คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 85

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1768/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์มาตรา 18 ทวิ และต้องประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ
การที่โจทก์มิได้นำเอกสารหลักฐานใดมาแสดงต่อเจ้าพนักงานประเมินหรือคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ไม่มีบทกฎหมายใดบัญญัติตัดสิทธิว่าโจทก์สละสิทธิที่จะแสดงหลักฐานเช่นว่านั้น และในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับโดยอนุโลม ในกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติและข้อกำหนดตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว ดังนั้น คู่ความย่อมมีสิทธิที่จะนำพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบได้ ภายใต้บังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง หรือกฎหมายอื่นอันว่าด้วยการรับฟังพยานหลักฐานและการยื่นพยานหลักฐาน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 85 เมื่อโจทก์ได้ยื่นพยานหลักฐานดังกล่าวถูกต้องตามข้อกำหนดคดีภาษีอากรในชั้นพิจารณาคดีแล้ว ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐานของโจทก์ประกอบการวินิจฉัยคดีได้ การประเมินภาษีการค้าล่วงหน้า ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 18 ทวิ วรรคแรก จะต้องเป็นการประเมินก่อนถึงกำหนดเวลายื่นรายการ ซึ่งกำหนดเวลายื่นรายการภาษีการค้านั้น ประมวลรัษฎากรมาตรา 84 วรรคแรก และมาตรา 85 ทวิ ได้กำหนดไว้แน่นอนแล้วทั้งนี้ไม่ว่าผู้ประกอบการค้าจะมีรายรับที่จะต้องเสียภาษีการค้าหรือไม่ ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการทุกเดือนภาษีภายในวันที่ 15ของเดือนถัดจากเดือนภาษีและกำหนดเวลายื่นรายการนั้น อาจเปลี่ยนแปลงได้เฉพาะเมื่ออธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเห็นสมควรให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไปตามประมวลรัษฎากรมาตรา 3 อัฏฐ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ในปี พ.ศ. 2528 และ 2529อธิบดีกรมสรรพากรหรือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังได้มีประกาศให้ขยายหรือเลื่อนกำหนดเวลาออกไป ดังนั้น กำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการการค้าในเดือนใดของปี พ.ศ. 2528 และ 2529 จึงถึงกำหนดเวลายื่นรายการภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป แต่ปรากฏว่า เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยประเมินภาษีการค้าดอกเบี้ยค้างรับ เมื่อวันที่14 มิถุนายน 2531 โดยประเมินเป็นภาษีการค้าสำหรับเดือนมกราคม 2528ถึงเดือนธันวาคม 2529 จึงเป็นการประเมิน หลังจากพ้นกำหนดเวลายื่นรายการการค้าไปสำหรับเดือนภาษีในปี พ.ศ. 2528 และ 2529 แล้วและเป็นการประเมินย้อนหลัง มิใช่ประเมินล่วงหน้าถึงกำหนดเวลายื่นรายการ จึงเป็นการประเมินที่ขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 18 ทวิ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการนำสืบพยานนอกคำให้การ: สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและการฉ้อฉล
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส.และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่า จำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญา การรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น
โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 802/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: การฉ้อฉล, นอกคำให้การ, และขอบเขตการรับฟังพยานหลักฐาน
จำเลยเบิกความว่า ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาทเพื่ออำพรางสัญญาโครงการบูรณะโรงแรม และอาคารพาณิชย์ที่จำเลยร่วมทุนกับ ส. และพวก เป็นการนำสืบนอกคำให้การของจำเลยที่ต่อสู้ว่าจำเลยลงลายมือชื่อในสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาท เพราะการฉ้อฉลของ ส. กับพวก ทำให้จำเลยสำคัญผิดในสาระสำคัญของสัญญาการรับฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานของจำเลยจึงต้องจำกัดเพียงเฉพาะข้อต่อสู้ตามคำให้การเท่านั้น โจทก์อุทธรณ์และฎีกาในประเด็นเรื่องจำเลยผิดสัญญาและเรียกค่าเสียหายจากจำเลย แต่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้วินิจฉัยให้ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในปัญหาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 239/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องทิศทางรถยนต์ไม่ส่งผลต่อการต่อสู้คดี และประเด็นอายุความฟ้องแย้งไม่เป็นสาระ
ข้อเท็จจริงตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยที่ 3ฟังได้ต้องกันว่า รถยนต์เกิดเหตุทั้งสองคันแล่นสวนทางกันและเกิดเฉี่ยวชนกันขึ้น การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับทิศทางวิ่งของรถยนต์ที่เกิดเหตุจากข้อความที่ว่า "รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดตากมุ่งหน้ามาจังหวัดกำแพงเพชร"เป็น"รถยนต์คันหมายเลขทะเบียน 80-4314 เชียงใหม่ ขับจากจังหวัดกำแพงเพชรมุ่งหน้ามาจังหวัดตาก" จึงเป็นการขอแก้ไขข้อเท็จจริงให้เป็นไปตามความเป็นจริง ไม่ก่อให้เกิดผลตามกฎหมายที่แตกต่างกัน เป็นการขอแก้ไขข้อผิดพลาดบกพร่องในคำฟ้องเพียงเล็กน้อยและไม่ทำให้จำเลยที่ 3 เสียเปรียบในการต่อสู้คดี ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 180 วรรคสอง แม้โจทก์จะขอแก้ไขในวันสืบพยานก็ไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องชอบแล้ว เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้แล้วว่า จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์ของจำเลยที่ 1 และศาลได้วินิจฉัยแล้วว่า เหตุเกิดเพราะผู้ขับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายประมาท ซึ่งจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ด้วย ดังนั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 3 จะขาดอายุความหรือไม่จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอีกต่อไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4167/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาศุลกากร: โจทก์มีสิทธิสืบพยานเพื่อพิสูจน์ราคาอันแท้จริงในท้องตลาด
ประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด เป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องนำสืบ โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าโจทก์ที่ 1 ตรวจสอบพบว่าจำเลยสำแดงราคาตามใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าต่ำกว่าราคาอันแท้จริงในท้องตลาดโดยอาศัยข้อมูลราคาสินค้าประเภทเดียวกันหรือใกล้เคียงกันที่ผู้อื่นนำเข้า ประกอบกับบัตรราคาสินค้าของกองวิเคราะห์ราคากรมศุลกากรที่กำหนดราคากลางไว้ในระยะเวลาใกล้เคียงกันเป็นเกณฑ์รวมทั้งราคาสินค้าส่งออกของบริษัทที่จำหน่ายสินค้าให้แก่จำเลยและลูกค้ารายต่าง ๆ ในประเทศไทย แหล่งข้อมูลดังกล่าวเมื่อนำมาพิจารณาเปรียบเทียบแล้วสามารถบ่งชี้ให้เห็นว่าสินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรมีราคาอันแท้จริงในท้องตลาดตามความหมายที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 2วรรคสิบสอง เป็นจำนวนเท่าใด โจทก์ที่ 1 ชอบที่จะนำสืบพยานหลักฐานเพื่อสนับสนุนข้ออ้างของตนตามคำฟ้องได้ คำสั่งศาลภาษีอากรกลางที่ให้งดสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้ยกคำสั่งดังกล่าวและยกคำพิพากษาของศาลภาษีอากรกลางในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 1 ให้ศาลภาษีอากรกลางทำการสืบพยานโจทก์ที่ 1 และพยานจำเลยเกี่ยวกับประเด็นเรื่องราคาอันแท้จริงในท้องตลาด แล้วมีคำพิพากษาใหม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3678/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารเนื่องจากขัดประกาศกระทรวงมหาดไทย และการพิจารณาคำอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
ภายหลังจากที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างอาคารพาณิชย์2 ชั้นต่อจำเลยแล้ว ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยลงวันที่ 10มิถุนายน 2528 กำหนดบริเวณห้ามทำการก่อสร้างอาคารในบริเวณบางส่วนของตำบลป่าตองอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต ซึ่งรวมถึงบริเวณที่โจทก์ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารรายนี้ด้วย ต่อจากนั้นจำเลยจึงได้มีคำสั่งไม่อนุญาต ดังนี้ เมื่ออาคารที่โจทก์ขออนุญาตก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์ 2 ชั้นสูงเกิน 5 เมตร ซึ่งต้องห้ามมิให้ก่อสร้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่ไม่สามารถออกใบอนุญาตให้ก่อสร้างได้ ถือว่าจำเลยปฏิบัติหน้าที่ราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย ฉะนั้นคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ไม่อนุญาตยืนตามคำสั่งของจำเลย จึงเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน ไม่มีเหตุที่จะแก้ไขเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนแม้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่เสร็จภายใน60 วัน แต่ก็มิใช่เหตุที่จะทำให้คำสั่งนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลชั้นต้นสืบพยานจำเลยโดยไม่ได้ให้ตัวจำเลยเข้าสืบก่อนพยานปากอื่น แต่จำเลยเป็นนิติบุคคล พยานจำเลยที่นำเข้าสืบเป็นเจ้าพนักงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพิจารณาคำร้องของโจทก์ และทนายจำเลยได้แถลงเหตุขัดข้องของพยานที่จะนำเข้าสืบในแต่ละนัดไว้ซึ่งโจทก์ก็มิได้แถลงคัดค้าน ประกอบกับไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดห้ามมิให้นำพยานปากใดเข้าสืบก่อนหลัง การสืบพยานของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2994/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้น: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ต้องเปิดเผยรายละเอียดสินทรัพย์/หนี้สิน หากข้อมูลเปิดเผยต่อสาธารณะ
จำเลยกล่าวอ้างว่าการประกาศขายทอดตลาดหุ้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มิได้แจ้งให้ผู้พบเห็นทราบว่าบริษัทผู้ออกหุ้นมีหุ้นอยู่ทั้งหมดเท่าใด มีสินทรัพย์และหนี้สินเท่าใด ผู้ที่ประมูลซื้อคงมีเฉพาะผู้ที่ทราบสินทรัพย์และหนี้สินของบริษัทเท่านั้นการขายทอดตลาดย่อมต้องมีการสมยอมกัน เป็นการไม่ชอบ จึงเป็นหน้าที่ของจำเลยจะต้องนำสืบให้เห็นดังที่กล่าวอ้าง ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับจำนวนหุ้นและมูลค่าหุ้นแต่ละหุ้นของบริษัทจำกัดย่อมปรากฏในสมุดทะเบียนผู้ถือหุ้นและหนังสือบริคณห์สนธิที่ได้จดทะเบียนไว้ต่อนายทะเบียน และข้อเท็จจริงเกี่ยวกับฐานะ ทางการเงินของบริษัทจำกัดคือสินทรัพย์และหนี้สิน ย่อมปรากฏอยู่ในบัญชีงบดุลซึ่งได้ส่งไว้ต่อนายทะเบียนเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เอกสารเหล่านี้บุคคลทั่วไปตลอดจนผู้จะเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาดหุ้นสามารถตรวจสอบก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดได้อยู่แล้ว แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ได้แจ้งข้อเท็จจริงดังกล่าวในประกาศขายทอดตลาด ก็ไม่เป็นเหตุให้การขายทอดตลาดไม่ชอบด้วยกฎหมาย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 558/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตการต่อสู้คดี: การนำสืบเกินคำให้การ และประเด็นที่มิได้ยกขึ้นว่ากันในศาลชั้นต้น
คำให้การจำเลยว่า จำเลยไม่เคยทำหนังสือสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทสัญญาเช่าซื้อจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยส่งมอบรถยนต์และให้จำเลยชดใช้เงินที่จำเลยอ้างว่าได้ผ่อนส่งเป็นค่าเช่าซื้อรถยนต์จำนวน 192,000 บาท ดังนี้เป็นการปฏิเสธฟ้องโจทก์โดยไม่ชัดแจ้ง ไม่มีประเด็นข้อพิพาทในเรื่องค่าเช่าซื้อ โจทก์ฟ้องกล่าวอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยด้วยวาจา และโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยรวมเป็นเงิน 192,000 บาทจำเลยให้การต่อสู้เพียงว่า โจทก์ไม่เคยทำสัญญาเช่าซื้อรถยนต์พิพาทเป็นหนังสือ การเช่าซื้อรถยนต์พิพาทจึงเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง การที่จำเลยนำสืบต่อสู้ว่าจำเลยให้โจทก์เช่ารถยนต์พิพาทเดือนละ 8,000 บาท จึงเป็นการนำสืบนอกเหนือคำให้การและนอกประเด็น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3957/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการติดตามหนี้จากบัญชีจำเลยที่ 1: ต้องพิสูจน์สิทธิเรียกร้องให้ชัดเจน
ทางสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 ได้ความ ว่าจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการของจำเลยที่ 1 สั่งให้ บ. ถอนเงินจากบัญชีเงินฝากในธนาคารของจำเลยที่ 1 ไว้ใช้ในกิจการของจำเลย ที่ 1ก่อนที่จำเลยที่ 2 จะหลบหนีไป ต่อมา บ. ได้มอบเงินที่ถอนมา ให้ผู้ร้องรับไว้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 จึงมีหนังสือ ทวงหนี้ และหนังสือยืนยันหนี้ให้ผู้ร้องชำระเงินดังกล่าว แก่กองทรัพย์สิน ของจำเลยที่2 ผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านต่อ ศาลชั้นต้น ครั้นถึงวันนัด ไต่สวน ผู้ร้อง แถลงไม่สืบ พยานบุคคล แต่ขอให้ศาลชั้นต้นเรียกเอกสารบัญชีเงินฝากจากธนาคาร โดยอ้างว่าเป็น บัญชีเงินฝากของจำเลยที่ 1 ซึ่งหากได้ความ ดังกล่าวก็อาจเป็นจริง ตามที่ผู้ร้องอ้างว่าเงินในบัญชีไม่ใช่เงินของ จำเลยที่ 2 และมี ปัญหาต่อไปว่า การที่จำเลยที่ 2 สั่งให้เบิกเงินจาก บัญชีเงินฝาก ของจำเลยที่ 1 แล้ว ต่อมามีการมอบเงินดังกล่าวให้ผู้ร้อง จะถือ ว่าเป็นสิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 2 ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ของ จำเลยที่ 2 มีสิทธิเรียกให้ชำระหนี้หรือไม่ ซึ่งประเด็นดังกล่าว ศาลจะต้อง พิจารณาตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 119 เมื่อ ผู้ร้องอ้าง เอกสาร ที่ยังไม่ เข้าสู่สำนวนศาล ศาลชั้นต้นจึงไม่มี ข้อเท็จจริงใดที่จะสั่งว่าเอกสารดังกล่าวไม่จำเป็นแก่คดี และหาก ได้เอกสารดังกล่าวมา แล้วผู้ร้องไม่สืบพยานอื่น หน้าที่นำสืบต่อไป ย่อมเป็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ที่จะต้องพิสูจน์ตามประเด็น ที่ตนยกขึ้นคัดค้านคำร้องของผู้ร้อง การที่ศาลชั้นต้นด่วนงดสืบพยาน ผู้ร้องโดยไม่เรียกเอกสารดังกล่าวให้แล้ววินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่สามารถนำสืบได้ตามคำร้อง ให้ยกคำร้องของผู้ร้อง จึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติมหลังทนายจำเลยมาสาย และการฟ้องขับไล่โดยอ้างกรรมสิทธิ์
การที่ทนายจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมเพราะจงใจกระทำผิดกฎหมายโดยขับรถเร็วเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด ถือไม่ได้ว่าเป็นเหตุสุดวิสัย และการที่ทนายจำเลยไปถึงศาลชั้นต้นช้า กว่าเวลานัดถึง40 นาที แม้จะเป็นช่วงเวลาที่ศาลชั้นต้นยังอ่านรายงานกระบวนพิจารณาไม่จบก็ตาม ก็ไม่มีเหตุที่ศาลชั้นต้นจะอนุญาตให้จำเลยนำพยานเข้าสืบอีกต่อไป โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกจากห้องแถวพิพาทซึ่งจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิม และเจ้าของเดิม ขายให้โจทก์แล้ว เป็นการฟ้องโดยอาศัยความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในห้องแถวพิพาท มิใช่ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญาเช่า อันจะต้องใช้สัญญาเช่าเป็นพยานหลักฐานในคดี ฉะนั้นปัญหาที่ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์ปิดอากรแสตมป์เสียเอง โดยไม่ส่งไปให้เจ้าหน้าที่สรรพากรปรับ จึงไม่ใช่ปัญหาสำคัญ.
of 20