พบผลลัพธ์ทั้งหมด 39 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 453/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาพินัยกรรม: ทรัพย์สินที่ระบุเฉพาะเจาะจงกับทรัพย์สินอื่นที่ไม่ระบุ มีการตกทอดตามกฎหมายมรดกแตกต่างกัน
ข.และ น. เจ้ามรดกร่วมกันทำพินัยกรรมยกทรัพย์มรดกของตนให้แก่มูลนิธิ "ขุนและนางนิกรนรารักษ์" (โดยได้ระบุทรัพย์มรดกไว้โดยเฉพาะหลายอย่าง) ทั้งได้ระบุไว้ในพินัยกรรมด้วยว่า "ทรัพย์สินอื่น ๆ ของข้าพเจ้านอกจากที่ระบุไว้ข้างต้น ถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลง ให้ตกเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียว ผู้อื่นจะเกี่ยวข้องมิได้เป็นอันขาด" เช่นนี้เห็นได้ว่าทรัพย์สินอื่นนอกจากที่ระบุยกให้แก่มูลนิธิ ถ้าผู้ทำพินัยกรรมคนใดคนหนึ่งวายชนม์ลงให้ตำเป็นของผู้ทำพินัยกรรมคนที่ยังมีชีวิตอยู่แต่ผู้เดียว เมื่อ ข.ตายไปก่อน น. ทรัพย์สินที่มิได้ระบุไว้จึงตกได้แก่ น. เมื่อ น.ตายโโยมิได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ตกได้แก่ทายาทโดยธรรมของ น.โจทก์และบุคคลอื่นที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นคณะกรรมการจัดการทรัพย์มรดกของมูลนิธิตามพินัยกรรมจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของ น. ส่วนที่มิได้ทำพินัยกรรมไว้ และไม่มีสิทธิขอเพิกถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกดังกล่าวของ น.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1632/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: การยกบ้านและที่ดิน vs. การยกเฉพาะวัสดุ
เจ้ามรดกทำพินัยกรรมฝ่ายเมืองยกที่ 2 แปลงให้บุคคลหลายคนโดยให้แบ่งแปลงแรกไว้เป็นถนนทางเข้าออกก่อน ส่วนที่เหลือยกให้บุคคล 3 คนโดยวัดยาวจากถนน 16 เมตรครึ่งบ้านพัก 3 ห้องซึ่งอยู่ในที่แปลงแรกยกให้โจทก์ที่ 1 ที่ 2 ส่วนที่เหลือนอกจากที่กล่าวทั้งหมดยกให้จำเลยดังนี้ ถ้าจะยกเฉพาะวัสดุที่ปลูกสร้างให้รื้อเอาไป คำสั่งในพินัยกรรมน่าจะกล่าวให้ชัดเจนเช่นนั้น เมื่อพินัยกรรมระบุว่ายกบ้านให้ ถ้าเพียงแต่ให้เฉพาะไม้ที่สร้างบ้านเห็นได้ว่าไม่สมกับคำสั่ง เพราะบ้านทั้ง 3 ห้องปลูกลักษณะเป็นเพิงหมาแหงนมีหน้าถังและเป็นห้องๆซึ่งน่าจะเป็นห้องแถว ถ้ารื้อออกขายจะได้เงินประมาณเพียง 1,500 บาทเท่านั้น ลักษณะของบ้านปลูกมาถึงประมาณ 20 ปีเศษ ประตูบางประตูทำด้วยไม้ไผ่สาน จึงไม่น่าจะยกให้เฉพาะวัสดุที่สร้างบ้านแก่คนถึง 2 คน ตามพินัยกรรมดังกล่าวเชื่อว่าเจ้ามรดกประสงค์จะยกบ้านพร้อมทั้งที่ดินที่ปลูกบ้านให้แก่โจทก์ที่ 1 ที่ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้มอบมรดกอยู่ที่เนื้อที่ดินทั้งหมดตาม ส.ค.1 แม้ระบุตัวเลขไม่ตรง
พินัยกรรมมีความว่า 'ฯลฯ ข้อ 1(1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ค.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1 ที่ดินตามข้อ 1(1) ทางด้านทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี2 ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรีแล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียว ฯลฯ' ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวาตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลยการที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรมโจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพินัยกรรม: เจตนาผู้ทำพินัยกรรมคือยกที่ดินทั้งหมด แม้ระบุเนื้อที่ในพินัยกรรมไม่ตรงกับความเป็นจริง
พินัยกรรมมีความว่า "ฯลฯ ข้อ 1 (1) ที่ดินหนึ่งแปลงตาม ส.ด.1 เลขที่ 64 อยู่หมู่ 4 ตำบลเกยไชย อำเภอชุมแสง เนื้อที่ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ฯลฯ ข้อ 3 ทรัพย์สินตามข้อ 1 ข้าพเจ้าขอมอบให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่บุตรของข้าพเจ้าจำนวน 2 คน ตามส่วนดังนี้ 1. ที่ดินตามข้อที่ 1(1) ทางทิศตะวันออก จำนวนเนื้อที่ดิน 2 ไร่ ให้แก่นายจำลอง เดชเรืองศรี 2. ที่ดินตามข้อ 1(1) ส่วนที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้นายจำลอง เดชเรืองศรี แล้วข้าพเจ้าขอยกให้แก่นางบุญช่วย พันธ์เขียว แต่ผู้เดียวฯลฯ " ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าเจ้ามรดกมีที่ดินแปลงเดียว ที่ดินมรดกแปลงนี้มีเนื้อที่ถึง 18 ไร่ 93 ตารางวา ตามพินัยกรรมข้อ 1(1) เจ้ามรดกเจตนาทำพินัยกรรมยกที่ดินทั้งแปลงที่ตนมีอยู่ให้แก่โจทก์จำเลย การที่ระบุเนื้อที่ไว้เพียง 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ก็เห็นได้ว่าเป็นการระบุเนื้อที่ตาม ส.ค.1 ที่แจ้งไว้แต่เดิม ซึ่งอาจเป็นการประมาณ ย่อมมากหรือน้อยจากความจริงก็ได้ ไม่มีเหตุที่เจ้ามรดกตั้งใจทำพินัยกรรมเฉพาะ 6 ไร่ 2 งาน 4 วา ส่วนที่เหลือให้เป็นมรดกไม่มีพินัยกรรม โจทก์ (นายจำลอง) จึงมีสิทธิได้รับที่ดินมรดกเพียง 2 ไร่ด้านตะวันออก ที่ดินที่เหลือทั้งหมดจากที่แบ่งให้โจทก์ จึงตกเป็นของจำเลย (นางบุญช่วย) ตามพินัยกรรมข้อ 3
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์ของเจ้าของร่วม: ผลบังคับใช้เฉพาะส่วนของผู้ตายเมื่อยังมีเจ้าของร่วมรายอื่น
การที่เจ้าของร่วมได้ทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้แก่ใคร แม้จะระบุว่า ถ้าเขาทั้งสองตายไปแล้วให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้นั้นก็ดี เมื่อผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งตาย แม้อีกคนยังอยู่ ก็ย่อมเกิดผลตามพินัยกรรมเฉพาะทรัพย์ส่วนของผู้ที่ตายไปนั้นแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลยพินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป็นการละเมิดไม่เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง)
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลยพินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป็นการละเมิดไม่เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 997/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมยกทรัพย์ให้แก่เจ้าของร่วม ผลบังเกิดใช้กับส่วนของผู้ตายเท่านั้น
การที่เจ้าของร่วมได้ทำพินัยกรรมฉบับเดียวกันยกทรัพย์ให้แก่ใคร แม้จะระบุว่า ถ้าเขาทั้งสองตายไปแล้ว ให้ทรัพย์ตกได้แก่ผู้นั้นก็ดี เมื่อผู้ทำพินัยกรรมคนหนึ่งตาย แม้อีกคนยังอยู่ ก็ยอมเกิดผลตามพินัยกรรมเฉพาะทรัพย์ส่วนของผู้ที่ตายไปนั้นแล้ว
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลย พินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป้นการละเมิดไม่ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง).
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมบิดาโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาท เมื่อบิดาตาย โจทก์ก็ได้รับมรดกมา จำเลยให้การต่อสู้ว่า ที่พิพาทเป็นของจำเลยกับสามี จำเลยกับสามีเพียงแต่ได้ทำพินัยกรรมยกให้บิดาโจทก์ แต่บัดนี้ไม่ประสงค์จะยกให้แล้ว เพราะบิดาโจทก์ตายไปก่อนจำเลย พินัยกรรมจึงไม่บังเกิดผล ดังนี้ เรื่องพินัยกรรมที่จำเลยต่อสู้จึงเป็นประเด็นที่ศาลหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้
ศาลพิพากษายกฟ้องโจทก์ แต่ใช้ดุลพินิจให้รวมค่าธรรมเนียมแล้วให้โจทก์จำเลยเสียฝ่ายละครึ่งได้
การที่เจ้าของร่วมในที่พิพาทเข้าทำในที่ที่ตนเป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยนั้น หาเป้นการละเมิดไม่ เจ้าของร่วมอีกคนหนึ่งจะฟ้องขอให้ห้ามหรือเรียกค่าเสียหายฐานละเมิดไม่ได้ (ที่พิพาทยังไม่ได้แบ่งแยก และเข้าทำเต็มทั้งแปลง).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 770/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความถูกต้องของพินัยกรรมและการเรียกร้องสิทธิในมรดก โดยมีข้อโต้แย้งเรื่องการตอบแทนและพินัยกรรมใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องว่า มารดาของโจทก์จำเลยได้ทำพินัยกรรมยกทรัพย์ให้โจทก์จำเลยและหลาน ดังสำเนาท้ายฟ้องโจทก์ไปขอรับมรดกที่ดินตามรายการข้อ 1 ของพินัยกรรมครึ่งหนึ่งจำเลยร้องคัดค้านเจ้าพนักงานจึงงดการรับมรดกไว้ และสั่งให้โจทก์ฟ้องต่อศาล ที่จำเลยคัดค้านการรับมรดกนั้นเป็นเหตุให้โจทก์เสียหายการที่โจทก์ขอรับมรดกเพื่อลงชื่อเป็นเจ้าของนั้น เพราะโจทก์ได้ออกเงิน (ค่าที่ดิน)ทำศพ ตามคำสั่งของผู้ตายแล้ว ดังนี้ แม้รายการข้อ 1ของพินัยกรรมท้ายฟ้องจะว่าที่ดินแปลงนี้ให้โจทก์จำเลยบุตรจัดการขาย นำเงินที่ขายได้ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เมื่อตาย แต่เมื่ออ่านประกอบฟ้องก็พอจะได้ความว่ามิใช่กรณีรับมรดกเฉยๆ หากแต่มีการกระทำของโจทก์เป็นการตอบแทนอยู่ ครั้นเมื่อจำเลยให้การ จำเลยมิได้เถียงถึงสิทธิของโจทก์อันจะได้จากพินัยกรรมนี้เลย เป็นแต่เถียงว่าผู้ตายทำพินัยกรรมใหม่แล้วยกเลิกพินัยกรรมที่โจทก์อ้าง ประเด็นในคดีคงมีแต่เพียงว่าพินัยกรรมที่ฝ่ายใดอ้างเป็นพินัยกรรมที่ใช้ได้ ศาลจะต้องดำเนินการพิจารณาต่อไป จะว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกครึ่งหนึ่ง และพิพากษายกฟ้องเสียโดยไม่ฟังข้อเท็จจริงต่อไปนั้น ไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2502
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดห้ามแบ่งทรัพย์ขัดกฎหมาย เจ้าของรวมมีสิทธิแบ่งได้ตามกฎหมาย
พินัยกรรมที่มีข้อความเป็นคำสั่งกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่บุตรชายทุกคนนั้น มีผลใช้ได้ตามกฎหมายส่วนข้อห้ามที่กำหนดไม่ให้แบ่งแยกทรัพย์นี้ออกไปเลยเป็นอันขาดนั้น ขัดต่อกฎหมายใช้บังคับไม่ได้ เพราะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้สอย จำหน่ายและขอแบ่งทรัพย์นั้นได้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 และ 1363 พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เสียไปทั้งฉบับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 184/2502 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมกำหนดเงื่อนไขห้ามแบ่งทรัพย์ขัดกฎหมาย ผู้มีส่วนได้เสียมีสิทธิแบ่งทรัพย์มรดกตามสัดส่วน
พินัยกรรมที่มีข้อความเป็นคำสั่งกำหนดให้ทรัพย์มรดกตกได้แก่บุตรชายทุกคนนั้น มีผลใช้ได้ตามกฎหมาย ส่วนข้อห้ามที่กำหนดไม่ให้แบ่งแยกทรัพย์นี้ออกไปเลยเป็นอันขาดนั้น ขัดต่อกฎหมาย ใช้บังคับไม่ได้ เพราะผู้เป็นเจ้าของทรัพย์ย่อมมีสิทธิใช้สรอย จำหน่าย และขอแบ่งทรัพย์นั้นได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 และ 1363 พินัยกรรมดังกล่าวจึงไม่เสียไปทั้งฉบับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 106/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์มรดกตามพินัยกรรม: สิทธิเรียกร้องแบ่งทรัพย์เมื่อผู้รับมรดกไม่ต้องการ
ผู้ตายทำพินัยกรรมยกที่ดินบ้านเรือนให้โจทก์จำเลยคนละเท่าๆกันโดยมีเงื่อนไขว่า ถ้าต่อไปภายหน้าผู้ที่ได้รับที่ดินบ้านเรือนนี้คนใดไม่ต้องการที่ดินบ้านเรือนรายนี้ ต้องขายให้แก่บรรดาผู้ที่ยังคงต้องการ โดยกำหนดราคาไว้ ผู้ใดที่ไม่ต้องการ ก็ให้ได้รับเงินแทนค่าที่ดินบ้านเรือนไปตามส่วนที่ตีราคาไว้ในพินัยกรรมนี้ โดยให้ผู้ต้องการอยู่จ่ายเงินตามส่วนที่กำหนดไว้นี้ให้ไปผู้ใดไม่ต้องการ จะเรียกร้องเอาราคาที่เกินกว่าที่กำหนดไว้นี้ไม่ได้ ดังนี้ โจทก์ก็ยังมีสิทธิที่จะฟ้องร้องขอให้แบ่งทรัพย์รายนี้โดยวิธีประมูลราคาระหว่างโจทก์จำเลย ซึ่งถ้าไม่ตกลงกันก็ขายทอดตลาดเอาเงินมาแบ่งปันกันได้ เพราะไม่ใช่เป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ต้องการทรัพย์ที่ยกให้ตามพินัยกรรมอันจะต้องขายให้ผู้รับทรัพย์ร่วมกันตามข้อกำหนดในพินัยกรรมแต่เป็นเรื่องที่โจทก์เรียกร้องให้แบ่งทรัพย์ที่โจทก์ได้รับมาแล้วร่วมกับจำเลยตามพินัยกรรม