พบผลลัพธ์ทั้งหมด 78 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนเริ่มพิจารณาคดีอาญาอัตราโทษสูง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 587/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายก่อนพิจารณาคดีอัตราโทษสูงสิบปีเป็นหน้าที่ของศาลชั้นต้นที่ต้องดำเนินการ หากไม่ทำ กระบวนการพิจารณาไม่ถูกต้อง
คดีที่มีอัตราโทษจำคุกขั้นสูงสิบปี ศาลชั้นต้นจะต้อง สอบถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสอง เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาไปโดยไม่ปรากฏว่ามีการดำเนินการ ดังกล่าว การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงไม่ถูกต้อง จำเป็นต้องย้อนสำนวนเพื่อให้ศาลชั้นต้นดำเนินการใหม่ให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับการสอบถามจำเลย: ทนายก่อนหรือคำให้การก่อน
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 20 เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาล การที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173วรรคสอง บัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่..." ดังนั้นก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายความจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยเลยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3017/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามทนายจำเลยก่อนการพิจารณาคดีในศาลแขวงเป็นหน้าที่ตามกฎหมาย หากไม่ปฏิบัติตามถือว่ากระบวนการพิจารณาคดีมิชอบ
วิธีการตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 20เป็นการดำเนินการในชั้นสอบสวนและการพิจารณาคดีในชั้นศาลการที่ศาลถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใดตามความในมาตรา 20 ดังกล่าว ถือเป็นการพิจารณา และตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองบัญญัติว่า ก่อนเริ่มพิจารณาให้ศาลถามจำเลยว่ามีทนายหรือไม่ดังนั้น ก่อนเริ่มพิจารณาหรือก่อนเริ่มการพิจารณาสอบถามผู้ต้องหาหรือจำเลยว่าจะให้การประการใด ศาลจะต้องสอบถามเรื่องทนายจำเลยเสียก่อนเท่านั้น ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคสองประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 4 หากศาลมิได้สอบถามเรื่องทนายจำเลย แต่ก้าวล่วงไปถึงการพิจารณาสอบถามคำให้การของจำเลยจึงเป็นการมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบถามจำเลยเรื่องทนายความ แม้มิได้จดบันทึก แต่การพิจารณาคดีไม่เสีย มิชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 297,83 และคดีได้ความตรงความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้น ได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลย เรื่องทนายความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับเท่าที่จะใช้บังคับได้ และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 48บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆ ซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2)บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจาก ศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้ พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้น ได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2923/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสอบคำให้การจำเลยและทนายความ หากศาลชั้นต้นไม่ได้จดบันทึกรายงานกระบวนพิจารณา แต่คดีความชัดเจน ศาลอุทธรณ์ไม่จำเป็นต้องให้พิจารณาใหม่
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตาม ป.อ. มาตรา 297, 83และคดีได้ความตามความเป็นจริงว่า ศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความด้วยแล้ว แม้จะปรากฏว่าศาลชั้นต้นไม่จดบันทึกเกี่ยวกับการสอบถามจำเลยเรื่องทนายความตาม ป.วิ.อ.มาตรา 173 วรรคสอง ไว้ในรายงานกระบวนพิจารณาก็ตาม แต่ ป.วิ.อ.ให้นำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับเท่าที่พอจะใช้บังคับได้ และ ป.วิ.พ.มาตรา 48 บัญญัติให้เป็นหน้าที่ของศาลต้องจดแจ้งรายงานการนั่งพิจารณาหรือกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ของศาลไว้ทุกครั้งและรายงานนั้นต้องมีข้อความโดยย่อเกี่ยวด้วยเรื่องที่กระทำและรายการข้อสำคัญอื่น ๆซึ่งเห็นได้ว่าแม้การจดรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจะเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นก็ตาม แต่เมื่อ ป.วิ.อ.มาตรา 208 (2) บัญญัติว่า ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นเป็นการจำเป็น เนื่องจากศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา ก็ให้พิพากษาสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดี ดังนั้น เมื่อคดีได้ความชัดแจ้งว่าศาลชั้นต้นได้สอบคำให้การจำเลยพร้อมกับสอบเรื่องทนายความแล้ว กรณีจึงไม่มีเหตุอันสมควรที่จะให้ดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ การที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้ให้ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาและพิพากษาหรือสั่งใหม่ตามรูปคดีจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5914/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตยาเสพติดโดยแบ่งบรรจุเข้าข่ายความหมาย 'ผลิต' ตามกฎหมาย และการลงโทษกรรมเดียวผิดหลายบท
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษพ.ศ.2522มาตรา4คำว่า"ผลิต"หมายความรวมตลอดถึงการแบ่งบรรจุหรือรวมบรรจุด้วยดังนั้นการที่จำเลยนำเฮโรอีนมาแบ่งบรรจุหลอดพลาสติกจึงเป็นการผลิตเฮโรอีนตามความหมายของมาตรา4แล้ว เจ้าพนักงานตำรวจแจ้งข้อหาผลิตเฮโรอีนให้จำเลยทราบตั้งแต่ชั้นจับกุมซึ่งถือได้ว่าเป็นการเริ่มต้นแห่งขบวนการสอบสวนจำเลยแล้วแม้พนักงานสอบสวนมิได้เบิกความถึงการแจ้งข้อหาผลิตเฮโรอีนก็ตามแต่จำเลยก็ได้ให้การรับสารภาพเช่นเดียวกันกับในชั้นจับกุมเฮโรอีนที่จับได้ก็เป็นจำนวนเดียวกันจึงถือได้ว่ามีการสอบสวนในความผิดฐานนี้แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้องศาลลงโทษจำเลยฐานผลิตเฮโรอีนตามมาตรา65ได้ วันแรกที่ศาลชั้นต้นได้อ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและสอบคำให้การจำเลยนั้นศาลได้สอบถามเรื่องทนายความแล้วจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องและแถลงว่าไม่ต้องการทนายความในสำนวนก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยซักค้านพยานโจทก์หรือดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นใดที่ต้องอาศัยทนายความและยังแถลงว่าไม่ติดใจสืบพยานจำเลยเพิ่งมาโต้แย้งในชั้นฎีกาว่าศาลชั้นต้นต้องตั้งทนายความให้จำเลยดังนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาไม่ขัดต่อมาตรา173 โจทก์บรรยายฟ้องเพียงว่าจำเลยได้บังอาจผลิตโดยแบ่งเฮโรอีนบรรจุหลอดเครื่องดื่มและมีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่ายโดยมิได้รับอนุญาตคำว่า"เพื่อจำหน่าย"นั้นโจทก์มุ่งถึงข้อหามีเฮโรอีนไว้ในความครอบครองมิใช่ข้อหาผลิตเฮโรอีนดังนั้นจึงถือไม่ได้ว่าโจทก์บรรยายฟ้องข้อหาผลิตเฮโรอีนเพื่อจำหน่ายมาแล้วในฟ้อง เฮโรอีนที่จำเลยผลิตและมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายเป็นเฮโรอีนจำนวนเดียวกันการกระทำของจำเลยจึงเป็นกรรมเดียวกันผิดต่อกฎหมายหลายบทต้องใช้กฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุดลงโทษแก่จำเลยตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา90
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามความประสงค์เรื่องทนายก่อนพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อปรากฎว่าก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเห็นว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยฎีกาเรื่องทนายจำเลยเสียชีวิตและประเด็นการอุทธรณ์ที่ไม่ได้รับคำรับรอง
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 ที่ศาลตั้งให้ได้เสียชีวิตลงก่อนสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีกเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีทนายแก้ต่างจนศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 นั้น ในปัญหาข้อนี้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับวินิจฉัยให้ ในวันสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ได้แต่งให้ ก.ซึ่งเป็นทนายของจำเลยที่ 2 เป็นทนายของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้วศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีก และตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจสืบพยานเอง มิใช่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 1 ได้เคยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะผู้ตายตกน้ำและถึงแก่ความตายเอง ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 339 วรรคท้าย ลดโทษให้กึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52(2) คงจำคุกตลอดชีวิต ข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ที่จำเลยที่ 1 ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำความผิดนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5715/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่มีทนายแก้ต่างและข้อจำกัดการอุทธรณ์ในคดีอาญา
จำเลยที่ 1 ฎีกาว่า ทนายจำเลยที่ 1 ที่ศาลตั้งให้ ได้เสียชีวิตลงก่อนสืบพยานจำเลย และศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีกเป็นเหตุให้จำเลยที่ 1 ไม่มีทนายแก้ต่างจนศาลชั้นต้นสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 นั้น ในปัญหาข้อนี้แม้จะไม่ได้ยกขึ้นในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ก็ตามแต่ก็เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย ซึ่งจำเลยที่ 1 หรือศาลยกขึ้นอ้างได้ ศาลฎีกาเห็นสมควรรับวินิจฉัยให้
ในวันสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ได้แต่งให้ ก.ซึ่งเป็นทนายของจำเลยที่ 2 เป็นทนายของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีก และตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจสืบพยานเอง มิใช่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ได้เคยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะผู้ตายตกน้ำและถึงแก่ความตายเอง ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคท้ายลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิตข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำความผิดนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้
ในวันสืบพยานจำเลย จำเลยที่ 1 ได้แต่งให้ ก.ซึ่งเป็นทนายของจำเลยที่ 2 เป็นทนายของจำเลยที่ 1 ด้วยแล้ว ศาลชั้นต้นจึงไม่ต้องตั้งทนายให้จำเลยที่ 1 อีก และตามรายงานกระบวนพิจารณาก็ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 แถลงไม่ติดใจสืบพยานเอง มิใช่ศาลสั่งตัดพยานจำเลยที่ 1 กระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยที่ 1 ได้เคยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นว่าจำเลยที่ 1 กระทำความผิดฐานชิงทรัพย์จริง แต่ไม่ได้เป็นเหตุให้ผู้ตายถึงแก่ความตายเพราะผู้ตายตกน้ำและถึงแก่ความตายเอง ทั้งจำเลยที่ 1 ไม่ได้ฆ่าผู้ตาย แต่จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์พ้นกำหนดเวลาและศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นเป็นที่สุดแล้ว ส่วนโจทก์อุทธรณ์ขอให้เพิ่มเติมโทษจำเลยที่ 1ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 339 วรรคท้ายลดโทษให้กึ่งหนึ่งตาม ป.อ.มาตรา 78 ประกอบมาตรา 52 (2) คงจำคุกตลอดชีวิตข้อหาอื่นให้ยก นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ ที่จำเลยที่ 1ยกขึ้นอ้างอิงในฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิได้กระทำความผิดนี้เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยในปัญหาข้อนี้