พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2180/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยกทรัพย์สินโดยเสน่หาต้องได้รับความยินยอมจากภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย หากไม่สมบูรณ์ทายาทมีสิทธิเพิกถอนได้
โจทก์และจำเลยต่างเป็นบุตรของ ย. แต่ต่างมารดากันมารดาโจทก์และมารดาจำเลยอยู่กินเป็นสามีภริยากับ ย.มาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5. ใครจะเป็นภริยาหลวงหรือภริยาน้อยก็ตาม ก็อยู่ในฐานะเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. ด้วยกันทั้งคู่ การที่สามีจะยกสินสมรสซึ่งเป็นสินบริคณห์ให้แก่ผู้ใดโดยเสน่หานั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1473 สามีต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อน เว้นแต่จะเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสังคม และตามมาตรา 1476การใดที่สามีหรือภริยากระทำซึ่งต้องรับความยินยอมจากกัน. ถ้าการนั้นมีกฎหมายบัญญัติให้ทำเป็นหนังสือหรือให้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ความยินยอมนั้นต้องทำเป็นหนังสือ ในระหว่างสมรส ย. ทำนิติกรรมจดทะเบียนยกที่พิพาทพร้อมด้วยสิ่งปลูกสร้างซึ่งเป็นสินสมรสให้แก่จำเลยโดยเสน่หา การให้ในกรณีนี้ถือไม่ได้ว่าเป็นการให้ตามสมควรในทางศีลธรรมอันดีงามหรือในทางสมาคม เมื่อไม่ปรากฏว่าภริยาของ ย. ได้ให้ความยินยอมเป็นหนังสือ การให้ดังกล่าวแล้วจึงไม่สมบูรณ์ หลังจากบิดาและมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ในฐานะทายาทโดยธรรมของมารดาซึ่งเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของ ย. เป็นผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์พิพาทย่อมมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการให้โดยเสน่หานี้ได้
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
โจทก์กล่าวอ้างในฟ้องว่า ย. ได้ทำนิติกรรมยกที่พิพาทให้แก่จำเลย โดยมิได้รับความยินยอมของมารดาโจทก์ซึ่งเป็นภริยาของ ย. จำเลยให้การต่อสู้ว่าย. ได้ยกที่พิพาทให้ด้วยความรู้เห็นยินยอมของมารดาจำเลยซึ่งเป็นภริยาอีกคนหนึ่งของ ย. แล้ว ดังนี้ ปัญหาเรื่องความยินยอมจึงเป็นประเด็นแห่งคดีมาตั้งแต่เริ่มแรก เมื่อมีกฎหมายบัญญัติว่าความยินยอมต้องทำเป็นหนังสือ ศาลย่อมมีอำนาจพิพากษาคดีให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมายได้
โจทก์เป็นบุตรและทายาทของ ย. การที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมให้โดยเสน่หา ย่อมเป็นการฟ้องเรียกร้องให้ได้ทรัพย์พิพาทกลับคืนมาเป็นทรัพย์มรดกเพื่อประโยชน์แก่โจทก์ผู้เป็นทายาท จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามพินัยกรรมยกทรัพย์สินให้โรงพยาบาล การจัดการมรดก และการมีสิทธิรับเงินของผู้รับประโยชน์
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ หรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้อง นำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้น ในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มี โจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้างแต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1198/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกตามพินัยกรรมที่มีภาระผูกพัน และสิทธิของโรงพยาบาลศิริราชในการรับทรัพย์สิน
ผู้ตายซึ่งเป็นสามีจำเลยทำพินัยกรรมมีข้อความในข้อ 1 ถึงข้อ 3 ยกที่ดินกับสิ่งปลูกสร้างให้จำเลยและผู้อื่น ข้อ 4 ว่า ทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวแล้ว ขอยกให้จำเลยแต่ผู้เดียวและขอให้จัดการกุศลดังกล่าวต่อไป ข้อ 5 ทรัพย์สินที่เป็นเงินสด ให้จำเลยนำไปมอบแก่เจ้าอาวาสวัด ช. เพื่อซ่อมแซมพระอุโบสถ 50,000 บาท ข้อ 6 เงินสดที่เหลือจากที่กล่าวในข้อ 5 ให้จำเลยมอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิหรือจะสร้างเป็นตึกคนไข้ก็ได้ โดยปรึกษากับเจ้าหน้าที่คณะแพทย์ศาสตร์และศิริราชพยาบาล แม้พินัยกรรม ข้อ 4 ระบุว่า ยกทรัพย์สินอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวในข้อ 1, 2, 3 ให้จำเลยแต่ผู้เดียวก็ตาม แต่จำเลยก็ตกอยู่ในภาระติดพันที่จะต้องนำเงินสดของผู้ตายที่เหลือจากจ่ายแล้วในข้อ 5 มอบให้แก่โรงพยาบาลศิริราชก่อตั้งเป็นมูลนิธิ พินัยกรรมข้อนี้จึงมีผลบังคับ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1676 โรงพยาบาลศิริราชเป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์โจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงเป็นผู้มีส่วนได้เสียคนหนึ่งตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม ข้อ 6 จำเลยไม่ยอมก่อตั้งมูลนิธิหรือร่วมมือกับโรงพยาบาลศิริราชในการตั้งมูลนิธิ โจทก์จึงเป็นผู้ร้องขอให้ก่อตั้งมูลนิธิได้ตามมาตรา 1677 และการก่อตั้งมูลนิธิตามมาตรา 81 นั้นในประการแรกจะต้องมีทรัพย์สินที่จัดสรรไว้ เมื่อจำเลยว่าไม่มีโจทก์สืบทราบว่ามี ก็ย่อมมีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบเงินของผู้ตายเพื่อจัดตั้งเป็นมูลนิธิได้
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
แม้โจทก์ผู้มีส่วนได้เสียตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมจะฟ้องคดีเกิน 1 ปี นับแต่ได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิตามพินัยกรรม แต่จำเลยเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลและจัดการมรดกยังไม่สิ้นสุด จำเลยก็ยกอายุความ 1 ปี ขึ้นเป็นข้อตัดฟ้องไม่ได้
แม้โจทก์จะมิได้นำสืบว่าผู้ตายมีสินเดิมอย่างใดบ้าง แต่ก็ได้นำสืบถึงฐานะของผู้ตายซึ่งรับราชการเป็นร้อยตำรวจตรีฐานะของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรเมื่อปี พ.ศ. 2466 ย่อมเป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าได้เงินเดือนสูงเพียงพอที่จะดำรงชีพได้อย่างสมเกียรติสิทธิที่ผู้ตายจะได้รับเงินเดือนก็เป็นทรัพย์สินอย่างหนึ่ง จึงเชื่อได้ว่าผู้ตายมีสินเดิมก่อนสมรส
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นสามีภริยาและสิทธิในมรดกก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง - กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ได้เสียเป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และบรรพ 6 ความเป็นสามีภริยาและบุตรต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมีย ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อได้ความว่าชายหญิงได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นสามีภริยากัน ก็ถือได้ว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1170/2510
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเป็นสามีภริยาและสิทธิบุตรก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง: การบังคับใช้กฎหมายลักษณะผัวเมีย
ได้เสียเป็นสามีภริยากันก่อนประกาศใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 และบรรพ 6 ความเป็นสามีภริยาและบุตรต้องบังคับตามกฎหมายลักษณะผัวเมียซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อได้ความว่าชายหญิงได้อยู่กินเป็นสามีภริยาโดยเปิดเผยเป็นที่รู้กันทั่วๆไปว่าเป็นสามีภริยากัน ก็ถือได้ว่าเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรที่เกิดมาจึงเป็นบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของสามี ย่อมมีสิทธิรับมรดกของสามี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1691/2509
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสปะปนกับทรัพย์สินอื่น: สิทธิเรียกร้องในทรัพย์พิพาท
โจทก์และจำเลยต่างเป็นภรรยาของผู้ตายตามลักษณะผัวเมียโดยผู้ตายได้กับโจทก์ก่อน เมื่อผู้ตายแต่งงานกับจำเลยได้นำเงิน 6 ชั่งไปกองทุนกับจำเลย และต่อมาได้ทำมาหากินกับจำเลยจนเกิดทรัพย์พิพาทขึ้น เงิน 6 ชั่งย่อมเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับผู้ตาย เมื่อนำไปใช้ทำทุนจนเกิดทรัพย์พิพาทขึ้น ถือได้ว่าสินสมรสที่โจทก์มีส่วนได้คละปะปนกับสินสมรสของจำเลย โจทก์จึงมีส่วนแบ่งในทรัพย์พิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2508
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ศาลฟังได้ตามข้ออุทธรณ์ก็ไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามอุทธรณ์ได้ ทรัพย์สินระหว่างทิ้งร้างไม่เป็นสินสมรส
โจทก์อุทธรณ์ยืดยาวและวกวน และได้ใช้ถ้อยคำในอุทธรณ์ว่า ในประเด็นอื่นๆที่ศาลชั้นต้นยังมิได้นำมาพิจารณาขอได้โปรดนำมาพิจารณาให้เป็นคุณแก่โจทก์ด้วย ถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาแล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์นั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้แจ้งชัดในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ศาลจะฟังได้ตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยแยกกันและได้หย่าร้างขาดจากสามีภริยากัน ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยได้ทิ้งร้างกันเป็นการวินิจฉัยตามประเด็น ไม่เป็นการนอกประเด็น
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายลักษณะผัวเมีย ทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายได้มาในระหว่างทิ้งร้าง ไม่เป็นสินสมรสระหว่างกัน
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ศาลจะฟังได้ตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยแยกกันและได้หย่าร้างขาดจากสามีภริยากัน ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยได้ทิ้งร้างกันเป็นการวินิจฉัยตามประเด็น ไม่เป็นการนอกประเด็น
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายลักษณะผัวเมีย ทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายได้มาในระหว่างทิ้งร้าง ไม่เป็นสินสมรสระหว่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1209/2508 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์/ฎีกาไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย, ทรัพย์สินระหว่างทิ้งร้าง, สิทธิในมรดก
โจทก์อุทธรณ์ยืดยาวและวกวน และได้ใช้ถ้อยคำในอุทธรณ์ว่า ในประเด็นอื่น ๆ ที่ศาลชั้นต้นยังมิได้นำมาพิจารณาขอได้โปรดนำมาพิจารณาให้เป็นคุณแก่โจทก์ด้วยถือว่าโจทก์ได้อุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาแล้ว แต่เมื่อข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะยกขึ้นอ้างอิงในอุทธรณ์นั้น โจทก์มิได้กล่าวไว้แจ้งชัดในอุทธรณ์ อุทธรณ์ของโจทก์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ศาลจะฟังได้ตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยแยกกันและได้หย่าร้างขาดจากสามีภริยากัน ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยได้ทิ้งร้างกัน เป็นการวินิจฉัยตามประเด็น ไม่เป็นการนอกประเด็น
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายลักษณะผัวเมีย ทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายได้มาในระหว่างทิ้งร้างกัน ไม่เป็นสินสมรสระหว่างกัน
เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์ไม่สมบูรณ์ตามกฎหมาย แม้ศาลจะฟังได้ตามข้ออุทธรณ์ของโจทก์ ศาลก็ไม่อาจพิพากษาให้เป็นไปตามอุทธรณ์ของโจทก์ได้ เพราะเป็นการเกินคำขอ
จำเลยให้การว่า โจทก์จำเลยแยกกันและได้หย่าร้างขาดจากสามีภริยากัน ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์จำเลยได้ทิ้งร้างกัน เป็นการวินิจฉัยตามประเด็น ไม่เป็นการนอกประเด็น
โจทก์จำเลยเป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ความสัมพันธ์ในครอบครัวจึงตกอยู่ภายใต้กฎหมายลักษณะผัวเมีย ทรัพย์สินที่ทั้งสองฝ่ายได้มาในระหว่างทิ้งร้างกัน ไม่เป็นสินสมรสระหว่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 460/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินบริคณห์: การบังคับยึดทรัพย์สินเดิมของภริยาเพื่อชำระหนี้สามีที่มิใช่หนี้ร่วม
แม้ผู้ร้องขัดทรัพย์เป็นภริยาของจำเลยมาตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 หนี้ที่จำเลยหรือผู้ร้องก่อขึ้นเป็นส่วนตัวฝ่ายเดียวก็ไม่อาจเอาใช้จากสินบริคณห์ที่เป็นส่วนของอีกฝ่ายหนึ่งได้(ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1479) จะเอาใช้จากสินบริคณห์ของทั้งสองฝ่ายได้ก็ต่อเมื่อเป็นหนี้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน (มาตรา 1480)
จะถือว่าเป็นสินบริคณห์แล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยจะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เสมอไปหาได้ไม่ ถ้าเป็นสินเดิมของผู้ร้องแล้วโจทก์จะนำยึดมาขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เกิดแตกร้าวกันอย่างรุนแรงจนแยกกันต่างคนต่างอยู่กันมาหลายปีแล้ว แยกกันแล้วผู้ร้องได้สามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ฟ้องเพิกถอนการสมรสนั้นและในระหว่างนั้นผู้ร้องได้โอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องให้แก่ผู้อื่นจำเลยก็จ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยพยายามอ้างและหวังอยู่ว่าที่พิพาทนี้เป็นสินสมรสซึ่งจำเลยอาจมีส่วนแบ่งด้วย นอกจากนี้จำเลยกับผู้ร้องยังเป็นความฟ้องร้องกันเรื่องอื่นอีก ดังนี้ ค่าจ้างโจทก์ว่าความคดีขอเพิกถอนการโอนนั้น กับเงินที่จำเลยกู้โจทก์มาใช้จ่ายในการเป็นความกับผู้ร้องย่อมไม่มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ตามความหมายในมาตรา 1482(2) หมายถึงหนี้ที่เกี่ยวพันอยู่กับตัวทรัพย์ที่เป็นสินบริคณห์นั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์นั้นเป็นต้น
จะถือว่าเป็นสินบริคณห์แล้ว เจ้าหนี้ของจำเลยจะนำยึดเพื่อขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เสมอไปหาได้ไม่ ถ้าเป็นสินเดิมของผู้ร้องแล้วโจทก์จะนำยึดมาขายทอดตลาดได้ต่อเมื่อหนี้ตามคำพิพากษานั้นเป็นหนี้ร่วมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1482
จำเลยกับผู้ร้องขัดทรัพย์เกิดแตกร้าวกันอย่างรุนแรงจนแยกกันต่างคนต่างอยู่กันมาหลายปีแล้ว แยกกันแล้วผู้ร้องได้สามีใหม่โดยจดทะเบียนสมรส จำเลยได้ฟ้องเพิกถอนการสมรสนั้นและในระหว่างนั้นผู้ร้องได้โอนขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินเดิมของผู้ร้องให้แก่ผู้อื่นจำเลยก็จ้างโจทก์เป็นทนายฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนทั้งนี้ก็เพื่อประโยชน์แก่จำเลยแต่ฝ่ายเดียว เพราะจำเลยพยายามอ้างและหวังอยู่ว่าที่พิพาทนี้เป็นสินสมรสซึ่งจำเลยอาจมีส่วนแบ่งด้วย นอกจากนี้จำเลยกับผู้ร้องยังเป็นความฟ้องร้องกันเรื่องอื่นอีก ดังนี้ ค่าจ้างโจทก์ว่าความคดีขอเพิกถอนการโอนนั้น กับเงินที่จำเลยกู้โจทก์มาใช้จ่ายในการเป็นความกับผู้ร้องย่อมไม่มีลักษณะเป็นหนี้ร่วมตามมาตรา 1482
หนี้ที่เกี่ยวข้องกับสินบริคณห์ตามความหมายในมาตรา 1482(2) หมายถึงหนี้ที่เกี่ยวพันอยู่กับตัวทรัพย์ที่เป็นสินบริคณห์นั้นเอง เช่น ค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตัวทรัพย์นั้นเป็นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2012/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาที่ไม่จดทะเบียนสมรสและการแบ่งทรัพย์สินเมื่อมีภริยาหลายคน
จำเลยมีผู้ร้องสลดเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว ตั้งแต่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ภายหลังการใช้บรรพนี้แล้วจำเลยยังได้โจทก์เป็นภริยาอีก แต่มิได้จดทะเบียนสมรส ภริยาแต่ละคนของจำเลยมีถิ่นที่อยู่ต่างตำบลกันและมีทรัพย์สินอยู่ ณ ตำบลที่อยู่ของแต่ละคน แสดงว่าได้แบ่งแยกกันเป็นส่วนสัดแล้ว ทรัพย์สินที่โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของร่วมกันหรือทำมาหาได้ร่วมกัน จำเลยที่ 1 ย่อมไม่มีอำนาจเอาไปขายทั้งหมดโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ครอบครองทรัพย์สินเหล่านี้มา โจทก์จึงมีส่วนได้กึ่งหนึ่ง