พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10809/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สมบูรณ์แต่ไม่กระทบเจตนา ยกทรัพย์สินให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว โจทก์ถูกตัดสิทธิมรดก
ข้อความในพินัยกรรมส่วนที่เพิ่มเติมตอนท้ายไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับไม่สมบูรณ์ แต่ไม่มีผลกระทบถึงพินัยกรรมทั้งฉบับ ข้อความเดิมในพินัยกรรมย่อมสมบูรณ์ใช้บังคับ เมื่อพิเคราะห์ข้อความส่วนที่ยังมีผลใช้บังคับได้ ย่อมเห็นเจตนาของผู้ทำพินัยกรรมได้โดยชัดแจ้งว่า ต้องการยกทรัพย์สินของผู้ตายให้จำเลยแต่เพียงผู้เดียว ข้อความในส่วนอื่นในพินัยกรรมที่ระบุทรัพย์สินเป็นข้อๆ เป็นเพียงส่วนประกอบให้เห็นว่า ผู้ตายมีทรัพย์สินใดบ้าง หรือมีทรัพย์สินที่ผู้ตายจำได้ในขณะที่กำลังเขียนพินัยกรรมเท่านั้น ทรัพย์สินที่ผู้ตายเขียนระบุเพิ่มเติมตอนท้ายโดยไม่ได้ลงลายมือชื่อกำกับ น่าเชื่อว่าเป็นเพราะผู้ตายเพิ่งระลึกนึกได้ว่ามีทรัพย์สินดังกล่าวด้วย แต่ก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเจตนาของผู้ตายที่ต้องการยกทรัพย์สินของตนเองทั้งหมดซึ่งรวมทั้งทรัพย์พิพาทให้แก่จำเลย คดีฟังได้ว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของผู้ตายทั้งหมดให้แก่จำเลย ทายาทโดยธรรมผู้ที่มิได้รับประโยชน์จากพินัยกรรมย่อมเป็นผู้ถูกตัดมิให้รับมรดก ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1608 ดังนั้น โจทก์ทั้งเจ็ดจึงถูกตัดโดยผลของพินัยกรรมทำให้ไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตาย โจทก์ทั้งเจ็ดจึงไม่มีอำนาจฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกของผู้ตาย
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความได้สละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด คงให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เพียงใด ก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งกำหนดให้ ส. เป็นผู้รวบรวมทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่า ๆ กัน เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น คู่ความได้สละประเด็นข้อพิพาททั้งหมด คงให้ศาลวินิจฉัยประเด็นข้อพิพาทเพียงข้อเดียวว่า จำเลยต้องแบ่งทรัพย์มรดกที่พิพาทแก่โจทก์ทั้งเจ็ดหรือไม่ เพียงใด ก็ตาม แต่ปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลอุทธรณ์ภาค 6 มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ส่วนที่โจทก์ทั้งเจ็ดฎีกาว่า ผู้ตายทำพินัยกรรมอีกฉบับหนึ่งกำหนดให้ ส. เป็นผู้รวบรวมทรัพย์มรดกแบ่งปันให้แก่ทายาทเท่า ๆ กัน เป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12972/2557
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดกตามพินัยกรรม: เจตนาของผู้มอบมรดกสำคัญกว่ารูปแบบทรัพย์สิน
ตามพินัยกรรมข้อ 22 มีข้อความระบุให้สถานีบริการน้ำมันพร้อมที่ดินได้แก่ ช. ผู้เป็นทายาท เมื่อ ช. ถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซึ่งเป็นบุตรจึงเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกจาก ช. ชอบที่จะใช้สิทธิของทายาทในการอ้างอายุความมรดกยันโจทก์ผู้เป็นทายาทได้
เดิมโรงน้ำแข็ง โรงเรือนและอาคารปลูกสร้างอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ ต่อมาเจ้ามรดกได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 11295 เป็นที่ตั้งสถานีบริการน้ำมัน และโฉนดเลขที่ 11296 เป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็ง ขณะเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้ใช้ในกิจการทุกอย่างของเจ้ามรดก และเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวยังคงใช้ในกิจการร่วมกันตลอดมา โดยโจทก์ช่วยดูแลกิจการโรงน้ำแข็งและสถานีบริการน้ำมันของเจ้ามรดก และที่ดินโฉนดเลขที่ 11295 บางส่วนให้บริษัท ท. เช่า จึงถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินตามพินัยกรรมซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน ส่วนที่ดินที่ให้บริษัท ท. เช่านั้น ถือว่าผู้เช่าครอบครองแทนทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย ดังนั้นแม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี นับแต่เมื่อทายาทได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก หรือกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์ผู้เป็นทายาทยังมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 และ 1754
การตีความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1684 และต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามมาตรา 171 จึงต้องพิจารณาจากข้อความที่กำหนดในพินัยกรรมเพื่อหาเจตนาที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมว่าเป็นเช่นไร
เดิมโรงน้ำแข็ง โรงเรือนและอาคารปลูกสร้างอยู่ในที่ดินแปลงใหญ่ ต่อมาเจ้ามรดกได้แบ่งแยกที่ดินออกเป็นโฉนดที่ดินเลขที่ 11295 เป็นที่ตั้งสถานีบริการน้ำมัน และโฉนดเลขที่ 11296 เป็นที่ตั้งโรงน้ำแข็ง ขณะเจ้ามรดกยังมีชีวิตอยู่ได้ใช้ในกิจการทุกอย่างของเจ้ามรดก และเมื่อเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย โรงเรือนและสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวยังคงใช้ในกิจการร่วมกันตลอดมา โดยโจทก์ช่วยดูแลกิจการโรงน้ำแข็งและสถานีบริการน้ำมันของเจ้ามรดก และที่ดินโฉนดเลขที่ 11295 บางส่วนให้บริษัท ท. เช่า จึงถือว่าโจทก์ครอบครองทรัพย์มรดกที่ดินตามพินัยกรรมซึ่งยังไม่ได้แบ่งกัน ส่วนที่ดินที่ให้บริษัท ท. เช่านั้น ถือว่าผู้เช่าครอบครองแทนทายาทรวมทั้งโจทก์ด้วย ดังนั้นแม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความหนึ่งปี นับแต่เมื่อทายาทได้รู้หรือควรรู้ถึงความตายของเจ้ามรดก หรือกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย โจทก์ผู้เป็นทายาทยังมีสิทธิเรียกร้องขอให้แบ่งทรัพย์มรดกได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 และ 1754
การตีความข้อใดข้อหนึ่งในพินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย ให้ถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมนั้นได้ดีที่สุดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1684 และต้องเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนตามตัวอักษรตามมาตรา 171 จึงต้องพิจารณาจากข้อความที่กำหนดในพินัยกรรมเพื่อหาเจตนาที่แท้จริงของผู้ทำพินัยกรรมว่าเป็นเช่นไร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดิน: การคำนวณพื้นที่ผิดพลาดทำให้การยกมรดกแก่ทายาทสิ้นผล
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรกระบุว่า ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ระบุว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดิน: เจตนาที่แท้จริง, การคำนวณเนื้อที่ผิดพลาด, และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรก ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1367/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกที่ดินให้สุเหร่า/มัสยิดเพื่อประโยชน์สาธารณกุศล มีผลผูกพันทายาท แม้มิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิ
จ. ทำพินัยกรรมไว้ที่อำเภอระบุว่า ขอมอบที่ดินให้เป็นสมบัติแก่สุเหร่าคันนายาวเพื่อเก็บเงินซึ่งได้จากค่าเช่าที่ดินใช้เป็นประโยชน์ในทางกุศลของสุเหร่าคันนายาว จะทำการหักโอนให้เป็นสิทธิโดยสมบูรณ์ได้ต่อเมื่อสุเหร่าคันนายาวได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิถูกต้องตามกฎหมายแล้ว เป็นการแสดงถึงเจตนาโดยแน่ชัดของจ. ว่า จะยกที่ดินให้แก่สุเหร่าคันนายาวเมื่อได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแล้ว แม้ภายหลังจำเลยมิได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิแต่ก็ได้จดทะเบียนเป็นมัสยิด ซึ่งมีลักษณะเป็นองค์การสาธารณกุศลตรงตามวัตถุประสงค์ของ จ. ที่ดินจึงตกเป็นของจำเลย โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ จ. ไม่มีอำนาจนำมาแบ่งปันแก่ทายาทโดยธรรมอีกต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5608/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมเฉพาะเจาะจง: เจตนาผู้ตายยกทรัพย์เฉพาะแปลงที่ระบุ ผู้รับพินัยกรรมไม่มีสิทธิในทรัพย์นอกพินัยกรรม
แม้พินัยกรรมแบบเอกสารฝ่ายเมืองที่ผู้ตายทำไว้มีข้อความสำคัญกำหนดไว้ดังนี้ "ข้อ 1 ถ้าข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้ว บรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า ข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้ คือ (1) ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 เนื้อที่จำนวน 60 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้ ย. หลานสาว (ผู้คัดค้าน) จำนวน 50 ไร่ ส่วนที่เหลืออีกจำนวน 10 ไร่ 2 งาน 33 ตารางวา ขอยกให้กับมัสยิดสมาคมอิสลาม" แต่ข้อเท็จจริงผู้ตายมีทรัพย์มรดกคือ ที่ดิน 3 แปลง ได้แก่ ที่ดินตามโฉนดเลขที่ 1236 ตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมกับที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 และตามพฤติการณ์มีข้อบ่งชี้ให้เห็นเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกเฉพาะที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 ให้แก่ผู้มีชื่อในพินัยกรรม คือผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลามเท่านั้น ส่วนที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 นั้น ผู้ตายมิได้ประสงค์จะทำพินัยกรรมยกให้แก่ผู้คัดค้านและมัสยิดสมาคมอิสลาม ดังนี้เมื่อผู้คัดค้านได้รับโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1236 แล้ว ทั้งผู้คัดค้านมิใช่ทายาทโดยธรรมของผู้ตายอันจะมีสิทธิรับมรดกนอกพินัยกรรมคือที่ดินโฉนดเลขที่ 5920 และที่ดินโฉนดเลขที่ 778 ผู้คัดค้านจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์นอกพินัยกรรมอันจะมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านขอให้เพิกถอนผู้ร้องจากการเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมไม่สิ้นผลแม้ทรัพย์สินบางส่วนถูกโอน – สิทธิผู้รับพินัยกรรมยังคงมีในส่วนที่เหลือ
การที่เจ้ามรดกทำพินัยกรรมยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้โจทก์30ไร่และให้จำเลย9ไร่เศษแต่ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไปโดยสมบูรณ์คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกเพียง8ไร่เศษนั้นเป็นกรณีที่ข้อกำหนดพินัยกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้นพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่หาได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่2แต่อย่างใดไม่และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัยอันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ของผู้ทำพินัยกรรมโจทก์ยังคงมีสิทธิตามพินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4804/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมและทรัพย์มรดก: ผลกระทบจากการโอนทรัพย์สินก่อนมรณะและการบังคับใช้พินัยกรรมตามส่วนที่เหลือ
ส. เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมเอกสารฝ่ายเมืองยกที่ดินเฉพาะส่วนของเจ้ามรดกให้แก่โจทก์ 30 ไร่ ให้แก่จำเลยที่ 1จำนวน 9 ไร่ 1 งาน 34 ตารางวา ระหว่างมีชีวิตอยู่เจ้ามรดกได้จำหน่ายที่ดินแปลงดังกล่าวบางส่วนไป คงเหลือที่ดินเป็นทรัพย์มรดกอยู่ 8 ไร่ 2 งาน 40.5 ตารางวา กรณีเป็นเรื่องที่ทรัพย์สินอันเป็นวัตถุแห่งพินัยกรรมได้โอนไปโดยสมบูรณ์ด้วยความตั้งใจของผู้ทำพินัยกรรม ข้อกำหนดพินัยกรรมอันเกี่ยวกับทรัพย์สินนั้นเป็นอันเพิกถอนไปเฉพาะบางส่วนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1696ส่วนพินัยกรรมยังใช้ได้อยู่ไม่ได้สิ้นผลลงทั้งฉบับหรือข้อกำหนดในส่วนของโจทก์ได้ถูกเพิกถอนไปคงมีผลอยู่เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 และไม่ใช่พินัยกรรมที่อาจตีความได้เป็นหลายนัย อันจะต้องถือเอาตามนัยที่จะสำเร็จผลตามความประสงค์ ของผู้ทำพินัยกรรมตามมาตรา 1684 โจทก์ยังคงมีสิทธิตาม พินัยกรรมตามส่วนของที่ดินที่เหลืออยู่จำนวน 8 ไร่ 2 งาน40.5 ตารางวา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขพินัยกรรมที่ไม่สมบูรณ์ และเจตนาในการยกทรัพย์สินให้ผู้รับพินัยกรรม
การขีดฆ่าชื่อผู้รับพินัยกรรมจากเดิมที่เขียนว่า"ลเมียด"แล้วตกเติมว่า"ละเมียด"ส่วนนามสกุลคงไว้เช่นเดิมมิใช่การขีดฆ่าอันเป็นการเพิกถอนข้อกำหนดพินัยกรรมแต่เป็นการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเพื่อเขียนชื่อผู้รับพินัยกรรมให้ถูกต้องเมื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลงมิได้ลงวันเดือนปีที่แก้ไขผู้ทำพินัยกรรมและพยานในพินัยกรรมทั้งสองคนมิได้ลงชื่อกำกับจึงไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1656วรรคสองและถือว่าไม่มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำว่า"ลเมียด"ในพินัยกรรมพินัยกรรมคงมีข้อความตามเดิมการแก้ไขเปลี่ยนแปลงที่ทำไม่ถูกต้องตามแบบหามีผลทำให้ พินัยกรรมที่ สมบูรณ์อยู่แล้วต้องตกเป็น โมฆะไม่ พินัยกรรมมีข้อความว่า"ข้อ1ข้าพเจ้าถึงแก่ความตายไปแล้วบรรดาทรัพย์สินของข้าพเจ้าที่มีอยู่และที่จะเกิดขึ้นในภายหน้าข้าพเจ้ายอมยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่ผู้ที่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมนี้ให้เป็นผู้รับทรัพย์สินตามจำนวนซึ่งกำหนดไว้ดังต่อไปนี้(1)เรือนทรงมลิลามุงกระเบื้องวิบูลศรีพร้อมกระดานพื้น19แผ่นกระดานระเบียงด้านยาว7แผ่น1หลังข้อ2ข้าพเจ้าขอมอบพินัยกรรมให้กับนาง ลเมียดช้างแก้วมณี และขอตั้งให้นาย มานพสุขสวัสดิ์เป็นผู้จัดการมรดกของข้าพเจ้าตามพินัยกรรมนี้"ถ้อยคำในพินัยกรรมดังกล่าวแสดงว่าเจ้ามรดกมีเจตนาทำพินัยกรรมยกเรือนพิพาทให้แก่นาง ละเมียดโจทก์ที่2และตั้งนาย มานพโจทก์ที่1เป็นผู้จัดการมรดกหาใช่มีเจตนาเพียงแต่มอบเอกสารพินัยกรรมให้โจทก์ที่2เก็บรักษาไว้เฉยๆเท่านั้นไม่โจทก์ที่2จึงเป็น ผู้รับพินัยกรรม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องไม่เคลือบคลุมแม้มีข้ออ้างเรื่องพินัยกรรมปลอม และจำเลยไม่เข้าข่ายผู้ถูกกำจัดมรดกเนื่องจากไม่มีหลักฐานการฉ้อฉล
คำฟ้องโจทก์แม้จะมีข้อความว่าพินัยกรรมปลอม แต่ก็มีข้อความต่อไปซึ่งเป็นการอธิบายว่าพินัยกรรมทำขึ้นขณะเจ้ามรดกมีอายุ94 ปี ไม่มีสติรู้สึกผิดชอบ หลงลืมและฟั่นเฟือน ไม่สามารถแสดงเจตนาทำพินัยกรรมได้แล้ว และไม่ทำตามแบบจึงตกเป็นโมฆะ หรือเสียเปล่ามิใช่คำฟ้องหลายนัยขัดกัน คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม โจทก์เป็นฝ่ายกล่าวอ้างว่าจำเลยฉ้อฉลให้เจ้ามรดกทำพินัยกรรมแต่โจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมายืนยันว่าเป็นเช่นนั้น คงมีพยานปากหนึ่งอ้างว่า ผ่านไปเห็นการทำพินัยกรรมโดยบังเอิญ ขณะเห็นก็ยังไม่ทราบว่าที่บ้านจำเลยทำอะไรกัน และพยานปากนี้ก็ไม่ได้ระบุว่าจำเลยฉ้อฉลเจ้ามรดกในการทำพินัยกรรมแต่อย่างใด เช่นนี้พยานหลักฐานโจทก์จึงไม่มีน้ำหนักให้รับฟังว่า จำเลยได้ฉ้อฉลเจ้ามรดกให้ทำพินัยกรรม จำเลยจึงไม่อยู่ในฐานะผู้ถูกกำจัดมิให้รับมรดกฐานเป็นผู้ไม่สมควรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1606(4) การที่พินัยกรรมระบุว่า ทรัพย์สินส่วนที่เหลือจากที่ได้ดำเนินการตามข้อ 2 รวมทั้งทรัพย์สินอื่นซึ่งมีภายหลังจากที่ได้ทำพินัยกรรมฉบับนี้ทั้งหมดขอแบ่งเป็น 2 ส่วนเท่ากันและยกให้ผู้รับพินัยกรรมนั้น เป็นการระบุให้ทรัพย์สินอื่นที่ได้มาภายหลังทำพินัยกรรมให้เอามาแบ่งแก่ผู้รับพินัยกรรมฉบับนี้ จึงไม่รวมที่ดินพิพาทซึ่งเจ้ามรดกทราบว่าตนมีสิทธิก่อนทำพินัยกรรมและไม่ได้ระบุไว้ในพินัยกรรมให้ชัดเจนเช่นเดียวกับทรัพย์รายอื่น ๆดังนั้น ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์นอกพินัยกรรม ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยนำผลประโยชน์จากทรัพย์มรดกเป็นเงินเดือนละ 2,500 บาท ชำระแก่โจทก์นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่กรรมเป็นต้นไปจนกว่าจะมีการแบ่งปันทรัพย์มรดกเสร็จสิ้น โจทก์จำเลยมิได้อุทธรณ์ในประเด็นนี้ ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มิได้พิพากษาแก้ในส่วนนี้ กรณีไม่มีเหตุที่โจทก์จะต้องฎีกาในประเด็นนี้อีก