คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะผัวเมีย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสตามกฎหมายอิสลามและลักษณะผัวเมีย การแบ่งมรดกและผลของพินัยกรรม
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลามฯพ.ศ. 2489 มาตรา 3,4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1938/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีสมรสตามกฎหมายอิสลามและประมวลกฎหมายแพ่ง โดยพินัยกรรมผูกพันเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก
เจ้ามรดกได้รับที่พิพาทจากบิดาในระหว่างที่สมรสกับมารดาโจทก์ตามกฎหมายอิสลามก่อนวันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใช้บังคับ ตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกไม่มีบัญญัติว่าทรัพย์ดังกล่าวเป็นสินสมรสหรือไม่ ต้องใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอันเป็นกฎหมายในขณะนั้นบังคับ ที่พิพาทจึงเป็นสินสมรส ต่อมามารดาโจทก์ถึงแก่กรรม เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งเจ้ามรดกและมารดาโจทก์มีสินเดิมหรือไม่ ที่พิพาทจึงตกเป็นของมารดาโจทก์ 1 ส่วนและตกเป็นของเจ้ามรดกเอง 2 ส่วน เฉพาะทรัพย์ส่วนที่เป็นของมารดาโจทก์นั้นต้องแบ่งแก่ทายาทตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ข้อความในพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงผูกพันที่พิพาทเฉพาะส่วนของเจ้ามรดก ไม่มีผลผูกพันส่วนของมารดาโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิจะได้รับทั้งส่วนที่เป็นมรดกของมารดาโจทก์และส่วนของเจ้ามรดกที่ระบุไว้ในพินัยกรรม
ปัญหาว่าส่วนของมารดาโจทก์จะต้องแบ่งกันตามกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก และโจทก์ซึ่งเป็นทายาทจะได้รับส่วนของมารดาโจทก์เท่าใด เป็นข้อกฎหมายอิสลามที่ดะโต๊ะยุติธรรมต้องเป็นผู้ชี้ขาด ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการใช้กฎหมายอิสลาม ฯ พ.ศ.2489มาตรา 3, 4 จึงต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและผลกระทบต่อการแบ่งมรดก รวมถึงอายุความมรดก
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเป็นทายาทโดยชอบด้วยกฎหมายจากการอยู่กินฉันสามีภริยา และการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท
บิดามารดาโจทก์อยู่กินกันฉันสามีภริยาโดยเปิดเผยมาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความเป็นสามีภริยาและบุตรระหว่างบิดามารดาของโจทก์และโจทก์จึงต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งใช้ในขณะนั้น บิดามารดาโจทก์จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมีย และโจทก์ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของบิดา
จำเลยมีเจตนาครอบครองที่ดินพิพาทไว้แทนทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกทุกคน ดังนั้น แม้โจทก์ฟ้องจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกของบิดาโจทก์ผู้ตายให้แบ่งมรดกแก่โจทก์เป็นเวลาเกิน 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายก็ตาม จำเลยก็ไม่อาจอ้างได้ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1367และไม่อาจยกอายุความมรดกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754ขึ้นใช้ยันโจทก์ผู้เป็นทายาทของเจ้ามรดกได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกสินสมรสหลังการเสียชีวิต โดยพิจารณาจากสัดส่วนสินสมรสและส่วนแบ่งทายาท
จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่ดินที่ได้มาระหว่างที่จำเลยกับนายม้วนเป็นสามีภริยากันจึงเป็นสินสมรสระหว่างจำเลยกับนายม้วน เมื่อนายม้วนตายต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งจำเลยได้ 1 ส่วน นายม้วนได้ 2 ส่วน ส่วนของนายม้วนตกแก่ทายาททั้งหมดคือจำเลยในฐานะภริยาและทายาทอื่นรวมทั้งหมด 8 คน
พฤติการณ์ของจำเลยแสดงให้เห็นว่า การที่จำเลยลงชื่อรับมรดกที่ดินนั้นเป็นการครอบครองมรดกไว้แทนทายาทอื่น ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยบอกกล่าวไปยังทายาทว่าไม่เจตนาจะยึดถือหรือครอบครองที่ดินแปลงนี้แทนทายาทอื่นอีกต่อไป โจทก์จึงฟ้องในนามของทายาทขอให้แบ่งมรดกได้ไม่ขาดอายุความ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ขอให้แบ่งที่ดินโฉนดเลขที่ 671 ให้ทายาทคือนายเหมือนกับพวกตามส่วน แต่ระหว่างพิจารณาจำเลยและนายเหมือนกับพวกได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นว่า "ค่าที่ดินแปลงที่พิพาทนี้ในส่วนยอดเงินแคชเชียร์เช็คจำนวน 289,428 บาท ซึ่งมีชื่อนางเผือก ลำใย จำเลย และนายเหมือนผู้ร้องสอด เงินจำนวนนี้เป็นยอดเงินซึ่งจำเลยและผู้ร้องสอดมีข้อพิพาทกันในคดีแพ่งที่ 221/2527 (คือคดีนี้) ซึ่งหากคดีแพ่ง 221/2527 ถึงที่สุดว่าใครเป็นผู้มีสิทธิ ผู้นั้นจะเป็นผู้รับเงินทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยไป" เมื่อศาลพิพากษาตามยอมในคดีดังกล่าวแล้ว โจทก์ไม่จำต้องแก้ไขคำขอท้ายฟ้องในคดีนี้ เพราะไม่ทำให้ผลของการวินิจฉัยคดีเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากข้อตกลงตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้นถือเสมือนว่าเป็นข้อตกลงในการบังคับคดีเกี่ยวกับคำขอบังคับของโจทก์และเป็นข้อตกลงที่ไม่เกินส่วนที่ขอไว้ตามคำขอเดิม ศาลจึงพิพากษาให้ได้ไม่เป็นการเกินคำขอหรือที่มิได้กล่าวในคำฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2527

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สถานะภริยาตามกฎหมาย, การจัดการมรดก, และการแบ่งสินสมรสสำหรับคู่สมรสที่สมรสก่อน พ.ร.บ. 2477
กฎหมายลักษณะผัวเมียและ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ได้บัญญัติว่า เมื่อสามีละทิ้งภริยาเพียงอย่างเดียวเป็นเหตุให้ขาดจากการสมรส ฉะนั้นเมื่อ พ. กับโจทก์เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมา พ. ละทิ้งร้างโจทก์ไปหลายปีแล้วกลับมาอยู่กินฉันสามีภริยากันอีกหลังจากประกาศใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยมิได้จดทะเบียนสมรสกันก็ตาม ก็ต้องถือว่า พ. และโจทก์เป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายในขณะที่ พ. ถึงแก่กรรมเมื่อพ.ศ.2514
โจทก์ในฐานะทายาทฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดก โดยที่ผู้จัดการมรดกเป็นตัวแทนของทายาททั้งปวง และถือว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาท ทายาทไม่จำต้องเข้าครอบครองทรัพย์มรดก จำเลยจะยกอายุความ 1 ปีตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 ขึ้นต่อสู้โจทก์ไม่ได้
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาซึ่งสมรสกันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ต้องแบ่งตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย บทที่ 68 ซึ่งบัญญัติว่าถ้าชายมีสินเดิมฝ่ายเดียว หญิงไม่มีสินเดิม ชายได้สินสมรสทั้งหมด หญิงไม่มีส่วนได้เลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2664/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในที่ดินโอนมรดก: การสมรสโมฆะ และสิทธิในการครอบครอง
สามีภริยาก่อน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภริยาไปบวชชี ไม่ได้ความว่าสามีอนุญาต ยังไม่ขาดจากสามีภริยากัน สามีได้ภริยาใหม่จดทะเบียนเมื่อใช้บรรพ 5 แล้ว ไม่เป็นการสมรส ที่สมบูรณ์ ไม่มีสิทธิรับมรดกของสามี สามีตายมรดกตกได้แก่ภริยาเดิมภริยาเดิมจดทะเบียนยกที่ดินให้โจทก์แม้ไม่ระบุถึงบ้านด้วย บ้านเป็น ส่วนควบของที่ดิน โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในบ้านด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งสินสมรสหลังหย่าขาดจากกัน ภรรยามีสิทธิได้ส่วนแบ่ง
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นสามีภรรยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง บรรพ 5 เมื่อหย่าขาดจากกัน โจทก์ในฐานะภรรยาย่อมมีสิทธิที่จะได้แบ่งสินสมรสหนึ่งในสามตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย
ฎีกาของจำเลยในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นนั้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 60/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อมีการลักลอบคบหาก่อนจดทะเบียนสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในทรัพย์มรดก
หญิงชายลอบได้เสียกันจนเกิดบุตร ไม่แสดงว่าชายจะเลี้ยงดูหญิงเป็นภริยาและไม่ได้แสดงออกต่อคนทั่วไปว่าอยู่กินด้วยกันฉันสามีภริยา ไม่เป็นภริยาชายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต่อมาชายจดทะเบียนสมรสกับหญิงอื่น เป็นสามีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย เป็นทายาท เป็นผู้จัดการมรดกเมื่อชายตายได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนเว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย.ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย.ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลยโดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย.จำเลยให้การต่อสู้ว่า ย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรกเมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาทจึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
of 8