คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 85

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 153/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปิดแสตมป์สัญญา กู้ยืมเงินต้องกระทำก่อนนำสืบเป็นหลักฐานในคดี มิฉะนั้นใช้ไม่ได้
การขออนุญาตนำหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ไม่ได้ปิดอากรแสตมป์ในขณะทำสัญญาไปปิดแสตมป์ให้บริบูรณ์จะต้องกระทำก่อนหรือในขณะที่ได้นำสัญญากู้ยืมเงินนั้นมาอ้างเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งก่อนศาลชั้นต้นชี้ขาดตัดสินคดี เมื่อโจทก์นำสัญญากู้ยืมเงินไปเสียอากรและเงินเพิ่มหลังจากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วย่อมถือไม่ได้ว่ามีการปิดแสตมป์บริบูรณ์ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้ เป็นผลให้คดีโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานที่จะรับฟังว่า จำเลยกู้ยืมเงินโจทก์แม้จำเลยจะขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้สาบานตนให้การเป็นพยานปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ก็จะถือว่าจำเลยไม่ติดใจคัดค้านหนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่โจทก์นำมาฟ้องและฟังว่าจำเลยกู้ยืมเงินโจทก์มีหลักฐานเป็นหนังสือแล้วโดยไม่ต้องอาศัยฟังจากเอกสารหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5103/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการนำสืบพยานเมื่อจำเลยต่อสู้คดีและอ้างเหตุผลแล้ว ศาลต้องอนุญาตให้สืบพยานได้
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทำปลอมหนังสือมอบอำนาจว่าผู้ตายให้จำเลยโอนขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างพิพาทให้จำเลย จำเลยให้การต่อสู้ว่าหนังสือมอบอำนาจของผู้ตายเป็นหนังสือมอบอำนาจที่ถูกต้องแท้จริงอันมีเหตุอยู่ในตัวแล้วว่าหนังสือมอบอำนาจดังกล่าวไม่ใช่เอกสารปลอมและได้ให้การไว้ในตอนต้นถึงเหตุที่ผู้ตายโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยเพราะเดิมผู้ตายถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทแทนบิดาและจำเลยคำให้การของจำเลยได้อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธไว้แล้ว จำเลยจึงมีสิทธินำพยานเข้าสืบว่า หนังสือมอบอำนาจท้ายฟ้องเป็นเอกสารที่แท้จริงได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4872/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คเพื่อผูกพันตนตามกฎหมาย และการรับผิดในฐานะผู้สั่งจ่าย
จำเลยที่ 2 ปฏิเสธว่าลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทไม่ใช่ของจำเลยที่ 2 โจทก์นำสืบพยานบุคคลว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาท และในสำนวนมีลายมือชื่อแท้จริงของจำเลยที่ 2ในสัญญาจำนอง ใบแต่งทนายและคำให้การซึ่งเป็นลายมือชื่อที่ปรากฏอยู่ชัดแจ้ง เมื่อเป็นพยานหลักฐานเกี่ยวกับประเด็นโดยตรงย่อมเป็นอำนาจของศาลที่จะอาศัยลายมือชื่อตรวจเปรียบเทียบเพื่อชั่ง น้ำหนักของพยานหลักฐานว่าเป็นอันเพียงพอให้เชื่อ ฟังได้หรือไม่เพียงใดไม่มีกฎหมายห้ามมิให้ศาลเปรียบเทียบลายมือชื่อและรับฟังตามที่ได้ตรวจพิเคราะห์แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คที่ออกให้เพื่อเป็นประกันการกู้ยืมเงินจึงเป็นการออกเช็คโดยมีมูลหนี้มาจากการกู้ยืมเงินและมีเจตนาที่จะผูกพันบังคับชำระหนี้กันได้ตามกฎหมาย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีบังคับตามเช็คได้ จำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คพิพาทแล้วร่วมกับจำเลยที่ 1 นำเช็คไปมอบให้โจทก์ ถือว่าจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อด้านหลังเช็คด้วยความสมัครใจที่จะผูกพันต่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ทรงในอันที่จะรับผิดตามข้อความในเช็คอย่างเดียวกับจำเลยที่ 1ผู้สั่งจ่ายด้วยการลงลายมือชื่อของตนในเช็คตาม ป.พ.พ. มาตรา 900.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีเดิมที่จำเลยอ้างเป็นพยาน ศาลล่างรับฟังได้โดยไม่ต้องมีคู่ความฝ่ายใดระบุอ้าง
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยาน เอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้อง การที่ศาลจะฟังและเชื่อ พยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจ ของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีเดิมที่จำเลยอ้าง ศาลล่างรับฟังได้ แม้โจทก์มิได้อ้างเอง ดุลพินิจศาล
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยานเอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้องการที่ศาลจะฟังและเชื่อพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3046/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสารในสำนวนความ: ดุลพินิจศาลไม่ต้องยึดโยงกับผู้ระบุอ้าง
เมื่อเอกสารที่ใช้ในการวินิจฉัยคดีรวมอยู่ในสำนวนคดีที่จำเลยระบุอ้างเป็นพยานเอกสารนั้นจึงเข้าสู่สำนวนความของศาลโดยถูกต้อง การที่ศาลจะฟังและเชื่อพยานหลักฐานในส่วนไหนอย่างไรในสำนวนเป็นดุลพินิจของศาล ไม่จำเป็นว่าคู่ความที่ได้รับประโยชน์จากเอกสารนั้นจะต้องเป็นฝ่ายระบุอ้างและนำเข้าสู่สำนวนความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบข้อเท็จจริงการขาดหายของสินค้า การนำสืบไม่เป็นการนอกคำให้การหากเกี่ยวข้องกับการต่อสู้คดี
โจทก์ฟ้องว่าสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมทอดหนึ่งจึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหาย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตามฟ้องได้ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้น เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคำให้การนั่นเอง หาเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1206/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างข้อกล่าวหาการขาดหายของสินค้า การนำสืบต้องอยู่ในประเด็นที่ได้ต่อสู้ไว้
โจทก์ฟ้องว่าสินค้าที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้ขาดหายไปในระหว่างการขนส่ง จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมทอดหนึ่งจึงต้องรับผิดชดใช้แก่โจทก์จำเลยให้การว่าสินค้ามิได้ขาดหาย ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้ทำการขนส่งสินค้าร่วมในทอดสุดท้ายจะต้องรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เพียงใด ดังนั้น การที่จำเลยนำสืบว่าสินค้าตามฟ้องได้ขาดหายไปในระหว่างเก็บอยู่ในโรงพักสินค้าของการท่าเรือแห่งประเทศไทยนั้น เป็นการนำสืบเพื่อให้เห็นว่าสินค้ามิได้ขาดหายในระหว่างขนส่งตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคำให้การนั่นเอง หาเป็นการนำสืบนอกคำให้การและนอกประเด็นไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4106/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกค่าไฟฟ้าเพิ่มหลังพบเครื่องวัดชำรุด: โจทก์ต้องรับความเสี่ยงจากความชำรุดของอุปกรณ์ที่ติดตั้ง
เครื่องวัดไฟฟ้าที่โจทก์ติดตั้งให้จำเลยชำรุดเองโดยจานวัดหมุนช้าทำให้จำเลยชำระเงินน้อยกว่าความเป็นจริงโจทก์ตรวจพบเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2526 หลังจากติดตั้งและเริ่มเก็บเงินเป็นเวลาเกือบ 5 ปี และโจทก์ไม่ได้เปลี่ยนเครื่องวัดไฟฟ้าให้ใหม่ยอมให้จำเลยใช้เครื่องเดิมจนถึงเดือนตุลาคม 2526 ทั้งโจทก์นำสืบไม่ได้ว่าเครื่องวัดไฟฟ้าชำรุดตั้งแต่เมื่อใด ดังนี้ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าไฟฟ้าเพิ่มตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม 2526 ย้อนหลังไปจนถึงวันที่15 พฤษภาคม 2521 ซึ่งเป็นวันเรียกเก็บค่าไฟฟ้าครั้งแรกของจากจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2993/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคุ้มครองสัญญาเช่าเกษตรกรรมเลี้ยงสัตว์น้ำภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การสิ้นสุดภาระหนี้เมื่อมีการโอนที่ดิน
คู่ความท้ากันว่า ถ้าจำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยยอมแพ้ข้อต่อสู้อื่น ๆ จำเลยสละทั้งหมดถ้าจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยอมแพ้ สำหรับค่าเสียหายหากโจทก์ชนะคดี จำเลยยอมให้เป็นไปตามฟ้อง ปรากฏว่ามาตรา 63วรรคหนึ่งแห่งพระราชบัญญัติฉบับนี้บัญญัติว่า ในกรณีที่มีการเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทใดนอกจากการเช่านาเป็นช่องทางให้เกิดการเอาเปรียบเกษตรกรผู้เช่าโดยไม่เป็นธรรมจนเกิดความเดือดร้อนและเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศ เมื่อรัฐบาลเห็นสมควรกำหนดให้การเช่าที่ดินเพื่อประกอบเกษตรกรรมประเภทนั้นมีการควบคุมตามพระราชบัญญัตินี้เพื่อขจัดปัญหาดังกล่าว ก็ให้มีอำนาจกระทำโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกาแต่ไม่ปรากฏว่าตั้งแต่ได้ตราพระราชบัญญัติดังกล่าวไว้จนบัดนี้ได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาออกมาใช้บังคับให้มีการควบคุมการประกอบเกษตรกรรมประเภทใดแสดงว่ากฎหมายดังกล่าวยังไม่ประสงค์ให้มีการควบคุมคุ้มครองการเช่าที่ดินเพื่อเลี้ยงสัตว์น้ำ (ปลา) เหมือนกับการเช่านาเพื่อทำนาปลูกข้าวหรือพืชไร่ตามที่ระบุไว้ในมาตรา 22 และมาตรา 26 จำเลยจึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จำเลยต้องแพ้คดีตามคำท้า และแม้โจทก์ได้โอนที่พิพาทให้แก่จำเลยกับบุตรแล้วในขณะที่คดีนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์จำเลยก็ยังต้องใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์นับแต่จำเลยไม่ยอมออกจากที่พิพาทจนถึงวันที่โจทก์โอนที่พิพาทดังกล่าว.
of 20