พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1363/2530 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานจำเลยเมื่อจำเลยให้การปฏิเสธฟ้องโดยไม่ยกเหตุ เป็นการพิจารณาที่ไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณา จำเลยที่ 2 ให้การปฏิเสธฟ้องของโจทก์ทั้งสิ้นแต่ไม่อ้างเหตุแห่งการปฏิเสธ คำให้การของจำเลยที่ 2 จึงไม่มีประเด็นที่จะนำสืบ แต่โจทก์ยังมีภาระที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 ตามฟ้อง ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ทำให้จำเลยที่ 2 หมดโอกาสที่จะซักค้านพยานโจทก์ทั้งที่จำเลยที่ 2 ไปศาลในวันสืบพยานโจทก์สำหรับจำเลยที่1แล้ว จึงเป็นการพิจารณาที่ไม่ถูกต้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 962-963/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดินวัด: การอุทิศที่ดินโดยพระมหากษัตริย์และการครอบครองโดยโจทก์
การรับฟังข้อเท็จจริงว่าพระเจ้าทรงธรรมทรงอุทิศที่ป่ารอบรอยพระพุทธบาทเป็นบริเวณออกไปหนึ่งโยชน์ หรือ 16 กิโลเมตรเพื่อสร้างวัดพระพุทธบาทราชวรมหาวิหาร ที่มีมานานกว่า 300 ปีโดยไม่มีผู้รู้เห็นโดยตรงหลงเหลืออยู่ จะต้องรับฟังจากคำบอกเล่า และเอกสารทางประวัติศาสตร์ที่เชื่อถือได้เป็นสำคัญ.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 359/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของสัญญาเดินรถไฟระหว่างสยามกับรัฐมาเลเซีย และอำนาจศาลในการพิจารณาคดีที่เกิดขึ้นในต่างประเทศ
ประกาศกระแสพระบรมราชโองการให้ใช้สัญญาว่าด้วยการเดิน รถไฟระหว่างพระราชอาณาจักรสยามกับกลันตันไทรบุรีเปอร์ลิศและสหรัฐมลายู ลงวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2467 ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นกฎหมายเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วศาลรู้เอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3977/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คสั่งจ่ายแก่ผู้ถือ: ผู้ทรงเช็คมีสิทธิฟ้องผู้สั่งจ่ายได้โดยไม่ต้องแสดงรายละเอียดการรับโอน
เช็คพิพาทเป็นเช็คสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ โจทก์ซึ่งเป็นผู้ถือเช็คพิพาทจึงเป็นผู้ทรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 904 และตามมาตรา 914 บุคคลซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายย่อมเป็นอันสัญญาว่า เมื่อตั๋วนั้นได้นำมายื่นโดยชอบแล้ว จะมีผู้ใช้เงินตามเนื้อความแห่งตั๋ว ถ้าและตั๋วแลกเงินนั้นเขาไม่เชื่อถือโดยไม่ยอมจ่ายเงิน ผู้สั่งจ่ายก็จะใช้เงินแก่ผู้ทรง เมื่อโจทก์ในฐานะผู้ทรงได้นำเช็คพิพาทเข้าบัญชีเพื่อเรียกเก็บเงินและธนาคารปฏิเสธไม่ยอมจ่ายเงิน โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทให้ใช้เงินแก่โจทก์ได้โดยไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นผู้ทรงเช็คพิพาทในฐานะอะไร ได้รับโอนจากใคร เมื่อใด และมีมูลหนี้อย่างไรไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม จำเลยให้การว่าโจทก์ได้เช็คพิพาทมาโดยไม่สุจริตเพราะยักยอกจากผู้มีชื่อ เป็นคำให้การที่ปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์รวมทั้งเหตุแห่งการนั้น ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 แล้ว จำเลยมีสิทธิตามข้อต่อสู้ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คำพิพากษาและคำสั่ง: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งเมื่อมิได้เสียค่าขึ้นศาลเฉพาะส่วน
การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไรบ้างนั้น จะดูเพียงหัวเรื่องที่หน้าอุทธรณ์ว่าอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษา เพียงอย่างเดียวไม่ได้เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยได้แยกเป็นข้อ ก. ปัญหาข้อเท็จจริงข้อข.ปัญหาข้อกฎหมายในปัญหาข้อกฎหมายนั้น ได้บรรยายว่า ตามที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยไม่ชอบด้วยเหตุผลและเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะพยานที่ศาลชั้นต้นสั่ง ตัดนั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคดีและได้กล่าวถึง ข้อที่ พยานเหล่านั้นจะมาเบิกความเกี่ยวกับประเด็นในคดีอย่างไรดังนี้ เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่ง ตัดพยานจำเลยแล้ว และเป็นการอุทธรณ์ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้และ ไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย จำเลยจึงคงเสียค่าขึ้นศาลแต่เพียงใน คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจ รับพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3364/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการอุทธรณ์คำสั่งศาล: การพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งตัดพยานเมื่ออุทธรณ์คำพิพากษาโดยไม่ได้ระบุอุทธรณ์คำสั่งโดยตรง
การที่คู่ความจะอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอย่างไรบ้างนั้น จะดูเพียงหัวเรื่องที่หน้าอุทธรณ์ว่าอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยได้แยกเป็นข้อ ก. ปัญหาข้อเท็จจริง ข้อข.ปัญหาข้อกฎหมาย ในปัญหาข้อกฎหมายนั้นได้บรรยายว่า ตามที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้ส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยไม่ชอบด้วยเหตุผล และเป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เพราะพยานที่ศาลชั้นต้นสั่งตัดนั้นล้วนแต่เกี่ยวข้องกับคดี และได้กล่าวถึงข้อที่พยานเหล่านั้นจะมาเบิกความเกี่ยวกับประเด็นในคดีอย่างไร ดังนี้ เป็นการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งตัดพยานจำเลยแล้ว และเป็นการอุทธรณ์ คดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณ เป็นราคาเงินได้และไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วย จำเลยจึงคงเสียค่าขึ้นศาลแต่เพียงในคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตาม ตาราง 1(3) ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลอุทธรณ์จึงมีอำนาจ รับพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289-2290/2528
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วงและการวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามคำท้าของคู่ความ
โจทก์เช่าที่พิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ ให้ จำเลยทั้งสองสำนวนอาศัยปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดย ฟ้องขับไล่จำเลยจำเลยทั้งสองก็ต้องออกไปจากที่พิพาทจะอ้างว่าโจทก์ให้เช่าช่วงที่พิพาทและไม่เคยบอกเลิก สัญญาเช่าช่วงโดยไม่ปรากฏว่ามีสัญญาเช่าช่วงต่อกันหาได้ไม่และไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังว่าจำเลยทั้งสองอาศัยที่พิพาท จากโจทก์หรือเช่าช่วงจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลยทั้งสองได้ ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224(แก้ไขโดยฉบับที่ 6 พ.ศ. 2518) ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตาม ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม มาตรา 238 และมาตรา 247 เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกัน ทำให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ส่วนพยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้นโจทก์ไม่ติดใจซึ่งมี ผลเท่ากับว่าคู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยเท่านั้นการที่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากที่คู่ความ ท้ากันอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกา จึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมานั้น ได้ตามมาตรา 243(3) และมาตรา 247 ดังที่มาตรา 238 บัญญัติไว้ โจทก์จำเลยแถลงร่วมกันขอท้าให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นข้อ เดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ศาลชั้นต้นได้ จดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานไว้ว่าส่วน พยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้น โจทก์ไม่ติดใจเมื่อเป็นเช่นนี้ คดีเสร็จการพิจารณาข้อความดังกล่าวแสดงชัดอยู่ใน ตัวเองว่า การสืบพยานนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไม่ประสงค์จะ สืบพยานแม้โจทก์จะได้สืบพยานไปแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจจำเลยทั้งสองมิได้แถลงขอสืบพยานหรือแถลงคัดค้านแต่ประการใด เช่นนี้จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะสืบพยานตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2289-2290/2528 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่ของผู้เช่าช่วง – การวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่คู่ความท้า – การไม่ติดใจสืบพยาน
โจทก์เช่าที่พิพาทจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ได้ ให้จำเลยทั้งสองสำนวนอาศัยปลูกบ้านบนที่ดินดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยทั้งสองอยู่ในที่พิพาทโดย ฟ้องขับไล่จำเลย จำเลยทั้งสองก็ต้องออกไปจากที่พิพาทจะอ้างว่าโจทก์ให้เช่าช่วงที่พิพาทและไม่เคยบอกเลิก สัญญาเช่าช่วงโดยไม่ปรากฏว่ามีสัญญาเช่าช่วงต่อกันหาได้ไม่และไม่ว่าข้อเท็จจริงจะฟังว่าจำเลยทั้งสองอาศัยที่พิพาท จากโจทก์หรือเช่าช่วงจากโจทก์ก็ตาม โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง ขับไล่จำเลยทั้งสองได้
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 (แก้ไขโดยฉบับที่ 6 พ.ศ. 2518) ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตาม ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม มาตรา 238 และมาตรา 247 เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกัน ทำให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ส่วนพยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้นโจทก์ไม่ติดใจซึ่งมี ผลเท่ากับว่าคู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยเท่านั้นการที่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากที่คู่ความ ท้ากันอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกา จึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมานั้น ได้ตามมาตรา 243 (3) และมาตรา 247 ดังที่มาตรา 238 บัญญัติไว้
โจทก์จำเลยแถลงร่วมกันขอท้าให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นข้อ เดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ศาลชั้นต้นได้ จดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานไว้ว่าส่วน พยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้น โจทก์ไม่ติดใจเมื่อเป็นเช่นนี้ คดีเสร็จการพิจารณาข้อความดังกล่าวแสดงชัดอยู่ใน ตัวเองว่าการสืบพยานนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไม่ประสงค์จะสืบพยาน แม้โจทก์จะได้สืบพยานไปแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจจำเลยทั้งสองมิได้แถลงขอสืบพยานหรือแถลงคัดค้านแต่ประการใด เช่นนี้จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะสืบพยานตามคำท้า
ในคดีที่ต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 (แก้ไขโดยฉบับที่ 6 พ.ศ. 2518) ศาลอุทธรณ์และศาลฎีกาจำต้องถือตาม ข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนตาม มาตรา 238 และมาตรา 247 เมื่อโจทก์จำเลยแถลงร่วมกัน ทำให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นเดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ ส่วนพยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้นโจทก์ไม่ติดใจซึ่งมี ผลเท่ากับว่าคู่ความขอให้ศาลวินิจฉัยอำนาจฟ้องของโจทก์ ตามคำฟ้องของโจทก์และคำให้การของจำเลยเท่านั้นการที่ ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดจากที่คู่ความ ท้ากันอันเป็นการวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมายศาลฎีกา จึงฟังข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นฟังมานั้น ได้ตามมาตรา 243 (3) และมาตรา 247 ดังที่มาตรา 238 บัญญัติไว้
โจทก์จำเลยแถลงร่วมกันขอท้าให้ศาลวินิจฉัยในประเด็นข้อ เดียวว่าโจทก์มีอำนาจฟ้องหรือไม่ศาลชั้นต้นได้ จดรายงานกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับการสืบพยานไว้ว่าส่วน พยานโจทก์ที่สืบมาแล้วนั้น โจทก์ไม่ติดใจเมื่อเป็นเช่นนี้ คดีเสร็จการพิจารณาข้อความดังกล่าวแสดงชัดอยู่ใน ตัวเองว่าการสืบพยานนั้นต่างฝ่ายต่างก็ไม่ประสงค์จะสืบพยาน แม้โจทก์จะได้สืบพยานไปแล้ว โจทก์ก็ไม่ติดใจจำเลยทั้งสองมิได้แถลงขอสืบพยานหรือแถลงคัดค้านแต่ประการใด เช่นนี้จำเลยทั้งสองจึงไม่มีสิทธิจะสืบพยานตามคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อไม่ปิดอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานฟ้องคดีไม่ได้ แม้มีลักษณะคล้ายสัญญาซื้อขาย
หนังสือสัญญาใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาขายโดยมีเงื่อนไข คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'เจ้าของ' อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'ผู้จะซื้อ' มีข้อความว่าตกลงจะซื้อขายโทรทัศน์สีตามราคาที่กำหนด ชำระเงินในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด และกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในโทรทัศน์สีจะตกแก่ผู้จะซื้อ เมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อสัญญาทั้งหมด รวมทั้งได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว มีลักษณะเป็น ทำนองเจ้าของเอาโทรทัศน์สี ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะให้โทรทัศน์สีตกเป็นสิทธิแก่ผู้จะซื้อ โดยเงื่อนไขที่ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และมี ข้อสัญญาที่มีผลเท่ากับให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ กับ ให้ริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่ว่าให้ผู้จะซื้อชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ครบถ้วนแล้ว จึงให้กรรมสิทธิ์ตกเป็น ของผู้จะซื้อมิใช่เป็นเพียงเงื่อนไข การโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1696/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์เป็นหลักฐานฟ้องคดีมิได้ และลักษณะสัญญาเช่าซื้อตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
หนังสือสัญญาใช้ชื่อว่า หนังสือสัญญาขายโดยมีเงื่อนไข คู่สัญญา ฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'เจ้าของ' อีกฝ่ายหนึ่งเรียกว่า'ผู้จะซื้อ' มีข้อความว่าตกลงจะซื้อขายโทรทัศน์สีตามราคาที่กำหนด ชำระเงินในวันทำสัญญาจำนวนหนึ่ง ที่เหลือผ่อนชำระเป็นงวด และกำหนดเงื่อนไขไว้ว่า กรรมสิทธิ์ในโทรทัศน์สีจะตกแก่ผู้จะซื้อ เมื่อผู้จะซื้อปฏิบัติตามข้อสัญญาทั้งหมด รวมทั้งได้ชำระเงิน ครบถ้วนแล้ว มีลักษณะเป็น ทำนองเจ้าของเอาโทรทัศน์สี ออกให้เช่า และให้คำมั่นว่าจะให้โทรทัศน์สีตกเป็นสิทธิแก่ผู้จะซื้อ โดยเงื่อนไขที่ ผู้จะซื้อได้ชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว และมี ข้อสัญญาที่มีผลเท่ากับให้ผู้จะซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ด้วยการไม่ชำระราคาต่อไปโดยส่งมอบทรัพย์สินคืนแก่เจ้าของ กับ ให้ริบเงินที่ได้ใช้มาแล้วได้ด้วย อันเป็นวิธีการของสัญญาเช่าซื้อ ข้อสัญญาที่ว่าให้ผู้จะซื้อชำระเงินเป็นจำนวนเท่านั้นเท่านี้คราว ครบถ้วนแล้ว จึงให้กรรมสิทธิ์ตกเป็น ของผู้จะซื้อมิใช่เป็นเพียงเงื่อนไข การโอนกรรมสิทธิ์เท่านั้น สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาเช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อที่มิได้ปิดอากรแสตมป์จะใช้เป็นหลักฐานฟ้อง คดีมิได้