คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 85

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิภาระจำยอม - ผู้รับโอนทราบข้อพิพาทต้องรับภาระ
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่า มอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดี ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภาระจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะ จำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์ และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภาระจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภาระจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริต เมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดีจำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต สิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภาระจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2968/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอม การรับโอนทรัพย์สินโดยไม่สุจริต ผู้รับโอนต้องผูกพันตามภาระเดิม
การมอบอำนาจให้ฟ้องหรือต่อสู้คดี ย่อมหมายความว่ามอบอำนาจให้ดำเนินคดีแทนทั้งเรื่องจนกว่าจะเสร็จสิ้น การที่จะมีคู่ความฝ่ายอื่นเช่นผู้ร้องสอดหรือผู้ร้องขัดทรัพย์เข้ามาในคดีหรือไม่ เป็นเรื่องที่ไม่อาจรู้ได้ในขณะที่เริ่มฟ้องหรือต่อสู้คดีผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจกระทำการแทนตัวความในการต่อสู้คดีกับบุคคลภายนอกที่เข้ามาในคดีในภายหลังได้
ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ถนนสาธารณะได้ โจทก์จึงซื้อที่ดินจากจำเลยโดยมีข้อตกลงว่าจำเลยจะต้องจัดให้โจทก์ได้ภารจำยอมเหนือที่ดินทุกแปลงที่เป็นทางออกสู่ถนนสาธารณะจำเลยก็ได้แบ่งแยกที่ดินจนเหลือเป็นรูปถนนจดที่ดินของโจทก์และจดที่ดินทั้งสี่แปลงที่โจทก์ซื้อจากจำเลยเพิ่มเติม ซึ่งโจทก์อาจใช้เป็นถนนขนาดให้รถยนต์เข้าออกได้หมด ข้อตกลงเช่นนี้แม้จะมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ก็ใช้บังคับกันได้ในระหว่างคู่กรณี
จำเลยโอนที่ดินให้แก่จำเลยร่วมภายหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีนี้และมีการทำแผนที่พิพาทแล้ว โดยจำเลยและจำเลยร่วมทราบข้อเท็จจริงที่ถูกฟ้องแล้วว่าที่ดินแปลงนี้จะต้องถูกบังคับให้ตกอยู่ภายใต้ภารจำยอมตามกฎหมาย คำร้องของโจทก์ที่ขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีกล่าวอ้างว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทไปโดยรู้แล้วว่าที่ดินแปลงนี้กำลังถูกฟ้องบังคับให้ตกอยู่ในภารจำยอมเท่ากับจำเลยร่วมรับโอนโดยไม่สุจริตเมื่อจำเลยร่วมยื่นคำให้การเข้ามาในคดี จำเลยร่วมหาได้ปฏิเสธว่าตนเองรับโอนที่ดินพิพาทโดยสุจริตไม่ จึงต้องถือว่าจำเลยร่วมยอมรับตามข้อกล่าวอ้างของโจทก์แล้วว่าจำเลยร่วมรับโอนที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริตสิทธิและหน้าที่ของจำเลยในที่ดินแปลงนี้มีอยู่อย่างไร จำเลยร่วมย่อมต้องรับโอนจากจำเลยไปทั้งหมด รวมทั้งหน้าที่ที่จะต้องถูกบังคับให้ที่ดินแปลงนี้ตกอยู่ในภารจำยอม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริง, การนำสืบหลักฐานนอกคำให้การ, และสัญญาประนีประนอมยอมความที่ไม่สมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาทและให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาด ไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง จำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่า ขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่าได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่าง โจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ เป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 นำสืบอ้าง ว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับ คดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยาน ของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับ ความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวกรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 850,851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความ ดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7228/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา, การนำสืบพยานนอกคำให้การ, และความไม่ชอบของสัญญาประนีประนอมยอมความ
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าใช้จ่ายในการจัดการงานศพแก่โจทก์ทั้งสองจำนวน 49,000 บาท และให้จำเลยที่ 2 ร่วมชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 240,000 บาท ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เฉพาะค่าขาดไร้อุปการะเป็นว่า ให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชดใช้ค่าขาดไร้อุปการะแก่โจทก์ทั้งสองเป็นเงินคนละ 120,000 บาท เมื่อจำเลยที่ 2 ฎีกาขอให้ยกฟ้องทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกา สำหรับจำเลยที่ 2 กับโจทก์แต่ละคนจึงไม่เกิน 200,000บาท ต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่งจำเลยที่ 2 ฎีกาว่า เหตุเกิดจากความประมาทของผู้ตายเพียงฝ่ายเดียว หรือผู้ตายมีส่วนประมาทด้วย และโจทก์เรียกค่าขาดไร้อุปการะสูงเกินจริง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 2 ให้การต่อสู้คดีเป็นประเด็นพิพาทว่า ได้มีการตกลงระงับข้อพิพาทกันแล้ว โดยอ้างข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ตามสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นสำคัญเพียงฉบับเดียว ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2นำสืบอ้างว่ามีการตกลงระงับข้อพิพาทกันตามสำเนารายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพิ่มเติมในชั้นสืบพยานจำเลยจึงเป็นการนำสืบนอกคำให้การ ทั้งเอกสารฉบับนี้ไม่ได้ระบุอ้างเป็นพยานไว้ในบัญชีระบุพยานของจำเลยที่ 2 ด้วย จึงต้องห้ามมิให้รับฟังตามป.วิ.พ.มาตรา 87
ตามสัญญาประนีประนอมยอมความโจทก์เป็นฝ่ายได้รับความเสียหายจากมูลละเมิด จึงเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 ฉะนั้น จำเลยทั้งสองจึงอยู่ในฐานะเป็นฝ่ายที่ต้องรับผิด แต่กลับปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และ ที่ 2ไม่ได้ลงลายมือชื่อในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าว กรณีจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.พ.พ.มาตรา 850, 851 สัญญาประนีประนอมยอมความฉบับนี้ จึงเป็นสัญญาที่ไม่ชอบ จำเลยที่ 2 จะอ้างเอาสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานในคดีภาษีอากร และเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานถูกต้องตามข้อกำหนดภาษีอากรในชั้นพิจารณาแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบการประเมินและการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7819/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นศาลภาษีอากร และการพิจารณาเบี้ยปรับกรณีหลีกเลี่ยงภาษี
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรฯ มาตรา 17 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานถูกต้องตามข้อกำหนดภาษีอากรในชั้นพิจารณาแล้ว ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามรับฟังพยานหลักฐานที่นำสืบในชั้นศาลโดยไม่ผ่านขั้นตอนของการตรวจสอบการประเมินและการพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้
โจทก์ได้รับหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้า (ปัจจุบันภาษีมูลค่าเพิ่ม) จากเจ้าพนักงานประเมิน สำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2528 และ 2529ปรากฏว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีทั้งเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแสดงยอดรายรับไว้ไม่ถูกต้องครบถ้วนและมีรายจ่ายต้องห้าม ตามมาตรา 65 ทวิ(2) และ65 ตรี(3) และ (9) แห่งประมวลรัษฎากร กล่าวคือ โจทก์บันทึกบัญชีมียอดขายไม่ลงบัญชีและยอดรายรับขาดบัญชีเป็นจำนวนไม่น้อยโดยที่มีพยานหลักฐานตรวจสอบได้แน่ชัด อันเป็นพฤติการณ์ส่อแสดงให้เห็นว่าโจทก์มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษี การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ลดเบี้ยปรับให้โจทก์ คงเรียกเก็บในอัตราร้อยละ 50ของเบี้ยปรับตามกฎหมาย นับว่าเป็นคุณแก่โจทก์แล้ว ไม่มีเหตุอันควรที่จะลดเบี้ยปรับให้ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4833/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบต่างจากคำให้การไม่กระทบประเด็นครอบครองปรปักษ์ หากเป็นการอ้างสิทธิในฐานะผู้ซื้อ
แม้ทางนำสืบของจำเลยจะแตกต่างกับคำให้การของจำเลยในเรื่องจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือซื้อจาก ย. ผ่าน ก. แต่ประเด็นข้อพิพาทตามที่ศาลชั้นต้นกำหนดมีว่า จำเลยได้กรรมสิทธิ์ในที่พิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ ไม่ได้กำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าจำเลยซื้อที่พิพาทจาก ก. หรือไม่ ข้อที่โจทก์กับจำเลยโต้แย้งกันคือ จำเลยเข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของ ก. หรืออาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาท ดังนั้นไม่ว่าจำเลยจะซื้อที่พิพาทจาก ย. โดยชำระเงินผ่าน ก. หรือ ก. ซื้อที่ดินจาก ย. แล้วแบ่งที่พิพาทขายให้จำเลย ก็เป็นกรณีที่จำเลยนำสืบอ้างว่าได้เข้าอยู่ในที่พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยเองในฐานะผู้ซื้อที่พิพาทเช่นกัน การนำสืบของจำเลยจึงอยู่ในประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไม่ถึงกับเป็นเหตุให้รับฟังไม่ได้ ส่วนจะมีน้ำหนักน่าเชื่อหรือไม่เพียงใดเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของโจทก์และจำเลยต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4130/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้าง และการแก้ไขคำพิพากษาที่ผิดพลาด
เกิดเหตุรถชนแล้วจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ขับรถคู่กรณีหลบหนีไปส่อแสดงพิรุธว่าเป็นฝ่ายกระทำผิดจริง และยังต้องด้วยข้อสันนิษฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้กระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 78 วรรคสองแห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 แม้ฝ่ายโจทก์จะมิได้นำสืบ น. ซึ่งเป็นพยานคู่กับโจทก์ที่ 1ในคราวเดียวกันก็ดี แต่ศาลย่อมใช้ดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักคำพยานดังกล่าวแล้วได้กฎหมายมิได้บัญญัติห้ามมิให้รับฟัง ร้อยตำรวจเอกป.เป็นพนักงานสอบสวนผู้ตรวจสถานที่เกิดเหตุการพบร่องรอยตลอดจนเศษวัสดุต่าง ๆ ที่ตกอยู่ในที่เกิดเหตุจึงเป็นประจักษ์พยานไม่ใช่เป็นพยานบอกเล่า สำเนาใบเสร็จรับเงินเกี่ยวกับค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ที่ 1 ที่โรงพยาบาลออกให้เพื่อเป็นหลักฐานแสดงว่าโจทก์ที่ 1 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลตามเอกสารดังกล่าวจริง ดังนี้แม้ฝ่ายโจทก์มิได้ส่งสำเนาเอกสารให้แก่จำเลยทั้งสองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90 แต่กรณีเห็นได้ว่าเป็นพยานหลักฐานอันสำคัญซึ่งเกี่ยวกับประเด็นข้อสำคัญในเรื่องค่ารักษาพยาบาล ฉะนั้นเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานข้างต้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87 ในกรณีทำให้เสียหายแก่ร่างกายนั้น ค่าสินไหมทดแทนได้แก่ค่ารักษาพยาบาล รวมทั้งค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้ เพราะไม่สามารถประกอบการงาน และค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนทั้งในเวลาปัจจุบันและในเวลาอนาคตด้วยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 443 วรรคสอง และมาตรา 444 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ดังนี้ ผู้ทำละเมิดจึงต้องใช้ค่าขาดรายได้อันเป็นค่าเสียหายที่ขาดประโยชน์ทำมาหาได้อีกส่วนหนึ่ง ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 กล่าวคือ ค่าเสียหายของรถจักรยานยนต์เป็นเงิน 40,000 บาท ค่ารักษาพยาบาลเป็นเงิน 29,564 บาทค่าเสียหายเพื่อการที่เสียความสามารถประกอบการงานสิ้นเชิงหรือแต่บางส่วนเพราะทุพพลภาพเป็นเงิน 60,000 บาท และค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานเป็นเงิน 120,000 บาท รวมค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 249,564 บาท แต่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 กลับพิพากษาให้ค่าเสียหายแก่โจทก์ที่ 1 เป็นเงิน 209,564 บาท กรณีเป็นที่เห็นได้ชัดว่าเกิดจากความผิดพลาดหรือผิดหลงในการรวมคำนวณยอดค่าเสียหายของโจทก์ที่ 1 ซึ่งถือได้ว่าเป็นข้อผิดพลาดเล็กน้อยหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยที่แก้ไขได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาแก้ไขคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในส่วนนี้ให้ถูกต้องได้ ส.มีหน้าที่ควบคุมดูแลตรวจสอบการทำงานของคนขับรถของจำเลยที่ 1 หากคนขับไม่ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับส.สามารถเสนอเรื่องให้กรรมการของจำเลยที่ 1 ลงโทษได้นอกจากนี้ด้านข้างของรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันเกิดเหตุระบุตัวอักษรชื่อย่อของจำเลยที่ 1 อีกทั้งภายหลังเกิดเหตุ ส. พนักงานของจำเลยที่ 1 ยังไปติดต่อขอชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกกระทำละเมิด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าจำเลยที่ 2 มีฐานะเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และได้กระทำไปในทางการที่จ้าง จำเลยทั้งสองฎีกา ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาเฉพาะเกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 เท่านั้น และมีคำสั่งไม่รับฎีกาของจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 เพราะต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงแต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาของทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ศาลชั้นต้นคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาตามจำนวนทุนทรัพย์ในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 และที่ 3 ให้แก่จำเลยทั้งสองทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดี, การผ่อนเวลาชำระหนี้, และความรับผิดของผู้ค้ำประกัน/ทายาท
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา174เดิมซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาทได้บัญญัติว่า"การฟ้องคดีท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงหากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย"ดังนั้นการที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด ตามคำให้การของจำเลยที่15ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่าโจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่1โดยจำเลยที่15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าวดังนั้นจำเลยที่15จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่15ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้ ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่1โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่1ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร. จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัวเมื่อร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าวจำเลยที่5ทายาทของร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจากร. ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่2ถึงจำเลยที่4และจำเลยที่6ถึงจำเลยที่8ซึ่งเป็นทายาทของร. แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่5ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่5ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)และมาตรา247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 188/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความไม่สะดุดหยุดชะงักจากการถอนฟ้อง, การผ่อนเวลาหนี้, และขอบเขตความรับผิดของทายาท
ตาม ป.พ.พ.มาตรา 174 เดิม ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดข้อพิพาท ได้บัญญัติว่า "การฟ้องคดี ท่านไม่นับว่าเป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลง หากว่าคดีนั้นได้ถอนเสีย..." ดังนั้น การที่โจทก์ถอนฟ้องเรื่องเดียวกันในคดีก่อนแล้วได้ฟ้องใหม่เป็นคดีนี้จึงไม่เป็นเหตุให้อายุความสะดุดหยุดลงแต่อย่างใด
ตามคำให้การของจำเลยที่ 15 ได้ให้การต่อสู้เป็นประเด็นไว้โดยชัดแจ้งว่า โจทก์ยอมผ่อนเวลาการชำระหนี้ให้แก่จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 15ไม่ได้รู้เห็นและไม่ได้ตกลงให้ความยินยอมในการผ่อนเวลาดังกล่าว ดังนั้นจำเลยที่ 15 จึงมีสิทธินำสืบต่อสู้ในเรื่องโจทก์ยอมผ่อนเวลาให้ลูกหนี้โดยจำเลยที่ 15 ผู้ค้ำประกันไม่ได้รู้เห็นและยินยอมด้วยได้
ร.ทำสัญญายืมเงินและสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะผู้แทนของจำเลยที่ 1 โดยมิได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ทำสัญญาดังกล่าวในฐานะส่วนตัวด้วยร.จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เป็นส่วนตัว เมื่อ ร.ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 5 ทายาทของ ร.จึงไม่มีหนี้ที่ตกทอดจาก ร.ผู้ตายให้ต้องรับผิดต่อโจทก์ ปัญหาข้อนี้แม้จำเลยที่ 2 ถึงจำเลยที่ 4 และจำเลยที่ 6 ถึงจำเลยที่ 8 ซึ่งเป็นทายาทของ ร.แม้จะไม่ได้ฎีกาเหมือนจำเลยที่ 5 ด้วยก็ตามแต่การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวเป็นการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ จำเลยเหล่านี้ก็ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นเดียวกับจำเลยที่ 5 ซึ่งศาลฎีกาเห็นสมควรพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยดังกล่าวทุกคนด้วย ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 245 (1)และมาตรา 247
of 20