พบผลลัพธ์ทั้งหมด 73 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนการโอนมรดก: อายุความ, การจัดการมรดก, สิทธิในสินสมรส, และการแบ่งมรดก
กรณีที่จะเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148 นั้น จะต้องประกอบด้วยหลักเกณฑ์ 3 ประการ คือ คู่ความคดีหลังเป็นคู่ความเดียวกันกับคู่ความคดีแรก คำพิพากษาหรือคำสั่งในคดีแรกต้องถึงที่สุดก่อนฟ้องคดีหลัง และประเด็นข้อพิพาทในคดีแรกและคดีหลังเป็นอย่างเดียวกันทั้งได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแรกแล้ว ดังนั้นแม้คู่ความคดีนี้จะเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีหมายเลขแดงที่ 1442/2540 ทั้งประเด็นแห่งคดีเป็นอย่างเดียวกันและคดีหมายเลขแดงที่ 1442/2540 ถึงที่สุดโดยศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้ยกฟ้องเนื่องจากคดีหมายเลขที่ 1442/2540 ของศาลชั้นต้น เป็นฟ้องซ้อนกับคดีหมายเลขแดงที่ 1710/2539 ของศาลชั้นต้น แต่ศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขแดงที่ 1442/2540 ยังไม่ได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นข้อพิพาทอันเป็นเนื้อหาแห่งคดีว่าที่ดินพิพาทเป็นมรดกของนาย ย. หรือไม่ เพียงใด ฟ้องโจทก์ทั้งสี่ขาดอายุความหรือไม่ โจทก์ทั้งสี่มีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนการโอนหรือไม่ ดังนั้นฟ้องของโจทก์ทั้งสี่คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1442/2540
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนาง น. ให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ย. นาง น. จึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามกฎหมาย มีผลให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของนาย ย. ไม่จำต้องฟ้องร้องภายในอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และถือได้ว่านาง น. ในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทของนาย ย. ทุกคน แม้ต่อมานาง น. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนาย ย. ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของนาย ย. ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และการจัดการมรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของนาย ย. และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาจากนาง น. ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างนาย ย. และนาง น. ได้มาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2499 โดยนาย ย. และนาง น. อยู่กินกันฉันสามีภริยาและแต่งงานกันในขณะกฎหมายลักษณะผัวเมียใช้บังคับ (โดยมิได้จดทะเบียนสมรสในภายหลัง) จึงต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนาย ย. ได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วน ส่วนนาง น. ได้ 1 ใน 3 ส่วน
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งนาง น. ให้เป็นผู้จัดการมรดกของนาย ย. นาง น. จึงมีหน้าที่ต้องแบ่งปันทรัพย์มรดกให้แก่ทายาททุกคนตามกฎหมาย มีผลให้โจทก์ทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาทของนาย ย. ไม่จำต้องฟ้องร้องภายในอายุความมรดก 1 ปี เพราะอายุความสะดุดหยุดลง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/14 และถือได้ว่านาง น. ในฐานะผู้จัดการมรดกครอบครองทรัพย์มรดกที่ยังมิได้แบ่งปันแทนทายาทของนาย ย. ทุกคน แม้ต่อมานาง น. ในฐานะผู้จัดการมรดกได้โอนที่ดินพิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของนาย ย. ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่งของนาย ย. ก็เป็นการแบ่งปันทรัพย์มรดกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายจำเลยจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท และการจัดการมรดกที่ไม่ชอบนั้นย่อมทำให้การจัดการทรัพย์มรดกยังไม่สิ้นสุดลง ที่ดินพิพาทจึงยังเป็นทรัพย์สินในกองมรดกของนาย ย. และยังคงอยู่ในระหว่างการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก เมื่อจำเลยรับโอนที่ดินพิพาทมาจากนาง น. ก็ต้องถือว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทแทนทายาทอื่นทั้งหมด โจทก์ทั้งสี่มีสิทธิเรียกร้องให้แบ่งที่พิพาทได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1748 วรรคหนึ่ง คดีของโจทก์ทั้งสี่จึงยังไม่ขาดอายุความมรดก
ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างนาย ย. และนาง น. ได้มาเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2499 โดยนาย ย. และนาง น. อยู่กินกันฉันสามีภริยาและแต่งงานกันในขณะกฎหมายลักษณะผัวเมียใช้บังคับ (โดยมิได้จดทะเบียนสมรสในภายหลัง) จึงต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนาย ย. ได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วน ส่วนนาง น. ได้ 1 ใน 3 ส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากการขายที่ดินมรดกและการเพิกถอนนิติกรรมโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอม
ช.กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5พ.ศ.2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช.ได้หย่าขาดจากกัน ประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช.ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตาม ป.พ.พ.มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจาก ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับ จะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ ช.ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
การที่ ช.นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช.ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่ง ตามป.พ.พ.มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1 จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่าง ช.กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8227/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สินสมรสจากทรัพย์มรดกและการโอนทรัพย์สินโดยไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส
ช. กับโจทก์ที่ 1 เป็นสามีภริยาก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ. 2477 ช.ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2535 ศาลมีคำสั่งตั้งโจทก์ที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของ ช.ระหว่างที่ช.มีชีวิตอยู่ ช.ได้ทำสัญญาจะซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์จากจำเลยที่ 1 หลังจากนั้น ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์เลขที่ 10/141 ให้จำเลยที่ 2 และมีการเปลี่ยนคู่สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ เมื่อไม่ปรากฏว่าในระหว่างสมรสโจทก์ที่ 1 และ ช. ได้หย่าขาดจากกันประกอบกับที่ดินมรดกนั้น ช. ได้รับมาก็ไม่ปรากฏว่าเป็นทรัพย์สินประเภทใด กรณีจึงเป็นที่สงสัย ต้องสันนิษฐานว่า ที่ดินมรดกดังกล่าวเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474 ดังนี้เงินที่ ช.ได้มาจากการขายที่ดินดังกล่าวแล้วนำไปฝากธนาคาร เมื่อเป็นการได้ทรัพย์สินมาหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 ใช้บังคับแล้ว จึงต้องนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ขณะนั้นมาใช้บังคับจะนำกฎหมายลักษณะผัวเมียมาใช้บังคับหาได้ไม่ เงินที่ช. ได้จากการขายที่ดินมรดกจึงเป็นสินสมรส การที่ ช. นำเงินดอกเบี้ยซึ่งเป็นดอกผลของสินสมรสไปซื้อที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาท ทรัพย์สินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสของโจทก์ที่ 1 กับ ช. ซึ่งในการจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องได้รับความยินยอมจากคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1480 การที่ ช.ยกที่ดินพร้อมทาวน์เฮาส์ที่พิพาทให้แก่จำเลยที่ 2 โดยไม่ได้ รับความยินยอมจากโจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นคู่สมรส โจทก์ที่ 1จึงขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินและทาวน์เฮาส์ระหว่างช. กับจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินบริคณห์ของสามีภายใต้กฎหมายที่ใช้บังคับก่อนและหลังการตรวจชำระ
โจทก์กับ ป.อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อน ป.พ.พ.บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับ จึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป.ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.พ.ศ.2477มาตรา 1468, 1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป.ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ ป.พ.พ.บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกัน และมาตรา1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่ง คู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตาม แต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 ป.สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
ป.สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่าง ป.กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน
การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป.ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป.ได้จดทะเบียนสมรสกันตาม ป.พ.พ.ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป.ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสก่อน/หลังการตรวจชำระใหม่ พ.ร.บ. 2519: สิทธิสามีในการจำหน่ายที่ดิน
โจทก์กับ ป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 พ.ศ.2477 ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับ ป. ได้มาเมื่อปี 2491 เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ.2477มาตรา 1468,1473 และมาตรา 1462 อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมา ที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์ เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น ป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้ แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ. 2519 มาตรา 1476 จะบัญญัติว่า นอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่น สามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา 1480 วรรคสอง บัญญัติว่า ในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519ป. สามีโจทก์ จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา 7 ของ พระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 บัญญัติไว้ และอำนาจจัดการนั้น มาตรา 1477 ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่า ให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อน การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย โจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับ ป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้ว แม้ต่อมาโจทก์กับ ป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในปี 2522 ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับ ป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3181/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจจัดการสินสมรสก่อนและหลังการบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ฉบับปรับปรุง
โจทก์กับป. อยู่กินฉันสามีภริยามาก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พ.ศ.2477ใช้บังคับจึงเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายตามกฎหมายลักษณะผัวเมียที่ดินพิพาทโจทก์กับป. ได้มาเมื่อปี2491เป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับป. การจัดการสินสมรสดังกล่าวต้องบังคับตามบทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์พ.ศ.2477มาตรา1468,1473และมาตรา1462อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับขณะที่ได้ที่ดินพิพาทมาที่ดินพิพาทจึงเป็นสินบริคณห์เมื่อไม่ปรากฏว่ามีสัญญาก่อนสมรสกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นป. ย่อมมีอำนาจจัดการสินบริคณห์เองได้แม้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาตรา1476จะบัญญัติว่านอกจากสัญญาก่อนสมรสจะกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นสามีและภริยาเป็นผู้จัดการสินสมรสร่วมกันและมาตรา1480วรรคสองบัญญัติว่าในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งได้ทำนิติกรรมไปโดยปราศจากความยินยอมตามวรรคหนึ่งคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งอาจขอให้ศาลเพิกถอนนิติกรรมนั้นได้ก็ตามแต่การใช้บทบัญญัติในบรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ต้องอยู่ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ป. สามีโจทก์จึงยังคงมีอำนาจจัดการสินบริคณห์รายนี้ได้ต่อไปตามที่มาตรา7ของพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ5แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519บัญญัติไว้และอำนาจจัดการนั้นมาตรา1477ที่ได้ตรวจชำระใหม่บัญญัติไว้ว่าให้รวมถึงอำนาจจำหน่ายด้วย ป. สามีโจทก์มีอำนาจจำหน่ายที่ดินพิพาทได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากโจทก์ก่อนการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างป. กับจำเลยจึงเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมายโจทก์จึงไม่มีสิทธิที่จะมาฟ้องขอเพิกถอน การสมรสระหว่างโจทก์กับป. ชอบด้วยกฎหมายลักษณะผัวเมียแล้วแม้ต่อมาโจทก์กับป. ได้จดทะเบียนสมรสกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในปี2522ย่อมไม่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับป. ในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สินเปลี่ยนแปลงไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7254/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะภริยาโดยชอบด้วยกฎหมาย: การสมรสซ้อนและการคุ้มครองภริยาเดิม
ตามกฎหมายลักษณะผัวเมียอนุญาตให้ชายมีภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายได้หลายคนในเวลาเดียวกัน ทั้งได้จัดลำดับชั้นของภริยาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่เมียกลางเมือง เมียกลางนอกหรืออนุภรรยา และเมียกลางทาษีหรือทาษภรรยา สำหรับเมียกลางเมืองนั้นหมายถึง หญิงอันบิดามารดากุมมือยกให้เป็นภริยาของชายซึ่งถือเป็นภริยาหลวง ส่วนภริยาอีก 2 ประเภท ก็มีฐานะลดหลั่นกันลงมาตามวิธีการที่ชายได้หญิงนั้นมาเป็นภริยาหรือตามลักษณะที่ชายเลี้ยงดูเชิดชูหญิงว่าเป็นภริยา แต่ไม่ว่าจะเป็นภริยาในลำดับชั้นใดก็ตาม ต่างก็ถือว่าเป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายด้วยกันทั้งสิ้น ดังนั้น แม้ข้อเท็จจริงจะไม่ปรากฏชัดแจ้งว่า บิดามารดาของโจทก์จะได้กุมมือยกโจทก์ให้เป็นภริยาของผู้ตาย ก็ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์มิได้เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
ผู้ตายกับโจทก์ได้อยู่กินกันฉันสามีภริยามาตั้งแต่ปี 2462 ก่อนป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม มีผลบังคับใช้ และมีบุตรด้วยกันถึง 6 คน และตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 5 บัญญัติไว้ว่า บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ.นี้ ไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของการหมั้น การสมรส ฯลฯ ที่ได้มีอยู่แล้วในวันใช้บังคับบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ ท้ายพ.ร.บ. นี้ เมื่อมีข้อเท็จจริงที่แสดงให้เห็นว่าผู้ตายกับโจทก์อยู่กินเป็นสามีภริยากันโดยเปิดเผย เป็นที่รู้กันทั่วไปและมิได้ทิ้งร้างกันแต่อย่างใด ผู้ตายกับโจทก์จึงยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่ตลอดมา ส่วนจำเลยนั้นเพิ่งอยู่กินกับผู้ตายเมื่อปี 2491 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังจากที่ ป.พ.พ. บรรพ 5 เดิม ใช้บังคับแล้วแม้จำเลยกับผู้ตายจะมีบุตรด้วยกัน 4 คน แต่เมื่อรับฟังได้ว่าผู้ตายกับโจทก์ยังเป็นสามีภริยากันโดยชอบด้วยกฎหมายอยู่แล้ว การที่ผู้ตายได้จดทะเบียนสมรสกับจำเลยอีกเช่นนี้ การสมรสระหว่างจำเลยกับผู้ตายจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. บรรพ 5ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 1452 และมาตรา 1496 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสหลังการตายของสามี และการโอนมรดกโดยไม่ชอบ
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป.และ น.อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป.และ น.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พุทธศักราช2477 เมื่อ น.ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 4 ประกอบพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 4 และเมื่อ ป.สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป.กับ น.ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป.สามีจึงได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วนน.ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น.โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป.ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น.โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.และ น.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป.และ น.มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่
ป.และ น.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ป.พ.พ.บรรพ 5 พุทธศักราช2477 เมื่อ น.ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น.เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ. พ.ศ.2477 มาตรา 4 ประกอบพ.ร.บ.ให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519มาตรา 4 และเมื่อ ป.สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป.กับ น.ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป.สามีจึงได้ส่วนแบ่ง 2 ใน 3 ส่วนน.ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น.โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป.ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น.โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป.และ น.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป.และ น.มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งสินสมรสและทรัพย์มรดกหลังการเสียชีวิต โดยมีประเด็นเรื่องการโอนทรัพย์สินก่อนการแบ่งมรดก และการตรวจสอบทรัพย์มรดกที่ยังไม่พบ
โจทก์ฟ้องว่านายป. และนางน. อยู่กินฉันสามีภริยาตั้งแต่ปี2470และต่อมาปี2520จึงจดทะเบียนสมรสจำเลยที่2มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงฟังได้ว่านายป.และนางน.เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5พุทธศักราช2477เมื่อนางน. ได้ที่ดินมาในปี2500ซึ่งอยู่ระหว่างสมรสจึงเป็นสินสมรสแม้จะมีชื่อนางน. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตามเมื่อนายป. ถึงแก่กรรมต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียโดยนายป. ได้2ส่วนนางน. ได้1ส่วนส่วนของนายป.จึงเป็นมรดกแม้นางน.จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. ก็ไม่มีอำนาจยกที่ดินส่วนที่ตกแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับมรดกแทนที่ทายาทของนายป. ให้แก่จำเลยที่2โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกโดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน แม้จำเลยที่2จะเป็นผู้จัดการมรดกของนายป. และนางน.มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกมาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตามก็เป็นเรื่องไม่กระทำตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดกเท่านั้นเมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกจำพวกพระเครื่องพระบูชาสร้อยข้อมือทองคำสร้อยคอทองคำและแหวนเพชรอยู่ที่จำเลยที่2โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกดังกล่าวจากจำเลยที่2หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1163/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งมรดก สินสมรส การโอนทรัพย์สินโดยไม่ชอบ และการจัดการมรดกของผู้จัดการมรดก
โจทก์ทั้งสองฟ้องว่า ป. และ น. อยู่กินฉันสามีภริยากันตั้งแต่ปี 2470 และต่อมาปี 2520 จึงได้จดทะเบียนสมรสกัน จำเลยที่ 2 มิได้ให้การปฏิเสธในข้อนี้ ถือว่ายอมรับข้อเท็จจริงดังกล่าว
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่
ป. และ น. เป็นสามีภริยากันก่อนใช้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 5 พุทธศักราช 2477 เมื่อ น. ได้ที่ดินโฉนดเลขที่ 9379 มาในปี 2500 ซึ่งอยู่ในระหว่างสมรส แม้ในโฉนดที่ดินจะมีชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์เพียงผู้เดียวก็ตาม ก็เป็นสินสมรสตามพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติ บรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ศ. 2477 มาตรา 4 ประกอบพระราชบัญญัติให้ใช้บทบัญญัติบรรพ 5 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ. 2519 มาตรา 4 และเมื่อ ป. สามีถึงแก่กรรมก็ต้องแบ่งสินสมรสตามกฎหมายลักษณะผัวเมียและเมื่อ ป. กับ น. ต่างไม่ปรากฏว่ามีสินเดิม ป. สามีจึงได้ส่วนแบ่ง2 ใน 3 ส่วน น. ภริยาได้ 1 ใน 3 ส่วน
น. โอนที่ดินโดยรวมเอามรดกของ ป. ส่วนที่ตกได้แก่โจทก์ให้แก่จำเลยที่ 2 เป็นการไม่ชอบ การโอนจึงไม่สมบูรณ์เฉพาะส่วนที่เป็นของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นทายาทผู้รับโอนทรัพย์มรดกไว้โดยไม่ชอบนั้นให้แบ่งส่วนแก่ตนได้โดยไม่จำต้องฟ้องขอให้เพิกถอนการโอน
โจทก์มิได้ฟ้องกล่าวอ้างว่า น. โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่ไม่มีสติสัมปชัญญะแต่อย่างใด คดีจึงไม่มีประเด็นในข้อนี้ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น โจทก์ฎีกาในประเด็นนี้ก็เป็นฎีกานอกประเด็นหรือเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยที่ 2 จะเป็นผู้จัดการมรดกของ ป. และ น. มีหน้าที่ติดตามทรัพย์มรดกของ ป. และ น. มาแบ่งแก่ทายาทแล้วไม่ติดตาม ก็เป็นเรื่องไม่กระทำการตามหน้าที่ในฐานะผู้จัดการมรดก แต่เมื่อไม่ได้ความว่าทรัพย์มรดกที่โจทก์ฟ้องในส่วนนี้อยู่ที่จำเลยที่ 2 หรืออยู่ในความครอบครองของจำเลยที่ 2 โจทก์ก็จะฟ้องแบ่งทรัพย์มรดกในส่วนนี้จากจำเลยที่ 2 หรือให้ใช้ราคาทรัพย์มรดกตามส่วนที่โจทก์มีสิทธิจะได้รับหาได้ไม่