คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
ป.วิ.พ. ม. 85

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 200 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบหักล้างค่าจ้างต่อเติมนอกแบบที่ไม่ต้องบรรยายในคำฟ้อง หากจำเลยยกข้อต่อสู้เรื่องการชำระหนี้แล้ว
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารที่ค้างชำระ กับอ้างว่าจำเลยยังไม่ชำระหนี้ค่าจ้างต่อเติมนอกแบบรวมสิบรายการจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ชำระให้ครบถ้วนแล้ว และนำสืบถึงการชำระเงินให้โจทก์สี่ครั้ง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบว่าการชำระหนี้ดังกล่าวของจำเลยเป็นการชำระค่าจ้างต่อเติมนอกแบบครั้งที่หนึ่ง ไม่ใช่การชำระค่าจ้างต่อเติมนอกแบบรายที่ฟ้องอันเป็นการนำสืบหักล้างโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายไว้ในคำฟ้อง และไม่ถือว่าเป็นการสืบนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2475/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนำสืบหักล้างค่าจ้างต่อเติมนอกแบบ แม้มิได้กล่าวบรรยายในคำฟ้อง หากจำเลยอ้างชำระแล้ว ย่อมนำสืบได้
โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าจ้างก่อสร้างอาคารที่ค้างชำระ กับอ้างว่าจำเลยยังไม่ชำระหนี้ค่าจ้างต่อเติมนอกแบบรวมสิบรายการจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ชำระให้ครบถ้วนแล้ว และนำสืบถึงการชำระเงินให้โจทก์สี่ครั้ง โจทก์ย่อมมีสิทธินำสืบว่าการชำระหนี้ดังกล่าวของจำเลยเป็นการชำระค่าจ้างต่อเติมนอกแบบครั้งที่หนึ่ง ไม่ใช่การชำระค่าจ้างต่อเติมนอกแบบรายที่ฟ้องอันเป็นการนำสืบหักล้างโดยไม่จำต้องกล่าวบรรยายไว้ในคำฟ้อง และไม่ถือว่าเป็นการสืบนอกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 250/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกทรัพย์คืนจากการซื้อขายหุ้น และการใช้เอกสารหลักฐานที่ไม่ติดอากรแสตมป์
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ตกลงขายหุ้นของบริษัท อ. ให้แก่สามีโจทก์ แต่จำเลยไม่โอนหุ้นที่ตกลงซื้อขายให้แก่สามีโจทก์จนกระทั่งสามีโจทก์ได้ถึงแก่กรรม โจทก์ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของสามีไม่ประสงค์จะซื้อหุ้นดังกล่าวอีก ทั้งการซื้อขายหุ้นมิได้ทำตามแบบที่กฎหมายกำหนดจึงเป็นโมฆะ โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาซื้อขายหุ้นแล้ว ขอให้บังคับจำเลยคืนเงินค่าซื้อหุ้นแก่โจทก์ ดังนี้เป็นการฟ้องเรียกทรัพย์คืนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดอายุความไว้เป็นอย่างอื่น จึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 และกรณีไม่ใช่ลาภมิควรได้เพราะการที่จำเลยรับเงินค่าซื้อหุ้นไว้จากสามีโจทก์เป็นการรับไว้ โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ จึงนำกำหนดอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 มาใช้แก่คดีนี้ไม่ได้
บัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากรที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 206 ลงวันที่ 15 กันยายน 2519 ข้อ 19 มิได้กำหนดให้ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นบริษัทต้องปิดอากรแสตมป์ ดังนั้น ใบรับเงินค่าซื้อหุ้นแม้มิได้ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้
ข้อที่จำเลยให้การต่อสู้คดีไว้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นข้อพิพาท และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้าน ถือว่าจำเลยสละประเด็นข้อนี้แล้ว จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแต่ศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตลอดชีพที่ไม่ได้จดทะเบียน มีผลเป็นสัญญาเช่าระยะเวลา 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งฯ
เอกสารหมาย ล.2 มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้จำเลยเช่าเคหะช่วงล่างตึกสามชั้น ตึกเลขที่ 611/1 ถนนเทอดไท ตำบลบางยี่เรือเขตธนบุรี กรุงเทพฯ ให้อยู่ตลอดชีพ จึงได้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าเอกสารดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นตราสารตามความหมายในประมวลรัษฎากร คงเป็นเพียงหลักฐานการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 538 อย่างหนึ่งเท่านั้น แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 152/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าตลอดชีพไม่จดทะเบียนมีผลบังคับใช้ได้ 3 ปี การฟ้องขับไล่ก่อนครบกำหนดไม่มีอำนาจฟ้อง
เอกสารหมาย ล.2 มีข้อความว่า โจทก์ได้ให้จำเลยเช่าเคหะช่วงล่างตึกสามชั้นตึกเลขที่611/1ถนนเทอดไทตำบลบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพฯ ให้อยู่ตลอดชีพ จึงได้ทำสัญญาไว้เป็นหลักฐาน แล้วลงลายมือชื่อโจทก์ผู้ให้เช่าเอกสารดังกล่าวยังถือไม่ได้ว่าเป็นตราสารตามความหมายในประมวลรัษฎากร คงเป็นเพียงหลักฐานการเช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 อย่างหนึ่งเท่านั้น แม้ไม่ปิดอากรแสตมป์ก็ใช้เป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งได้ไม่ต้องห้ามตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยอ้างว่าจำเลยอาศัย หากทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยเช่า ก็ไม่เป็นเหตุยกฟ้องเพราะการอาศัยหรือการเช่าเป็นการกล่าวอ้างถึงมูลเดิมว่าจำเลยเข้าอยู่ในตึกพิพาทได้อย่างไรเท่านั้น ไม่ใช่ข้อสำคัญในคดี ศาลต้องวินิจฉัยว่าจำเลยมีสิทธิอยู่ในที่พิพาทต่อไปหรือไม่
โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าตึกพิพาทตลอดอายุของจำเลย แต่การเช่ารายนี้ไม่ปรากฏว่าได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ฉะนั้น จำเลยจึงมีสิทธิบังคับโจทก์ให้จำเลยเช่าตึกพิพาทได้มีกำหนด 3 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 538 โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยก่อนครบกำหนด 3ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1310/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอ้างสำนวนคดีอื่นเป็นพยาน: ศาลรับฟังคำเบิกความในสำนวนคดีอาญาได้ หากโจทก์อ้างพยานเอกสารทั้งสำนวน
สำนวนคดีเรื่องอื่นเป็นพยานเอกสารที่คู่ความมีสิทธิอ้างอิงเป็นพยานหลักฐานสนับสนุนข้ออ้างหรือข้อเถียงของตนได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 90
โจทก์อ้างสำนวนคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 3645/2520 ของศาลแขวงธนบุรีเป็นพยานทั้งสำนวน ซึ่งมีคำเบิกความของนางสาว บ. อยู่ในสำนวนนั้นด้วยศาลรับฟังคำเบิกความของนางสาว บ. ในสำนวนคดีอาญาดังกล่าวประกอบคำพยานโจทก์ ในคดีนี้ได้ เพราะถือว่าโจทก์ได้ระบุอ้างคำเบิกความของนางสาว บ. ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา88,90 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 621/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารไม่มีอากรแสตมป์ใช้เป็นหลักฐานในคดีอาญาได้ ไม่จำกัดเฉพาะคดีแพ่ง
เอกสารที่มิได้ปิดอากรแสตมป์นั้น ประมวลรัษฎากร มาตรา 118 ห้ามมิให้ใช้เป็นพยานหลักฐานเฉพาะในคดีแพ่งเท่านั้น หาได้ห้ามมิให้รับฟังในคดีอาญาด้วยไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลัก แม้มีฉบับปลอม ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามสัญญา
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื่อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกันจำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันการชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ. รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไปต่อมา บ. นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยยังอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริง แก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 680วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า "ตามที่นายป๊วยเคี้ยวแซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า"หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัท ฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 923/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือค้ำประกันที่แท้จริงเป็นหลักฐานสำคัญในการฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากผู้ค้ำประกัน แม้จะมีสำเนาปลอม
จำเลยที่ 1 ไปติดต่อขอซื้อเชื้อน้ำมันจากโจทก์ โจทก์ตกลงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อแต่ต้องมีธนาคารค้ำประกัน จำเลยที่ 2 ออกหนังสือค้ำประกันชำระราคาค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์และมอบให้ บ.รับไป ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 นำหนังสือค้ำประกันมีลายมือชื่อผู้ค้ำประกันปลอมไปมอบให้โจทก์ โจทก์เข้าใจว่าเป็นหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงของจำเลยที่ 2 จึงให้จำเลยที่ 1 ซื้อเชื่อน้ำมันไป ต่อมา บ.นำหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงไปคืนจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 สอบถามไปยังโจทก์ โจทก์แจ้งว่าหนังสือค้ำประกันของจำเลยอยู่ที่โจทก์ จำเลยที่ 1 ไม่ชำระราคาน้ำมัน โจทก์จึงฟ้องขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันดังกล่าว ดังนี้ เมื่อโจทก์กล่าวมาในฟ้องแจ้งชัดขอให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันฉบับที่แท้จริง จำเลยที่ 2 ก็รับว่าได้ออกหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแก่โจทก์ทั้งโจทก์ยังได้อ้างส่งหนังสือค้ำประกันฉบับนั้นเป็นพยานต่อศาลในชั้นพิจารณาด้วย แม้โจทก์จะคัดสำเนาหนังสือค้ำประกันฉบับที่จำเลยที่ 1 นำมามอบแก่โจทก์อันเป็นสัญญาค้ำประกันปลอม ซึ่งมีข้อความตรงกันกับหนังสือค้ำประกันฉบับที่แท้จริงแนบมาท้ายฟ้อง ก็หามีผลให้เข้าใจว่าโจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาค้ำประกันปลอมไม่ ถือได้ว่าการฟ้องคดีของโจทก์มีหลักฐานการค้ำประกันเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันถูกต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 680 วรรคท้ายแล้ว
โดยที่หนังสือค้ำประกันข้อ 1 มีข้อความว่า"ตามที่นายป๊วยเคี้ยว แซ่ก้วย สำนักงานเลขที่ ฯลฯ จะซื้อน้ำมันจากบริษัท ฯ ไปจำหน่าย ธนาคารขอเข้ารับภาระค้ำประกันชำระเงินดังกล่าว ภายในวงเงินไม่เกิน 1,500,000 บาท (หนึ่งล้านห้าแสนบาทถ้วน)" และข้อ 3 มีข้อความว่า "หนังสือค้ำประกันฉบับนี้ให้มีผลบังคับได้ สำหรับการส่งมอบสินค้าของบริษัทฯ ทุกอย่างซึ่งได้กระทำกันระหว่างวันที่ 1 เดือนมีนาคม พ.ศ.2515 ถึงวันที่ 1 เดือนกันยายน 2515" อันเป็นเรื่องจำเลยที่ 2 แสดงเจตนาผูกพันตนต่อโจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าน้ำมันของจำเลยที่ 1 เมื่อโจทก์ตกลงขายและส่งมอบน้ำมันแก่จำเลยที่ 1 ภายในกำหนดเวลาดังกล่าว สัญญาค้ำประกันย่อมเกิดขึ้นมีผลผูกพันจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ต้องรับผิดต่อโจทก์ในฐานะผู้ค้ำประกันกับจำเลยที่ 1 (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 1/2523)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2151/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขาย, การบอกเลิกสัญญา, ค่าปรับ, และการชำระค่าเสียหายจากสัญญาค้ำประกัน
โจทก์เป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด การฟ้องคดีไม่จำเป็นต้องบรรยายมาในคำฟ้องด้วยว่า โจทก์มีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการค้าอะไร เพราะวัตถุประสงค์ของโจทก์จะประกอบกิจการค้าอะไรมิใช่ข้อหาอันกฎหมายบังคับต้องบรรยายให้ชัดแจ้งตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 โจทก์บรรยายฟ้องข้อหาว่าจำเลยผิดสัญญาซื้อขายรวมทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหานั้นแล้ว ซึ่งจำเลยก็ให้การต่อสู้คดีได้ถูกต้องฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
สัญญาซื้อขายค่าความนิยมและกิจการซักรีด ไม่ใช่ตราสารหรือเอกสารตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ในประมวลรัษฎากร ซึ่งกฎหมายบังคับให้ต้องปิดอากรแสตมป์จึงไม่ต้องปิดอากรแสตมป์และรับฟังเป็นพยานหลักฐานฟ้องคดีได้
โจทก์จำเลยมีข้อสัญญากันว่า หากจำเลยผิดนัดไม่ชำระค่างวดติดต่อกัน 3 งวด โจทก์มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและจำเลยยินยอมเสียค่าปรับจำนวนหนึ่งกับชดใช้ค่าเสียหายทั้งสิ้นเมื่อจำเลยเป็นฝ่าย ผิดสัญญาโดยไม่ชำระหนี้ตามข้อตกลง โจทก์ก็มีสิทธิเลิกสัญญาจำเลยนอกจากที่จะต้องใช้ค่างวดที่ค้างชำระ และค่าซ่อมแซมทรัพย์สินอันเป็นค่าเสียหายส่วนหนึ่งแล้วจำเลยจะต้องเสียค่าปรับหรือเบี้ยปรับอันเป็นค่าเสียหาย อีกส่วนหนึ่งที่ตกลงกันไว้ล่วงหน้าตามข้อกำหนดในสัญญาด้วย แต่เมื่อศาลเห็นว่าเบี้ยปรับตามสัญญาส่วนนี้กำหนดไว้สูงไป ก็ชอบที่จะลดเบี้ยปรับลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
of 20