คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด พ.ศ.2489 ม. 7

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8371/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลต้องพิจารณาจ่ายรางวัลให้เจ้าหน้าที่จับกุม เมื่อลงโทษตามบทหนักของกฎหมายศุลกากร
เมื่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางลงโทษจำเลยตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 27 ทวิ ซึ่งเป็นบทหนักตาม ป.อ. มาตรา 90 แล้ว ศาลต้องมีคำสั่งให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมผู้กระทำความผิด โดยให้จ่ายตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 5 (2), 6, 7, 8 วรรคสอง ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางเพียงแต่พิพากษาว่า คำขออื่นนอกจากนี้ให้ยกและไม่ได้วินิจฉัยในเรื่องการจ่ายรางวัลแก่พนักงานผู้จับนั้น จึงไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 186 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษปรับและรางวัลเจ้าหน้าที่ในคดีร่วมกันนำเข้าสินค้าผิดกฎหมาย ศาลฎีกาแก้ไขการบังคับโทษปรับและยกเลิกการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อน
ตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 การลงโทษปรับผู้กระทำความผิดไม่ว่าจะมีผู้ร่วมกระทำความผิดจำนวนกี่คน ศาลจะต้องลงโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ไม่เกินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งต้องลงโทษปรับจำเลยที่ร่วมกระทำความผิดทุกคนรวมกันเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วเมื่อจำเลยคดีนี้กระทำความผิดตามฟ้องร่วมกับ จ. แม้จะปรากฏว่าความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วไปแล้วในคดีก่อนก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาระงับลงไม่ ต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับ จ. เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามบทกฎหมายดังกล่าว โดยต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกับค่าปรับ จ. แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หาก จ. ชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วในคดีก่อนเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งนี้เพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีรวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน
บุคคลสองคนร่วมกันกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 เมื่อคนหนึ่งถูกศาลพิพากษาลงโทษ โดยศาลสั่งริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว ของกลางในคดีก่อนกับของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อคดีก่อนศาลสั่งริบของกลางแล้วและไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และ 8 วรรคสองให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่จับกุมเพียงครั้งเดียว
การจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(ประชุมใหญ่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3956/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดเกี่ยวกับศุลกากร ความรับผิดร่วม และการบังคับโทษปรับ รวมถึงการจ่ายรางวัลเจ้าหน้าที่
การที่จำเลยคดีนี้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากรฯ มาตรา 27 ร่วมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนที่ให้การรับสารภาพ แม้ความผิดครั้งเดียวกันนี้ศาลได้ลงโทษปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน เป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยกันไปแล้วก็ตาม ความผิดของจำเลยคดีนี้ก็หาได้ระงับลงไม่ ศาลจึงต้องลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ด้วย โดยปรับจำเลยคดีนี้รวมกับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนเป็นเงินสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องถือว่าค่าปรับจำเลยคดีนี้เป็นจำนวนเดียวกันกับค่าปรับจำเลยที่ 1 ในคดีก่อน แต่ต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับคดีนี้ว่า หากจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนชำระค่าปรับหรือถูกกักขังแทนค่าปรับไปแล้วเพียงใดก็ให้นำมาหักออกจากโทษปรับของจำเลยคดีนี้ได้ ทั้งเพื่อมิให้เป็นการลงโทษปรับจำเลยทั้งสองคดีนี้รวมกันเป็นเงินเกินกว่าสี่เท่าราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว และต้องกำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับด้วยว่า ในกรณีที่ต้องกักขังจำเลยคดีนี้แทนค่าปรับก็ให้แบ่งกักขังจำเลยคดีนี้ได้ไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากความผิดตามฟ้องมีผู้ร่วมกระทำผิด 2 คน ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้ลงโทษปรับจำเลยคดีนี้ โดยมิได้ระบุว่าโทษปรับคดีนี้เป็นโทษปรับจำนวนเดียวกับคดีก่อน และมิได้กำหนดเงื่อนไขในการบังคับโทษปรับให้ชัดเจนจึงยังไม่ถูกต้อง
ความผิดของจำเลยคดีนี้และจำเลยที่ 1 ในคดีก่อนในครั้งนี้ ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาในคดีก่อนให้ริบของกลางและจ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบของราคาของกลางไปแล้ว สินค้าของกลางในคดีก่อน กับสินค้าของกลางในคดีนี้เป็นทรัพย์สิ่งเดียวกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งริบของกลางแล้ว และไม่ปรากฏว่าของกลางที่สั่ง ริบนั้นไม่อาจขายได้ จึงต้องจ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบของราคาของกลางจากเงินที่ได้จากการขายสินค้าของกลาง ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดฯ มาตรา 7 และมาตรา 8 วรรคสอง ให้แก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมเพียงครั้งเดียว การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาในคดีนี้ให้จ่ายรางวัลแก่พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จับกุมร้อยละยี่สิบ ของราคาของกลางหรือค่าปรับอีกจึงเป็นการไม่ชอบ เพราะเป็นการจ่ายรางวัลซ้ำซ้อนเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจ ยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้
(วรรคแรกวินิจฉัยโดยมติที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาครั้งที่ 2/2547)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับของผิดกฎหมายทางศุลกากร: พยานหลักฐานจากคำรับสารภาพและพฤติการณ์หลบหนีเพียงพอให้ลงโทษจำเลยได้
จำเลยที่ 2 นั่งคู่มากับจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นคนขับรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ ของกลางที่มีเลื่อยยนต์ของกลางวางอยู่ที่กระบะท้ายรถ จึงเป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นได้ในเบื้องต้นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้ครอบครองเลื่อยยนต์ของกลาง ชั้นสอบสวนพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 2 ในส่วนที่เกี่ยวกับเลื่อยยนต์ของกลางว่านำหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษีหรือของต้องกำกัดหรือของต้องห้ามหรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักร และช่วยซ่อนเร้น ช่วยจำหน่าย ช่วยพาเอาไปเสีย ซึ้อ รับจำนำ หรือรับไว้ด้วยประการใดซึ่งของที่รู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามหรือข้อกำกัด จำเลยที่ 2 ได้ให้การรับสารภาพต่อพนักงานสอบสวนโดยสมัครใจตามบันทึกคำให้การที่พนักงานสอบสวนได้บันทึกไว้ จึงใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยที่ 2 ในชั้นพิจารณาได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 134 นอกจากนี้ขณะเกิดเหตุจำเลยที่ 2 ได้เปิดประตูรถวิ่งหลบหนีไปพร้อมกับจำเลยที่ 1 ด้วย เป็นพฤติการณ์ที่ชี้ให้เห็นว่าจำเลยที่ 2 น่าจะทราบดีว่าสิ่งของที่จำเลยที่ 1 บรรทุกมาในรถยนต์ของกลางเป็นของผิดกฎหมาย ฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับจำเลยที่ 1 รับไว้ซึ่งเลื่อยยนต์ของกลางโดยรู้ว่าเป็นของที่นำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงอากร ข้อห้ามและข้อกำกัด
โทษปรับรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่ พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้ ค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกันเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ ถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 213 และ 225
ศาลอุทธรณ์ได้รวมโทษจำคุกของจำเลยแต่ละกระทงเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษ เป็นผลร้ายแก่จำเลยเพราะมีผลเป็นการนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี อยู่ในตัว ทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน เป็นการไม่ชอบด้วย ป.อ. มาตรา 21 วรรคสอง ที่ถูกศาลอุทธรณ์ต้องลดโทษให้จำเลยที่ 2 เป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้เป็นคุณแก่จำเลยได้
ตาม พ.ร.บ. ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 ที่บัญญัติไว้มีใจความว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละ 30 ของค่าปรับ และจ่ายรางวัลร้อยละ 25 ของค่าปรับ จึงยังไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้องเสียด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6396/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษปรับในคดีศุลกากร และการลดโทษจำคุกเป็นรายกระทงตามกฎหมายอาญา
การลงโทษปรับเป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้วตามที่พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ บัญญัติไว้นั้นค่าอากรดังกล่าวย่อมหมายถึงค่าอากรในทางศุลกากรเท่านั้น ไม่รวมถึงภาษีมูลค่าเพิ่มอันเป็นภาษีฝ่ายสรรพากรด้วย และเนื่องจากความผิดดังกล่าวเป็นกรณีจำเลยทั้งสองกระทำความผิดร่วมกันและศาลจะต้องพิพากษาลงโทษปรับจำเลยทั้งสองรวมกัน เป็นเงินสี่เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว อันถือว่าเป็นเหตุอยู่ในส่วนลักษณะคดี ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษาแก้ไขโทษปรับตลอดไปถึงจำเลยที่ 1 ซึ่งมิได้ฎีกาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 213 และ 225
การรวมโทษจำคุกของแต่ละกระทงที่กำหนดเป็นเดือนเข้าด้วยกันแล้วจึงลดโทษนั้น การนำโทษส่วนที่เกิน 12 เดือน มาคิดคำนวณเป็น 1 ปี มีผลทำให้จำเลยต้องรับโทษจำคุกในปีสุดท้ายนานขึ้น 5 วัน หรือ 6 วัน หากตรงกับปีอธิกสุรทิน จึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 21 วรรคสอง ซึ่งที่ถูกต้องจะต้องลดโทษให้จำเลยเป็นรายกระทงก่อนแล้วจึงรวมโทษ
พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และมาตรา 8 กำหนดให้จ่ายสินบนและรางวัลจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบไม่อาจขายได้ จึงให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล ดังนั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายเลื่อยยนต์ของกลางได้ ศาลจึงสั่งให้จ่ายจากเงินค่าปรับไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษผิดฐานทำไม้ในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับต้องเป็นไปตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตาม พ.ร.บ.ศุลกากรพ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา4, 6, 9, 14, 31, 35 พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4, 11, 48,73, 74, 74 ทวิ, 74 จัตวา ป.อ.มาตรา 83, 91 พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 4, 5, 6, 7, 8, 9ริบของกลาง จ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับจำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก.ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดย พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือนถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุกคนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้ จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว
พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ.2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้าการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษาแก้เป็นให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลางที่ศาลสั่งให้ริบตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1979/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงโทษจำเลยในความผิดฐานทำไม้หวงห้ามในเขตป่าสงวน และการจ่ายรางวัลผู้แจ้งความนำจับ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 27 ทวิ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 4,6,9,14,31,35 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4,11,48,73,74,74 ทวิ,74 จัตวา ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 83,91 พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 4,5,6,7,8,9 ริบของกลางจ่ายเงินสินบนแก่ผู้แจ้งความนำจับและจ่ายรางวัลแก่ผู้จับ จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็นไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติตามพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 มาตรา 31 วรรคหนึ่ง ซึ่งยกเลิกโดยพระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2522 มาตรา 3 และได้บัญญัติความแทนว่า ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 14 ต้องระวางโทษ จำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษ จำเลยทั้งสองในความผิดฐานร่วมกันทำไม้ประดู่ที่เป็น ไม้หวงห้ามประเภท ก. ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้จำคุก คนละ 4 เดือน ต่ำกว่าขั้นต่ำที่กฎหมายระวางโทษไว้จึงไม่ชอบด้วยบทกฎหมายดังกล่าว พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิดพ.ศ. 2489 มาตรา 8 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้จ่ายรางวัล ร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางหรือค่าปรับ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ลงในราชกิจจานุเบกษา เพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้ได้ โดยโจทก์มีคำขอให้จ่ายรางวัลแก่ผู้นำจับ ซึ่งประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า การที่ ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของราคา เครื่องเลื่อยยนต์ของกลางจึงไม่ถูกต้อง และศาลอุทธรณ์ มิได้แก้ไขให้ถูกต้องจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาพิพากษา แก้เป็นให้ จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาเครื่องเลื่อยยนต์ของกลาง ที่ศาลสั่งให้ริบตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489 มาตรา 7 และ 8

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3001/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เลื่อยยนต์แปรรูปไม้ผิดกฎหมาย การลดโทษ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองใช้เลื่อยยนต์เป็นเครื่องมือในการแปรรูปไม้ซึ่งสามารถแปรรูปไม่ได้รวดเร็วและเป็นจำนวนมาก เป็นพฤติการณ์ที่ก่อให้เกิดภัยต่อทรัพยากรธรรมชาติของประเทศเป็นอย่างมากซึ่งเป็นการกระทำที่มีลักษณะร้ายแรง การที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยทั้งสองนั้นเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งรูปคดีแล้ว
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัล และปรากฏตามพระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่าสินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาล คดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ดังนั้น ที่ศาลล่างพิพากษาให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบและจ่ายเงินรางวัลร้อยละยี่สิบของค่าปรับ ตามพระราชบัญญัติศุลกากรฯ นั้น จึงไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 115/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานทำไม้กับความผิดฐานพยายามทำไม้ และการจ่ายสินบนรางวัลตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติ ญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มาตรา 4(5) บัญญัติว่า"ทำไม้" หมายความว่า ตัด ฟัน กานโค่นลิดเลื่อนผ่าถาก ทอน ขุดชักลากไม้ในป่าหรือนำไม้ออกจากป่าด้วยประการใด ๆ " ซึ่งโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกับพวกร่วมกันทำไม้โดยการตัด ฟัน พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484 มิได้ให้ความหมายพิเศษของคำว่า ตัด ฟัน และการกระทำอื่น ๆ อันเป็นการทำไม้ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำเหล่านั้น ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525ได้ให้ความหมายของคำว่า "ตัด" ว่า ทำให้ขาดด้วยของมีคม ทอนคำว่า "ฟัน" หมายถึง เอาของมีคมเช่นดาบฟันลงไป เช่น ฟันคลื่นคือเอาหัวเรือตัดคลื่นไป "กาน" หมายถึงตัดเพื่อให้แตกใหม่ "โค่น"หมายถึง ล้มหรือทำให้ล้มอย่างต้นไม้ล้ม ทลายลง "ลิด" หมายถึงเด็ดหรือตัดเพื่อแต่ง "เลื่อย" หมายถึง ตัดด้วยเลื่อย ความหมายของคำว่า "ทำไม้" ไม่ว่าด้วยวิธี ตัด ฟัน กานโค่นลิด เลื่อย ผ่าถาก ทอน ขุด ชักลาก หรือนำไม้ออกจากป่า ล้วนแต่ทำให้เห็นว่าต้องเป็นการทำให้ต้นไม้ขาดจากลำต้นหรือจากพื้นดินที่ต้นไม้นั้นปลูกอยู่ทั้งสิ้น ซึ่งวัตถุประสงค์ของพระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ. 2484ที่ห้ามมิให้ทำไม้โดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่และถือเป็นความเป็นดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 11 และ 73 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวนั้นก็เพื่อมิให้มีการทำลายป่าและเพื่อรักษาทรัพยากรและความสมดุล ทางธรรมชาติไว้ เมื่อปรากฏว่าต้นยางที่จำเลยตัดมีขนาดเส้นรอบวงของลำต้นตรงที่ถูกตัดถึง 1.80 เมตร และสูง 16 เมตร มีร่องรอยการตัดด้วยเลื่อยเพียง 2 รอย สึกเพียง 1 นิ้ว และยาว 5 นิ้วเท่านั้น ต้นยางดังกล่าวมิได้โค่นล้มหรือตายแต่อย่างใด การกระทำของจำเลยกับพวกจึงเป็นเพียงการลงมือกระทำความผิดฐานทำไม้แต่กระทำไปไม่ตลอดเป็นความผิดฐานพยายามทำไม้โดยไม่ได้รับอนุญาตจากพนักงานเจ้าหน้าที่ มิใช่ความผิดสำเร็จ ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าให้จ่ายสินบนร้อยละสามสิบ จ่ายรางวัลร้อยละสิบห้าของค่าปรับตามพระราชบัญญัติศุลกากรนั้น ปรากฏว่า พระราชบัญญัติศุลกากรพ.ศ. 2469 ไม่มีบทบัญญัติให้จ่ายสินบนกับรางวัลและปรากฏตามพระราชบัญญัติ ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำความผิด พ.ศ. 2489มาตรา 7 และ 8 ว่า สินบนและรางวัลให้จ่ายจากเงินที่ได้จากการขายของกลางซึ่งศาลสั่งริบเมื่อคดีถึงที่สุดแล้ว หากของกลางที่ศาลสั่งริบนั้นไม่อาจขายได้ ให้จ่ายจากเงินค่าปรับที่ได้ชำระต่อศาลซึ่งคดีนี้ไม่ปรากฏว่าไม่อาจขายของกลางได้ ทั้งให้จ่ายรางวัลร้อยละยี่สิบห้าของราคาของกลางที่ศาลสั่งริบ ไม่ใช่ร้อยละสิบห้าตามประกาศที่ในราชกิจจานุเบกษาซึ่งสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎรขอแก้ไขเพราะประกาศดังกล่าวไม่สามารถจะแก้บทกฎหมายที่ตราไว้แล้วประกอบกับตามฟ้องโจทก์ก็มิได้ขอให้ศาลสั่งจ่ายรางวัลเพียงร้อยละสิบห้า ที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษามาจึงยังไม่ถูกต้องตามบทกฎหมายดังกล่าว ศาลฎีกาแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3117/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งข้อหาผู้จัดการนิติบุคคล ไม่ถือเป็นการจับกุม จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.บำเหน็จปราบปราม
โจทก์ฟ้องจำเลยในความผิดต่อ พ.ร.บ. ศุลกากรฯ คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดให้ปรับจำเลยและให้จ่ายรางวัลร้อยละ 20 ของเงินค่าปรับแก่เจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุม ดังนี้กรณีที่นิติบุคคลเป็นผู้ต้องหาหรือจำเลยต้องดำเนินการตาม ป.วิ.อ.มาตรา 7 ซึ่งกำหนดให้ออกหมายเรียกผู้จัดการหรือผู้แทนอื่น ๆของนิติบุคคลนั้น ให้ไปยังพนักงานสอบสวนหรือศาลแล้วแต่กรณีถ้า ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกจะออกหมายจับมาก็ได้ แต่จะขังหรือปล่อยชั่วคราว ผู้จัดการหรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้นไม่ได้ เพราะนิติบุคคลไม่อยู่ในสภาพที่จะให้จับกุมได้ คงให้ใช้วิธีออกหมายเรียกผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลมาเพื่อการสอบสวนหรือพิจารณาแล้วแต่กรณีการที่ผู้ร้องที่ 1 ออกหมายเรียกกรรมการผู้จัดการบริษัทจำเลยมาแล้วแจ้งข้อหาว่าบริษัทจำเลยกระทำความผิด จึงไม่เป็นการจับกุมและผู้ร้องที่ 1 มิใช่พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลย ผู้ร้องที่ 1 จึงไม่มีสิทธิได้รับรางวัลตาม พ.ร.บ.ให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิดฯ มาตรา 7 และ 8.
of 3