พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8691/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายมีเงื่อนไขบังคับหลัง สัญญาเป็นอันสิ้นผลเมื่อเงื่อนไขไม่เป็นไปตามที่ตกลง
โจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่สัญญามีความเข้าใจตรงกันและมีเจตนาที่แท้จริงในการทำสัญญาซื้อขายระหว่างกันว่า ถ้าการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิก มิได้หมายความถึงว่าต้องให้การไฟฟ้านครหลวงยกเลิกสัญญารับเหมาก่อสร้างกับบริษัท ย. ก่อน จึงจะถือว่าใบสั่งซื้อสินค้าเป็นอันยกเลิกดังที่โจทก์กล่าวอ้างแต่อย่างใด การที่ข้อตกลงในการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยมีว่าหากการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้ท่อร้อยสายไฟฟ้าที่เป็นสินค้าของโจทก์ให้ถือว่าใบสั่งสินค้าเป็นอันยกเลิกนั้น ถือเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับหลัง เมื่อต่อมาการไฟฟ้านครหลวงไม่อนุมัติให้ใช้สินค้าของโจทก์ นิติกรรมการซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยย่อมสิ้นผลในเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จตาม ป.พ.พ. มาตรา 183 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างเหมาเลิกกันเนื่องจากนโยบายรัฐ เปลี่ยนแปลงนอกเหนืออำนาจคู่สัญญา สิทธิเรียกร้องและค่าเสียหาย
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ8ระบุว่า"เนื่องจากผู้ว่าจ้าง(โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาลระเบียบของทางราชการและกฎหมายดังนั้นหากมีการเปลี่ยนแปลงใดๆนอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายหากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกันโดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใดๆต่อกันอีก"หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้วปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทยใจความว่าเพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหายขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลยจึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเองสำหรับปัญหาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไปโดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรีโดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าวซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอดโดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควรจึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไปดังนั้นเอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติเอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการแต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรงไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าวและมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตามการที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่ ข้อสัญญาข้อ8ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญาหากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา3เดือนนับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้วให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไปถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วโจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่8กุมภาพันธ์2532ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจาหากภายในกำหนด3เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา3เดือนแม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุดแต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้นโจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรีทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่25พฤษภาคม2532แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่8พฤษภาคม2532ก็ดีและโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่8พฤษภาคม2532อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดีล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไปดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว ตามสัญญาข้อ8ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้วคงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้นหาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่ายการที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้นซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณาแต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไปเห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกันข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้นหาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด3เดือนโดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ8
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9508/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับหลังในสัญญาจ้างเหมา: สัญญาเลิกเมื่อเงื่อนไขสำเร็จและเจรจาไม่เป็นผล
โจทก์ได้ทำสัญญาจ้างเหมาจำเลยดำเนินการผลิตและเสนอข่าวโทรทัศน์ให้แก่โจทก์โดยมีสัญญาข้อ 8 ระบุว่า "เนื่องจากผู้ว่าจ้าง (โจทก์)เป็นรัฐวิสาหกิจที่จะต้องปฏิบัติตามนโยบายของรัฐบาล ระเบียบของทางราชการและกฎหมาย ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ นอกเหนืออำนาจของผู้ว่าจ้างเป็นเหตุให้ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ คู่สัญญาตกลงจะทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย หากการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นการเจรจาแล้วยังไม่สามารถหาข้อยุติและทำความตกลงกันได้ คู่สัญญาตกลงให้สัญญานี้เป็นอันเลิกแล้วต่อกัน โดยต่างฝ่ายจะไม่ใช้สิทธิเรียกร้องใด ๆ ต่อกันอีก" หลังจากที่จำเลยได้เข้าทำการผลิตและเสนอข่าวตามสัญญาจ้างเหมาให้แก่โจทก์แล้ว ปรากฏว่าการปฏิบัติการของจำเลยได้ก่อให้เกิดความไม่พอใจแก่พนักงานในสังกัดของโจทก์ จนประธานสหภาพแรงงานองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ได้มีหนังสือถึงประธานกรรมการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย ใจความว่า เพื่อเป็นการยุติปัญหาที่จะเกิดผลกระทบต่อภาพพจน์ของโจทก์ในทางเสียหาย ขอให้บอกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยโดยเร็วและให้เร่งรัดปรับปรุงประสิทธิภาพในการผลิตข่าวของโจทก์ด้วยนอกจากนั้นผู้บริหารของโจทก์ต่างเห็นพ้องต้องกันว่ามีการกระทำที่ไม่สมควรในการเสนอข่าวของจำเลย จึงเสนอให้ยกเลิกสัญญาจ้างเหมาที่โจทก์ทำกับจำเลยคณะกรรมการของโจทก์จึงมีการประชุมร่วมกันกับผู้บริหารและพนักงานของโจทก์เพื่อพิจารณาเรื่องนี้ ที่ประชุมมีมติให้โจทก์ปฏิบัติภาระกิจในการผลิตและเสนอข่าวสารด้วยตนเอง สำหรับสัญญาที่โจทก์มีอยู่กับจำเลยนั้นให้ดำเนินการให้ถูกต้องเป็นธรรมตามบทบัญญัติของกฎหมายต่อไป โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นประมวลเรื่องทั้งหมดเสนอรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีผู้กำกับดูแลโจทก์อยู่จึงได้ทำบันทึกเสนอนายกรัฐมนตรี โดยระบุว่ามีปัญหาเนื่องจากการจัดทำและเสนอข่าวของโจทก์ยังไม่มีนโยบายที่แน่นอนและเดิมโจทก์ได้จ้างเหมาให้บริษัทเอกชนช่วยผลิตและเสนอข่าว ซึ่งก่อให้เกิดปัญหามาโดยตลอด โดยเฉพาะปัญหาการจัดทำข่าวที่ไม่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลและทำให้โจทก์เสียผลประโยชน์โดยไม่สมควร จึงเห็นว่ามีความจำเป็นต้องกำหนดนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าว ขอโปรดนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาและกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติต่อไป ดังนั้น เอกสารดังกล่าวเป็นเรื่องที่รัฐมนตรีผู้มีหน้าที่ควบคุมกำกับดูแลในฐานะประธานกรรมการของโจทก์เสนอต่อนายกรัฐมนตรีเพื่อให้นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์ถือปฏิบัติ เอกสารนี้มิได้ทำขึ้นเองโดยพลการ แต่อาศัยข้อมูลและเหตุผลที่ได้รับมาจากพนักงานและผู้บริหารของโจทก์เองโดยตรง ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุกล่าวหาว่าจำเลยปฏิบัติผิดสัญญาจ้างเหมาที่ทำไว้กับโจทก์ จึงหาใช่เอกสารที่มีข้อความไม่ตรงกับความเป็นจริงหรือเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตของรัฐมนตรีผู้รับผิดชอบควบคุมกำกับดูแลโจทก์ไม่ การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบด้วยกับข้อเสนอของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีดังกล่าว และมีมติกำหนดเป็นนโยบายให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเองและห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ย่อมเป็นอำนาจของฝ่ายบริหารที่จะกระทำได้และผูกพันผู้บริหารของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีที่จะต้องปฏิบัติตาม การที่ผู้อำนวยการโจทก์มีหนังสือแจ้งมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวให้จำเลยทราบและกำหนดให้มีการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาระหว่างโจทก์จำเลยจึงเป็นการปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมา 8ดังกล่าวข้างต้นและตามนโยบายของรัฐบาลหาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริตหรือทำผิดสัญญาไม่
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8
ข้อสัญญาข้อ 8 ดังกล่าวเป็นเงื่อนไขบังคับหลังของสัญญาจ้างเหมาหากมีเหตุการณ์ใดที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ผู้ว่าจ้างเกิดขึ้นทำให้โจทก์ไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญานี้ต่อไปอีกได้ ก็ให้มีการเจรจากันระหว่างคู่สัญญา หากตกลงกันไม่ได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน นับแต่วันเริ่มต้นเจรจาแล้ว ให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดลงการที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้โจทก์จัดทำและเสนอข่าวด้วยตนเอง และห้ามมิให้จ้างเอกชนจัดทำและเสนอข่าวอีกต่อไป ถือได้ว่าเป็นเหตุการณ์ที่นอกเหนืออำนาจของโจทก์ ทำให้โจทก์ผู้ว่าจ้างไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจ้างเหมาต่อไปอีกได้เป็นกรณีที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว โจทก์จึงได้นัดให้มีการเจรจาตกลงกันในวันที่ 8กุมภาพันธ์ 2532 ซึ่งถือเป็นวันเริ่มต้นการเจรจา หากภายในกำหนด 3 เดือนนับแต่วันดังกล่าวโจทก์จำเลยยังไม่อาจตกลงกันได้สัญญาจ้างเหมาย่อมสิ้นผลระยะเวลา 3 เดือน แม้จะเป็นเงื่อนเวลาที่กำหนดไว้ให้สัญญาสิ้นสุด แต่ถึงอย่างไรนิติกรรมสัญญาจ้างเหมาก็ต้องสิ้นสุดลงเพราะเงื่อนไขบังคับหลังได้สำเร็จแล้วดังกล่าวข้างต้น โจทก์ย่อมไม่อาจสละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาเพื่อให้สัญญามีผลต่อไปได้เพราะจะเป็นการขัดต่อมติคณะรัฐมนตรี ทั้งการที่มีการนัดเจรจาครั้งสุดท้ายในวันที่ 25 พฤษภาคม 2532 แต่โจทก์ไม่ยอมเจรจาโดยแจ้งว่าสัญญาจ้างเหมาสิ้นสุดแล้วแต่วันที่ 8 พฤษภาคม 2532 ก็ดี และโจทก์เรียกร้องค่าใช้เครื่องมือและอุปกรณ์จากจำเลยจนถึงวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 อันเป็นวันสุดท้ายที่สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับก็ดี ล้วนเป็นการแสดงว่าโจทก์หาได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาที่ให้สัญญาสิ้นสุดลงตามที่กำหนดไว้ในสัญญาไม่ อีกทั้งจำเลยเองก็ยอมรับว่าโจทก์ต้องการให้สัญญาจ้างเหมาสิ้นผลโดยเร็วเพื่อจะได้ไม่ต้องจ้างจำเลยต่อไป ดังนั้นพฤติการณ์ยังไม่อาจถือได้ว่าโจทก์ได้สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาแล้ว
ตามสัญญา ข้อ 8 ภายหลังที่เงื่อนไขสำเร็จแล้ว คงกำหนดเพียงให้คู่สัญญาทำการเจรจาหาทางแก้ไขปัญหาในทางที่จะก่อให้เกิดข้อตกลงที่เป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่ายเท่านั้น หาได้บังคับให้คู่สัญญาต้องทำความตกลงกันแต่อย่างใดไม่ การบรรลุข้อตกลงกันระหว่างคู่สัญญาจะต้องเป็นการเห็นพ้องร่วมกันทั้งสองฝ่าย การที่ฝ่ายหนึ่งยื่นข้อเสนอแต่อีกฝ่ายไม่ยอมรับ ย่อมไม่อาจถือเป็นข้อยุติหรือข้อตกลงระหว่างกันได้ และจะถือว่าฝ่ายที่ไม่ยอมรับข้อเสนอใช้สิทธิไม่สุจริตหาได้ไม่ เว้นแต่จะปรากฏข้อเท็จจริงชัดแจ้งเช่นนั้น ซึ่งในกรณีนี้ปรากฏว่าโจทก์ต้องการให้จำเลยยื่นข้อเสนอมาว่าเสียหายเป็นตัวเงินเท่าใดเพื่อพิจารณา แต่จำเลยต้องการให้โจทก์ตกลงให้จำเลยเช่าเวลาเพื่อทำรายการต่อไป เห็นได้ว่าทั้งสองฝ่ายต่างมีหลักการไม่ตรงกัน ข้อตกลงจึงไม่เกิดขึ้น หาใช่โจทก์ใช้สิทธิไม่สุจริตกลั่นแกล้งจำเลยไม่ เมื่อการเจรจาได้ล่วงพ้นกำหนด 3 เดือน โดยไม่สามารถตกลงกันได้เช่นนี้ สัญญาจ้างเหมาจึงต้องเลิกกันตามสัญญาข้อ 8