พบผลลัพธ์ทั้งหมด 80 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับจำนอง: บังคับจำนองเกินวงเงินที่ระบุในสัญญาไม่ได้ แม้มีหนี้ดอกเบี้ย
จำเลยที่ 1 กู้เงินผู้ร้องไป 260,700 บาท โดยจำนองที่ดินพร้อมด้วยเรือนพิพาทเป็นประกันในวงเงินไม่เกิน 97,700 บาท ผู้ร้องฟ้องจำเลยที่ 1 เพื่อบังคับจำนอง ศาลพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้ดังกล่าว และเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงิน 115,000 บาท แต่มิได้ยึดเรือนพิพาท จำเลยที่ 1 ยังคงค้างชำระหนี้ผู้ร้องอยู่อีก 130,000 บาท ดังนี้ ผู้ร้องจะบังคับจำนองเอากับที่ดินและเรือนพิพาทได้ไม่เกิน 97,700 บาท เท่านั้นไม่ว่าจะแยกบังคับหรือบังคับเอาพร้อมกันเมื่อผู้ร้องบังคับจำนองเฉพาะที่ดินได้เงินจำนวน 115,000 บาท เกินจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้ ก็ไม่มีสิทธิจะบังคับจำนองเอากับเรือนพิพาทอีกแม้การจำนองจะคลุมถึงหนี้อื่นเช่นดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมด้วย แต่ผู้ร้องก็ไม่ได้นำสืบว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนแน่นอนแยกได้จากหนี้สามัญเท่าใด ผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนองนั้นขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดเรือนพิพาทก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2794/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการบังคับจำนอง: จำนวนเงินจำนองเกินจำนวนที่จำนองไว้ สิทธิในการบังคับจำนองเรือนพิพาท
จำเลยที่1กู้เงินผู้ร้องไป260,700บาทโดยจำนองที่ดินพร้อมด้วยเรือนพิพาทเป็นประกันในวงเงินไม่เกิน97,700บาทผู้ร้องฟ้องจำเลยที่1เพื่อบังคับจำนองศาลพิพากษาให้จำเลยใช้หนี้ดังกล่าวและเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงิน115,000บาทแต่มิได้ยึดเรือนพิพาทจำเลยที่1ยังคงค้างชำระหนี้ผู้ร้องอยู่อีก130,000บาทดังนี้ผู้ร้องจะบังคับจำนองเอากับที่ดินและเรือนพิพาทได้ไม่เกิน97,700บาทเท่านั้นไม่ว่าจะแยกบังคับหรือบังคับเอาพร้อมกันเมื่อผู้ร้องบังคับจำนองเฉพาะที่ดินได้เงินจำนวน115,000บาทเกินจำนวนเงินจำนองที่ระบุไว้ก็ไม่มีสิทธิจะบังคับจำนองเอากับเรือนพิพาทอีกแม้การจำนองจะคลุมถึงหนี้อื่นเช่นดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมด้วยแต่ผู้ร้องก็ไม่ได้นำสืบว่าหนี้ดังกล่าวมีจำนวนแน่นอนแยกได้จากหนี้สามัญเท่าใดผู้ร้องจึงไม่อาจอาศัยอำนาจแห่งการจำนองนั้นขอรับชำระหนี้จากการขายทอดตลาดเรือนพิพาทก่อนเจ้าหนี้อื่น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4395/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยสัญญาจำนอง: การคิดดอกเบี้ยทบต้นและระยะเวลาเริ่มต้นการคิดดอกเบี้ย
จำเลยที่ 2 ที่ 3 ทำสัญญาจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินกู้เบิกเงินเกินบัญชีที่จำเลยที่ 1 ทำไว้กับธนาคารโจทก์ สัญญาจำนองระบุให้ผู้จำนองชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 15 ต่อปี ตกลงส่งดอกเบี้ยเดือนละหนึ่งครั้งมิได้ระบุให้คิดดอกเบี้ยทบต้น แม้ในสัญญาจำนองต่อท้ายข้อ 2 จะระบุว่าผู้จำนองยอมให้ผู้รับจำนองคำนวณดอกเบี้ยที่ลูกหนี้ผิดนัดค้างชำระทบต้นเข้าในบัญชีของลูกหนี้และผู้จำนองยอมรับผิดชดใช้เงินดอกเบี้ยนี้ด้วยก็ตาม เป็นเรื่องการคำนวณยอดหนี้ที่ผู้จำนองต้องรับผิด มิใช่ระบุให้โจทก์คิดดอกเบี้ยทบต้นเอากับจำเลยที่ 2 ที่ 3 ผู้จำนอง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่ 20 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป มิใช่ให้รับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง
สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงในวันที่ 20 เมษายน 2524 ซึ่งเป็นวันที่ถือว่าจำเลยที่ 1 ได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันดังกล่าวเป็นต้นไป มิใช่ให้รับผิดชำระดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองและค้ำประกันแยกสัญญา ไถ่ถอนจำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ค้ำประกัน
โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้บริษัท ภ.และหนี้ของโจทก์เองเป็นเงิน 180,000 บาท ในวันเดียวกันนั้นโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ.สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากกัน จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งจำนองในวงเงิน 180,000 บาท พร้อมทั้งค่าอุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 เท่านั้น ส่วนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. ที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันนั้นเป็นบุคคลสิทธิที่จำเลยจะต้องติดตามบังคับเอาจากโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญ โจทก์จึงมีสิทธิไถ่จำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ของบริษัท ภ. ซึ่งนอกเหนือจากหนี้จำนอง เมื่อสัญญาจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ และโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงขอไถ่ถอนจำนองแล้ว จำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่า โจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ค้ำประกันอยู่อีกไม่ได้ เพราะเป็นความรับผิดตามสัญญาคนละฉบับซึ่งแยกต่างหากจากกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1711/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไถ่ถอนจำนองแยกจากหนี้ค้ำประกัน แม้สัญญาทำพร้อมกัน ศาลสั่งให้ไถ่ถอนได้
โจทก์จำนองที่ดินไว้แก่จำเลยเพื่อเป็นประกันหนี้บริษัท ภ.และหนี้ของโจทก์เองเป็นเงิน 180,000 บาทในวันเดียวกันนั้นโจทก์ทำสัญญาค้ำประกันเงินกู้ตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. สัญญาจำนองและสัญญาค้ำประกันจึงแยกต่างหากจากกัน จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินซึ่งจำนองในวงเงิน 180,000 บาทพร้อมทั้งค่าอุปกรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715 เท่านั้นส่วนหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท ภ. ที่เกินกว่าจำนวนเงินที่จำนองเป็นประกันนั้นเป็นบุคคลสิทธิที่จำเลยจะต้องติดตามบังคับเอาจากโจทก์ตามสัญญาค้ำประกันในฐานะเป็นเจ้าหนี้สามัญโจทก์จึงมีสิทธิไถ่จำนองได้โดยไม่ต้องชำระหนี้ของบริษัท ภ. ซึ่งนอกเหนือจากหนี้จำนองเมื่อสัญญาจำนองมิได้กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนไว้ และโจทก์ผู้จำนองแสดงความจำนงขอไถ่ถอนจำนองแล้วจำเลยจะไม่ยอมให้ไถ่ถอนจำนองโดยอ้างว่า โจทก์ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระหนี้ค้ำประกันอยู่อีกไม่ได้เพราะเป็นความรับผิดตามสัญญาคนละฉบับซึ่งแยกต่างหากจากกันและไม่เกี่ยวข้องกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจากการจำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, ขอบเขตความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคาร โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1 จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาท นับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3544/2525
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นจากการเบิกเงินเกินบัญชีและการจำกัดความรับผิดของผู้ค้ำประกัน
สัญญาจำนองมีข้อความว่า หากเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชี ผู้จำนองยอมเสียดอกเบี้ยเป็นรายเดือนโดยวิธีคำนวณดอกเบี้ยทบต้นตามประเพณีของธนาคาร และข้อเท็จจริงก็ฟังได้ว่าเป็นการจำนองเป็นประกันการเบิกเงินเกินบัญชีธนาคารโจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
การคิดดอกเบี้ยทบต้นนั้น ถ้าผู้กู้ผิดนัดไม่ส่งดอกเบี้ยตามอัตราและกำหนดเวลาที่ตกลงกันไว้ ผู้กู้ยินยอมให้ดอกเบี้ยที่ค้างชำระนั้นทบเข้ากับต้นเงินได้ทันทีที่ค้างชำระทุกคราวไปดอกเบี้ยที่ทบเข้านี้ก็กลายเป็นต้นเงินอันผู้กู้จะต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันและมีกำหนดเวลาชำระอย่างเดียวกันตราบใดที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชียังไม่ยุติลง ดอกเบี้ยที่ค้างชำระจะมีได้เพียงเดือนเดียวเท่านั้น
จำเลยที่ 2 จดทะเบียนจำนองค้ำประกันหนี้ของจำเลยที่ 1จำนวน 100,000 บาท ในวันที่จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์เกินจำนวน 100,000 บาทอยู่แล้วจำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดในดอกเบี้ยทบต้นเพียงต้นเงิน 100,000 บาทนับแต่วันทำสัญญาจำนองเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิของเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่ถูกบังคับคดีก่อนเจ้าหนี้อื่น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าใช้จ่าย
ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองชอบที่จะบังคับการชำระหนี้เอาจากทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ยึดไว้ หรือชอบที่จะได้เงินที่ขายหรือจำหน่ายทรัพย์สินเหล่านั้นโดยอาศัยอำนาจแห่งการจำนองได้ก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ ตามมาตรา 289 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อผู้ร้องได้ยื่นคำร้องต่อศาลก่อนเอาทรัพย์สินออกขายทอดตลาดตามที่กฎหมายบัญญัติให้ไว้ในกรณีนี้แล้ว จึงไม่จำต้องปฏิบัติตามมาตรา 290แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทบัญญัติอีกกรณีหนึ่งสำหรับเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาที่จะขอเข้าเฉลี่ยทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษาซึ่งถูกเจ้าพนักงานบังคับคดียึดหรืออายัดไว้
หนี้จำนองซึ่งผู้ร้องมีสิทธิขอให้เอาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ นั้น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715
หนี้จำนองซึ่งผู้ร้องมีสิทธิขอให้เอาชำระหนี้ตนก่อนเจ้าหนี้อื่นๆ นั้น รวมถึงดอกเบี้ยและค่าฤชาธรรมเนียมในการบังคับจำนองด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองประกันการเบิกเงินเกินบัญชี, สิทธิเรียกร้องเจ้าหนี้, การคิดดอกเบี้ยหลังล้มละลาย, การเลิกสัญญา
โจทก์จำนองที่ดินไว้กับธนาคารจำเลยเป็นประกันสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีของบริษัท อ. หนี้ตามบัญชีเดินสะพัดระหว่างบริษัท อ. กับจำเลยไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นหนี้ที่สั่งจ่ายเป็นเช็คเสมอไป หากเป็นหนี้ส่วนที่ตกลงให้มีบัญชีกันแล้ว จะเป็นหนี้ที่เกิดจากสัญญาหรือมูลอื่นก็ย่อมลงบัญชีกันได้ บริษัท อ. เคยยินยอมให้จำเลยเอาหนี้รับจำนำใบประทวนสินค้าที่บริษัท อ. เป็นลูกหนี้บริษัทในเครือเดียวกับธนาคารจำเลย รวมทั้งหนี้ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมในการจำนำใบประทวนสินค้ามาลงในบัญชีเดินสะพัดที่บริษัท อ. เบิกเงินเกินบัญชี การลงบัญชีเดินสะพัดนั้นมีการแจ้งยอดหนี้พร้อมทั้งรายการให้โจทก์ทราบตลอดมาทุกระยะโจทก์ก็ไม่คัดค้าน และโจทก์ในฐานะกรรมการจัดการของบริษัท อ.ยังได้ลงชื่อรับรอง ยอดหนี้ตามบัญชีเดินสะพัดของบริษัทอ. อีกด้วยวิธีการที่จำเลยเอาหนี้ดังกล่าวมาลงในบัญชีนั้น เป็นวิธีการตามลักษณะสัญญาบัญชีเดินสะพัด หาอยู่ในบังคับบทบัญญัติแห่งกฎหมายในเรื่องแปลงหนี้ใหม่ไม่ เมื่อปรากฏว่าบริษัท อ. ยังเป็นลูกหนี้จำเลยอยู่โจทก์ก็ต้องรับผิดชำระหนี้แทนตามสัญญาจำนอง
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 100 เป็นบทบังคับของกฎหมายพิเศษในเรื่องการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย มิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายเหมือนคดีแพ่งสามัญ หาใช่เป็นบทบังคับของกฎหมายทั่วไปว่า ในกรณีที่ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแล้วห้ามมิให้เจ้าหนี้ใช้สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ไม่ ฉะนั้น แม้บริษัท อ. ลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์โจทก์ผู้ทำสัญญาจำนองเป็นประกันโดยไม่จำกัดความรับผิด ซึ่งถูกฟ้องเป็นคดีแพ่งธรรมดาให้รับผิดแทนลูกหนี้ จึงไม่อาจยกกฎหมายมาตรานี้ขึ้นต่อสู้เพื่อให้ตนพ้นความรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยได้(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 229/2506)
เมื่อบริษัท อ. ลูกหนี้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ จำเลยผู้เป็นเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้เบิกเงินเกินบัญชีตามบัญชีเดินสะพัดของลูกหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งถือได้ว่าเป็นการเลิกสัญญาบัญชีเดินสะพัดและคิดหักทอนบัญชีกันและถือได้ว่าเป็นการเรียกร้องเงินค้างชำระและลูกหนี้ผิดนัดในตัวแล้วจำเลยจะคิดดอกเบี้ยทบต้นอีกต่อไปหาได้ไม่(เทียบเคียงคำพิพากษาฎีกาที่ 658-659/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 137/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบังคับคดีจากทรัพย์สินทั้งหมดหลังผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ แม้มีทรัพย์จำนอง
สัญญาประนีประนอมยอมความมีข้อความว่า จำเลยยอมตกลงชำระหนี้ 11,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยแก่โจทก์ภายในเวลาที่กำหนไว้ถ้าผิดนัดยอมให้โจทก์บังคับคดีได้ทันทีรวมทั้งบังคับเงินจำนวนดังกล่าวได้ด้วย และตามสัญญาประนีประนอมยอมความก็มิได้กล่าวไว้ว่า โจทก์จะบังคับเอาชำระหนี้ได้แต่เฉพาะทรัพย์สินที่ได้จำนองกันไว้ ดังนั้นโจทก์จึงชอบที่จะบังคับเอาชำระหนี้ตามคำพิพากษาจากทรัพย์ใด ๆ ของจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่โจทก์เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยลูกหนี้ที่ยอมรับผิดชดใช้เงินกู้จนครบ ต่อมาเจ้าหนี้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยลูกหนี้ยอมชำระเงินให้เจ้าหนี้ 311,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยและศาลพิพากษาตามยอม ก็หมายความได้แต่เพียงว่า ยังไม่ขอบังคับตามสัญญาจำนองเท่านั้น มิใช่เป็นการปลดจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) ฉะนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมบังคับเอาจากทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ หาได้หมายความหรือเป็นการยกเลิกลบล้างข้อเรียกร้องตามคำขอท้ายฟ้องให้หมดไป และโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เพียงทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่
การที่โจทก์เจ้าหนี้ฟ้องบังคับจำนองจำเลยลูกหนี้ที่ยอมรับผิดชดใช้เงินกู้จนครบ ต่อมาเจ้าหนี้ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยลูกหนี้ยอมชำระเงินให้เจ้าหนี้ 311,901.29 บาท พร้อมดอกเบี้ยและศาลพิพากษาตามยอม ก็หมายความได้แต่เพียงว่า ยังไม่ขอบังคับตามสัญญาจำนองเท่านั้น มิใช่เป็นการปลดจำนองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 744 (2) ฉะนั้น เมื่อลูกหนี้ผิดสัญญาประนีประนอมยอมความ มีการบังคับคดีขายทอดตลาดทรัพย์ที่จำนองไม่พอชำระหนี้ เจ้าหนี้ย่อมบังคับเอาจากทรัพย์อื่นนอกเหนือจากที่จำนองไว้ได้ หาได้หมายความหรือเป็นการยกเลิกลบล้างข้อเรียกร้องตามคำขอท้ายฟ้องให้หมดไป และโจทก์จะบังคับชำระหนี้ได้แต่เพียงทรัพย์ที่จำนองเท่านั้นไม่