คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
กฎหมายลักษณะผัวเมีย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1611/2497

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์เรือนหอในความสัมพันธ์ผัวเมีย: การชำระราคาเป็นสำคัญ
โจทก์แต่งงานกับบุตรจำเลย จำเลยได้ขายเรือนของจำเลยให้แก่โจทก์เป็นเรือนหอ ซึ่งในขณะนั้นความสัมพันธ์ระหว่างสามีภรรยายังใช้กฎหมายลักษณะผัวเมียอยู่ ซึ่งตามกฎหมายนั้นเรือนหอเป็นสินเดิมของฝ่ายที่ออกทรัพย์ ปัญหาว่ากรรมสิทธิ์ในเรือนหอเป็นของใคร จึงอยู่ที่ว่าได้ชำระราคากันแล้วหรือยัง หาใช่เรื่องการปฏิบัติถูกต้องครบถ้วนตามลักษณะซื้อขายไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สินสมรสจากทรัพย์มรดกและหลักการแบ่งสินสมรสเมื่อไม่มีสินเดิม
ภริยาได้รับทรัพย์มรดกจากบิดามารดาของตนมาในระหว่างที่อยู่กินเป็นสามีภริยากับสามี ย่อมถือว่าทรัพย์มรดกที่ได้มานั้น เป็นสินสมรสระหว่างตนกับสามี เมื่อเอาทรัพย์นั้นไปขายได้เงินมา แล้วซื้อที่ดินและบ้านเรือนก็ย่อมถือว่าที่ดินและบ้านเรือนนั้นเป็นสินสมรสอยู่นั่นเอง
การแบ่งสินสมรสระหว่างสามีภริยาเมื่อก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ถ้าทั้งสองฝ่ายไม่มีสินเดิมด้วยกัน ก็ให้แบ่งสินสมรสเป็น 3 ส่วนให้ชายได้ 2 ส่วน หญิงได้ 1 ส่วน
และในกรณีที่ชายถึงแก่กรรมส่วนของชายย่อมตกเป็นมรดกตกได้แก่บุตรและภรรยาคนละส่วนเท่าๆกัน ถ้ามีภรรยา 2คน ก็คงได้รับส่วนแบ่งร่วมกันเพียงส่วนเดียวและในส่วนเดียวนี้ ยังแบ่งออกเป็น 3 ส่วนภริยาหลวงได้ 2ส่วน ภริยาน้อยได้ 1 ส่วน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2494

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดจากการเป็นสามีภรรยาจากพฤติการณ์ทอดทิ้งและมีคู่ครองใหม่ก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่ง
สามีภรรยาได้ทอดทิ้งกันจนภรรยาไปได้สามีใหม่มีบุตรด้วยกัน 2 คน ต่อมาได้ทิ้งกับสามีคนนั้นไปได้สามีใหม่อีกคนหนึ่ง แล้วฝ่ายสามีจึงมีภรรยาใหม่บ้าง พฤติการณ์ต่างๆ ดังกล่าวนี้ เป็นเวลาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ดังนี้ ย่อมถือได้ว่า สามีภรรยานั้นได้ขาดจากการเป็นสามีภรรยากันแล้ว (อ้างฎีกาที่ 755/2474)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1182/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า: สิทธิรับมรดก vs. สิทธิครอบครอง
บุตรบุญธรรมตามกฎหมายเก่า ไม่ได้จดทะเบียนเป็นบุตรบุญธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 นั้น ไม่มีสิทธิรับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรม (ประชุมใหญ่)
ฟ้องบรรยายว่าเป็นบุตรบุญธรรมของเจ้ามรดก เจ้ามรดกตายแล้วทรัพย์สินตกทอดมายังตนกับสามี ได้ครอบครองมาโดย ความสงบและเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมา 6 ปี จำเลยเข้ามาไถหว่านในนาพิพาทนี้ จึงขอให้ขับไล่นั้นถือว่า โจทก์ได้อ้างสิทธิครอบครองทรัพย์พิพาทเป็นหลักแห่งข้อหาในการขอให้บังคับจำเลยด้วย มิใช่อ้างสิทธิรับมรดกแต่อย่างเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1202/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเป็นสามีภริยา,สินสมรส,สินเดิม,การขาดจากการเป็นสามีภริยา,ภริยาร้าง
ในกฎหมายลักษณะผัวเมีย ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติว่า เมื่อชายไม่พอใจหญิง ก็ทิ้งหญิงได้ โดยหญิงไม่ต้องยินยอม และขาดจากการเป็นสามีภรรยากันได้ การที่สามีไม่พอใจภรรยาแล้วเขียนหนังสือเก็บไว้และไม่ไปมาหาสู่ภริยา ไม่ว่าจะเขียนหนังสือนั้น และเลิกติดต่อกับภริยาเมื่อใดก็ตาม ไม่ทำให้ขาดจากการเป็นสามีภริยากันได้
ในคดีแพ่ง ถ้าจำเลยประสงค์จะต่อสู้ในข้อใด จำเลยจะต้องกล่าวในคำให้การโดยชัดแจ้งพร้อมทั้งเหตุตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง
เมื่อศาลฟังว่าภริยามีสินเดิม ศาลก็พิพากษาให้ส่วนแบ่งในสินสมรสได้ ไม่มีกฎหมายจำกัดว่าแม้จะมีสินเดิม ก็ต้องอยู่ร่วมบ้านด้วย จึงจะได้ส่วนแบ่งในสินสมรส
การแบ่งทรัพย์ระหว่างสามีภริยาจะต้องหักสินสมรสใช้สินเดิม ก็ต่อเมื่อปรากฏว่าสินเดิมสูญไปแล้ว
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องว่า สินเดิมของจำเลยไม่ปรากฏแต่โจทก์ก็ตั้งรูปฟ้องมาในทางหาว่าจำเลยมีส่วนแบ่งในสินสมรสด้วย ฉะนั้นในการที่ศาลจะคำนวณส่วนแบ่งในสินสมรสอันโจทก์ซึ่งเป็นภรรยาคนหนึ่งจะได้รับศาลก็จำต้องคำนวณโดยถือว่าจำเลยมีส่วนในสินสมรสด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาต้องมีกฎหมายให้อำนาจเฉพาะเจาะจง
โดยปกติเมื่อชายหญิงยังเป็นสามีภรรยากันอยู่จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์ที่บริคณห์กันอยู่ไม่ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ เช่นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1467,1472,1478 ในกรณีเช่นที่โจทก์ฟ้องนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย(อ้างฎีกา 622/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2491 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเรียกทรัพย์ระหว่างสามีภรรยา: สิทธิฟ้องต้องมีฐานตามกฎหมายเฉพาะ
โดยปรกติเมื่อชายหญิงยังเป็นสามีภรรยากันอยู่ จะฟ้องร้องกันด้วยเรื่องทรัพย์ที่บริคณฑ์กันอยู่ไม่ได้ เว้นแต่จะมี ก.ม.บัญญัติให้อำนาจไว้ เช่น ป.พ.พ.มาตรา 1467, 1472, 1478 ในกรณีเช่นที่โจทก์ฟ้องนี้ ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลย
(อ้างฎีกา 622/2489)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2491

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องสินสมรสของภริยาหลวงเมื่อภริยาอีกคนฟ้องแบ่งสินสมรสก่อน แม้จะเคยเบิกความคัดค้าน
เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5ภริยาคนหนึ่งฟ้องเรียกเอาสินสมรสในภาคภริยาเสียทั้งหมดดังนี้ ภริยาอีกคนหนึ่งซึ่งมีส่วนได้อยู่ด้วย ย่อมมีสิทธิติดตามฟ้องเรียกเอาส่วนของตนจากภริยาคนที่ฟ้องนั้นได้ภายในกำหนดอายุความ แม้ในขณะที่ภริยาคนหนึ่งฟ้องเรียกสินสมรสในคดีเรื่องก่อนนั้น ภริยาคนนี้จะมิได้เข้าร่วมเป็นโจทก์ด้วย และกลับเข้าเบิกความเป็นปฏิปักษ์ต่อภริยาคนนั้น ในคดีเรื่องนั้นก็ดีก็จะถือว่าเป็นข้อปิดปากภริยาคนนี้ หรือจะถือว่าภริยาคนนี้มาฟ้องคดีโดยใช้สิทธิไม่สุจริตไม่ได้ เพราะการที่จะเข้าร่วมเป็นคู่ความในคดีก่อน เพื่อบังคับตามสิทธิของตนหรือไม่นั้นเป็นสิทธิของผู้มีส่วนได้เสีย จะเข้าร่วมหรือไม่ก็ได้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57 มิใช่เป็นบทบังคับให้ต้องเข้าร่วมเป็นคู่ความด้วยเสมอไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 943/2490

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินร่วมถือเป็นสินสมรส แม้ภรรยาไม่มีสินเดิม
หญิงเป็นภรรยาชายก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 โดยไม่มีสินเดิม แม้ชายผู้สามีจะตายเมื่อใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 แล้ว ภรรยาก็ไม่มีสิทธิได้สินสมรสตามมาตรา 1517
สามีและภรรยามีชื่อในโฉนดเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินร่วมกันในระหว่างอยู่กินเป็นสามีภรรยากันนั้น ถือว่าเป็นสินสมรส

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 660/2490 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแบ่งมรดกกรณีไม่มีสินเดิม และการครอบครองแทนโจทก์
ในกรณีที่เป็นผัวเมียตามกฎหมายเก่า เมื่อไม่ปรากฏว่าทั้งสองฝ่ายมีสินเดิม ก็ต้องแบ่งสินสมรสให้แก่สามี 2 ส่วน ภรรยา 1 ส่วน
ศาลชั้นต้นฟังว่า จำเลยปกครองมฤดกแทนโจทก์ เมื่อศาลอุทธรณ์ยกฟ้องในข้อที่ไม่มีทรัพย์มฤดก โจทก์ฎีกาฝ่ายจำเลยเถียงในชั้นฎีกาในข้ออื่น มิได้เถียงในข้อปกครองแทน ดังนี้ศาลฎีกาคงถือว่าจำเลยปกครองมฤดกแทนโจทก์
โจทก์ฟ้องแบ่งมฤดกและตีราคามาในคำขอท้ายฟ้องด้วยนั้นศาลพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ตามส่วนที่โจทก์ขอโดยไม่ต้องจำกัดให้ได้รับเกินราคาท้ายฟ้องได้เพราะการตีราคามานั้น เพื่อเรียกค่าธรรมเนียมศาล
ผู้ร้องขอส่วนแบ่งมฤดกมาในศาลชั้นต้น เมื่อคดีสู่ศาลสูง ผู้ร้องก็ยื่นคำร้องขอส่วนแบ่งในชั้นศาลสูงอีกได้โดยไม่ต้องทำเป็นอุทธรณ์ฎีกา
of 8