจำนอง: อัตราดอกเบี้ยต้องเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีประธาน, โจทก์ต้องแสดงรายละเอียดของหนี้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธานสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้ มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปีแต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใดนอกจากนี้โจทก์มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยกู้เบิกเงินเกินบัญชีต้องเป็นไปตามสัญญาประธาน สัญญาจำนองเป็นอุปกรณ์ไม่อาจเพิ่มดอกเบี้ยได้
สัญญาจำนองเป็นหนี้อุปกรณ์ จำนวนหนี้และอัตราดอกเบี้ยย่อมเป็นไปตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีอันเป็นหนี้ประธาน สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไม่มีข้อตกลงให้เพิ่มอัตราดอกเบี้ยได้จึงเพิ่มอัตราดอกเบี้ยสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีตามสัญญาจำนองซึ่งเป็นหนี้อุปกรณ์ไม่ได้
มูลหนี้ประธานเกิดจากสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีซึ่งมีรวม 5 ฉบับแต่ละฉบับกำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่างกัน โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาแต่ละฉบับ ฉบับที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยไว้ต่ำที่สุดร้อยละ 15 ต่อปี สูงที่สุดร้อยละ 18.5 ต่อปี แต่โจทก์ฟ้องรวมกันมาโดยไม่แยกให้แน่ชัดว่าสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีฉบับใด จำเลยที่ 1 เป็นหนี้เท่าใด นอกจากนี้โจทก์ก็มิได้นำสืบถึงประกาศของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ให้โจทก์มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยได้เกินอัตราร้อยละ 15 ต่อปีด้วยโจทก์จึงมีสิทธิได้ดอกเบี้ยเพียงร้อยละ 15 ต่อปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วงเงินจำนองครอบคลุมดอกเบี้ยหรือไม่? สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดเมื่อใด?
วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้น หาได้รวมถึงหนี้ดอกเบี้ยด้วยไม่ ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้
เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตวงเงินจำนอง, ดอกเบี้ยทบต้น, และการสิ้นสุดสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี
วงเงินจำนองตามที่ระบุในสัญญาจำนองหมายถึงเฉพาะหนี้เงินต้นหาได้รวมถึงหนี้ดอกเบี้ยด้วยไม่ ผู้รับจำนองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ในส่วนดอกเบี้ยที่เกินวงเงินจำนองได้ เมื่อสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยทำไว้กับผู้ร้องไม่ปรากฏรายการเดินสะพัดในบัญชีอันจะเป็นหลักฐานแสดงว่าผู้ร้องได้ยินยอมให้จำเลยเบิกเงินเกินบัญชีต่อไปอีกนับแต่วันสิ้นสุดของสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชี ทั้งไม่ปรากฏรายการนำเงินเข้าเพื่อหักทอนหนี้ของยอดเงินที่ยังค้างชำระพฤติการณ์แสดงว่าคู่กรณีทั้งสองฝ่ายให้ถือว่าสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีเป็นอันสิ้นสุดลงตามกำหนดระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญา ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะคิดดอกเบี้ยทบต้นโดยอาศัยข้อตกลงตามสัญญาเดิมอีกต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2207/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตสัญญาจำนอง: ครอบคลุมหนี้ค้ำประกันหรือไม่ แม้สัญญาจำนองระบุเป็นประกันหนี้สินทั้งหมด
ก. ผู้เป็นสมาชิกสหกรณ์จำเลยได้กู้เงินจำเลยโดยโจทก์ผู้เป็นสมาชิกอีกผู้หนึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ต่อมาโจทก์กู้เงินจำเลยโดยจำนองที่ดินไว้แก่จำเลยสัญญาจำนองมีข้อความว่า เพื่อประกันเงินซึ่งโจทก์เป็นหนี้จำเลยอยู่ในขณะทำสัญญาหรือในเวลาหนึ่งเวลาใดต่อไปภายหน้า กับทั้งหนี้สินต่าง ๆ ซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดไม่ว่าในฐานะใด ๆ ต่อจำเลย ดังนี้ สัญญาจำนองย่อมครอบคลุมถึงหนี้ตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าวด้วย แม้โจทก์จะชำระหนี้ที่โจทก์กู้จากจำเลยครบถ้วนแล้ว สัญญาจำนองก็ยังไม่ระงับสิ้นไป จำเลยมีสิทธิที่จะไม่จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินให้โจทก์
of 8